ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นหนึ่งในสิ่งพื้นฐานที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ต่างกับน้ำประปา หรือไฟฟ้าไปแล้ว โดยปกติแล้วถ้าเราอยู่ในประเทศไทยก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะทุกคนรู้ว่าถ้าอยากใช้เน็ตต้องทำยังไง แต่ปัญหานี้จะเกิดตอนที่เราต้องเดินทางไปต่างประเทศทันที เพราะผู้ให้บริการเครือข่ายไม่เหมือนกับบ้านเรา วันนี้ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลซิมเน็ตต่างประเทศ มาฝาก มีเจ้าไหน ราคาเท่าไหร่ มีแบบไหนบ้างไว้ให้แล้ว บอกเลยอ่านจบเลือกที่ถูกใจได้แน่นอน

ก่อนซื้อโปรเน็ตต่างประเทศต้องรู้อะไรบ้าง

  • ไปกี่วัน
  • ไปประเทศไหน
  • ปริมาณเน็ตที่ใช้ต้องการใช้
  • ประมาณการโทรที่ต้องการใช้
  • จะซื้อซิมจากไทย หรือซื้อซิมของประเทศปลายทาง
  • มีแบบไหนบ้าง เจ้าไหนบ้าง
  • ราคา

ซื้อจากผู้ให้บริการเครือข่ายในไทย

วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุดสำหรับคนที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศแล้ว เพียงแค่ซื้อซิมใหม่จากผู้ให้บริการ หรือสมัครแพ็กเสริมต่างประเทศเพียงเท่านี้ก็สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตที่ต่างประเทศได้แล้ว โดยการซื้อโปรลักษณะนี้มีข้อดีอย่างการใช้งานตอนที่เราต้องไปต่อเครื่องที่ต่างประเทศ ไม่ได้เดินทางแบบทีเดียวถึงประเทศปลายทางเลย ก็จะมีเน็ตใช้ระหว่างเดินทางด้วย

โดยมีรูปแบบการให้บริการทั้งหมด 2 แบบ คือแบบซื้อที่ซิมใหม่ และแบบใช้ซิมเดิมแล้วซื้อแพ็กต่างประเทศเสริมเข้าไป ซึ่งทั้งสองแบบนี้มีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วใช้งานได้เหมือนกัน

แบบซื้อซิมใหม่ AIS SIM2Fly / True dtac GO Travel 

วิธีการนี้จะเป็นเหมือนกับการเปิดเบอร์ใหม่ ได้ซิมเพิ่มอีก 1 เบอร์สำหรับใช้ที่ต่างประเทศ มีข้อดีคือ ใครก็ใช้ได้ไม่ต้องมีเบอร์ของค่ายมือถือเจ้านั้นอยู่แล้วก็สามารถใช้ได้ และถ้าระยะเวลาในแพ็กเกจหมดตัวซิมจะใช้ต่อไม่ได้โดยอัตโนมัติ ใครที่ชอบปิดจบเป็นแต่ละทริปก็แนะนำรูปแบบนี้ ส่วนข้อสังเกตคงเป็นเรื่องของความสะดวกตอนเวลาเปลี่ยนซิม ที่ต้องมาถอดเข้าถอดออกให้วุ่นวาย และทำให้เบอร์เดิมที่ใช้ประจำอาจติดต่อไม่ได้ชั่วคราว

ปริมาณเน็ต (GB)วันที่ใช้ได้ประเทศที่ใช้ได้AISTrue dtac
610เอเชีย / ออสเตรเลีย399399
1310เอเชีย / ออสเตรเลีย599
615ใช้ได้ทั่วโลก899899
1530ใช้ได้ทั่วโลก15991599
15365ใช้ได้ทั่วโลก2799

จากตารางจะเห็นว่าทั้งสองค่ายมีราคาที่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความชอบแล้วว่าจะเลือกค่ายไหน แต่ AIS จะมีแพ็กเกจให้เลือกเยอะกว่า 2 โปร

แบบใช้ซิมเดิม AIS Ready2Fly / True dtac GO Travel 

วิธีการนี้เราสามารถใช้ซิมเดิมเบอร์เดิมต่อได้เลย เพียงแค่สมัครแพ็กเกจเสริมเพิ่มเข้าไปจากแพ็กเกจหลักเท่านั้น มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกในใช้งานแบบไร้รอยต่อ ไม่ต้องเปลี่ยนซิม ตั้งค่าอะไรให้วุ่นวาย เปิดโรมมิ่งแล้วใช้ได้ทันที ส่วนข้อสังเกตคือ โดยเฉลี่ยแล้วแพ็กเกจลักษณะนี้มักจะมีใกล้เคียงกับการซื้อซิมแยก เพียงแต่เราต้องมีเบอร์อยู่กับค่ายผู้ให้บริการเจ้านั้นก่อน ถึงจะสามารถซื้อโปรลักษณะนี้ได้ และที่สำคัญซื้อข้ามค่ายไม่ได้ด้วย

ปริมาณเน็ต (GB)วันที่ใช้ได้โทร (นาที)SMS (ข้อความ)ประเทศที่ใช้ได้AISTrue dtacหมายเหตุ
33เอเชีย / ออสเตรเลีย199199
710เอเชีย / ออสเตรเลีย399
7104010เอเชีย / ออสเตรเลีย990
71050เอเชีย / ออสเตรเลีย599
810เอเชีย / ออสเตรเลีย429
1015เอเชีย / ออสเตรเลีย599
1210เอเชีย / ออสเตรเลีย549มีประกันการเดินทางให้
1410เอเชีย / ออสเตรเลีย549
141050เอเชีย / ออสเตรเลีย749
1510เอเชีย / ออสเตรเลีย749มีประกันการเดินทางให้
1530เอเชีย / ออสเตรเลีย1299
37ใช้ได้ทั่วโลก499499
715ใช้ได้ทั่วโลก899
7154010ใช้ได้ทั่วโลก1690
71550ใช้ได้ทั่วโลก1099
815ใช้ได้ทั่วโลก949
1215ใช้ได้ทั่วโลก1499มีประกันการเดินทางให้
1415ใช้ได้ทั่วโลก1299
141550ใช้ได้ทั่วโลก1499
1530ใช้ได้ทั่วโลก15991599
15365ใช้ได้ทั่วโลก2699
3020100100ใช้ได้ทั่วโลก3290เฉพาะลูกค้า AIS Serenade เท่านั้น
3020100100ใช้ได้ทั่วโลก3490
7540250250ใช้ได้ทั่วโลก5790เฉพาะลูกค้า AIS Serenade เท่านั้น
7540250250ใช้ได้ทั่วโลก5990
7540250250เอเชีย / อเมริกา3790เฉพาะลูกค้า AIS Serenade เท่านั้น
7540250250เอเชีย / อเมริกา3990
3020100100เอเชีย / ออสเตรเลีย และอเมริกา1790เฉพาะลูกค้า AIS Serenade เท่านั้น
3020100100เอเชีย / ออสเตรเลีย และอเมริกา1990
27ลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย9399
13ประเทศโมนาโก950

หมายเหตุ

  • ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ลูกค้าแบบเติมเงินก็ซื้อได้ แต่ราคาจะเป็นแบบที่บวกภาษีแล้ว
  • เงื่อนไขสิทธิพิเศษอื่น ๆ ต้องเข้าไปศึกษาที่เว็บของผู้ให้บริการอีกที เพราะแต่ละค่าย แต่ละแพ็กเกจมีเงื่อนไขที่ต่างกัน

จากตารางด้านบนถ้าเน้นใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลักไม่มีการโทรออกหรือรับสาย เดินทางไปโซนเอเชีย และออสเตรเลีย เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีโปรน่าสนใจอยู่ทั้งหมด 3 โปรคือ Ready2Fly ราคา 429 ของ AIS ได้เน็ต 8 GB ใช้ได้ 10 วัน ปริมาณอินเทอร์เน็ตที่ได้ เมื่อหารแล้วมีราคาที่ถูกกว่าการซื้อซิมใหม่

สำหรับใครที่คิดว่าแพ็กที่แล้วเน็ตไม่พอก็แนะนำเป็นโปรนี้เลย True dtac GO Travel ราคา 549 ได้เน็ต 14 GB ใช้ได้ 10 วัน ซึ่งถ้าว่ากันตามราคาที่จ่ายกับเน็ตที่ได้โปรนี้จัดว่ามีความคุ้มค่าที่สุดแล้ว (True dtac โปรราคาเท่า เงื่อนไขเหมือนกันนะ)

โปรสุดท้ายเหมาะสำหรับคนที่คิดจะทำประกันการเดินทางอยู่แล้ว โปรนี้มีมาให้เลย Ready2Fly Plus ราคา 749 ได้เน็ต 15 GB ใช้ได้ 10 วัน ถ้าเทียบแล้วจะแพงกว่า True dtac GO Travel 549 อยู่พอสมควร แต่สิ่งที่ได้เพิ่มมาคือประกันการเดินทาง และเน็ตอีก 1 GB ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้เพิ่มมาเยอะเกินไป ยังคุ้มค่าอยู่

ส่วนถ้าใครไปนอกโซนเอเชีย และออสเตรเลีย ต้องเลือกเป็นแพ็กเกจแบบที่ใช้ได้ทั่วโลกแทน โดยโปรที่น่าสนใจมีทั้งหมด 2 แบบด้วยกันคือ Ready2Fly ราคา 949 ได้เน็ต 8 GB ใช้ได้ 15 วัน และ GO Travel ราคา 1299 ได้เน็ต 14 GB ใช้ได้ 15 วัน บอกเลยว่าโปรที่ใช้อินเทอร์เน็ตโรมมิ่งได้ทั่วโลกลักษณะนี้ มีราคาสูงกว่าแบบจำกัดโซนอยู่พอสมควรเลย ใครที่ไปเที่ยวโซน ยุโรป หรืออเมริกา ก็ต้องจ่ายหนักหน่อย

แต่เราอาจจะไม่ซื้อโปรลักษณะนี้ก็ได้หากคิดว่าราคาสูงเกินไป อาจจะใช้เป็นวิธีการซื้อแพ็กเล็กสุดเพื่อใช้ตอนเปลี่ยนเครื่องที่ต่างประเทศแล้วไป ซื้อซิมที่ประเทศปลายทางที่มีราคาถูกกว่าแทนตอนที่อยู่ประเทศนั้น ๆ ก็น่าจะช่วยประหยัดกว่าพอสมควร

โดยโปรที่ทีมงานเลือกมาจะเป็นโปรเน็ตทั้งหมด ไม่รวมการโทรและ SMS ถ้าใครต้องใช้การโทรระหว่างประเทศด้วยต้องไปลองเลือกกันดูเอาเอง แต่บอกเลยว่าราคาดุเดือดเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน

ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้โปรไหน ของค่ายไหนควรศึกษารายละเอียดก่อนว่าเครือข่ายท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ ผู้ให้บริการในไทยไปจับมือกันกี่ผู้ให้บริการ และมีประเทศไหนใช้ได้บ้าง เพราะมีบางประเทศที่แม้ว่าโปรจะบอกว่าทั่วโลก แต่ไปถึงแล้วอาจจะใช้ไม่ได้ ถ้าผู้ให้บริการในไทยไม่ได้ทำความร่วมมือกัน ซึ่งประเทศที่ว่านี้คิดเป็นส่วนน้อยของประเทศทั้งหมดในโลกนี้

คิดตามการใช้งาน

หัวข้อนี้จะเป็นการคิดค่าบริการตามการใช้งานแบบใช้เท่าไหร่คิดเท่านั้น วิธีการใช้งานเพียงแค่เปิดโรมมิ่งตอนไปถึงประเทศปลายทางแล้วใช้งานได้ทันที ไม่ต้องซื้อแพ็กเกจอะไรเตรียมไปก่อนทั้งนั้น ส่วนอัตราค่าบริการ และเครือข่ายที่มีให้ใช้งานจะแปรผันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งมีราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับการซื้อแพ็กเกจเตรียมไปล่วงหน้า โดยอัตราค่าบริการเราสามารถเข้าไปเช็คได้ที่หน้าเว็บผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกค่าย

และนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เวลาไปต่างประเทศแล้วกลับมาโดนค่าคิดบริการอินเทอร์เน็ตมากกว่าปกติหลายเท่าตัว เพราะเราบังเอิญเปิดโรมมิ่งในโทรศัพท์ทิ้งไว้ ทำให้โดนคิดค่าบริการแบบ “คิดตามการใช้งาน” ที่มีราคาแพงนั่นเอง

ทางผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้งานโรมมิ่งลักษณะนี้เท่าไหร่ ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หรือมีการคำนวณล่วงหน้า และยอมรับกับค่าบริการที่จะเกิดขึ้นได้แล้วเท่านั้น ดังนั้นหากเราไปต่างประเทศแล้วมีการซื้อซิมอินเทอร์เน็ตของประเทศนั้น ๆ ก็ควรปิดซิมที่ใช้ตอนอยู่ประเทศไทยทิ้งไปเลย หรือปิดฟีเจอร์โรมมิ่ง เพื่อป้องกันอาการเน็ตรั่ว

ปัจจุบันค่ายที่มีการให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ AIS, True dtac, FINN Mobile และ NT Mobile

ซื้อซิมที่ออกโดยต่างประเทศที่ไทย

การซื้อซิมด้วยวิธีการนี้จะคล้ายกับการไปซื้อซิมที่สนามบินตอนไปถึงประเทศปลายทางแล้ว เพียงแต่เราซื้อเตรียมไปก่อนจากประเทศไทยเลยเท่านั้น โดยสามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ Shopee Lazada หรือร้านขายโทรศัพท์ทั่วไป (ถ้ามี) เพราะเป็นการรับมาขายด้วยตัวเอง มีการทำความร่วมมือกันเรียบร้อยแล้ว หรือเป็นซิมที่ต่างประเทศออกแบบไว้สำหรับจำหน่ายในประเทศไทย

มีข้อดีในเรื่องแพ็กเกจที่มีให้เลือกก็มีเยอะกว่า หลายช่วงราคา หลายร้าน ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการในไทย ไม่ต้องลงทะเบียนซิม และสามารถเข้าเว็บไซต์ที่โดนรัฐบาลประเทศนั้น ๆ บล็อกได้เหมือนกับการเปิดซิมกับผู้ให้บริการในไทย

ข้อสังเกตซิมประเภทนี้ใช้ที่ไทยไม่ได้ ต้องใช้ที่ประเทศปลายทางเท่านั้น หมายความว่าเราต้องเปลี่ยนซิมตอนลงเครื่องแล้วนั่นเอง และถ้ามีการเปลี่ยนเครื่องระหว่างประเทศ ช่วงที่รอต่อเครื่องใหม่จะไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ต่างกับซิมที่ซื้อที่ไทยที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตตอนรอเปลี่ยนเครื่องได้ หรือไปประเทศไหนก็ใช้ได้ และความน่าเชื่อของร้านที่นำมาขายต้องตรวจสอบด้วยตัวเอง ไม่มีอะไรรับรอง

ซื้อซิม ซื้อโปรเสริมมาแล้วใช้ยังไง

ซื้อซิมใหม่

  • ลงเบียนซิมกับผู้ให้บริการในไทย เช่น AIS หรือ True dtac ก่อนนำใช้งานที่ต่างประเทศ ผ่านแอปของแต่ละค่าย หรือไปหน้าร้านเพื่อให้พนักงานดำเนินการให้
  • ถอดซิมออกเพื่อเก็บไว้รอเปลี่ยนตอนไปถึงต่างประเทศ หรือจะใส่ซิมนั้นค้างไว้ที่เครื่องได้เลยก็ได้
  • เมื่อไปถึงต่างประเทศให้ปิดซิมหลักที่ใช้ในไทย หรือถอดซิมออกก็ได้ เพื่อป้องกันเน็ตรั่ว หรือป้องกันความสับสน
  • ใส่ซิมใหม่ หรือเลือกซิมที่ซื้อมาใหม่ขึ้นเป็นซิมหลัก
  • เปิด Data Roaming และเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเหมือนตอนอยู่ที่ไทยได้เลย

ใช้เบอร์เดิม

  • เปิดบริการโรมมิ่งในแอปของผู้ให้บริการตอนที่อยู่ไทย
    • AIS ทำผ่านแอป myAIS เข้าเมนู โปรไฟล์ > เลือกตั้งค่าเครือข่าย > กดเปิด บริการโรมมิ่ง > รอ SMS ยืนยัน
    • True ทำผ่านแอป True iService เข้าเมนู โปรไฟล์ > จัดการบริการโรมมิ่ง > เปิดใช้งานโรมมิ่ง > รอ SMS ยืนยัน
    • dtac ทำผ่านแอป dtac app เข้าเมนู อื่นๆ และการตั้งค่า > ตั้งค่าบริการระหว่างประเทศ > เปิดใช้งานบริการข้ามแดนอัตโนมัติ (IR) > รอ SMS ยืนยัน
  • เมื่อไปถึงต่างประเทศไม่ต้องเปลี่ยนซิม
  • เปิด Data Roaming ในการตั้งค่าโทรศัพท์ และเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเหมือนตอนอยู่ที่ไทยได้เลย

ซิมต่างประเทศ

  • ถึงประเทศปลายทางใส่ซิมเข้ามือถือ
  • รอจับสัญญาณประมาณ 1-3 นาที
  • เปิด Data Roaming ในการตั้งค่ามือถือ
  • เล่นเน็ตตามปกติ
  • หากใช้งานไม่ได้ต้องตั้งค่า  APN ด้วยตนเอง

ซื้อซิมที่ต่างประเทศ

  • เข้ารับบริการที่ร้านค้าผู้ขายซิมได้เลย
  • เลือกโปรที่ต้องการ
  • ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ในการลงทะเบียน
  • ใส่ซิม เปิดเน็ตใช้ได้ทันที
  • หากใช้งานไม่ได้ต้องตั้งค่า  APN ด้วยตนเอง

เพียงเท่านี้เวลาที่เพื่อน ๆ เดินทางไปต่างประเทศก็มีอินเทอร์เน็ตใช้แบบหายห่วงเหมือนตอนอยู่ไทยได้แล้ว แต่จะชอบแพ็กเกจรูปแบบไหนอันนี้แล้วแต่การใช้งานเลย ข้อดีของการซื้อแพ็กเกจเน็ตโรมมิ่ง ซิมต่างประเทศ จากประเทศไทยไปมีข้อดีคือ ความสะดวกในการซื้อ การตั้งค่ามีคนคอยช่วยเหลือเป็นภาษาไทย การันตีว่ายังไงก็ใช้งานได้

ความสะดวกในการใช้งาน กรณีที่ซื้อซิม หรือซื้อแพ็กเสริมจากผู้ให้บริการในไทยคือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้หลายประเทศ เช่นตอนต่อเครื่องที่ต่างประเทศ หรือตอนเดินทางไปหลายประเทศ ต่างกับการซื้อซิมที่ใช้ได้แค่ประเทศนั้นประเทศเดียว

ส่วนข้อสังเกตของแพ็กเกจเน็ตโรมมิ่ง และซิมต่างประเทศ คือมีราคาค่าบริการที่สูงกว่าอินเทอร์เน็ตมือถือในประเทศพอสมควร รวมถึงมีเรื่องของวันในการใช้งานด้วย ถ้าคำนวณไม่ดีอาจจะไม่พอ หรืออาจจะเหลือทิ้งได้ ต่างกับซิมของประเทศนั้น ๆ ที่มีค่าบริการถูกกว่ามาก ๆ

ทั้งนี้ สำหรับซิมที่ใช้งานได้หลายประเทศ แนะนำให้ตรวจสอบพื้นที่ที่รองรับการใช้งานจากผู้ให้บริการเครือข่ายอีกครั้ง เพราะแต่ละเครือข่ายให้บริการไม่เหมือนกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม AIS True dtac