ในปัจจุบันนี้หากผู้ที่ตกงานหรือว่างงานที่อยู่ในระบบผู้ประกันตนของประกันสังคมมาตรา 33 อย่าลืมเข้าไปลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน รับเงินชดเชยสูงสุด 180 วัน โดยมีขั้นตอนการลงทะเบียน เงื่อนไข และรายละเอียด ดังนี้
ช่องทางการลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th/login.do
วิธีลงทะเบียนเข้าใช้งานกรมจัดหางาน
- สำหรับผู้ที่พึ่งเข้าใช้งานใหม่ให้กดไปที่ลงทะเบียน (เฉพาะผู้ใช้งานใหม่)
- ระบบจะเข้านำเข้าไปสู่หน้าของ Digital ID
- หลังจากที่กดตกลงยินยอมรับเงื่อนไข ก็จะมีให้กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และเลือกรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน
- กรอกข้อมูลตามบัตรประชาชน เพื่อพิสูจน์ตัวตน
- จากนั้นให้กรอกข้อมูลผู้ลงทะเบียน ที่มีให้กรอกทั้งข้อมูลส่วนตัวและชื่อ + ตั้งรหัสผ่านผู้ใช้งาน
- ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP จากมือถือ ** แต่ถ้าไม่มีมือถือก็สามารถกดข้ามขั้นตอนนี้ได้
- ตรวจสอบข้อมูลและยืนยัน
ข้อมูลที่ใช้ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- วุฒิการศึกษา
- สถานะการออกจากงาน เลิกจ้าง หรือ ลาออก
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน สปส.2-01/7
- ไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
วิธีลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ ประกันสังคม 2566
หลังจากลงทะเบียนใช้งานเสร็จแล้ว ให้เลื่อนลงมาเลือกขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานในหน้าหลัก
- เลือกช่องทางให้การเข้าใช้งานระบบ
- เลือกขึ้นทะเบียนว่างงาน
- กรอกข้อมูลส่วนตัว และกรอกข้อมูลในแบบสปส.2-01/7 พร้อมแนบไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร
- หลังจากที่ขึ้นทะเบียนเสร็จ ให้ตรวจสอบสถานะรับผลประโยชน์รายงานตัวในเว็บไซต์ตามเวลาที่กำหนด
หากมีงานทำแล้ว ให้กรอกข้อมูลวันเดือนปีที่เริ่มงาน, ตำแหน่งงาน อัตราค่าจ้าง และชื่อสถานประกอบการ
หากยังไม่มีงานทำ สามารถค้นหาตำแหน่งที่ว่างงาน และเลือกสมัครงานได้เลย
ข้อสังเกต
- ต้องใส่ข้อมูลวันที่ออกจากงาน พร้อมบอกสาเหตุ
- ต้องใส่ตัวเลขนิติบุคคลของบริษัทที่เราลาออกมาด้วย
- อย่าลืมถ่ายรูปหน้าบัญชีธนาคาร
- อย่าลืมเข้าไปรายงานตัวที่เว็บไซต์ตามรอบ
เงื่อนไข
- ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 เท่านั้น
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย
- ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น
- มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
- ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
- ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
- ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
- มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
ออกจากงาน ได้เงินชดเชยเท่าไหร่ ?
กรณีถูกเลิกจ้าง
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน) ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ตัวอย่าง
กรณีนาย A ถูกเลิกจ้าง เขาได้รับเดือน 30,000 บาท แต่ประกันสังคมคิดฐานเงินสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท นาย A ก็จะได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ตัวอย่าง
กรณีนาย A ลาออก เขาได้รับเดือน 30,000 บาท แต่ประกันสังคมคิดฐานเงินสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท นาย A ก็จะได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
Comment