ในที่สุดคนไทยก็กำลังจะได้ใช้คลื่นความถี่ 5G กันสักที หลักจากที่ กสทช. ได้ประกาศเตรียมจะจัดการประมูลคลื่นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 ปีหน้านี้ และหากประมูลเสร็จสิ้นได้ตามกำหนดการ ก็จะสามารถเริ่มใช้ 5G ได้จริงในช่วงกรกฎาคม 2563 ปีเดียวกัน โดยคาดว่าเทคโนโลยี 5G นี่เองจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2563-2573 เฉลี่ยปีละ 5.68% ของ GDP ประเทศ แต่งานนี้เครือข่ายมือถือเตรียมกำเงินรอประมูลกันสนุก สร้างรายได้เข้าคลังอีกเพียบ
700 MHz | 1800 MHz | 2600 MHz | 26 GHZ | |
คลื่นความถี่ต่อใบอนุญาต | 2×5 MHz | 2×5 MHz | 10 MHz | 100 MHz |
จำนวนใบอนุญาต | 3 ใบ | 7 ใบ | 19 ใบ | 27 ใบ |
ราคาต่อใบอนุญาต | 8,792 ล้านบาท | 12,486 ล้านบาท | 1,862 ล้านบาท | 300 ล้านบาท |
กำหนดการวันเวลาประมูลคลื่น
- ต.ค. 62 คณะทำงานเสนอร่างหลักเกณฑ์
- 13 พ.ย.-12 ธ.ค. รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (30 วัน)
- 27 ธ.ค. 62 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
- 2 ม.ค. 63 ประกาศเชิญชวน
- 16 ก.พ. 63 ประมูลความถี่
- มี.ค 63 มอบใบอนุญาต
- ก.ค. 63 เริ่มให้บริการ
สำหรับคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูลครั้งนี้มีรวมทั้งสิ้น 56 ใบอนุญาต เริ่มต้นที่คลื่น 26 GHz ราคาตั้งอยู่ที่ 300 ล้านบาท ไปจนคลื่นแพงสุด 1800 MHz ราคา 12,486 ล้านบาท โดยทาง กสทช. กำหนดเกณฑ์การประมูลให้จ่ายปีแรก 10% ปีที่ 2-4 จะพักการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แล้วชำระอีกครั้ง 15% ปีที่ 5-10 ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือต้องลงทุนพื้นที่สมาร์ทซิตี้ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วย พูดง่ายๆ คือช่วยรัฐบาลลงทุนทำโครงการต่างๆ ของรัฐบาลด้วยนั่นเอง
ที่น่าสนใจคือคลื่นความถี่ 5G นี้ นอกจาก 3 เครือข่ายมือถือยักษ์ใหญ่ AIS, Dtac และ True ที่ต้องเข้าประมูลแน่ๆ แล้วยังมี ทีโอที (TOT) และ กสท โทรคมนาคม (CAT) เข้าร่วมประมูลด้วย โดยมีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นผู้สนับสนุนทั้ง 2 บริษัทนี้ และก็น่าจะทำให้ราคาแกว่งสู้กันพอสมควร
หลังจาก กสทช. ประกาศราคาประมูลแล้ว ก็ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารเครือข่ายทั้ง 3 แห่ง และต่างให้ข้อเสนอแนะ และความเป็นห่วงต่อการจัดประมูลครั้งนี้กันดังนี้
AIS โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ มีความกังวลเรื่องราคาประมูลที่สุดท้ายอาจจะไปจบสูงเกินไปจนไม่คุ้มที่จะลงทุน หากมีเอกชนรายอื่นเข้ามาป่วนปั่นราคากัน จึงอยากให้มีการค้ำประกันเงินประมูลไว้ก่อน 100% สำหรับผู้เล่นรายใหม่ เพื่อป้องกันปัญหา และเสนอให้มีการแบ่งเงินจากการประมูลคืนส่วนหนึ่ง แทนที่จะนำส่งคลังทั้งหมด ก็นำกลับมาให้เครือข่ายใช้ในการพัฒนาขยายสัญญาณ ซึ่งจะตอบโจทย์รัฐบาลที่อยากจะทำสมาร์ทซิตี้ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC เครือข่ายก็จะมีงบประมาณในการลงทุนได้โดยง่าย
True โดยคุณวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ เห็นพ้องกับทาง AIS ที่แสดงความกังวลเรื่องปั่นราคาไม่ต่างกัน
Dtac โดยคุณอเล็กซานดาร์ ไรซ์ ก็อยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือโอเปอร์เรเตอร์บ้าง เช่น เวียดนามก็มีการจัดเก็บค่าคลื่นต่ำกว่าปกติในช่วงแรก เพื่อให้เอาเงินไปลงทุนเครือข่ายก่อน ยังไม่ต้องรีบชำระ เมื่อรายได้จากโครงข่าย 5G เริ่มมีดอกมีผลจึงเริ่มจัดเก็บในอัตราก้าวหน้าในปีหลังๆต่อไป
*อธิบายเพิ่มเติม* เรื่องการลงทุนเครือข่าย 5G ในบางประเทศ มีการให้คลื่นเครือข่ายสามารถนำไปใช้ได้ฟรีเลยก็มี โดยมีเหตุผลหลักอยู่ 2 ประการคือ
- โมเดลธุรกิจ 5G ยังไม่ชัดเจน หากนำมาให้บริการเหมือน 4G แค่โทรหรือเล่นเน็ต จะไม่ตอบโจทย์การใช้งาน และไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมได้มากพอ โดย 5G จะเป็นกระดูกสันหลังของเหล่าอุปกรณ์ IoT นั่นเอง แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความแน่ชัดว่าเครือข่าย 5G จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อย่างไร โดยมากจะอยู่ในช่วงของการทดลองความเป็นไปได้อยู่เท่านั้น
- ต้องการขึ้นเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แม้ว่าโมเดลธุรกิจของ 5G ยังไม่ชัดเจน แต่ทุกฝ่ายต่างมั่นใจว่ามันกำลังจะมาในเร็วๆนี้ ทุกประเทศต่างต้องการให้เครือข่าย 5G เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นนั่นเอง
ดังนั้นข้อเสนอเรื่องการประมูลไม่ว่าจะคืนเงินเพื่อพัฒนาเครือข่าย หรือจัดเก็บในราคาที่ต่ำ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้
รับย่านไหนดีครับ?
ย่าน 700 2x5MHz ใบละ 8,792 ล้าน มี 3 ใบ ห้ามใช้ใกล้ไมค์ลอยคาราโอเกะ
ย่าน 1800 2x5MHz ใบละ 12,486 ล้าน มี 7 ใบ คราวก่อนขายไม่หมด ราคานี้แหละ
ย่าน 2600 10MHz ใบละ 1,862 ล้าน มี 19 ใบ เจอกำแพงคลื่นวูบ
ย่าน 26GHz 100MHz ใบละ 300 ล้าน มี 27 ใบ ฝนมาคลื่นดับ
— แมกนีโต (@Saran2530) October 30, 2019
คอมเมนต์ติดตลกจากทางผู้บริหาร AIS ถึงช่วงคลื่นต่างๆ ที่นำออกมาประมูล
ปัจจุบันเกาหลี และจีนได้เริ่มใช้งาน 5G กันไปเป็นที่เรียบร้อย ส่วนประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เวียดนาม และมาเลเซีย จะเริ่มต้นใช้งานคลื่นความถี่ 5G อย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2563 ปีหน้าเช่นเดียวกัน หากไทยสามารถจัดการประมูลให้เกิดขึ้นได้ตามที่กำหนดไว้ ก็น่าจะทำให้เราเกาะเทรนด์ 5G นี้ได้ไม่ตกรถไฟของกลุ่มผู้นำอย่างแน่นอนครับ
5G คืออะไร – ไม่ใช่แค่เร็ว แต่เป็นรากฐานของอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า
การประมูลของกสทช ทำให้คนไทยใช้โทรศํพท์ มือถือแพง ….. รัฐฯ ได้ไป แต่ไม่มีการควบคุม ฯ และ เอาเงินเข้าคลัง ไม่ดูแลประชาชน
ผมอยากบอกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา เวียดนาม ค่าดาต้า ค่าโทร ถูกกว่าไทยเป้นเท่าๆ นี่เท่ากับว่า กสทช กับ โอปะเรเตอร์ รวมหัว กัน กินกำไรเกินควร
แย่มาก …. ไม่ชอบเลย….
อันนี้จะบอกว่า Operator รวมหัวกับรัฐก็ไม่ถูกนัก
ผมว่าถ้าค่าคลื่นแพง ก็ต้องเก็บเงินจากลูกค้าแพงด้วย ตัว Operator ก็อยากให้คลื่นถูกลง จะได้เก็บเงินลูกค้าน้อยลงเหมือนกัน
อ่านตัวเลือกที่ผู้บริหาร AIS มีให้เลือก อืม… เลือกไม่ถูกเลย ดีทุกช่อง
😆😆😆 มีหวังจะได้ใช้ unlimited data อีกแน่ๆ ขอสัก 8 Mbps นะ น่าคิดนะ
– op จะประมูลหมดไหม คลื่น 2600 กับ 26 อาจขายดี ส่วนที่เหลือถ้าจะประมูล คงเป็นการขยายแบนด์วิธของ 3G, 4G ซะมากกว่า และราคาแพงมากจนอาจคืนกลับรัฐไป ในทางกลับกันรายเล็กอาจมีโอกาสมากขึ้น โดยเฉพาะใครที่คิดจะไปทางให้บริการด้าน content ต่างๆ
– โมเดลยังไม่ชัดจริงๆ แหละ ดังนั้นช่วงปีแรกๆ อาจมีลุ้นโปร unlimited data แต่จำกัดสปีด เพราะดูแล้วแบนด์วิธกว้างเป็นทะเลจะปล่อยไว้ก็เสียโอกาส
ประเทศไทยราคาประมูลแพงมากๆ ดูอย่างทีวีดิจิตอลก็ต้องทยอยปิดช่องไปเพราะโดนมือถือแย่งลูกค้าไม่พอยังต้องจ่ายค่าประมูลแพงหูฉี่อีกตะหาก ถามจริง เม็ดเงินก้อนนี้เอาไปทำอะไรกัน 🛥 🕰 🎤 หรือแจกฟรีคนละพัน