Huawei ผู้นำทั้งด้านการพัฒนาและด้านการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยี ต้องการที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงยกระดับคุณภาพชีวิตในยุคที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีมากมายอยู่รอบตัว ด้วยแนวคิด “Seamless AI Life” หรือ “ชีวิตเอไอไร้รอยต่อ” และเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันเพียงแค่สัมผัสเดียวผ่านฟีเจอร์ Huawei Share
จากแนวคิด SEAMLESS AI LIFE เกิดเป็นกลยุทธ์ 1+8+N
ด้วยวิสัยทัศน์ของ Huawei ที่ต้องการจะสร้างแนวคิด Seamless AI Life ให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา ผ่านการเชื่อมต่ออุปกรณ์แต่ละชนิด เพื่อแบ่งปันข้อมูล ประสานการทำงาน ไปจนถึงการบูรณาการคอนเทนต์และบริการของทุกอุปกรณ์ใน ecosystem ของ Huawei เข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นกลยุทธ์ “1+8+N” ขึ้นมา
- 1 หมายถึง สมาร์ทโฟน ที่ถือเป็น “ศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ” ของอุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งหลายเข้าด้วยกัน ดังนั้น เลข 1 ในที่นี้ จึงหมายถึงว่า มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในกลยุทธ์นี้
- 8 หมายถึง สมาร์ทดีไวซ์ในชีวิตประจำวันที่จะนำมาเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน โดย Huawei ได้หยิบยกอุปกรณ์มาทั้งหมด 8 อย่าง ได้แก่ แท็บเล็ต พีซี หูฟัง รถยนต์ แว่นตา นาฬิกา ลำโพง และทีวี (หรือมอนิเตอร์)
- N หมายถึง IoT (Internet of Things) ทั้งหลาย ทั้งในด้านของความบันเทิง การทำงาน การเดินทาง สุขภาพ และอื่น ๆ อีกไม่รู้จบ อันเป็นที่มาของ N จากคำว่า endless นั่นเอง
เชื่อมทุกสิ่งเข้าด้วยกันเพียงแค่แตะ
อุปกรณ์ของ Huawei ภายใต้ระบบ HMS (Huawei Mobile Services) ทั้ง 1 8 และ N นี้ สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ผ่านเทคโนโลยีหลักอย่าง 5G นอกจากนี้ บนระบบปฏิบัติการ EMUI ของ Huawei ยังมีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Huawei Share ซึ่งเป็นฟีเจอร์หลักที่ทาง Huawei ต้องการจะนำเสนอ โดยมันสามารถทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ โดยการแตะอุปกรณ์เข้าด้วยกันเพียงสัมผัสเดียว ตามสโลแกน “Together in Just One Tap”
แตะอุปกรณ์เข้าด้วยกันเพียงสัมผัสเดียวก็เชื่อมต่อได้ทันที
HUAWEI SHARE หัวใจหลักของชีวิตไร้รอยต่อ
แม้ว่า ในปัจจุบันนี้จะมีผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย พยายามที่จะสร้าง ecosystem ของตัวเองขึ้นมา แต่มันยังขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งยังมีความติดขัดในการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละอุปกรณ์ ยังคงรู้สึกได้ถึง “รอยต่อ” ในการใช้งาน ซึ่ง Huawei เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้เกิดเป็นแนวคิด Seamless AI Life และฟีเจอร์ Huawei Share นี้ขึ้นมา เพื่อทำลายข้อจำกัดเดิม ๆ ทิ้งไป และมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อและใช้งานแบบใหม่ที่ดีกว่าให้แก่ผู้ใช้งาน
แบ่งปันข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างไร้รอยต่อ
การเชื่อมต่อความเร็วสูง พร้อมฟีเจอร์ที่หลากหลาย
ความสามารถของ Huawei Share นั้นสามารถทำได้หลากหลาย เริ่มจากการแชร์ไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ เพลง วิดีโอ ข้อความ เอกสาร หรืออื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถยังใช้งานอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเป็นหน้าจอที่สองและควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ และแน่นอนว่าหัวใจหลักของการเชื่อมต่อลักษณะนี้ คือ “ความเร็ว” และ “ความหน่วงแฝง” ซึ่ง Huawei Share ไม่มีปัญหากับสองข้อดังกล่าวนี้เลย ทั้งนี้เพราะมันทำงานผ่านการเชื่อมต่อที่ใช้ทั้ง Wi-Fi และ Bluetooth ร่วมกัน จึงสามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้จนเสมือนว่า ทุกอุปกรณ์เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว
สามารถควบคุมกล้องจากมือถือโดยตรงผ่านทางแล็ปท็อป แถมยังแชร์ไฟล์ระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วในทันทีอีกด้วย
จะพิมพ์อีเมล พิมพ์เอกสาร หรือคุยแช็ตก็ไม่มีปัญหา
เชื่อมต่อโดยแทบจะไร้ดีเลย์ ใช้เป็นหน้าจอที่สองเพื่อเล่นเกมได้อย่างเต็มตา หรือจะใช้ในการพรีเซนต์งานก็เข้าท่า
TOGETHER 2020 ส่วนลดและของแถมมากมาย
ทาง Huawei ต้องการให้ผู้ใช้งานไปจนถึงแฟน ๆ ได้ใช้งานอุปกรณ์ที่หลากหลาย และมีการเชื่อมต่อที่ดีระหว่างแต่ละอุปกรณ์ จึงได้จัดแคมเปญ Together 2020 ขึ้นมา โดยมีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจำหน่ายในทุกช่วงราคา เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัย
Huawei Watch GT2 และ Huawei FreeBuds 3 สามารถเชื่อมต่อกันเองโดยไม่ผ่านมือถือได้ด้วย
Huawei Experience Store มีผลิตภัณฑ์ของ Huawei จำหน่ายอย่างครอบคลุม พร้อมโปรโมชั่นและของแถมมากมาย
พร้อมทั้งของแถมมากมาย และส่วนลดสูงสุดถึง 20% สำหรับบัตรเครดิตและสำหรับอุปกรณ์เสริมหรือแก็ดเจ็ตของ Huawei ที่ร่วมรายการ นอกจากนี้ยังมีสิทธิพิเศษอีกมากมาย และสามารถผ่อนชำระ 0% ได้สูงสุด 24 เดือน ซึ่งแคมเปญนี้จะจัดขึ้นที่ Huawei Experience Store สาขาที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 กรกฏาคมนี้เท่านั้นครับ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม Together in Just One Tap
ถือเป็นแนวคิดที่ดี เห็นแบบนี้แล้วการตลาดลอยมาเลย
เป็นสิ่งที่แอปเปิ้ลทำมาก่อน และทำได้ดีทีเดียวด้วย
ส่วนค่ายอื่น ถ้าหัวเหว่ยคิดได้ มีหรือคนอื่นจะคิดไม่ได้ แต่ถามว่าทำไมไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างละ ในเวลานี้ คำตอบคือ มันมีอะไรมากกว่าที่เห็นนัก ก็รอดูกันไปว่าจะทำได้ขนาดไหน
ทำแบบ Apple แต่ไม่มี Eco system ของตัวเอง แบบนี้น่าจะลำบากครับ เมื่อก่อนเคยมีบริษัทที่พยายามทำเหมือน Apple แบบนี้ แต่สุดท้ายขายได้ปีเดียวก็เงียบหายไปเลย
เริ่มมาถูกทาง เราไม่ได้ต้องการมือถือหลายกล้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เราต้องการมือถือที่ใช้งานร่วมกับสิ่งอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย
ทุกวันนี้จะเอาหนังสือมาอ่านในแอปบนแท็บเลตหรือมือถือ
บน Android ต้องหาแอพ file explorer มาลองแล้วลองอีกเพื่อจะส่งผ่านแชร์ไฟล์ที่ใส่ password จาก windows มาลงมือถือหรือแท็บเลต
ของ iOS มี itune แต่ก็ใหญ่เทอะทะและไฟล์จะเอาไปลองหลาย ๆ แอปยังต้องเอาเข้าแอปแต่ละตัว โคตรเสียเวลาและเปลืองพื้นที่
ถ้า File Explorer ใน Android มีรองรับตั้งแต่แรก หรืออาจจะต้องลงแอพใน windows แต่ขอให้มันทีเดียวจบก็โอเค