เกือบจะไปได้สวยแล้วกับการตกลงเรื่องสิทธิบัตรกันระหว่างยักษ์ใหญ่กูเกิ้ลและ Oracle ในประเด็นที่ Oracle ยื่นฟ้องว่ากูเกิ้ลละเมิดสิทธิบัตร Java ไปใช้ในแอนดรอยด์ แต่ล่าสุดผลกลับตาลปัตรเมื่อศาลสหรัฐฯออกมาแจ้งว่ายักษ์ทั้งสองตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากทาง Oracle ไม่ยินดีกับข้อเสนอ Revenue Sharing ที่กูเกิ้ลเสนอมา เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้แล้วจึงเป็นแบบไหนต่อไม่ได้ นอกจากการไปตัดสินที่ศาล
โดยศาลจะเริ่มทำการตัดสินคดีนี้วันที่ 16 เมษายน และคาดว่าจะใช้เวลาทั้งหมด 8 อาทิตย์จนกว่าการพิจารณาจะสิ้นสุด แล้วจากนั้นเราจะได้รู้กันแล้วว่าคดีนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตแอนดรอยด์หรือไม่อย่างไร เพราะต้องบอกว่าคดีนี้มีมูลค่าไม่น้อยเลย
ไม่นึกเลยว่าเล่นมือถือแล้วจะต้องมาไล่ตามเรื่องฟ้องกันเยอะขนาดนี้ นับเป็นระบบปฏิบัติการที่มีเรื่องฟ้องร้องเยอะจริงๆ ขอบอก แต่ก็เป็นสิทธิ์ของทุกคนที่จะยื่นฟ้องต่อการละเมิดสิทธิ์ของตน อย่างเรื่องนี้เมื่อถึงศาลแล้วก็แปลว่ามีมูลแล้วระดับหนึ่ง ศาลจึงรับฟ้อง ดังนั้นประชาชนตาดำๆอย่างเรารอดูผลกันครับ =)
Source: Court Order via BloomBerg via TheVerge
เครียดเลยอ่ะ
Google ประกาศทำ Android ใหม่ ไม่ใช้ Java เพราะ Java มันเร็วส์
ถ้า Android ไม่ใช้ Java รับรองได้ว่าวันนี้เดินตาม Palm ไปแล้ว หึหึ
ไม่ใ้ช้จาวาก็ไม่เห็นตายเลยครับ ดีดดิ้นอะไรกันหนักหนา
มันต้องเป็นปัญหาดิ่ เพราะว่าเกมส่วนมากก็ยังรากฐานมาจากJavaอยู่ดีอ่ะ
เอากันให้ตายเลย อย่าลืมจ้างมือปืนไปไล่ฆ่ากันหลังเวทีด้วยนะ ahahahahahahaaha
5 วันก่อน
สื่อต่างประเทศรายงานว่ากูเกิลออกแถลงการณ์ยินยอมแบ่งรายได้จากแอนดรอยด์ (Android) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาที่กูเกิลเป็นเจ้าภาพพัฒนาขึ้นให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่โลกซอฟต์แวร์องค์กรอย่างออราเคิล (Oracle) หากออราเคิลสามารถชนะคดีละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีในการพิจารณาคดีครั้งหน้าได้สำเร็จ ด้านออราเคิลเมิน ข้อเสนอนี้น้อยเกินไป
การออกแถลงการณ์ของกูเกิลครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับที่กูเกิลประกาศอัปเกรดแอนดรอยด์เวอร์ชันใหม่ล่าสุด Ice Cream Sandwich ในชื่อ Android 4.0.4 เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานความคืบหน้าของคดีการฟ้องร้องของซึ่งออราเคิลเปิดฉากไว้เมื่อปี 2010 โดยออราเคิลอ้างว่าเป็นเจ้าของสิทธิบัตรชุดคำสั่งภาษา Java ซึ่งถูกใช้งานในแอนดรอยด์ พร้อมกับเรียกร้องให้กูเกิลจ่ายเงินจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯเป็นค่าสิทธิการใช้ชุดคำสั่งนั้น
.
.
.
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039849
ขอถามอะไรหน่อย(มือใหม่)Javaทำอะไรได้???
ทำเกมกับแอฟให้เล่นได้คับ
งั้นลองให้ android ทำใหม่โดยไม่ใช้ Java ดู ผมคิดว่า ที่android มันกระตุก ยังไม่เร็วเท่า Ios แม้ว่าสเปคจะเทพกว่าแค่ไหนก็ตาม มันเป็นเพราะJava ที่เป็นตัวถ่วง android รึป่าวนะ
ปัญหามันอยู่ที่ androids เลิกใช้ java ไม่ได้นี่ล่ะนะ
ไม่ทราบไปเอาความเข้าใจแบบนี้มาจากไหนครับ ที่ว่าแอนดรอยเลิกใช้จาวาไม่ได้?
เลิกได้สิครับ หรือแม้จะสร้างคอมไพเลอร์ของตน สร้างไลบราลี่ของตนเอง ก็น่าจะเป็นทางออกที่แอนดรอยมีตัวเลือกในใจ
ยังมีอีกหลายภาษาบนโลก ที่นำมาพัฒนาแอพบนแอนดรอยได้นะครับ
ถ้าทำ แอพฯสี่แสนกว่าตัวที่ปล่อยออกมาแล้วก็จะรันไม่ได้ สามปีกว่าที่สร้างมาก็ล่มสลาย ดังนั้นก็ยังเลิกใช้จาวาไม่ได้ครับ นอกจากจะมีเครื่องมีวิเศษที่สามารถพอร์ท Java ให้เป็นภาษาอื่น ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่เคยมีเครื่องมือใดที่สมบูรณ์พอจะทำได้โดยไม่มีปัญหา
+1 คับ
มันจะมี Java++ รึป่าวนิ?
ถ้าgoogleทำjava++จะได้ไม่ต้องเถียงกะ oracle
สี่แสนกว่าแอพเขียนด้วยจาวาล้วน ๆทั้งสิ้น?
สี่แสนกว่านี้จำเป็นต้องรันบนสภาพแวดล้อมที่มีจาวาร่วมด้วยเสมอ?
สี่แสนกว่านี้ไม่สามารถเลยที่จะออกเวอร์ชั่นต่อไปเพื่อตัดจาวาทิ้ง?
สี่แสนกว่าแอพนี้คงไม่มีเลยที่เขียนด้วย Python, c c++ etc.
แอพหลายตัวมาจากค่ายใหญ่ ที่เคยรันอยู่บนซิมเบี้ยน รันบนวินโดส์โมบาย และอีกมากมาย
ที่เขาก็ไม่เห็นต้องใช้จาวา และเขาก็พอร์ทซอฟแวร์ของตนมาอยู่บนแอนดรอย (ซึ่งไม่ได้ติดอยู่กับไวยากรของภาษา)
เคนเนลแอนดรอยก็เป็นลีนุกส์ จะรันไบนารี่ไฟล์สักตัว ไม่ต้องง้อจาวาได้สบาย ๆ
หากอ้างว่าสี่แสนกว่าแอพ (ซึ่งมันไม่ใช่จาวาทั้งหมด) นี้เขาจะล่มสลาย ก็เป็นความเห็นที่ผิดไปไกลจากความจริง
ขณะเดียวกันแอนดรอยกำลังพัฒนาให้โอเอสของตนไร้ขีดจำกัดแค่ในสมาทโฟน คือกระโดดไปรันบนเทปเล็ทได้
เผลอ ๆรันบนพีซีได้ วันนั้นจะเกิดได้โดยไม่มีจาวา ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้นะครับ
แอพเก่าตัวไหนรันทีนึงต้องง้อจาวา เขาก็เปลี่ยนได้ เพราะแอพต่าง ๆ พร้อมอัพเดทกันเสมออยู่แล้ว
เรื่องฐานข้อมูลที่ใช้ เรื่องการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ เรื่อง UI รวมความว่าทุก ๆเรื่องนี้ไม่ต้องมีจาวาก็ได้
นี่กำลังพูดถึงระบบปฏิบัติการที่อยู่บนsmart phone มาที่สุดในโลกตอนนี้ใช่มั้ยครับ แหม นึกว่าบอกให้เปลี่ยนคนที่เคยขายลูกชิ้นหมูให้ขายลูกชิ้นปลาแถวหน้าบ้านผมซะอีกครับ
สำหรับแอนดรอยด์ แบ่งเป็นสามภาษาครับ
1) Java
2) HTML/HTML5
3) OpenGL (C++)
ถ้าได้มาจับแล้วจะรู้เองว่าที่ผมพูดไม่ได้ไกลความจริง แอนดรอยด์เลวร้ายกว่าที่คุณเข้าใจเยอะ 😉
+256
เสริม
C++ ไว้ทำ Kernel
Java ไว้ทำ APP
HTML/HTML5 แก้เป็น XML ไว้ทำappเหมือนกัน (ส่วน interface)
มันก็มีแอพที่ใช้ "มากกว่า1ภาษา"ด้วยนี่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีJavaเป็นภาษาที่เข้ามาผสม แล้วก็น๊ะแอพที่อยู่บนซิมเบียนตอนก่อนที่จะมาเป็นAndroidน่ะ เค้าแทบจะไม่พอร์ทกันตั้งแต่ต้นอยู่แล้วหนิ มีเป็นส่วนน๊อยยยน้อยเองอ่ะ แล้วก็ไม่รุ่งด้วย อีกอย่างandroidเป็นลีนุกส์ก็จริง แต่ไม่รู้หรอว่ามันมีส่วนของโครงสร้างJavaเข้ามาผสมโรงด้วยน่ะ เค้าถึงได้ออกมาฟ้องร้องกันเนี่ย ถ้ามันจะเปลี่ยนไปเขียนด้วยภาษาอื่นกันได้ง่ายๆแบบว่าแค่ออกOS versionใหม่ก็ไร้Javaได้แล้ว ป่านนี้เรื่องมันคงจบไปแร๊ะแหล่ะ
ป.ล.ลองกลับไปรื้อรอมของรุ่นไหนสักรุ่น แล้วก็จะเจอเองอ่ะว่ามันมีJavaมากกว่าที่คิด^^
1 เหตุผลที่ผมจะหนีไปขี่ Apollo ฮ่าๆ
ซื้อเล่มนี้มาอ่านซะนะครับ http://www.wowebook.im/book/pro-android-python-with-sl4a/
ข้อนี้ผมชี้ถึงเพียงภาษานึงที่ใช้เขียนแอพบนแอนดรอยเท่านั้น ภาษาอื่น ๆ ยังมีอีก
Book Description
Pro Android Python with SL4A is for programmers and hobbyists who want to write apps for Android devices without having to learn Java first. Paul Ferrill leads you from installing the Scripting Layer for Android (SL4A) to writing small scripts, to more complicated and interesting projects, and finally to uploading and packaging your programs to an Android device.
Android runs scripts in many scripting languages, but Python, Lua, and Beanshell are particularly popular. Most programmers know more than one programming language, so that they have the best tool for whatever task they want to accomplish. Pro Android Python with SL4A explores the world of Android scripting by introducing you to the most important open-source programming languages that are available on Android-based hardware.
เน้น without having to learn Java first.
ภาษาที่ใช้ไม่ว่าจะบน ios หรือแอนดรอย (ซึ่งทั้งคู่ก็มีรากเง้ามาจากยูนิกส์) ไอโอเอสเป็นยูนิกส์ แอนดรอยเป็นลีนุกส์ ก็ยูนิกส์โคลน
ฉะนั้นภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น c,c++ คอมไพทีนึึงใช้ Gcc หรือคอมไพเลอร์ตัวไหนก็ว่ากันไป
เอ๊ะไม่ทราบว่าเขียนโปรแกรมจริง ๆรึป่าว? ถึงไม่ทราบเรื่องพวกนี้ อีกอย่างหากแอนดรอยเลวร้าย คงไม่เอามาตั้งชื่อเวป
ฉะนั้นการสื่อสารน่าจะอยู่บนความน่าเชื่อถือที่เป็นมืออาชีพสักหน่อยน่าจะดีนะครับหากทำได้
โพสท์ทีนึงก็พูดขัดกับที่ตัวเองโพสท์ก่อนหน้าทีนึงแฮะคนนี้
คิดว่าสี่แสนกว่าแอพฯใช้ Python เขียนกี่ตัวครับผม? อยากให้แยกแยะคำว่า "ใช้ได้" กับ "ใช้จริง" ให้ออกนะครับ
ขี้เกียจพิมพ์ยาวและ เจอคนเอาแต่จะเอาชนะแบบนี้ น่าเบื่อ
แล้วผมก็ไม่ได้เขียนโปรแกรมครับ ผมเป็นนายแบบ
+1 ให้พี่เนย
ป.ล.ผมเป็นนายแบบ แบบไหนอ่ะ??? ฮ่าๆๆๆ
+1 🙂
ผมสื่อให้เห็นว่าไม่ใช้จาวาก็ได้ นี่คือที่ต้องการสื่อจริง ๆ ส่วนอคติที่มีในใจของคุณจะทำให้คุณโพสดูหมิ่นแอนดรอยอย่างไร
ข้อนี้มันก็เป็นความดิ้นรนของคุณเองนะครับ
มีแอพไหนหละครับที่ไม่ได้เกิดจากการพัฒนา และไม่มีการอัพเดท เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็เตรียมต่อโลงให้ตัวเองเป็นแน่แท้
การปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้เขียน เป็นเรื่องทำได้ ดูซิมเบี้ยน มีทั้งแอพที่รันจาวา ก็ต้องเขียนด้วยจาวา (ส่วนใหญ่เกมส์)
ซึ่งเป็นแค่ส่วนนึงที่น้อยเมื่อเทียบกับแอพที่เขียนด้วยทูลอื่นหรือคอมไพเลอร์อื่น แอนดรอยก็เช่นกัน
ไม่ใช่ว่าทุกแอพจะกำเนิดมาด้วยจาวาทั้งหมด จะส่วนใหญ่หรือไม่ ก็ต้องรอดูกันว่าแอนดรอยจะใช้วิธีใดในการปรับแก้
เพราะแม้ตัว VM ที่ใ้ช้รันแอพจาวา ก็ไม่ได้เป็นของจาวาโดยตรง คือแอนดรอยใช้ DalvikVM หากสิทธิบัตรไม่ครอบคลุมตัวนี้
แน่นอนว่ารันกันได้อยู่แล้ว สี่แสนกว่าแอพ ย่อมรันได้ จะผิดกฏหมายหรือไม่ในกรณีคนสร้างแอพนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกัน
ตามทันใช่มั๊ยครับ หาก DalvikVM ซึี่งแอนดรอยสร้างมารันแอพที่เขียนโดยจาวายังคงอยู่ได้ คำว่า ใช้ได้ และใช้จริง ก็ไม่มีผลเลย
เพราะต้องใช้ได้เ่ท่านั้น คือสี่แสนกว่าแอพก็รันได้เป็นปรกติ ผ่าน DalvikVM
อีกทั้งนี่เรายังไม่รู้ว่าศาลตัดสินอย่างไรต่อกรณี DalvikVM เพียงแค่สนทนาให้เ็ห็นว่ามีทางเลือก
คุณเองก็เหมารวมว่าทั้งสี่แสนแอพจะอยู่ไม่ได้เสียแล้ว ข้อนี้ที่ผมเห็นขัดแย้งครับ
http://android-developers.blogspot.com/2011/01/gingerbread-ndk-awesomeness.html
We released the first version of the Native Development Kit, a development toolchain for building shared libraries in C or C++ that can be used in conjunction with Android applications written in the Java programming language, way back in July of 2009. Since that initial release we’ve steadily improved support for native code; key features such as OpenGL ES support, debugging capabilities, multiple ABI support, and access to bitmaps in native code have arrived with each NDK revision. The result has been pretty awesome: we’ve seen huge growth in certain categories of performance-critical applications, particularly 3D games.
.
.
การพัฒนาซอฟต์แวร์บน Android 2.3 จะไม่จำเป็นต้องเขียนจาวาอีกต่อไป
ข่าวเล็กๆ ที่ออกมาพร้อมกับ Android 2.3 คือ NDK r5 ที่อัพเดตมาพร้อมกัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญของมันคือ NativeActivity ที่เปิดช่องให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมดโดยไม่ต้องเขียนจาวาแม้แต่บรรทัดเดียว
ตัวแอพพลิเคชั่นยังคงรันอยู่ภายใต้ DalvikVM และหากต้องการเรียกฟังก์ชั่นบางส่วนจากจาวาก็ทำได้ผ่าน JNI
Tim Bray เขียนบล็อกเรื่องนี้โดยยกตัวอย่างซอร์สโค้ดที่มีฟังก์ชั่น main เพียงฟังก์ชั่นเดียวในภาษา C/C++ ก็สามารถทำงานได้ (ตัวอย่างโค้ดอยู่ท้ายข่าว)
http://bbs.siamtalk.org/showthread.php/867–Android-2.3-
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้างนะคับ นี่แหละถึงจะเรียกว่าประชาธิปไตย
ทำให้เราได้ข้อมูลในหลายๆมุม เพราะถ้าคิดเห็นเหมือนกันหมดนั่น คอมมิวนิสต์หล่ะ ว่ากันด้วยเหตุผลละกัน
ผมตามอ่านอยู่เรื่อยๆนะคับ
ถ้า google แพ้ ก็คงต้องจ่ายให้ทาง oracle เขาคงไม่เลิกใช้ java หรอก (จ่ายแบบผ่อนชำระก็ได้นี่เนอะ)
+1 จริง มาถึงICSแล๊ะ มันผ่านมาหลายเวอร์ชั่นจน คงจะเลิกไม่ได้แล้วอ่ะ เพราะมันฝังไปอยู่ร่วมกะโครงสร้างแล้ว
ออราเคิ้ลเขาฟ้องเรื่อง DalvikVM นี่่หละครับ โดยอ้างว่าโค้ดที่นำมาใช้สร้าง DalvikVM นี้ลอกมาจากเขา
และเรื่องทำนองนี้มีให้เห็นหลายคดีมาก ๆ ซึ่งลงเอยด้วยการทำอะไรไม่ได้ คือเขาจะไล่โค้ดกัน
ที่ออราเคิ้ลอ้างว่า ๑ ใน ๓ ของ DalvikVM เป็นการก๊อปโค้ด JVM (เพื่อให้รันแอพที่เขียนโดยจาวาได้)
ตอนแรกผมชี้ว่าถ้าไม่ต้องรันไม่ต้องเขียนจาวาเลย เราไม่ต้องรันจาวาเลยก็ได้ ใ้ช้คอมไพเลอร์อื่นคอมไพออกมาเป็นไบนาลี่
คราวนี้ถ้าเขียนไปแล้ว คอมไพไปแล้ว ก็ต้องรันบนสภาพแวดล้อม DalvikVM ซึ่งใช้ทดแทน VM ของจาวาได้อยู่ดี
หากออราเคิ้ลชนะ ต้องถอดโค้ดดังกล่าวออกจาก SDK หรือ DalvikVM จะมีค่าปรับอะไรก็ว่ากันไป
ซึ่งก่อนหน้านี้กูเกิ้ลเคยยื่นข้อเสนอให้กับออราเคิ้ลมาแล้ว (เขาไม่รับคือโลภอยากได้มากกว่านี้)
เรื่องนี้มันก็ตั้งแต่ปี 2010 ที่เขาไล่บี้จะเอาตังกับทุกราย
ออราเคิ้ลไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ DalvikVM นะครับ ไม่ใช่เครื่องหมายการค้าอะไรของเขาเลย
หากกูเกิ้ลแพ้ ซึ่งหมายความว่าไล่โค้ดดูแล้วก๊อปมาจริง ก็แค่ถอดโค้ดนั้นออกไปแล้วเขียนเพิ่มใหม่ในชื่อเดิมคือ DalvikVM
ศาลจะตัดสินเพียงแค่ให้ถอดส่วนที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นการคัดลอกจริง ผมก็ถามหน่อย ว่าหากคัดลอก ใครเขาจะก๊อปกันตรงๆ
ก็ย่อมมีการดัดแปลงโค้ดให้ต่างออกไปอยู่แล้ว บางครั้งอาจจะเอาเพียงลอจิกหรือคอนเซฟมาใช้ด้วยซ้ำ
มันจึงเป็นมวยล้มเสียหลายคดี เพราะทางกฏหมายต้องพิสูจน์ให้ได้เป๊ะ ๆ
กรณีแย่ แต่อาจเป็นเรื่องดี นั่นคือสิ่งที่จะเปลี่ยนหากกูเกิ้ลแพ้ แน่นอนว่าแต่เดิมกูเกิ้ลก็เห็นปัญหาในเรื่องนี้ จึงสร้าง DalvikVM
ขณะเีดียวกันถ้าเรามองเรื่องปัญหาทำนองนี้ กูเกิ้ลอาจทำเหมือน C# คือสร้างเป็นภาษาใหม่ก็ได้
สร้าง SDK ที่รองรับภาษาใหม่เสียเลย ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ได้ปิดกั้นให้ภาษาอื่นรันไม่ได้นะครับ ก็ยังรันได้อยู่
ภาษาไหน ๆ มันก็ก๊อปหลักการเดิม ๆ มานั่นแหละครับ เพิ่มสิ่งใหม่เข้าไป พัฒนาให้ดีกว่าหรือเป็นไปเฉพาะทางมากกว่า
เชื่อว่าเรื่องนี้ต้องจบแบบไม่ค้างคา ไม่ีมีปัญหาอะไร จะแพ้หรือชนะย่อมมีทางออกเตรียมไว้แล้วหละครับ
ผมว่าถ้า Google แพ้ก็อาจจะใส่ Cost มาที่servicesต่างๆ เราอาจจะได้รับผลกระทบนี้ด้วย
แต่คิดว่าคงไม่เลิกใช้ JAVA หรอกครับเพราะมันง่ายในการ Apply ไปใช้ในทุก Platform
เป้าหมายหลักของกูลเกิ้ลคือขาย Service มากกว่า
สมมติว่าบวกค่าใช้งานแอนดรอยกับผู้ผลิตเครื่องสัก 3 usd่ สักร้อยบาท เิพิ่มเข้าไปในราคาเครื่อง
จะได้ไปจ่ายให้ออราเคิ้ล คุณคิดว่ามันจะหนักหนาอะไร? ต่อให้แพงขึ้นสักห้าร้อยบาท มันก็ยังทำให้แอนดรอยน่าซื้ออยู่ดี
ท่าน manydays ให้ความรู้ดีมากเลยครับทำให้ผมเข้าใจในหลายๆเรื่องๆของ Adndroid ขอบคุณมากครับ สำหรับความรูดีๆ
คุณ ELLERW59 พูดให้ผมคิดถึงคนไทย กับคนจีนที่มาอยู่เมืองไทย
นานไปมันแยกกันไม่ออกแล้วหละครับ กลืนกินเป็นไทยไปหมดแล้ว
* เพิ่มเติม
พอคนจีนมาอยู่ไทยนาน ๆ เขาพูดได้สองภาษาก็มี พูดไทยได้พูดจีนไม่ได้เลยก็มีสำหรับรุ่นต่อ ๆมา
กลืนกลายมาเป็นคนไทยไปหมด เอาข้อดี ๆของคนจีนมาพัฒนาเมืองไทยมากมาย
นี่สัจจธรรมที่มันจะเกิดกับจาวาและแอนดรอย พอกลายร่างสำเร็จ จะชี้ตรงไหนว่าจาวาหละครับ
ชี้เจอก็เอาคืนไปเลย ยอม
– – รำคาญ ละ – –
รอ Ubuntu Mobile ดีกว่า 555+
Linux แท้ รึจะสู้กับ Stock Linux ไม่ได้ 5555+
manydays ท่านสุดยอด คุยด้วยเหตุผล นับถือ
วันนี้ฝากเรื่องนี้ให้ดูครับ จะแสดงให้เห็นว่าแอนดรอยที่หลายท่านคิดว่าใ้ช้ในการรันจาวา (เพราะแอพส่วนหนึ่งเขียน Eclipse IDE จาวา) มันเป็นจาวาเลยหรือไม่ แล้ว Dalvik VM ต่างอย่างไรกับ JVM
Android API ก๊อปมาจาก Java API จริงหรือ?
Comparison of Java and Android API เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่ใช้พิสูจน์ในศาลเลย
http://en.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_Java_and_Android_API
This article compares the Java and Android API and virtual machine machines.
While most Android applications are written in Java, there are many differences between the java API and the Android API, and Android does not use a Java Virtual Machine but another one called Dalvik.
Virtual machine
There is no Java Virtual Machine in the platform and Java byte code is not executed. Java classes are compiled into Dalvik executables and run on Dalvik, a specialized virtual machine designed specifically for Android. Unlike Java VMs, which are stack machines, the Dalvik VM is a register-based architecture.
Dalvik has some specific characteristics that differentiate it from other standard VMs:[1]
The VM was slimmed down to use less space
The constant pool has been modified to use only 32-bit indexes to simplify the interpreter
Standard Java bytecode executes 8-bit stack instructions. Local variables must be copied to or from the operand stack by separate instructions. Dalvik instead uses its own 16-bit instruction set that works directly on local variables. The local variable is commonly picked by a 4-bit 'virtual register' field.
Because of the fact that the bytecode loaded by the Dalvik virtual machine is not Java bytecode, and of the specific way Dalvik load classes, it is not possible to load Java libraries packages as jar files, and even a specific logic must be used to load Android libraries (specifically the content of the underlying dex file must be copied in the application private internal storage area, before being able to be loaded)[2].
.
.
.
ตามอ่านต่อได้จากลิ้งที่ให้ไว้นะครับ
เพิ่มเติม
เอพีไอ หรือ ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (อังกฤษ: application programming interface: API) หมายถึงวิธีการที่ระบบปฏิบัติการ ไลบรารี หรือบริการอื่นๆ เปิดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อเรียกใช้งานได้
เอพีไอ แบ่งเป็น
เอพีไอที่ขึ้นกับภาษา (language-dependent API) คือ เอพีไอ ที่สามารถการเรียกใช้จากโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาเพียงภาษาใดภาษาหนึ่ง
เอพีไอไม่ขึ้นกับภาษา (language-independent API) คือ เอพีไอ ที่สามารถเรียกได้จากโปรแกรมหลายๆภาษา
เฮ้อ เอาเถ่อะ รอดูคำสั่งศาลกันดีกว่า ว่าจะล่มไม่ล่ม… แล้วจะทำยังไงกันต่อไปกะผู้ใช้ตาดำๆอย่างเรา…
เปลี่ยนไปใช้ Objective-C เพื่อหนีปัญหา คือทางออกที่ดีที่สุดครับ
(ผมล้อเล่นนะ อย่าเพิ่งรุมกระทืบผม โอ๊ย อ๊ากกส์ ตุ่บ ตรั่บๆๆ)
คุณ manydays ที่คุณบอกก็ถูก คนส่วนใหญ่ก็รู้ว่าไม่ง้อ java ก็ได้ ผมความรู้แค่หางอึ่งผมก็รู้ แต่ที่คุณ nuuneoi บอกว่าแอพอีกหลายแสนตัวจะตาย มันอาจหมายถึง เหล่านักพัฒนาที่ต้องเสียเวลามาตามแก้โปรแกรม แถมยังต้องมารันทดสอบใช้ได้จริงมั่งไม่ได้มั่ง แค่ขายแอปก็ได้เงินน้อย ยังต้องมาตามแก้อีก ยิ่งผู้ใช้อย่างผมอีกต้องมาเดือดร้อนอัพเดต กันให้วุ่ยวายต้องมีคนเดือดร้อนกันเยอะครับ โปรแกรมเมอร์เค้ารู้กันอยู่เต็มอกครับ อย่าเอาชนะกันเรื่องทำได้ไม่ได้เลยครับ สรุปทำได้แต่มันต้องโกลาหลกันแน่ท่าน กูเกิ้ลตอ้งหาทางออกให้เกิดผลกระทบต่อทุกๆฝ่ายให้น้อยที่สุด
ดราม่าเยอะกันอีกแหละเด๋วก็หนีไป 3310 เลยนิ ตอนนี้ก็ใช้ แอนดรอย รักแอนดรอย
รักนะจุ๊บๆ รักพี่เก่ง พี่พัดหล่อ พี่เนย นายแบบ พี่กิม หน้าใส
ถูกใจบันทัดล่างอ่ะ เห็นด้วยๆๆๆ ฮ่าๆๆ
ที่คุณเนยพูดน่ะถูกแล้วลองวิเคราะห์ดูสิถ้าเลิกใช้ java นักพัฒนาต้องมาเสียเวลาแก้ไขแอพตั้งกี่แสนตัว ในทางทฤษฎีเราสามารถเลิกใช้ได้ แต่ในทางปฏิบัติมันได้ไม่คุ้มเสีย บวกลบคูณหารแล้วไม่คุ้มไม่คุ้ม เสียเวลาทำมาหาเงินหมด
open source ไม่น่ามาทะเลาะกันเลย