สองสุดยอดบริษัทในประเทศไทย ในสายดิจิทัลแบงก์กิ้ง และในสายโซเชียลมีเดีย ประกาศร่วมกันตั้งบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ให้บริการด้านโซเชียลแบงก์กิ้ง ให้บริการต่าง ๆ ได้มากกว่าแค่โมบายแบงก์กิ้งธรรมดา และจะทำให้การยืมเงินจากธนาคารได้เป็นไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จบปัญหาเพื่อนยืมเงินแล้วไม่คืน โยนไปให้ขอจากแบงก์เอาปลอดภัยต่อความสัมพันธ์มากกว่า เตรียมเปิดให้บริการได้ครึ่งปีหลังของปี 2562
เจาะตลาดเงินกู้ไม่มีหลักประกัน (เช่น เพื่อนยืมเพื่อน) ที่ใหญ่ถึง 5 แสนล้านบาท
โดยความร่วมมือ (Joint Venture) ในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงความร่วมมือกันระหว่างไลน์และธนาคารอื่นก่อนหน้านี้ที่เป็นเพียงการใช้บริการบางอย่างของไลน์ แต่เป็นการลงขันจดทะเบียนบริษัทใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นคอมมิทเม้นที่ใหญ่กว่ามาก เป้าหมายที่ทั้งคู่เล็งไว้คือการสร้างบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน เป้าหมายแรกเล็งลุยตลาดการกู้บืมเงินแบบไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loans) เช่น การยืมเงินคนรู้จัก หรือไปยืมเงินนอกระบบ ที่ทำกันเป็นประจำของคนไทย ด้วยความที่สะดวกกว่าไม่ต้องจัดการกับเอกสารมากมายที่ธนาคาร ซึ่งทางบริษัทเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าดี และเทคโนโลยีในปัจจุบันก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากแล้ว คาดการณ์ตัวเลขที่ทำทำการกู้ยืมแบบนี้มีมากถึง 5 แสนล้านบาท
ความร่วมมือของไลน์ร่วมลงทุนกับธนาคารในลักษณะนี้ ไทยเกิดขึ้นมาเป็นประเทศที่ 3 โดยประเทศที่เปิดไปก่อนหน้า ได้แก่ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เท่านั้น
รวมกัน(ข้อมูล)ใหญ่กว่า
ด้วยความที่ทั้งสองบริษัทข้อมูลของผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยปัจจุบันทาง LINE มีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU) ที่ 44 ล้านราย ส่วนทาง KBANK มีตัวเลขผู้ใช้งานที่ 15 ล้านราย ทำให้บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัดจะมีดาต้าเกี่ยวกับผู้คนและข้อมูลด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุด สามารถทำให้การคาดเดาอย่างไรก็ดีทาง LINE ไม่ได้บอกชัดเจนถึงที่มาของข้อมูลว่าจะมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำเอามาสร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ต่าง ๆ ได้อย่างไร เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพัฒนาตัว AI โดยข้อมูลเบื้องต้นแจ้งว่าจะดูรูปแบบการใช้งานบริการต่างๆของผู้ใช้ผ่านทางบริการของ LINE แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการเข้าไปอ่านการพูดคุยระหว่างผู้ใช้
อย่างไรก็ดีข้อมูลของ LINE และ กสิกร จะไม่ถูกแชร์มาให้บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด โดยอัตโนมัติ เพราะบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทแยกตัวออกมา ไม่สามารถนำข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายมาให้โดยทันทีได้ แต่อาจจะมีการให้ตอบรับยินยอมการแบ่งปันข้อมูลต่อไป ดังที่เห็นใน LINE PAY มาก่อนหน้านี้นั่นเอง
ผลงานของ บริษัท กสิกร ไลน์ น่าจะได้เห็นกันเป็นรูปเป็นร่างในครึ่งปีหลังของปี 2562 จะมีการบริการอะไรน่าสนใจ การยืมเงินจะง่ายแค่ไหน ต้องรอติดตามกันครับ
แต่โอนไปโอนมาห้ามเกิน 8 ครั้งต่อวัน ไม่งั้นโดนส่งชื่อไปสรรพกรอีก
ไม่ต้องกลัวอะไรนิ ถ้าเสียภาษีถูกต้อง
คิดเหมือนกันครับ จะพยายามหาวิธีเลี่ยงกันเพื่ออะไร เราทำถูกต้องไม่ได้เอาเปรียบใคร ถ้าอยากตรวจก็ให้มา
คนเดือนร้อนไม่น่าใช่คนหลบภาษีนะครับ น่าจะเป็นคนปกติ
แบบเราๆนี่แหละ ถึงจะเสียภาษีถูกต้อง แต่โดนเรียกไปรอต่อคิว
คุยกับสรรพกร เสียเวลาไปเป็นวันๆ
ลองดูจั๊ดซัดทุกความจริง เค้าวิเคราะห์ไว้ครับ
เผื่อได้เป็นไอเดีย
https://www.youtube.com/watch?v=Ru9G3yNl6VU&feature=share
ว่ากันตรงๆ นะครับ ถ้าภาษีไปใช้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อพัฒนาชาติ ผมยอมนะ แต่จากที่เห็น ผู้ที่เอาภาษีเราไปใช้ จะรัฐบาลไหน ก็เป็นอย่างที่เห็นกันมาหลายชุดหลายสมัยครับ
@boatheng ผมฟังแล้วก็ยังไม่รู้สึกว่าคนทั่วไปจะไปโดนได้ยังไง เพราะปกติก็ไม่น่าจะมีการรับโอนกันเกิน 3,000 ครั้งต่อปีอยู่แล้วนะ แล้วที่เค้าบอกว่าที่เมกาก็ทำแต่ไม่ได้ใช้วิธีเดียวกัน ผมว่าพิธีกรน่าจะบอกด้วยว่าแล้วสรรพากรที่เมกาเค้าตรวจสอบตัวเลขยังไงด้วยนะครับ ของเมืองไทยถ้าเกิดว่าทำเรื่องเดียวกันได้โดยไม่ได้ใช้พร้อมเพย์ช่วยก็คงไม่ได้จำเป็นต้องออกกฎหมายนี้มาคุมมั้งครับ และต่อให้มีการโอนหากันเกิน 3000 ครั้ง ก็แค่จะโดนส่งชื่อตรวจสอบ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโดนเรียกไปคุยจริงๆนะครับ สรรพากรเค้าก็ไม่ได้ว่างขนาดที่จะมาเรียกทุกรายไปคุยมั้งครับ น่าจะต้องตรวจสอบดูรูปแบบการโอนก่อนว่ามันมาจากหลายแหล่งหรือยังไง มีความคล้ายร้านค้ารึเปล่านะครับ
@pureblackheart ผมว่าต้องแยกเรื่องกันอ่ะ เรื่องคอรัปชั่นก็เรื่องนึง เรื่องเก็บภาษีก็เรื่องนึงครับ เพราะการเก็บภาษีที่ต่างกันมันก็มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้วย
คอรัปชั่นก็เรื่องนึง เสียภาษีก็เรื่องนึง ถ้าไม่อยากเสียภาษีเพราะอ้างเรื่องคอรัปชั่น
มันก็ไม่ต่างอะไรกับคนคอรัปชั่นหรอก แหม่