อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเสนอโครงการลดค่าครองชีพให้กับชาวกรุง โดยเป็นการลดค่าเดินทางรถไฟฟ้าเฉลี่ย 40% ทั้งแบบรายเดือนและรายเที่ยวในช่วงเวลาคนใช้น้อยหรือ Off Peak เพื่อจูงใจให้มาใช้งานช่วงเวลานี้มากขึ้น และลดปริมาณคนในช่วงเร่งด่วน ซึ่งถ้าหากมีค่าโดยสารเกิน 15,000 บาท สามารถนำเงินมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย คล้ายกับนโยบายช็อปช่วยชาติ
โดยมาตรการดังกล่าวทางคณะกรรมการจะมีการหารือกับกระทรวงการคลังในวันศุกร์ที่ 6 ก.ย. นี้ ก่อนที่จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเข้า ครม. ในลำดับถัดไป ซึ่งหากมีการอนุมัติจริงๆ คาดว่าจะสามารถนำมาตรการนี้มาทดลองใช้ก่อน 3 เดือน ภายในเดือน ต.ค. 2019 นี้เป็นต้นไป
สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ลดราคาค่าโดยสารแบบรายเดือน และ ลดค่าโดยสารช่วง Off Peak ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามชนิดรถโดยสายได้คือ
- รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ปกติค่าโดยสารคนละ 15-45 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 31 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 25-30 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 15-25 บาท/เที่ยว
- รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ปกติค่าโดยสารคนละ 14-42 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 21 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 15-20 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 14-25 บาท/เที่ยว
- รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ปกติค่าโดยสารคนละ 16-42 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 25 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 20-25 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 16-30 บาท/เที่ยว
- รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ปกติค่าโดยสารคนละ 16-44 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 29 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 26 บาท/เที่ยว ไม่มีช่วง Off Peak
อย่างไรก็ตามเมื่อมาตรการนี้ออกมาก็มีการคาดว่าจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10% ทันที และส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ให้บริการ โดยทาง กทม. ก็เตรียมเสนอนำภาษีจากป้ายวงกลมที่ กทม. เป็นผู้จัดเก็บในส่วนนี้กว่าปีละ 14,000 ล้านบาท ขอนำมาชดเชยเฉลี่ยปีละ 500-1,000 ล้านบาท/ปี ให้แทน
ส่วนตัวทีมงานก็เกิดมีความสงสัยตรงที่ถ้าใน 1 ปีเราเติมบัตร Rabit ของ BTS เกิน 15,000 บาท แต่เอาเงินตรงนี้ไปใช้จ่ายอย่างอื่นแทน แบบนี้จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ไหม กับทางสรรพากรจะรู้ได้ยังไงว่าเราใช้บัตร Rabit กับค่าเดินทางจริงๆ เกิน 15,000 บาท ซึ่งเราคงต้องรอให้มาตรการนี้ผ่านออกมาจริงๆ ก่อน ถึงจะรู้รายละเอียดมากกว่านี้ครับ
ที่มา : thairath, brandinside
กลัวพอคนใช้เวลาคนใช้น้อยจนชิน บอกหมดโปรโมชั่น ปรับราคาเท่าเดิม
คุณหลอกดาว
ขอให้ได้ตลอดแหละกันนะ จะได้เดินทางได้ถูกลง 🙂 🙂
เวลาเข้างาน ไม่ได้เปลี่ยนตามนี่นา
เป็นผมนะ ผมกลับว่า น่าจะเสนอไปให้ลดค่าแรกเข้า สถานีจาก 14 – 15 บาท ให้เหลือ 10 บาท และ ห้ามขึ้น ค่าโดยสาร 5 ปี แลกกับ การขยายสัปทานออกไปอีก 10 ปี
ประเทศไทยมีค่าเดินทางโดยเฉลี่ยสูงมาก หากเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ เป็นเพราะอะไร ในเมื่อวัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ แต่กลับมี คชจ ต่อเที่ยวสูงลิ่ว เชื่อว่า น่าจะได้สิทธิ์ส่งเสริมการลงทุนจาก BOI กลับไปไม่ใช่น้อย แต่ทำไมกลับมีค่าใช้จ่ายสูงมาก หากเทียบกับประเทศอื่น
จริงครับ แพงมากกว่าหลายๆประเทศ อยากให้ราคาลงมาหน่อยคนใช้เยอะๆรถบนถนนมันจะได้ติดน้อยลงหน่อย
บัตร Rabbit มี transaction เก็บอยู่แล้ว (ที่ Server) ย่อมต้องรู้ว่าใช้ไปเพื่อจ่ายค่าอะไร
ใช้ BTS แล้วเซงตรงที่
1.บัตรรายเดือนยังต้องเสียค่าส่วนต่อขยายอีก 15 บาทเปลืองมาก หงุดหงิดตรง ซื้อแบบเที่ยวรายเดือน ยังต้องเติมเงินเข้าบัตรไว้ด้วย ไม่งั้นใช้ไม่ได้ เพราะต้องตัดเงินสดอีก 15 บาทต่อเที่ยว
2. จะเติมเงินด้วยบัตรเครดิตก็ไม่ได้ รับแต่เงินสด ถ้าใช้บัตรเครดิตต้องซื้อเที่ยวด้วย
3. ต้องพกบัตร 2 บัตร ใบนึงรายเดือน ใบนึงเติมเงิน เผื่อเดินทางใกล้ๆด้วย เพราะจะหักรายเที่ยวก่อนตลอด
4. ถ้าผูก Rabbit Line pay แล้ว หน้าจอตรงเวลาเข้าออกไม่ขึ้นจำนวนเที่ยวให้ ต้องคอยเช็คในมือถือ ถ้าเที่ยวหมด โดนราคาเต็ม
รายเดือน 29 + 15 บาท 44 บาทต่อเที่ยวตลอด ไป – กลับ ตกวันละ 88 บาท
ถ้าไม่ใช้รายเที่ยว หรือรายเที่ยวหมด 59 บาทได้มั้ง
ลดแล้ว พอใกล้หมดสัมปทาน เอกชนก็รวบรวมฟ้องเรียกค่าเสียหาย รัฐบังคับให้เขาลดไปกี่รอบ จำนวนเงินเท่าไรโดนค่าโง่กันบานบวกดอกเบี้ย ก็ยังจะทำกันอีก