ก่อนจะมาเป็นนักกีฬา E-Sports

ขั้นตอนก่อนจะมาเป็นนักกีฬา E-Sports ได้นั้นผมขอเขียนแยกออกเป็น 2 ส่วนนะครับ 1. คือส่วนที่มาจากฝืมือการเล่นล้วนๆ ไต่ขึ้นมาจากระดับล่าง 2. คือมาจากมหาวิทยาลัยที่มีทุนทางด้านนี้

1. มาจากฝีมือการเล่นล้วนๆ 

ขอเริ่มที่ฝั่งยุโรปและอเมริกาก่อนเลย ทั้ง 2 ฝั่งนี้จะมีทีมที่เหมือนเป็นบ้านล่าท้าฝันอะคาเดมี่อยู่แล้วตั้งแต่ยุคสมัย 1990-1999 โดยอะคาเดมี่หรือทีมดังๆ ก็จะมีทีม Fnatic , Na`Vi  , COPENHAGEN WOLVES , SK GAMING เป็นต้น ทางฝั่ง จีน , เกาหลี และเอเชีย ก็จะมีทีม CJ ENTUS , SK Telecom , VICI GAMING , LGD GAMING , INVICTUS GAMING ทีมเหล่านี้จะมีแมวมองตามที่ต่างๆ มากมายที่คอยสอดส่องว่าผู้เล่นคนไหนเก่ง หรือมีแววพัฒนาต่อไประดับโลกได้บ้าง โดยมักจะเล็งเด็กตั้งแต่อายุ 15-16 ไปจนถึง 18 ปี เพื่อนำเข้ามาฝึกในทีมของตัวเอง โดยจะช่วง 15-18 จะยังไม่เข้าทีมแบบเต็มตัว แต่จะเป็นการดูพัฒนาการ ให้ร่วมฝึกซ้อมกับคนที่เก่งๆ ควบกับการเรียนไปด้วย อาจจะมีเงินเดือนให้ด้วยแต่จะไม่เยอะ จนกว่าจะจบช่วง ม.ปลายบ้านเราหรืออายุ 18 ค่อยดึงขึ้นมาดูว่าพร้อมที่จะแข่งหรือยัง

ในบ้านเราก็มีเช่นกันยกตัวอย่าง Thailand E-Sports League by Garena : HoN ที่เป็นการคัดเลือกจากทุกภูมิภาคเพื่อจัดตั้งทีม มีการฝึกซ้อมเพื่อเข้าแข่งขันลีคอาชีพอย่างเป็นทางการ แต่น่าเสียดายที่ไม่อาจสานต่อได้ทุกปี เพราะทำได้แค่ครั้งเดียวโครงการนี้ก็หยุดไป ปัญหาน่าจะเป็นที่การสนับสนุน แต่ผมเชื่อว่าโครงการนี้น่ากลับมาอีกครั้งอย่างแน่นอน หรือจะเป็นทีม E-Sports แบบเต็มตัวทีมแรกของไทยนั้นก็คือทีม BANGKOK TITANS ที่มีการฝึกซ้อมและมีเงินเดือนให้แก่นักกีฬาตอนนี้ทีมมีอายุได้ 3 ปีแล้ว

ทีม BANGKOK TITANS ของไทย

2. มาจากมหาวิทลัยที่มีทุนทางด้านนี้

มหาวิทยาลัย Robert Morris University จากรัฐอิลลินอยส์ ประเทศอเมริกา ได้เพิ่มหมวดทุนการศึกษาทางด้านการแข่งขัน E-Sports โดยจะสนับสนุนตั้งแต่ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายประจำวัน ขั้นต้นจะสนับสนุน 19,000 ดอลล่าร์ ต่อเทอม (ราว 640,000 บาท) นอกจากนี้ยังมี Princeton University , Université de Sherbrooke , Rowan University , University of Pittsburgh ที่จะลงแข่งขันกันในรายการ Collegiate Starleague ที่เป็นรายการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยเงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีด้วยกันอยู่ 4 ข้อใหญ่ๆ คือ ฝึกซ้อมการดูรูปแบบการเล่น , วางแผนการแข่งขัน , เล่นกันเป็นทีม และข้อสุดท้าย GPA(เกรดเฉลี่ย) ต้องดี 

ในบ้านเราก็มี Rangsit E-Sport Game  ที่ปีนี้มีการแข่งขันระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องรอดูกันว่าต่อไปว่าจะมีผลตอบรับอย่างไรบ้าง

เป็นนักกีฬา E-Sports ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

ในเกาหลี นักกีฬา E-Sports นั้นบางคนมีชื่อเสียงมีแฟนคลับมากกว่าดาราหรือนักร้องเสียอีก แต่พวกเขาต้องแลกมากับกฎเหล็กดังนี้

 

  1. ห้ามมีแฟนจนกว่าจะชนะการแข่งขันรายการใดรายการนึง
  2. ซ้อมวันละ 14 ชม.แบ่งเป็น กินข้าวเช้า , ออกกำลังกายเบาๆ , ซ้อมเช้า , กินข้าวเที่ยง , พักผ่อน , ซ้อมช่วงบ่าย , นั่งดูการแข่งขันย้อนหลัง , กินข้าวเย็น และซ้อมรอบค่ำ ที่เหลืออีก 8 ชม. คือนอน
  3. นักกีฬา E-Sports มีความกดดันสูงมาก ในเกม Starcraft หากคุณอยู่จุดสูงสุดได้แล้วอย่าหยุดที่พัฒนาตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ที่คุณหยุดพฒนาตัวเอง จะมีผู้เล่นเกาหลีอีก 99 คนในตำแหน่ง TOP 100 คอยดึงคุณลงมา แล้วขึ้นไปสู่จุดสูงสุดแทน

 

ทั้ง 3 ข้อนี้ถือเป็นกฏเหล็กที่ทางเกาหลีสร้างขึ้นมา ซึ่งไม่แปลกใจเลยที่เกมดังๆ หลายเกมทีมจากเกาหลีถึงครองแชมป์ได้แทบทั้งหมด

ทางฝั่งยุโรปและอเมริกาก็มีกฏที่ใกล้เคียงกัน แต่อาจจะหย่อนกว่าเล็กน้อย เหตุผลเพราะพวกเขาเน้นไปทางสตรีมมิ่งเกม + การฝึกซ้อมด้วย สตรีมมิ่งเกมของยุโรปและอเมริกาจะใช้ Twitch เป็นหลักที่ลักษณะเป็นวิดีโอออนไลน์ จะเรียกว่า Youtube ของวงการเกมก็ว่าได้

Twitch นั้นจะรวบรวมวิดีโอการเล่นเกมจากผู้คนทั่วโลก ที่มีทั้งการชมย้อนหลัง การถ่ายทอดสด และตอนนี้ผู้ชมรายเดือนกว่า 60 ล้านคน O_O ซึ่งตัวเลขจำนวนนี้มากกว่าผู้ชมกีฬาบางประเภทเสียอีก สิ่งที่ Twitch พิเศษมากๆ คือหากเราชอบคนไหนหรืออยากติดตามเราสามารถบริจาคเงินให้ผู้เล่นคนๆ นั้นได้โดยนักแข่งเกมบางคนได้เงินจาก Twitch ต่อเดือนมากกว่า 10,000 ดอลล่าร์ ( ราว 300,000 บาท ) นี้ยังไม่รวมรายได้อื่นๆ ที่ทางต้นสังกัดจะมอบให้

Play video

Play video

Play video

 

วงการ E-Sports ไม่ได้มีแต่นักกีฬาเท่านั้นนะ!

แน่นอนว่ากว่าจะสร้างาเป็นทีม E-Sport ได้ 1 ทีมนั้นนอกจากตัว นักกีฬา E-Sports  แล้วยังต้องมี

 

  • เจ้าของทีม มีหน้าที่คอยดูแลทีม ดูภาพรวม ติดต่อกับสปอนเซอร์ต่างๆ ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายของทีมในแต่ละเดือน,
  • ผู้จัดการทีม ดูแลในส่วนของนักกีฬา E-Sports  เรื่องอาหาร ที่พัก การฝึกซ้อมภาพรวม รวมถึงมองหาผู้เล่นหน้าใหม่ๆ
  • โค้ช คอยวางแผนให้กับทีม การจัดตารางฝึกซ้อม เลือกแผนการฝึกซ้อม และเรื่องอื่นๆ

 

นอกจากนี้ในบางทีมยังมีโค้ชเฉพาะทาง อย่างโค้ชทางกายภาพที่ดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายของ นักกีฬา E-Sports หรือโค้ชเรื่องอาหาร ที่คอยดูแลอาหารการกิน และของบำรุงร่างกาย เป็นต้น 

ตัวอย่างทีม E-Sports ที่มีตั้งแต่เจ้าของทีมยันโค้ชเฉพาะทางต่างๆ

จำนวนผู้ชมการแข่งขันล้นหลาม

จากปีล่าสุดเกม League of Legends  ในรายการ World Championship 2014 มีผู้ชมมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลกจากการถ่ายทอดสด 19 ภาษา ผ่านพันธมิตรในการออกอากาศการแข่งขันกว่า 40 ราย แต่ถ้านับเฉพาะช่องหลักแล้วมีคนดูมากกว่า 27 ล้านคนทั่วโลก มากกว่าศึกชิงแชมป์ NBA ที่มีคนดูราวๆ 18 ล้านคนทั่วโลก แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับฟุตบอลหรืออเมริกันฟุตบอลที่มีคนดูมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก 

เส้นทางที่โหดร้าย ใช่ว่าทุกคนจะไปได้ถึงฝั่งฝัน

ไม่ใช่นักกีฬา E-Sports ทุกคนจะได้ไปต่อ ไปถึงจุดที่ได้รับการยอมรับ บางคนที่ไม่ไหวเลิกกลางทางก็มี หรือไปได้ไม่สุดทางก็มี บางคนก็กลับไปเรียนต่อ บางคนก็สตรีมเก็บเงินอยู่บ้านก็มี แต่สิ่งที่รองรับพวกเขาเหล่านี้ และตอนนี้ในวงการกำลังเป็นที่ต้องการมากๆ เลยนั้นก็คือตำแหน่งต่างๆ ในสายงาน E-Sports ไม่ว่าจะเป็นนักพากย์ , นักวิเคราะห์เกมการแข่งขัน , โค้ชทีม ต่างๆ ผู้จัดการทีม แมวมอง หรือแม้กระทั่งบริษัทเกม ซึ่งต่างประเทศกำลังสร้างตำแหน่งงานเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง นักวิเคราะห์เกมการแข่งขัน ก็เหมือนกับ นักวิเคราะห์เกมการแข่งขันของฟุตบอลที่มักจะมีนักฟุตบอลที่รีไทร์ไปแล้วมาเป็นตำแหน่งนี้ ค่อยใช้ประสบการ์วิเคราะห์เกมการแข่งขันเป็นต้น อาชีพเหล่านี้จะกลายเป็นอาชีพต่อไปของนักกีฬา E-Sports ที่รีไทร์หรืออำลาวงการไปแล้วนั่นเอง 

 

Play video

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับ ” E-Sports : EP2 ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ.. เส้นทางสุดโหดเพื่อเข้าสู่ E-Sports ภาพปัจุบันและอนาคตของวงการนี้ “ ซึ่งที่ผมเขียนไปทั้งหมดนี้หวังจะช่วยสร้างแรงผลักดันให้กับวงการนี้บ้าง แต่อย่าลืมสิ่งสำคัญและเป็นเหมือนดาบสองคม นั่นก็คือ แบ่งเวลาให้พอดี ให้เหมาะสม ไม่ทิ้งการเรียน ผมเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันผลักดัน เกมก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายอะไรเลย ในบทความหน้าจะเขียนการแข่งขันทั่วโลกนะครับว่ามีระดับไหน เป็นยังไง ไว้เจอกันบทความหน้าสวัสดีครับผม (-/-)