ถ้าเพื่อนๆ จำกันได้ก่อนหน้านี้ตัว MacBook Air 2019 เคยมีประเด็นเรื่องตัวเครื่องไม่มี “ฮีทไปป์” มาแล้ว ซึ่งหากเรานำมาใช้งานหนักๆ ซีพียูจะมีความร้อนมากกว่าเกินไปจนระบายไม่ทัน ใช้งานไปสปีดตกหรือเกิดอาการ Thermal Throttling จนทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิดเป็นอย่างมาก และล่าสุดทีมงานก็ได้สั่งซื้อ MacBook Air 2020 มาลองแกะเครื่องดูก็พบว่าไม่มี “ฮีทไปป์” เช่นเดียวกับรุ่นเดิม
(คลิป Unbox + แกะเครื่อง MacBook Air 2020 ครับ)
(รูป MacBook Air 2018 จาก ifixit)
จากรูปจะเห็นได้ว่าบอดี้ด้านในของ MacBook Air ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมาจะไม่มี “ฮีทไปป์” เลย ใช้ระบบระบายความร้อนเป็นพัดลมหนึ่งตัว + ฮีทซิงค์ที่แปะไว้บนซีพียูเท่านั้น การจัดวาง Layout เหมือนกันเป๊ะๆ ซึ่งหากดูจากรูปจะเห็นสิ่งที่ต่างจากเดิมคือ ฮีทซิงค์ซีพียูปี 2020 จะใหญ่กว่าคนอื่นเพราะเปลี่ยนซีพียูเป็นรุ่นใหม่นั่นเอง
(ด้านซ้ายคือซีพียู MacBook Air ปี 2018-2019, ด้านขวาคือซีพียู MacBook Air ปี 2020)
เมื่อมาดูทางด้านซีพียูกันบ้างจะเห็นได้เลยว่าแตกต่างจากรุ่นเดิมเยอะเหมือนกัน เปลี่ยนจาก Gen 8 ไป Gen 10 ทำให้ขนาดสถาปัตยกรรมเล็กลงจาก 14nm เป็น 10nm พร้อมเพิ่มจำนวนทั้ง Core กับ Thread ให้มากขึ้น และมีค่า TDP เพิ่มสูงขึ้นด้วย จาก 7W เป็น 10W
(ภาพ Surface Laptop 3 จาก iFixit)
ที่นี้ลองมาเปรียบเทียบภายในระหว่าง MacBook Air 2020 กับ Surface Laptop 3 กันบ้างที่ใช้ซีพียูเป็น Intel Core i5 Gen 10 เหมือนกัน สังเกตว่ารูปทางขวามี “ฮีทไปป์” มาให้ถึง 2 เส้นขนาดใหญ่ ลากผ่านฮาร์ดแวร์หลายชิ้นส่วนเพื่อช่วยระบายความร้อน
ถัดมาดูความแตกต่างระหว่างซีพียูสองรุ่นนี้กันบ้าง หลักๆ แล้วคือ ค่า TDP ที่ซีพียู i5-1035G7 ของ Surface Laptop 3 จะมีมากกว่า โดยมีค่า TDP อยู่ที่ 15W ส่วนของ MacBook Air 2020 ที่ใช้เป็น i5-1030NG7 จะมีค่า TDP เพียง 10W ทำให้เรื่องการคายความร้อนออกมาต่างกันพอสมควร และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม MacBook Air 2020 ถึงไม่ใส่ “ฮีทไปป์” มาให้
อย่างไรก็ตามส่วนตัวรู้สึกเสียดายที่ทาง Apple ไม่ยอมใส่ “ฮีทไปป์” มาให้สักที แม้ว่าจะมีผู้ใช้งานบ่นมาตั้งแต่ปี 2018 เรื่องซีพียูมีอาการ Thermal Throttling (ความเร็วซีพียูตกเมื่อร้อนเกินไป) โดยทีมงานลองทดสอบใช้งานเบื้องต้นพัดลมแทบจะวิ่งเต็มที่ตลอดเวลา แม้ CPU Usage จะวิ่งไม่ถึง 50% ก็ตาม จากรูปสังเกต CPU อุณหภูมิอยู่ที่ 93 องศาเลยทีเดียว
แต่ก็ยังดีที่ MacBook Air 2020 รุ่นใหม่นี้เพิ่มขนาด SSD รุ่นเริ่มต้นจากเดิม 128GB เป็น 256GB แทน ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานในสมัยนี้อยู่ บวกกับตัวเครื่องใช้ Magic Keyboard ที่เปลี่ยนมาใหม่ ซึ่งใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้ พิมพ์มันมือมากขึ้นๆ จริงๆ และหากใครจะซื้อ MacBook Air 2020 นี้แนะนำว่าควรซื้อรุ่นที่ใช้ซีพียู i5 ขึ้นไป เพราะตัว i3 ยังคงเป็น 2 Core/4 Thread แบบเก่ารุ่นเก่าอยู่นั่นเองครับ
ตอนนี้ทาง Droidsans มีเพจ คอมคร้าบ แยกออกมาเป็นเรื่องคอมโดยเฉพาะ ทั้ง FaceBook และ YouTube ฝากได้กด Like กด Subscribe กันด้วยนะครับผม
Facebook : https://www.facebook.com/comcraft.ds
YouTube : https://www.youtube.com/c/comcraftds
บ่นแต่ก็ซื้อ จ๊อบส์มันคงนั่งขำกลิ้ง แต่ไม่ต้องห่วงอีกไม่นานเดี๋ยวก็ออกรุ่นที่มีฮีทไปท์มาวางขายเพิ่มเงินอีก 50$
บ่นแต่ก็ซื้อมาจริงๆ ครับ โดนไป 35,900 บาท
เค้าเก็บไว้เป็นนวัตกรรม รุ่นต่อไปค้าบ บ่นแต่ของเค้าดี
ก็เหมือนที่ตอบรอบที่แล้ว จะรีบฟันธงว่าแหกตาไม่ได้ ถ้ายังไม่เห็นการบังคับทางลมก่อน
ถ้าใครเคยรื้อ Nintendo Wii หรือ Wii U ก็จะเห็นว่าพัดลมมันอยู่คนละที่กับฮีทซิงค์
เขาแค่บังคับทางลมให้ไหลผ่านฮีทซิงค์ได้ มันก็ได้ผลเท่ากัน
ระบบระบายความร้อน ไม่จำเป็นที่พัดลมจะต้องอยู่ติดกับครีบระบายความร้อนโดยตรงเสมอไป
เขาอาจดีไซน์ให้เกิดการดึงอากาศให้ผ่านครีบระบายความร้อนยังงัยก็ได้
อันนี้คือต้องไปดูข้างในอีกที ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าโครงสร้างฝาครอบด้านในเป็นยังงัย
ก็อยู่ที่จะเกิด Thermal Throttling หรือเปล่าน่ะครับ จะ fanless ไม่มีพัดลมเลยก็ได้แต่ถ้าคุมความร้อนได้ ใช้งานได้ปกติก็โอเค
กรณีนี้ผมไม่ได้ใช้ mac เลยไม่รู้แฮะ 55
Fanless ก็อย่างนึงครับ คือไม่มีการใช้ลมไหลผ่านเลย
แต่ที่ผมหมายถึงคือ การระบายความร้อนโดยใช้พัดลมช่วย พัดลมมันมีหน้าที่ดึงลมเย็นแทนที่ลมร้อน
ตราบใดที่มันดึงลมผ่านฮีทซิงค์ มันจะติดตรงไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสัมผัสแนบชิดฮีทซิงค์เสมอไป
อย่างในรูปนี้คือ บอร์ดของ Wii U เวลาดูบอร์ดเปล่าๆลอยๆ เหมือนว่าพัดลมมัน
ไม่ได้ติดฮีทซิงค์แล้วมันจะช่วยอะไรขึ้นมา แต่ถ้าดูฝาประกอบจะเข้าใจทันที
เพราะมันมีการบังคับทางลมให้อากาศไหลผ่านฮีทซิงค์ครับ
ส่วนว่า MacBookAir เป็นแบบไหน อันนี้ก็คือไม่รู้ ยังไม่เคยเห้นข้างใน
แต่แค่อยากบอกว่า การที่พัดลมไม่สัมผัสฮีทซิงค์ มันไม่ได้ตีความว่าแหกตาเสมอไปครับ
มีฮีทไปป์ มันย่อมดีกว่าไม่มี และมันเกิดการระบายความร้อนไม่ทัน เครื่องอืดคนเขาถึงบ่นกัน
มันเป็นการระบายความร้อนสะสม เฉยๆ
ไม่ได้ระบายความร้อน CPU โดยตรง ไม่งั้น เขา ไม่ทำ ซิลิโคน ไม่ทำ ซิ้ง ติด CPU Desktop ขนาดนั้นหรอกครับ
Macbook air เขาระบายความร้อนสะสมได้เฉยๆ เขาจึง เลือก cpu ใหม่ ตัดการทำงานให้ช้าลงเพื่อให้ ทำงานที่สภาพนี้ได้ ไม่ร้อนจนเกินไป
เสมือน turbo boost ปกติ 100% เล่น 1 ชั่วโมง ร้อน 80-90 องศา แต่พอปิด turbo boost เล่นเป็นวัน ร้อน 60-70 เอง หลักการเดียวกัน
ผมเพิ่งรู้เรื่องนี้เลยนะเนี่ย ว่าแต่ performance มันเป็นยังไงหนอ?
เพิ่งซื้อมาใช้แล้วคะ mac air 2020. ใช้ดูรูปสักพักเสียงพัดลมดังพอควร. บวกกับ ใช้ในห้องพัดลม 36 องศา ไม่ได้เปิดแอร์.
บอดี้ร้อน และพัดลมเสียงดังเป้นพักๆ เฉพาะเวลาดูรูปนะคะ