ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราจะเห็นรถไฟฟ้า BTS มีปัญหาขัดข้องเกี่ยวกับระบบอาณัติสัญญาณค่อนข้างบ่อย แทบจะทุกเช้าเย็นเลยตั้งแต่เริ่มสัปดาห์มา ล่าสุดทางกสทช.ได้เรียกทาง BTS, TOT และ DTAC เข้ามาพูดคุยหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากคลื่นสัญญาณ 2300MHz ของ TOT ที่ DTAC นั้นรบกวนคลื่นสัญญาณของ BTS

แนวทางการแก้ไขปัญหา

ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาที่ทางกสทช., BTS, TOT และ DTAC ได้หารือรวมกันแล้วซึ่งจากการตรวจสอบนั้น พบว่า BTS ใช้คลื่นความถี่บนย่าน 2400 MHz ที่เป็นคลื่นสาธารณะสำหรับเดินรถไฟฟ้า ส่วนทีโอทีเจ้าของคลื่น 2300MHz ที่ให้ดีแทคใช้งานขณะนี้อยู่ในช่องความถี่ 2310-2370 MHz จะเห็นว่ามีระยะห่าง อยู่ 30 MHz ซึ่งในทางเทคนิคเมื่อดูจากระยะห่างจึงไม่น่าจะมีการรบกวนกัน แต่เมื่อเกิดปัญหามีการรบกวนกันแล้ว กสทช.จึงแนะนำบีทีเอสให้ย้ายช่องความถี่ไปที่ 2485- 2495 MHz เพื่อให้ไกลจากคลื่น 2300 MHz มากที่สุด และให้ TOT – DTAC ปิดสัญญาณคลื่น 2300 ก่อนในช่วง 2-3 วันนี้ เพื่อไม่กระทบผู้โดยสาร

และทาง BTS จะเปลี่ยนอุปกรณ์รับอาณัติสัญญาณจากเดิมที่ใช้ของ Motorola มาเป็นของ Moxa และใส่ฟิลเตอร์ตัวกรองสัญญาณรบกวนคลื่นรบกวน เพื่อป้องกันการรบกวน โดยทั้งหมดจะแก้ไขให้เสร็จภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2561 เพื่อให้กลับมาทันใช้งานรถไฟฟ้า BTS อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 30 มิถุนายน 2561

ผลกระทบต่อลูกค้า DTAC

การปิดคลื่น 2300 MHz นี้อาจจะได้ผลกระทบต่อลูกค้า DTAC อยู่บ้างแต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเนื่องจาก DTAC ยังมีคลื่น 850, 1800 และ 2100 MHz ไว้รองรับการใช้งาน ซึ่งทั้งทีโอทีและดีแทคคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก และเข้าใจในช่วงเปลี่ยนผ่านตรงนี้ แต่ถ้าสุดท้ายการปิดสัญญาณคลื่นใช้เวลานาน จะต้องมีการเยียวยาหรือไม่ให้ทางกสทช.ดูตามความเหมาะสม

สรุป

ก็คือทาง BTS จะขยับคลื่นสัญญาณและเปลี่ยนอุปกรณ์รับอาณัติสัญญาณรวมไปถึงใส่ฟิลเตอร์ตัวกรองสัญญาณรบกวน ส่วนทาง TOT – DTAC จะปิดคลื่นช่วง 2300 MHz ไปก่อน ส่วนแนวทางการในการเยียวยาผู้ใช้บริการถไฟฟ้า BTS นั้นทางรองผู้ว่ากทม.คุณสกลธี ภัททิยกุล นั้นเล็งจะปรับเงินทาง BTS เพราะเหตุการณ์ที่รถไฟฟ้าขัดข้อง เนื่องจากไม่เป็นไปตามมาตรฐานงานบริการเป็นจำนวน 1.8 ล้านบาท แต่เคยมีคนคิดมูลค่าความเสียหายจริงๆหากลดไฟฟ้าล่าช้าแค่ 1 นาทีนั้นอยู่ที่ประมาณเกือบ 400,000 บาท ก็ไม่ทราบว่าจำนวนเงินค่าปรับ 1.8 ล้านบาทนั้นจะเหมาะสมจริงๆหรือไม่ 

ที่มา: PPTV, Khaosod, Mthai