ในสมัยนี้เพจปลอมเกิดขึ้นมาเยอะมาก ๆ ซึ่งก็มีประชาชนหลายคนตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเพจขายสินค้า เพจสื่อโฆษณา ไปจนถึงเพจที่รับบริจาคต่าง ๆ ต้องระวังให้มาก ๆ ซึ่งวันนี้เรามีทริควิธีสังเกตเพจปลอมมาฝาก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในการใช้งานออนไลน์ พร้อมแนบวิธีกดรีพอร์ตเพจเหล่านั้นมาให้ด้วย

วิธีสังเกตเพจปลอม

1.ดูเครื่องหมาย Verified badged

ถึงแม้ว่าตอนนี้บัญชีผู้ใช้งานทั่วไปใน Facebook จะสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องหมาย Verified ได้แล้ว แต่พวกเพจหลักต่าง  ๆ จะยังไม่สามารถซื้อได้ ดังนั้น หากเพจที่ได้รับการยืนยันตัวตัว ก็สามารถเชื่อถือได้ในระดับนึงเลยล่ะ

แต่…ก็ไม่ได้หมายความว่า เพจที่ไม่มี Verified ทั้งหมดจะเป็นเพจปลอมนะ ในกรณีนี้แนะนำให้เข้าไปดูการเคลื่อนไหวของเพจจะดีที่สุด ดูว่ามีการโพสต์สม่ำเสมอ, ดูที่ยอดไลค์, มีการตอบโต้ของลูกเพจที่ไม่ได้มาในทิศทางเดียวกัน (บางเพจปลอมจะมีลูกเพจหน้าม้ามาอวยโดยใช้คำคล้าย ๆ กัน) หรือ ดูยอดขายและการจัดส่ง

2.ดูรายละเอียดของเพจ

รายละเอียดของเพจก็สำคัญ อย่างพวกวันวันที่สร้างเพจ หรือเพจเคยเปลี่ยนชื่อหรือไม่ หากเป็นเพจเปิดใหม่ไม่นานมานี้ หรือมีการเปลี่ยนชื่อมาใหม่ ๆ ให้คิดก่อนเลยว่าปลอม

3.ยอดผู้ติดตาม

อย่างที่บอกว่ายอดผู้ติดตามก็สำคัญ พวกเพจปลอมส่วนใหญ่มักจะมีคนไลค์น้อย ผู้ติดตามน้อย อีกทั้งผู้ติดตามยังอาจเป็นผู้ติดตามปลอมที่ปั๊ํมขึ้นมา หากมองผ่าน ๆ จะคล้ายกับผู้ติดตามจริงเลยแหละ แต่ถ้าจะสังเกตให้ลึก ๆ ก็ลองกดเข้าไปดูที่เฟสของผู้ติดตามแต่ละคนเลยก็ได้ว่าเป็นแอคหลุม หรือแอคเคาท์ที่ใช้งานจริง

4.ชื่อเพจ

หากสังเกตดี ๆ จะมีหลายเพจปลอมที่มักจะสะกดผิด หรือมีอักษร อักจระพิเศษโผล่ขึ้นมา สมมุต เพจจริงคือ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว แต่เพจปลอมอาจจะเป็น สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรมกรข่าว (ร หายไป 1 ตัว) อย่างงี้ เป็นต้น

ตัวอย่างเพจจริง 

ตัวอย่างเพจปลอม

5.เนื้อหาและการแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตาม

เนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในคอมเมนต์โพสต์ถือเป็นส่วนสำคัญในการจับโป๊ะเพจปลอมเลยก็ว่าได้ บางเพจจะมีลูกค้าที่ไม่ได้รับของ หรือรับของไม่ตรงปกมาโวยวายแบบโต้ง ๆ ในโพสต์เลย หรือ บางเพจไม่มีลูกค้าคอมเมนต์เลย ทั้ง ๆ ที่มีคนติดตามเยอะ หรือ บางเพจหน้าม้ามาคอมเมนต์แบบเดียวกันหมด

คอมเมนต์ในเพจที่ดูเหมือนไม่ก็อบวาง 

6.URL ของเพจดูแปลก ๆ

บางเพจอาจมีเว็บไซต์ขายของแปะไว้ ที่ทำให้เราเผลอคลิก อันนี้จะเป็นการสังเกตเว็บไซต์ละว่าเป็นของจริงหรือไม่ ซึ่งสังเกตได้จาก URL นี่แหละ ซึ่งปกติแล้ว หน่วยงานรัฐของประเทศไทยจริง ส่วนใหญ่จะมีท้ายลิงก์ว่า .go.th และ .or.th แต่ก็มีนามสกุลอื่น ๆ เหมือนกัน  เช่น

  • .go.th : หน่วยงานภาครัฐ
  • .or.th : องค์กรพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิ พรรคการเมือง องค์กรอิสระ เป็นต้น
  • .ac.th : สถานศึกษาที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ
  • .co.th : ธุรกิจในไทย
  • .mi.th : หน่วยงานภายใต้กองทัพไทย
  • .net.th : ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
  • .in.th : องค์กรทุกประเภทตามกฎหมายไทย

แต่ทั้งนี้ ก็ควรระวังที่ชื่อเว็บไว้ด้วย เพราะบางทีอาจจะใช้ชื่อคล้ายเว็บจริง แต่เนียนพิมพ์ตก สามารถเข้าไปดูวิธีดูเว็บปลอมหน่วยงานรัฐแบบละเอียด ได้ที่นี่ 

7.เพจจริง จะไม่ทักข้อความหาผู้ติดตามก่อน

โดยปกติทั่วไปเพจมักจะไม่ทักมาหาลูกเพจก่อน ส่วนมากจะตอบกลับผ่านทางคอมเมนต์มากกว่า นอกจากว่าผู้ติดตามเกิดข้อสงสัย และทิ้งคำถามไว้ในกล่องข้อความ เพจจึงจะมาตอบกลับ

8.เพจจริงจะมียอดผู้ติดตามโดดเด่นกว่าเพจอื่น ๆ

หากผู้ใช้งานเกิดข้อสงสัยว่าเพจนี้เป็นเพจจริงหรือไม่ ให้ลองค้นหาแบบกว้าง ๆ ก่อน ก็จะสามารถพบได้ว่าอันไหนเพจจริง อันไหนเพจปลอม จากนั้นเทียบข้อมูลดู ซึ่งอย่างที่แจ้งไปตอนต้นว่า เพจจริงจะมี Verified และข้อมูลในเพจที่จัดหนักจัดเต็มกว่า

หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน Facebook ไม่มากก็น้อย และอย่างที่รู้กันดีว่าตอนนี้เพจปลอมผุดออกมาเยอะเหลือเกิน จนทาง DES ได้ออกมาแถลงเตรียมปิดการใช้งาน Facebook ไปซะเลย เพื่อตัดจบปัญหา เนื่องจากว่ามีผู้เสียหายเป็นจำนวนมากด้วย แต่เบื้องต้นผู้ใช้งานก็สามารถที่จะลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ได้

วิธีกดรีพอร์ตเพจ Facebook ปลอม

  • เข้าไปที่หน้าเพจ
  • กดที่จุด 3 จุด
  • กด Report / รายงาน

  • เลือกเหตุผลที่รีพอร์ต

  • กดยืนยัน

 

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์