งงเป็นไก่ตาแตกกันเป็นแถบๆ เมื่อ YouTuber นักซ่อมชื่อดังอย่าง Louis Rossman ได้ทำการแกะฝาหลังเครื่อง MacBook Air 2019 แล้วพบว่าตัวเครื่องมีพัดลมอยู่หนึ่งตัว แต่ไม่มีฮีทไปป์ลากผ่านฮีทซิงค์ เท่ากับว่าพัดลมที่เป่าระบายความร้อนออกด้านหลังคือทำงานแค่เป่าลมออกเฉยๆ แทบไม่ได้ช่วยระบายความร้อนซีพียูเลย ใครคิดจะซื้อไปทำงานหนักๆ อาจต้องก่ายหน้าผากเพราะใช้ไปสักพักเครื่องอาจจะร้อนจนแทบทำงานไม่ได้
จากรูปด้านใน MacBook Air 2019
- วงสีแดงจะเป็น ฮีทซิงค์ ของเครื่องเป็นแผ่นวางทับบนซีพียูเพื่อช่วยระบายความร้อน
- วงสีเหลืองเป็นพัดลมระบายความร้อน
- ส่วนขีดๆ สีส้มคือ ควรจะเป็นตำแหน่งของฮีทไปป์ ที่ลากผ่าน ฮีทซิงค์กับพัดลม แต่ตัวเครื่องกับไม่มี
หากย้อนกลับไปดู MacBook Air 2018 รุ่นเก่าก็มีปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกันคือไม่มีฮีทไปป์ลากผ่านจากซีพียูไปยังพัดลม ซึ่งทาง Apple ไม่ได้คิดจะทำการแก้ไขปัญหานี้เลย แต่ถ้าย้อนลึกลงไปอีกของปี 2017 จะเห็นว่ามีฮีทไปป์สีดำอยู่หนึ่งเส้นตามที่วงไว้ด้านขวา
หลายคนอาจจะเถียงว่าก็ MacBook Air รุ่นใหม่ๆ ก็ใช้ซีพียูใหม่ ความร้อนมันต้องลดลง ไม่จำเป็นต้องมีฮีทไปป์ก็ได้ แต่ความจริงแล้ว MacBook Air ทั้งปี 2017, 2018 และ 2019 ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันหมดคือ 14nm และสื่อต่างๆ ก็บ่นเรื่องความร้อนกันมาตั้งแต่ MacBook Air 2018 ถึงกระนั้นยังดีที่ซีพียูรุ่นใหม่กินไฟ TDP น้อยลงเหลือ 7W(รุ่นปี 2018, 2019 ใช้ซีพียูตัวเดียวกัน)
และจากเหตุการณ์นี้เองมองดูลึกๆ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า Apple กำลังคิดอะไรอยู่ในใจ ตั้งแต่ลดราคา MacBook Air 2019 เหลือเริ่มต้นแค่ 35,900 บาท (รุ่น 2018 ปกติเริ่มต้น 42,900 บาท) ซึ่งเหมือนพยายามสร้างช่องว่างของราคา เพื่อแบ่งกลุ่มผู้ซื้อมาใช้งานให้ชัดเจนขึ้น คนที่ซื้อมาใช้งานหนักต้องไปตัว Pro ทำงานเบาๆ ถึงค่อยมา Air หรือไม่ก็แอบกั๊กสเปคไว้ไม่ให้ตัว Air ทำงานหนักได้แม้ซีพียูจะไหวก็ตาม (กั๊กตั้งแต่ SSD แล้ว)
อย่างไรก็ตามการที่ Apple ตัดฮีทไปป์ออกนั้นก็จะทำให้ตัวซีพียูระบายความร้อนได้ไม่ดี เกิดอาการ Thermal Throttling (การลดความเร็วซีพียูเมื่อชิพร้อนเกินไป) ซึ่งเมื่อซีพียูทำงานหนัก Turbo Boost ขึ้นได้สักพักความเร็วตกคืนแบบรวดเร็วเพราะร้อน วนลูบแบบนี้ทำให้ทำงานได้ไม่ลื่นไหลหรือเกิดอาการแลคเป็นช่วงๆ และยิ่งนานวันเข้าซีพียูร้อนหนักๆ บ่อยๆ ก็จะเริ่มมีปัญหาในที่สุด
งานนี้ใครที่คิดจะซื้อ MacBook Air 2019 คงต้องคิดกันดีๆ หน่อยละครับ แนะนำว่าถ้าจะคิดว่าใช้งานหนักๆ เช่น พวกตัดต่อ Final Cut ข้ามไป Pro เลยจะดีกว่า
ที่มา : Louis Rossman
cpu low profile
ใน spec เดียวกัน ลองใช้ surface ก็ได้ แล้วลองเล่นเทียบกันดูนะ ว่า อันไหนมันดีกว่ากัน ใครบอกเทียบกันไม่ได้ คนละระบบ ตบหน้าทิ่มเลยนะครับ
น่าน่าจะร้อนนะ ไม่งันจะทำมาทำไม 🙂 🙂
นึกภาพด้านล่างของ macbook air ไม่ออก เพราะไม่มีใช้
ต้องไปดูด้วยว่าทิศทางการเดินลมข้างในเป็นยังงัย
บางทีอาจจะใช้หลักการ แค่ระบายลมร้อนที่ระอุในเครื่องออกก็ได้
เพราะรถยนต์บางรุ่นก็มีพัดลมเสริมที่อยู่ด้านข้างเครื่องโดยไม่ได้อยู่ติดกับหม้อน้ำ
เค้าอาจจะคำนวณมาดีแล้วว่าติดพัดลมไว้ตรงนี้มันช่วยได้
หรือยี่ห้ออื่นจำเป็นต้องมีแต่ apple นี่ไม่ต้องมีก็ได้เพราะมันคือ…นวตกรรม
เครื่องไม่ร้อนหรอกครับ แต่CPU เกรียม🤣🤣🤣
ตอนผลิตเครื่องคงลืมใส่มั่งครับ55+
ทิม คุก ต้องรีบแก้ไขด้วยน่ะครับ
ผมกำลังตัดสินใจชื้อน่ะ จุฟๆๆ
เอาจริงนะ รูให้ลมออกก็ เล็กสุดๆ พัดบมทำงานทีเหมือนไปยืนข้างสนามบิน ดังเว้อวัง ลมออกมาแรงๆเจอปากทางออกน้อยๆ ดังลั่นทุ่ง ร้อนไหมก็ร้อนอยู่ แต่เอาจริงๆแล้ว มันข่วยเป่าไปทั้ง แผ่นล่าง ก็ใข้ได้อยู่นะ
ผมใช้ air 2018 อยู่ ก็มีความสุขดีครับลื่นไหลดีมากๆ มันไม่ร้อนไงแบบโปร ใช้งานบนตักได้สบายๆยาวๆ (เหตุผลที่ซื้อ air )
ส่วนความคิดที่จะเอา Mac air มาทำตัดต่อนั้นคงเลิกล้มไปแต่เสปกแล้วมั้งครับ ต่ำบากดินขนาดนั้น เสปกถ้าเป็น PC ก็9900 แต่ค่านวัตกรรมขาลง ก็ 4หมื่นวนไปจ้า
ใครอยากได้ความเห็นจากผู้ใช้งานจริงก็อ่านเม้นนี้นะครับ
ส่วนเม้นอื่นก็ปล่อยๆผ่านไป
(อันนี้คือเสียงจากผู้ใช้งานจริง
ใช้ mac เขียนโปรแกรม php java photoshopง่ายๆ ธรรมดาๆ ก็ไม่มีปัญหาไรนะ เพราะไม่ได้ลงไรมากมาย
ส่วนตัดต่อเลิกคิดตั้งแต่ซื้อละ ผมมี notebook windows cpu แรงๆ น้ำหนักเยอะๆอยู่ (เอาเครื่องนี้ไว้เล่นเกมส์) ก็เอาไปทำที่เครื่องโน้น
)
7W นี่เอาตรงๆไม่ต้องมี heat pipe ก็ได้นะ แต่แน่นอนว่าถ้ามันมีแล้วมันก็ดีกว่าแหละ
เหมือน Apple ออกรุ่นนี้มาให้ casual user ใช้อยู่แล้ว ไม่ได้เน้น performance มาก
เท่าที่ดูมันมีฮีตซิ้งที่ใหญ่แปะมา แต่ตัวเดิมไม่มี กับ TDP 7 W นี่เหลือๆ แถมบอดี้ยังเป็น อลูฯ ช่วยกระจายความร้อนในระบบได้ดีอยู่แล้ว พัดลมแทบจะเป็นของแถม…
ไม่ได้เข้าข้างApple แต่จะบอกว่าฝั่งPCก็มีทำแบบนี้หลายรุ่นอยู่ครับ พวกชิบ7wattมีแต่ซิ้งแบบนี้ก็ทำงานได้ปกติตามสเป็คมัน ฝั่งPCมีทำแบบนี้กะชิบ15wattก็น่าเกลียดกว่ามาก ออกแบบมาแบบนี้ใช้งานทั่วไปบูสแป๊บๆเทสCinebenchคะแนนเหมือนปกติ แต่พอทำงานหนักหน่อยคะแนนร่วงขึ้นๆลงๆ ความร้อนสะสมมากๆก็Thermal Throttleเร็วกว่าพวกมีHeatpipeต่อกับพัดลม พวกหลังนี้จะบูสยาวๆได้จนติดPower Throttle แต่แบบแรกจะกินไฟน้อยกว่าเพราะบูสไม่ขึ้นเพราะร้อนจนตัดก่อน มีโน็ตบุ๊คAMDยี่ห้อนึงที่รีวิวบ้านเราที่ปกติจะเปิดดูข้างในเวลาอับเกรดก็จะไม่เปิดกันซักเจ้า พอมีคนไปซื้อแล้วเปิดจะอับเกรดแรม พบว่ามีแต่แผ่นโลหะแปะไว้ ซิ้งอะไรไม่มีซักอัน มีแต่พัดลมดูดอากาศออก ลดต้นทุนไม่เข้าเรื่องเพราะยี่ห้ออื่นไม่ทำแบบนี้ก็ขายราคาพอๆกันได้ ผมว่าที่AppleโดนตาLouisด่าก็เพราะราคามันแพงกว่าเพื่อนใส่ให้มาซักหน่อยก็ได้ระยะแค่นี้เอง