มาดูกันเลยดืกว่าครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ Nexus S และ น้องดรอยด์ของเราถูกจับส่งขึ้นไปในห้วงอวกาศ
ป.ล.ดูแล้วก็เสียดาย Nexus S อ่ะ เอามาให้เราใช้ดีกว่านะ หุ หุ หุ :tongue:
ที่มา : http://googlemobile.blogspot.com/2010/12/android-in-spaaaace.html
มาเพิ่มต่อให้ ^^
ดูเผินๆแล้วก็เหมือนว่าจะเป็น video โปรโมต Samsung ยังไงอย่างงั้น เพราะทุกอย่างใช้ Samsung มันทั้งหมดเลย และที่ส่งขึ้นไปบนอวกาศนี้ก็เหมือนเป็น Stress Test ทดสอบความอึดของเจ้า Nexus S อิอิ โดยได้ผลการทดสอบออกมาว่า
– GPS ของเจ้า Nexus S สามารถทำงานได้แม้จะขึ้นไปได้สูงถึง 60,000 ฟุต (Balloon ลอยขึ้นไปสูงประมาณ 100,000 ฟุต เท่ากับระยะทางประมาณ 30กิโลเมตร!! แล้วจึงแตก)
– และสามารถใช้ได้แม้อุณหภูมิลงไปต่ำถึง -50องศาเซลเซียส!!
นับว่าเป็นครั้งแรกของหุ่นเขียวที่ได้ขึ้นไปเยี่ยมอวกาศ โดยก่อนหน้านี้เคยมีครอบครัวนึงเคยทำอย่างงี้มาแล้วแต่เป็นการใช้ iPhone แทนและไม่มี Sponsor
เอ้า มีใครสนใจจะส่งมือถือตัวเองขึ้นไปทำ stress test อย่างงี้ดูอีกมั่งมั้ย 🙂 mod droidsans ยินดีไปร่วมแจม ^^
ไปขอบโลกเลย 😉 เเต่ว่าขึ้นไปขนาดนั้น บอลลูนเเตก เวลาวัตถุตกเข้ามาในชั้นบรรยากาศ ไม่เกิดความร้อนสูงจนเผาไหม้ตัว Nexus S เหรอ
กล่องโฟมพร้อมโทรศัพท์มันเบา แล้วก็มีชูชีพด้วย (ของอัน IPHONE)
COOL
appleไม่มีmascot อุอุ
สงสารน้องหุ่นเขียว โดนเหวี่ยงตกโลก
อยากรู้จริงๆ มันจะไปตกอยู่ที่บ้านใคร
ใครเป็นเจ้าของหุ่นเขียวตัวนั้นนำไปประมูลขายต่อ รวยๆๆ 😛
ได้เที่ยวอวกาศด้วย…วุ้ย สุดยอด ๆ
แล้วมันส่งสัญญาณภาพกลับมายังไงอ่ะ…
edge/3g ไม่น่าทำงานได้ wifi ก็ไกลเกินไป รอให้ตกแล้วเก็บ mem มาถอดความ ก็โห…สูงขนาดไหนอีกตอนตกจะไปลงบ้านใครก็ไม่รู้
แล้ว…
กว่าบอลลูนจะไปถึงความสูงระดับนั้น กล้องไม่ดับ (sleep) แบตไม่หมด กลางทางเอารึไงน่ะ
แบตคงไม่หมดหรอกครับ… เพราะเห็นเขาเอาอะไรเสียบที่โทรศัพท์อยู่ อาจจะเป็นแหล่งพลังงานเสริมก็ได้
ส่วนภาพ ก็คงตั้งถ่ายทิ้งไว้ แล้วค่อยไปเอามาตัดต่อใหม่น่ะครับ
ส่วน GPS ตอนตก เดี๋ยวมันก็จับแล้วระบุพิกัดมาที่ Notebook แหละครับ
แต่ใน SSGS ROM Official นี่ จับ GPS ไม่ดีเลย… จับติดยากมาก… (ขอบ่นหน่อยเหอะ)
สงสารเจ้าหุ่นเขียว ท่าทางจะบันจี้จั๊มอวกาศ 55+ (แต่ไม่น่ารอด)
ดูท่าจะใช้วิธีเดียวกันกับครอบครัวที่ส่งไอโฟนขึ้นไป คือ…ขากลับ ติดร่มเพื่อลดความเร็วในการตกไว้ด้วย เมื่อถึงระยะใกล้พื้น หากแบตไม่หมดก่อน มือถือจะรับสัญญาณเครือข่ายมือถือได้ และส่งพิกัดของตนเองกลับมาให้ผ่านเครือข่ายมือถือ ทำให้สามารถรู้ตำแหน่งที่จะตามเก็บ ณ จุดที่ตก แถมเค้าติดไฟ LED กระพริบ เพื่อให้สามารถค้นหาง่ายในเวลากลางคืนด้วย
น่าสนใจ ใครมี Spica เก่าๆอยากบริจาคมาลองกันบ้างไหมครับ ?