KengKawiz รายงานตัวคร้าบบบผมม! เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงสองปีที่ผ่านมานี้เทรนของ wearable device มาแรงมากๆเพราะสามารถตอบสนองไลฟ์ไสตล์ที่ต้องการความคล่องตัวและความสะดวกรวดเร็วของคนในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และหนึ่งใน wearable device ที่เป็นที่พูดถึงและเป็นที่จับตามากที่สุดในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ก็คงหนีไม่พ้น Google Glass ผลงานไอเดียสุดเจ๋งจากทางค่าย Google นั่นเองค่ะ 

Google Glass เป็นแว่นตาอัจฉริยะที่ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2012 ด้วยไอเดียที่ต้องการนำเสนอการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่ช่วยให้เราสามารใช้งาน เข้าถึง และสร้างปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลต่างๆได้ไวเท่าความคิดเลยทีเดียว เพราะเพียงแค่การสั่งงานด้วยเสียง เราก็สามารถเรียกหาข้อมูล และจัดการสิ่งต่างๆ ได้ในทันที นอกจากนี้ตัว Glass ยังมีจอปริซึมขนาดเล็กอยู่ด้านหน้าตัวแว่นไว้คอยแสดงข้อมูลต่างๆให้มาลอยอยู่ตรงหน้าเรา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา แผนที่ อัพเดตจากสื่อโซเชียล หรือการแจ้งเตือน ซึ่งหลายๆ คนคาดว่านี่อาจจะเป็นการพลิกโฉมการใช้งาน gadget ของเราไปเลยก็ได้ … ส่วนจะจริงหรือไม่นั้น เดี่ยวเราลองมาดูพร้อมๆกันจากพรีวิวนี้ดีกว่าค่ะ

ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทพการ Unbox แกะกล่องกันตามธรรมเนียมเสียก่อน …

 บอกเลยว่าครั้งแรกที่เห็นกล่องรู้สึกว่ามาคลีนๆ ไม่น่าจะมีอะไร แต่พอเริ่มเปิดเข้าไปเท่านั้นหละ ปลื้มปริ่มมาก เขาวางของเป็นเลเยอร์ 3 ชั้น ชั้นแรกวาง Glass คั่นด้วยถุงใส่ Glass และหูฟัง ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นสายชาร์จและคู่มือการใช้งาน ซึ่งทั้งหมดมาในธีม two-tone ขาว-ดำ เรียบง่ายแต่ตอบโจทย์ใช้งานได้ครบ จัดวางทุกสิ่งได้เป็นระเบียบ สวยงาม >.< ….. สรุปว่าชอบกล่อง Glass มาก!! แต่! นั่นไม่ใช่ประเด็น!!!! เรามาลองดูสรรพสิ่งอันที่เขามีมาให้กันดีกว่าค่ะ

นี่คือสรรพสิ่งที่เราได้มาไว้ในครอบครองจากการเสียเงินครั้งนี้ … ประกอบด้วย Google Glass , หูฟังปลายสายเป็น microUSB , สายชาร์จหัว microUSB , ถุงผ้าไว้ใส่ Glass และคู่มือการใช้งาน

ดูๆ ไป Glass ก็เหมือนกับแว่นทรงประหลาดแบบไม่มีเลนส์ (แต่ทั้งนี้เขาก็มีกรอบเลนส์ไทเทเนียมให้เลือกซื้อเพิ่มด้วยสำหรับคนที่อยากใช้เป็นแว่นสายตาใส่ได้แบบ 2-in-1) ส่วนตรงตัวโครงนั้นทำจากไทเทเนียมน้ำหนักเบาเพื่อให้สวมใส่ได้สบายโดย
ตรงตัวฐานรองจมูกนั้นจะสามารถปรับเข้า-ออกได้เพื่อให้เข้ากับรูปจมูกของแต่ละคน เช่นเดียวกับตัวปริซึมแสดงผลที่สามารถปรับเข้า-ออกได้ตามระดับสายตาของผู้ใช้เช่นกัน และที่อยู่ข้างๆ ตัวปริซึมนั้นก็คือกล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซลค่ะ

ส่วนด้านข้างของ Glass จะมีแถบหนาๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่อยู่ของแบตเตอรี่แล้วยังเป็นที่รองรับการสั่งงานด้วยการสัมผัสด้วย  โดยเราสามารถใช้การแตะที่ขา Glass เพื่อแทนการเลือก ปัดนิ้วไปทางซ้าย-ขวาเพื่อเลื่อน และลากนิ้วลงเพื่อแทนคำสั่ง back เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไมค์ และลำโพงที่ใช้หลักการ Bone Conduction Transducer ส่งสัญญาณเสียงเข้าสู่หูชั้นในผ่านทางกะโหลกศีรษะให้เราได้ยินอย่างชัดเจน แต่นั่นก็หมายความว่าคนข้างๆ ก็จะได้ยินด้วยเช่นกันนะคะ ดังนั้นถ้าเกิดอยู่ในที่สาธารณะก็ควรจะเสียบหูฟังด้วยนะ

ซึ่งช่องเสียบหูฟังก็จะเป็นช่องเดียวกับที่เสียบชาร์จด้านล่างของตัวแว่นค่ะ โดยปกติใช้เวลาชาร์จไม่นานเท่าไหร่เราก็ได้แบตเต็ม 100% แล้ว แต่ก็ใช้เวลาไมานานในการลด % เช่นกัน -.- 

 ส่วนด้านในขาแว่นนั้นจะเป็นปุ่ม Power ไว้สำหรับเปิดปิดค่ะ

เอาหละ! เมื่อเราหายตื่นเต้นกับการสัมผัส Glass แบบ 360 องศาแล้ว ก็ได้เวลาไปเริ่มใช้งานกันจริงหละ! แต่ทั้งนี้เมื่อ Glass ไม่ใช่ stand alone device ดังนั้นการตั้งค่าต่างๆ และการทำงานจะต้องเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของเราผ่านทางบลูธูทตลอดเวลลา ซึ่งนั่นก็รวมถึงการใช้ data ผ่านทางสมาร์ทโฟนของเราด้วยเช่นกัน

เอาหละก่อนอื่นเดี๋ยวเรามาเริ่มต้นตั้งค่านั้นเราจะต้องไปดาวน์โหลดแอพ My Glass บน Apple App Store หรือ Google Play Store มาซะก่อน แต่แอบกระซิบว่าตอนนี้บน Play Store ยังไม่มีแอพ MyGlass เปิดให้กันนอกอเมริกา ดังนั้นแอพตัวที่ใช้รีวิวนี้จึงเป็นตัว APK นะคะ

เมื่อทำการ Pair ได้แล้วก็ถึงเวลามาดูหน้าแอพ My Glass แล้วหละค่ะ หน้าตาโดยรวมนั้นคลีนๆ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน หน้าเป็นหน้ารวมไอคอนต่างๆที่สำคัญ ทั้งข้อมูลของตัว Glass และการตั้ง Contact List ที่สำคัญเป็นต้น ส่วนแถบเมนูนั้นจะอยู่ด้านบนสุด ซึ่งอีกหน้าที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือหน้า Glassware เพราะเป็นหน้าที่เราสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพอื่นๆ เพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพของ Glass ได้คล้ายๆ กับการโหลดแอพมาใช้บนแอนดรอยด์นั่นเอง ซึ่งก็จะมีทั้งแอพบอกสูตรอาหาร , เกมส์และแอพโซเชียลต่างๆ ซึ่งโดยรวมๆ ตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีแอพเยอะมาก แต่ก็ให้อภัยได้เพราะตอนนี้ยังไม่ใช่เวอร์ชั่นที่วางจำหน่ายจริง คาดว่ากว่าจะเปิดวางขายก็น่าจะมีแอพมาตอบสนองไลฟ์ไสตล์ของผู้ใช้ได้ครบครันขึ้น

ส่วนในหน้าสุดท้ายของแอพก็คือ ScreenCast ที่จะสามารถถ่ายทอดภาพที่ผู้สวม Glass เห็นมาอยู่บนหน้าจอมือถือได้แบบ real-time เลยค่ะ แบบนี้เวลาที่เราเห็นคนเล่น Glass อยู่แล้วอยากรู้ว่าเขากำลังเห็นอะไรก็เปิดเข้าหน้านี้ได้เยย

สำหรับความสามารถของ Glass ณ ตอนนี้ก็ถือว่าครอบคลุมความต้องการพื้นฐานหลายๆอย่าง ทั้งด้านการสั่งค้นหาข้อมูล , การถ่ายภาพ-วีดีโอ , การนำทาง , การส่งข้อความ , อ่านอีเมลและการโทรออก-รับสาย เป็นต้น (ตอนนี้ไม่สามารถโทรออกได้คาดว่าเพราะไม่ใช่เบอร์ในอเมริกา=.= แต่สามารถรับสายเรียกเข้าได้ตามปกติ ^_^ ) ดังนั้นเมื่อรวมกับแอพที่เราโหลดมาลงเพิ่มเติมเลยทำให้ใช้งานได้ครอบคลุมทีเดียวค่ะ

โดยสรุป จากเท่าที่ลองจับ Glass ด้านงานประกอบต่างๆ ถือว่าทำออกมาได้ดีสมกับเป็น gadget พรีเมียม แถมยังสามารถรับคำสั่งได้อย่างแม่นยำแม้ในที่มีเสียงรบกวน ด้านตัวระบบนั้นทำออกมาได้เสถียรดีมาก และสามารถตอบสนอง lifestyle พื้นฐานได้อย่างค่อนข้างลงตัวทีเดียว

แต่พอลองเอามาใช้งานจริงแล้วนอกจากที่คนภายนอกจะมองเราราวกับตัวประหลาดที่พูดและพยักหน้าอยู่คนเดียวแล้วด้วยตัว Glass เองก็ยังไม่ได้เป็น gadget ที่จะสะดวกใส่ติดหัวทั้งวันขนาดนั้นเพราะเราไม่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ ทั้งการใช้นำทาง การเล่นเกม หรือการคุยโทรศัพท์นานๆ เนื่องจากว่าแบตที่ขาแว่นข้างหัวจะอุ่นมากจนทำให้รู้สึกอึดอัด แถมเมื่อมองจอสักพักตาก็จะล้าด้วย และแม้ Glass จะมีลำโพงที่ล้ำขนาดไหนแต่ไมค์ Glass ยังไม่ค่อยไหวทำให้เวลารับสายโทรศัพท์แถบจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่องเลยเพราะคู่สนทนาจะได้ยินเสียง noise เยอะมาก และเรื่องแบตเตรี่ของ Glass นั้นเมื่อใช้จริงยังอยู่ได้ไม่เต็มวัน เลยทำให้ประสบการณ์การใช้งานโดยรวมยังไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ

 

ข้อดี

-ว้าว!!

-สะดวกรวดเร็ว สามารถใช้งานทั้งการอัพรูป อัพ status ถ่ายภาพ และอื่นๆได้โดยไม่ต้องควานหามือถือ

-ระบบเสถียร ไม่แฮงค์ ไม่รวน

-ความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน

-รองรับการสั่งงานด้วยเสียงได้ดี แม้ไม่ได้อยู่ในที่เงียบ

-สามารถดาวน์โหลดแอพเพิ่มเติมได้ และมีชุมชนนักพัฒนาที่ให้ความสนใจส่งแอพของ Glass ลง Store

-รองรับการสั่งถ่ายภาพด้วยการกระพริบตาข้างเดียว แอบถ่ายกันเพลิน

-การ setup และการใช้งานไม่ยุ่งยาก

-สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์แว่นสายตาได้

 

ข้อเสีย

-แบตหมดไว ใช้ได้ไม่เต็มวัน

-แบตร้อนไวการใช้นำทางหรือการใช้งานที่ใช้ระยะเวลาจะยิ่งทำให้แบตร้อนและทำให้เราร้อนหัวตามไปด้วย

-ไมค์กาก

-ใช้ต่อเนื่องแล้วมึนหัว

-ไม่ใช่ stand alone device ต้องใช้ data จากสมาร์ทโฟนที่ใช้เชื่อมต่อ

-ราคาค่อนข้างสูง