ในยุค 3G (ยุคเดียวกับที่ประเทศอื่นเค้าไป 4G กันแล้วหนะ) สิ่งที่สร้างความทรมานให้กับมนุษย์โลกเป็นอย่างมากคือแบตเตอรี่ที่ไม่เคยจะพอเลย! เพราะนี่ก็ผ่านมาเป็นสิบปีแล้วที่แบตเตอรี่ไม่เคยพัฒนาขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern ก็จัดให้เรียบร้อยด้วยการเพิ่มความจุของแบตเตอรี่ Li-ion พร้อมๆกับความเร็วใจการชาร์จขึ้นถึง 10 เท่าด้วยกัน!
โดย Harold H.Kung ผู้นำทีมวิจัยของบทความทางวิชาการเรื่องนี้ได้เผยว่าในปัจจุบันนี้ Graphene (คาร์บอน) ได้ถูกใช้ทำขั้ว Anode โดยมันจะมีอะตอมของลิเธียมเกาะอยู่ 1 อะตอมต่อคาร์บอน 6 อะตอม Silicon (ซิลิกอน) จึงถูกนำมาพิจารณาใช้ทำขั้ว Anode แทนด้วยเหตุผลที่ว่าสามารถให้อะตอมของลิเธียมยึดเกาะอยู่ได้ถึง 4 อะตอมต่อซิลิกอนเพียง 1 อะตอม ก่อนหน้านี้ได้เคยมีความพยายามยัดซิลิกอนไปใช้งานแทน Graphene แต่ล้มเหลวด้วยปัญหาที่ว่าซิลิกอนจะมีการยืดและหดตัวตลอดเวลาที่ถูกชาร์จ ส่งผลให้อาจจะเกิดความเสียหายต่อตัวแบตเตอรี่ระหว่างชาร์จและทำให้ประจุรั่วออกไปอย่างรวดเร็วได้
ทางทีมวิจัยจึงยัดกลุ่มของซิลิกอนเข้าไปแทรกระหว่างแผ่น Graphene แทนเพื่อป้องกันความเสียหายจากการยืดและหดตัว ด้วยเหตุนี้เองทำให้แบตเตอรี่ตัวใหม่นี้มีความจุเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว นอกจากนั้นพวกเขายังได้ “เจาะ” รูขนาด 10-20 นาโนเมตรบนแผ่น Graphene อีกด้วยเพื่อสร้างทางลัดให้ประจุวิ่งไปหาช่องว่างไปนั่งสมาธิระหว่างแผ่น Graphene ได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การชาร์จทำได้รวดเร็วขึ้นถึง 10 เท่านั่นเอง
อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่ Li-ion ที่เจ๋งขึ้น 10 เท่านี้ก็มีข้อเสียที่ว่ามันมี “อัตราการเสื่อม” ที่เร็วกว่าแบตเตอรี่ยุคปัจจุบัน กล่าวคือหลังจากผ่านการชาร์จไป 150 ครั้ง ความเจ๋งของมันจะลดลงครึ่งนึงเหลือเพียง 5 เท่าเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม 150 ครั้งหมายถึงปีกว่าหรือนานกว่านั้น แถมมันก็ยังมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า Li-ion ที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้อีกต่างหาก
ต้องปรบมือให้ครับ นี่แหละนวัตกรรมที่ทุกคนรอคอย ซีพียงซีพียูจะไปกี่กิ๊กกี่คอร์ก็ยังไม่น่าสนใจเท่าเรื่องนี้เลย ใครสนใจในรายละเอียด ลองไปอ่านเปเปอร์นี้ดูได้ครับ “In-Plane Vacancy-Enabled High-Power Si-Graphene Composite Electrode for Lithium-Ion Batteries” ก็ขอให้มันออกมาให้ใช้จริงไวๆละกันครับ =)
Source: PC Mag via Android and Me
ใครเอามาใช้ได้ก่อน
รับเละ
สาระล้วนๆ วิชาการมาเต็มๆ
ขอให้ lg ออกของ optimus3d มาไวไวแล้วกันคับ
เป็นประโยชน์มากจริงๆครับ ขอบคุณครับ
ความหวังของโลกยุคใหม่คือเจ้ากราฟฟินนี่แหละครับ ที่จะทำลายกฎของมัวร์ลงได้ เมืองนอกอยู่ะหว่างนำมาใช้แทน Si ใน Low-K Wafer
อธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับว่า ไอเจ้ากราฟฟินเนี่ยมันคือ ใยคาร์บอนที่มีความหนา 1 อะตอมคาร์บอน!!!!!!!!!! เขาจะทำการสังเคราะห์มันขึ้นมาแล้วถักมันเป็นโครงตาข่าย (Graphine sheet)ไปอ่านบทความแล้วก็ยังงงๆ กับคำว่า Current batterrie เพราะเจ้ากราฟฟินมันเพิ่งถูกถักเป็น sheet ได้ราวๆปี 2005เอง มันเป็นไปไม่ได้ที่จะนำมาถูกขายในสินค้าปัจจุบัน ดังนั้นมันอาจเป็น current ที่หมายถึงงานวิจัยก่อนหน้าที่ทดลองใช้กราฟฟินเพียวทอเป็นชั้นเรียงขึ้นไปเป็นขั้วแอโนด แล้วมันติดปัญหาอะรไสักอย่าง(ไม่ชัวร์เพราะเข้าไปแล้วอ่านได้แต่ abstract แม้แต่reff ยังต้องเสียเงินเลย เซ็ง) แล้วเขาเลยงัดเอา Si ซึ่งหลาย U ก็ยังพยายามศึกษาอยู่แต่ติดปัญหาเหมือนที่บทความบอก(อันนี้เหมือนผมเคยเห็น paper มาแว้บๆ)มาแทรกClusters Si ระหว่าง sheet แล้วทำการสร้าง Hole บนSheet Graphine ขนาดกว้าง 10-20 nm ขึ้นมา(ไม่ทราบ pattern ว่ามีหรือ random)
ถ้าจะอธิบายที่มาที่ไปอย่างละเอียดคงต้องอ่าน Fullpaper -_-" ของม ผมโหลดมะได้ เซ็งจิต
10 เท่า!!! *0* ใช้ได้ 10 วันต่อการชาร์จครั้งนึง โอ้วววววววว ! ! !
150 ครั้ง ทำไมปีกว่าหว่า… ???
เพราะมันจุขึ้น 10 เท่า ทำให้ความถี่ในการชาร์จลดลงเหลือสองสามวันครั้งครับ
คิดเล่นๆ ว่าถ้าชาร์จมือถือวันละ 2 ครั้ง
หนึ่งปีใช้ 700 ครั้ง แต่ถ้าอึดขึ้น 10เท่า จะทำให้ชาร์จลดลงเหลือ 70ครั้งต่อ 1ปี
แปลว่าใช้ได้สองปี ผ่านไป สองปี ผมคงได้เครืองใหม่แล้วหล่ะ
แต่หากยังไม่ได้เครื่องใหม่ ประสิทธิภาพเหลือ 5เท่า ก็แปลว่าใช้ได้อีก นานโข
เมื่อเทียบกับอัตราการกินไฟปัจจุบัน ปัญหาคือ เครื่องใหม่ๆ ที่เลือกใช้เจ้านี่
จะมีอัตราการกินไฟ แบบไม่แคร์สื่อ หน่ะซี่
ปรบมือให้กับความเก่งครับ
กลัวว่าะจะระเบิดแรงกว่าเดิม 10 เท่า 😀 ขอให้ออกมาเร็วน่า
150 ครั้ง น่าจะหมายถึง 150 รอบนะ
ถ้า Li-on ปกติมี 1000 รอบ
1 รอบ = 100%
ก็ใช้ได้ 15000%
ภาษาอังกฤษคือ 150 Charges น่าจะเป็น 150 ครั้งจ้า
งั้นแบบนี้ เสียบทีก็นับทีรึป่าว
เพราะ Li-on นับเป็นรอบ ส่วนพวก Ni-cd นับเป็นครั้งที่ชาร์จ
มันจะย้อนกลับไปเป็นแบบเก่ารึป่าว ถ้าใช่ก็ต้องคอยใช้ให้ใกล้หมดค่อยชาร์จไม่งั้นเสียบบ่อยก็เสื่อมไว
แต่ถ้านับรอบแบบ Li-on ผมว่ามันอยู่ได้นานกว่าแบบเดิมอีกนะครับ ก่อนจะเสื่อมเหลือ 5 เท่า
เสียบทีนับคงไม่ใช่ครับ การทดลองพวกนี้เค้าคงใช้มาตรฐานใช้หมดชาร์จเต็มเพื่อวัดประสิทธิภาพ =)
สรุปมันก็คือ 150 รอบนั่นแหละ ใช่ปะครับ
เพราะใช้จนหมดแล้วชาร์จ = 1 ครั้ง
มันก็เท่ากับชาร์จครบ 100% ก็ =1 รอบ
น่าจะนะครับ
ก็ยังไม่ชัวอยู่ดีว่าถ้าเสียบตนที่ยังไม่หมด จะนับเป็นครั้งเลยมั้ย
ถ้าใช่ก็แย่หละ เสียบ data ก็ถือว่าชาร์จละ
แต่คงต้องเป้นแบบ Li-on หละมั้ง ขอให้เป็นอย่างนั้น
เค้าว่าพัฒนาต่อจาก Li-ion
ผมว่าถ้าพัฒนาต่อจาก Li-ion มันก็น่าจะเป็นรอบนะ
ไม่น่าจะถอยหลังลงคลอง
Li-ion เสียบชาร์จ ครบ 100 % นับ 1 ครั้งครับ
หากในครั้งไหนชาร์จไม่เต็ม 100 % ก็จะเอาครั้งต่อไปมาบวกให้เต็ม 100%
แล้วจึงนับครั้งต่อไป
เรปนี้ ต่อกันซะยาวเป็นหางงูเลย….
แฮ่ะๆ อยากมีส่วนร่วม
เจ๋งมาก เอาประจุไปนั่งสมาธิได้ด้วยอ่า….
แบบนี้เวลาซิงค์กับคอมทีมันก็เท่ากับใช้ไป1chargeแบบไม่คุ้มเลยสิ
ชาร์ทเต็ม ไซเคิล นับเป็น 1 สิ
ผมรู้สึกว่า apple จะเป็นเจ้าแรกที่หยิบไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง 55
Apple จะเอาไปใช้เจ้าแรกแล้ว…."จดสิทธิบัตร" หึหึ ความสนุกบังเกิด 555
ถ้าแค่ 150 รอบหรือปีกว่านี่ apple ไม่เอาหรอก เพราะว่าเครื่องเค้ามันเปลี่ยนแบตไม่ได้ มีหวังได้เคลมกันตรึมแน่ๆ ต้องให้ได้อีกสักเท่าคือ 300-500 รอบ (อายุรวม ๆ 2-3 ปี) ถึงพอจะทำเป็นสินค้าขายได้จริงครับ
150 ครั้ง อาจจะไม่พอครับ
ใช้ได้นาน ก็ใช้มากขึ้น เล่นเกม ต่อเน็ต ไม่ยั้งเพราะมันอยู่ได้ สรุป ก็ ใช้ได้วันเดียวเหมือนเดิม :p
แบตปกติ ประมาณ 8 ชม. ..10 เ่ท่า ก็ 80 ชม. .. แม่เจ้า
จัดเต็มวิชาการ สวดยอดวิวัฒนาการ
งั้นสรุปจริงๆก็คือมันจะใช้ได้150cycleนั่นเอง
ถ้าใช้ครบ150ครังจาก ปกติ10 เท่าลดลงครึ่งนึงก็ยังคุ้มอะน่าคิดดูๆ
ทุกวันนี้จัดหนักตลอด ชาร์ท วันละ 2 รอบ 555+ ขอให้อยู่ได้ 1 วันเต็มๆ(ซัก 20 ชม.ต่อวัน) ก้อดีใจแล้วววว
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า มันบอกว่าชาร์จเร็วขึ้น10เท่าความจุ10เท่า ชาร์จได้ 150ครั้งเอง เช่น ใช้เวลาชาร์จ 2ชั่วโมง น่าจะเหลือซักประมาณ12 นาทีแต่ใช้ได้จากเดิม 1 วันเป็น 10 วัน แบตจะอยู่ได้ทั้งหมด 1500วัน ประมาณ 4 ปี ถ้าใช้หนักสุดๆก็ประมาณ 2 ปี WOW ขอใหมาไวๆนะ อยากได้
ถ้า 150 cycle นี่ไม่ต้องห่วงเลย 150 cycle ใช้ถึงรึเปล่าก็ไม่รู้ 55 เปลี่ยนมือถือก่อนอยู่เรื่อย ปกติก็เสียบ usb อยู่เกือบตลอด แต่ถ้า 150 ครั้งก็คิดหนักเหมือนกันนะ (ติดนิสัยอยู่หน้าคอมต้องเสียบ usb ไว้)
เค้าหมายถึง stanby หรือเปล่า
เค้าหมายถึง stanby หรือเปล่า
จัดหนักๆแล้วอยู่ได้เกินวันก็พอใจแล้วครับ
ปีนึงเปลี่ยนแบตสัก 2 ครั้ง จะเป็นไร (แต่ 2 ปีเปลี่ยนครั้งก็ดีนะ ><)
ยังไงก็เถอะ ถ้ามันใช้ได้จริงๆๆก็เจ๋งมากครับ ปัญหาหนักอกหนักใจของชาวสมาร์ทโฟนจะหมดไป
แบต 10เท่า S2 ใช้แบตวันนึงประมาณ 2 – 3 ก้อน
เล่นเว็บเล่นเกม หนักๆก็คง 3ก้อนเต็มๆ
ชาร์ตเต็มวันนึงใช้งานได้อย่างน้อยก็ 3-4 วัน
ถ้าเปิดรับสาย เล่นเว็บ เกม นิดๆหน่อยๆ คงอยู่เกือบถึงอาทิตย์
ส่วนพวกโน็ตบุค ก็คงเปิดได้เป็นอาทิตย์ๆโดยแบตไม่หมดเลยหละมั้งเนี่ย
และต่อไปในอนาคต มันคงมี CPU 16Core บนมือถือ แบตก็จะหมดไวเหมือนตอนนี้หละมั้ง ^^a
สวดยวอดไปเลย 🙂
อ.อุ๊มาเองเลย แบตยุคใหม่มาแล้ววววว
คนไหนอ.อุ๊ หรอ ยูเซอไหน อยากรู็อ.อุ๊เล่นดอนแซนด้วยหรอ 5555+ อ.อุ๊ แห่งเดอะเบรนไม่รู็เราเข้าใจถูกคนกับคุณรึป่าวนะ
ใครจะเอาไปใช้ก่อนนะ ถ้า Li-ion ถึกงี้ก็เลิศเลย =w=b
อยากได้แบบใส่ถ่าน :bigsmile:
แบตทั่วไปของสมาทโฟน=1,500mAh
10เท่า=15,000mAh!!!!!
โอ้วแม่เจ้าาาา=[]=
ผมว่ามันจะเหลือ 1500 เท่าเดิม แต่ตัวแบตเล็กลง 10เท่าแทน หน่ะสิ
ยุด นาโน น่าจะแข่งที่ตัวเครื่องเล็กเล้ก
เอ่อหลายคห ดูจะตื่นเต้นแล้วซีเรียสเวอร์ไปป่าวครับ อีกนานครับ อีกนานมาก กราฟฟินเป็นวัสดุอนาคต แต่มันก็ยังใหม่อยู่ครับ โดยเฉพาะการสร้างโรงงานผลิตกราฟฟินในระดับ massproduction
มันไม่คุ้มทุนอยางแรงครับ เขาถึงได้อยู่ในระหว่างการวิจัย เพื่อเข็นเจ้ากราฟฟินเนี่ยไปประยุกต์ใช้กับพวก Device ต่างๆ เพราะคุณสมบัติมันโคตรเวอร์ ยิ่งdevice ออกมาเยอะมันถึงจะคุ้มทุน
มันเป็นแค่แนวทางการวิจัย การวิจัยนี้ก็เหมือนลำธารสายสั้นๆ แตกยอดกราฟฟินออกเป็นหลายสาย แล้วไปบรรจบกลายเป็นแม่น้ำ
ห้าปีเป็นอย่างน้อยครับกว่าเจ้ากราฟฟินจะโดนเข็นออกมาได้จริงๆ
แค่มีแนวทางก็เยี่ยมแล้วครับ ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวกระโดด แต่แบตย่ำอยู่กับที่นานมากแล้วครับ
คับมันเป็นแค่แนวทางวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการณ์ แล้วโอกาสทำขาย ณ ตอนนี้ก็ต่ำมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วจะมาซีเรียสทำไมครับ เรื่องรอบการชาร์จ
ถึงเวลานั้นมันคงจะดีขึ้นกว่านี้แน่ครับ ไม่ต้องซีเรียส
กราฟฟินเป็นวัสดุพลิกโฉมของโลกครับ cpu มือถือสี่คอร์ 3.0 GHz เป็นเรื่องเป็นไปได้ครับ ด้วยวัสดุชิ้นนี้
และยังมี device อื่นๆให้เอาไปเล่นซัพพอร์ตอีกเพียบครับ ที่เขาตื่นเต้นกันมากเพราะมันน่าจะทำลายกฎของมัวร์ ลงได้
มือถือ ~ 1500mAh x 10 = 15Ah
ระเบิดแรงขึ้น 10 เท่า….Boommmmmmm กลายเป็นโกโก้ครั้น
น้อยครั้งนะที่จะมีข่าวว่าแบตระเบิดน่ะ ถ้าเทียบกันกันข้อดีกับข้อเสียแล้ว ข้อดีมีเยอะกว่า ผมว่ามันก็คุ้มนะการที่แบตก้อนหนึ่งมันจะระเบิดมันต้องมีเหตุเตือนเราก่อนอยู่แล้ว เช่นตัวแบตบวม เวลาใช้งานเกิดอาการร้อนเกินผิดปกติเป็นต้น
เอาเหอะขนาดชาทไป 150 ครั้งแล้วมันเสื่อมลงมาแต่ก็ยังมากกว่าปรกติตั้ง 5 เท่าอยู่อีก
แบตเตอรี่เป็นปัญหาสำหรับการใช้งานไฟฟ้ามานานมาก เนื่องจากขนาด น้ำหนัก รายละเอียดในการชาร์ตและดูแลรักษา ผมเป็นคนนึ่งที่ใช้อุปกรณ์พวกนี้ตั้งแต่มือถือจนถึงรถไฟฟ้าก็รู้สึกว่ามันเป็นจุดอ่อนที่ทำให้คนไม่ปรับมาใช้พลังงานสะอาดซะที ต้องขอขอบคุณผู้คิดค้นเครื่องปฏิกรณ์อ๊าคนี้ได้ หะหะหะ เจ๋งสุดๆเลยครับ ขอบคุณมากที่แชร์ครับ
น่าจะพัฒนามาตั้งนานละ แบตเตอรี่เนี่ย มัวแต่พัฒนาจอให้เทพ ซีพียูให้เทพ เอามากินแบตมากขึ้น – –
เจ๋งอ่ะ
เรื่องแบ็ตนี่หล่ะครับของจริงว่าเทคโนโลยีของโลกจะไปทางไหน
คิดถึงโลกที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่อง Batt หรือมีน้อยมากๆดูครับ รถยนต์ไฟฟ้า
มือถือที่ไม่ต้องช็าตบ่อยๆ
สุดจะหยั่งเลยครับ
เคยมีการ์ตูนอยู่เรื่องพูดว่า รุ้ไหมปัญหาใหญ่ของการผลิตหุ่นยนต์เหมือนในหนังจริงๆที่เดินไปเดินมาทำโน้นทำนี่ได้คืออะไร
คือแหล่งพลังงานต่างหากหล่ะ! ไม่ใช่อย่างอื่นเลย
ถ้าทำให้มันราคาใกล้เคียงกับของเดิมได้ ตลาดอุปกรณ์พกพาโตอย่างมากแน่ๆ
ถ้าเกิดไปไช้ในรถยนต์ไฟฟ้าได้อืก มันคงเป็นการเปลี่ยนโลกได้เลยที่เดียว
จุมากขึ้น ชาร์จเร็วขึ้น ต่อไปก็แค่ทำให้มันเสื่อมช้าลงให้ได้
ขอเป็นกำลังใจทีมวิจัยพัฒนานะครับ พวกเราจะได้ใช้พลังงานสะอาดกันมากขึ้นกว่านี้ครับ
ราคาก็สูงกว่าเดิม 10 เท่า..
ถ้าใช้ได้จริง smart phone คงมีไว้แทน คอมพิวเตอร์แล้วล่ะครับ
แต่ก็แอบเชียร์อยู่เหมือนกัน อิอิ
อะไรๆก็เกิดขึ้นได้. . .ถ้าทำได้จริงละมีเฮแน่ๆงานนี้
ปัญหาอยู่ที่ 150 ครั้ง กับ ราคานี่สิครับ – –
ดูข่าวจากอีกเวปนึงเขาว่ากว่าจะออกสู่ตลาดมาให้ใช้กันแบบปกติทั่วไปก็อีก 5 ปีข้างหน้า มันนานไปมั้ยอ่ะ
ประมาณนั้นแหละครับ ไม่ได้รอแบตแต่รอ device อื่นที่ต้องสังเคระห์กราฟฟินขึ้นมา แล้วพวกนี้เขาก็ต่อยอดไปเรื่อยๆครับ ถึงเวลาที่ต้นทุนมันถูกลงเราๆ ท่านก็จะได้ใช้เอง อย่างเทคโนโลยีการผลิตนาโนในระดับห้องปฏิบัติการณ์ตอนนี้อยู่ที่ 8นาโน แต่ของพวก intel ยังเพิ่งจะเข็น 28นาโนออกมาเอง
ดีมากๆเลย
ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่
มาเป็น capacitor จะดีมากเลยครับ
เสียบไฟ ปุ๊บ เต็มปั๊บ…