ตั้งแต่สมาร์ทโฟนเข้ามาแทนที่ฟีเจอร์โฟน ปัญหานึงที่ผุดขึ้นมาก็คือแบตเตอรีของสมาร์ทโฟนที่หมดเร็วขึ้นมาก ทำให้ผู้ใช้ต้องชาร์จมือถือระหว่างวัน ไม่ว่าจะใช้เพาเวอร์แบงค์หรือเสียบปลั๊กชาร์จก็ตามเพื่อให้มีแบตพอใช้ตลอดวัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเทคโนโลยีของแบตเตอรีก็ถือว่าก้าวหน้าไปมากเหมือนกัน
ด้านบนเป็นกราฟเปรียบเทียบความหนาแน่นของความจุแบตเตอรีในหน่วยมิลลิแอมป์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตรจากฐานข้อมูลมือถือยอดนิยม 50 รุ่นของแต่ละปีจาก GSMArena จะเห็นว่าในปี 2017 แบตเตอรีมีความหนาแน่นในการเก็บประจุมากกว่าในปี 2000 ถึง 7 เท่า ส่วนเส้นสีเขียวเป็นเส้นแนวโน้มที่โชว์ให้เห็นว่าความจุแบตมีการเพิ่มแบบทวีคูณนั่นเอง
แบตเตอรีรูปตัว L ใน iPhone X
จากเทรนด์ในตอนนี้ที่ผู้คนนิยมใช้สมาร์ทโฟนโฟนจอใหญ่กัน ส่งผลให้ตัวเครื่องต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นตามและมีพื้นที่สำหรับแบตเตอรีเพิ่มขึ้น ซึ่งเหล่าบรรดาผู้ผลิตก็พยายามใช้พื้นที่ว่างให้มีประสิทธิภาพที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Apple ใช้แบต 2 ก้อนเชื่อมกันเป็นรูปตัว L ใน iPhone X ในขณะที่ LG ก็สามารถทำแบตเตอรีเป็นชั้นบางๆเพื่อใส่ไปตามส่วนที่โค้งของตัวเครื่องได้
แบตเตอรี LG เรียงเป็นชั้นบางๆเพื่อเข้าถึงส่วนโค้งของตัวเครื่อง
คงไม่ค่อยมีใครชอบเวลาที่มีสมาร์ทโฟนบางๆ ใส่แบตเตอรีน้อยๆ ออกมาวางขาย แต่นั่นเป็นเพราะดีไซน์เนอร์ออกแบบตัวเครื่องมาแบบนี้แล้วส่งต่อให้ทีมวิศวะกรออกแบบแบตเตอรีต่อ ซึ่งทีมวิศวะก็น่าจะใส่มาให้ได้มากที่สุดที่ทำได้แล้ว ส่วนปัญหาคอขวดของการพัฒนาสมาร์ทโฟนตอนนี้ก็คือความร้อนที่เกิดจากพลังในการประมวลผลสูงๆ โดยถึงแม้ว่าจะทำระบบระบายความร้อนออกมาได้จริงๆ การประมวลผลระดับนั้นก็กินพลังงานสูงจนสูบแบตหมดเร็วอยู่ดี
ที่มา: GSMArena
ก็จริงคับเรื่องการออกแบบ แต่ บางรุ่นใส่แบตมาให้มากกว่าอีกรุ่น ในขนาดตัวเครื่องที่ใกล้เคียงกัน
อันนี้ผมเห็นด้วย oneplus5 Dimensionคล้ายกับ iphoneตัวพลัสมาก แต่บางกว่าละยังใส่แบตมามากกว่าหลายร้อยแอม
หน้าจอคือตัวเขมือบแบตเตอรี่
บางยี่ห้อ แบตได้น้อย แลกกับ ฟังก์ชั่น เซนเซอร์ หรือเปล่า…?
ในขณะที่บางยี่ห้อ แบตได้เยอะ แต่ไม่ค่อยมีฟังก์ชั่น หรือเซนเซอร์อะไรมากนัก *-*
SONY ไงคับ
ทำไมกราฟ 2017 มันตกลงล่ะ หรือเพราะปรากฎการณ์ Note7
มองแบบ(ผม)คนโง่ๆแล้วกันครับ คงคิดแค่เรือธงเจ้าตลาด ผมมัน 3310 ครับ 555 โซล่าเซลล์ก็เคยเกิดนะ การประจุไฟ ก็ไม่รู้ว่าแบบไหนเทพจริง