พอดีตอนนี้มาทำธุระที่เชียงใหม่ แล้วปกติก็จะกดเงินสดมาจากกรุงเทพเลย เพราะเคยโดนค่าธรรมเนียมเมื่อกดเงินที่ต่างจังหวัดที่แสนจะหฤโหด (เบิก 1,000 บาท เสีย 30 บาท เท่ากับ 3% เลยนะเฮ้ย) แต่ครั้งนี้มันลืมจริงๆ เงินแทบไม่เหลือติดตัวเลยต้องจำใจกดไป ซึ่งหลังๆมานี่ก็ลดความหนาของกระเป๋าตังค์ด้วยการใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรของ SCB มาตลอด จึงทำให้รู้ว่าช่วงนี้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรไม่มีค่าธรรมเนียมเมื่อกดข้ามเขตครับ
ตอนที่กดแล้วเห็นว่าไม่มีค่าธรรมเนียมนี่บอกตรงๆเลยว่าประทับใจมาก ไม่นึกว่าที่พูดในงาน SCB VISION ว่าจะลดเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆลงจะเอาจริง เพราะมันเป็น Pain Point ที่หนักหนามากของคนสมัยนี้เวลาทำธุรกรรมกับธนาคาร และรู้สึกดีกับธนาคารไทยพาณิชย์ขึ้นอีกเพียบเลย
เมื่อมีความรู้สึกดีๆก็ต้องแชร์ ก่อนเขียนข่าวนี้ก็เอาไปแปะที่ทวิตเตอร์มาก่อน ความรู้สึกดีก็เลยมีเบรคลงไปนิดหน่อย เพราะมีคนมาแจ้งว่าโปรโมชั่นนี้จะได้ถึงแค่วันที่ 5 เมษายนนี้เท่านั้น ก่อนวันสงกรานต์แค่สัปดาห์เดียวเอง (ฮืออออ)
ฟรีค่าธรรมเนียมข้ามเขตถึง 5 เมษายน 2561 #ก่อนหยุดยาวช่วงสงกรานต์ https://t.co/JZMpCwv372
— Woody™ วด. (@Woody754) January 27, 2018
อย่างไรก็ดีเห็นบอกว่าการไม่คิดค่าธรรมเนียมข้ามเขตนี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการยืดเวลามาจาก 31 ธันวาคม 2560 มาทีนึงแล้ว ก็หวังว่าทางธนาคารจะทำการยืดอีกสักรอบให้ถึงกลางปีหรือตลอดไปเลยอะไรงี้นะครับ ^^*
ปล. จริงๆถ้าใครใช้ของธนาคารกรุงศรีฯ หรือว่า TMB ก็เห็นว่าไม่มีค่าธรรมเนียมการเบิกถอนที่ต่างจังหวัดเช่นกันนะครับ แถมไม่จำกัดธนาคารด้วย อันนี้ยังต้องพยายามหาตู้ที่เป็นของธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้นครับ
เพิ่มเติมอีกนิดนึง พอดีไปเห็นตู้ ATM แบบใหม่ของไทยพาณิชย์ที่สยามแสควร์มา คือเปลี่ยนรูปแบบ UX/UI ของตู้ ATM ที่มีมาก่อนหน้าทั้งหมดไปเลย คือ ออกแบบมาเพื่อให้สัมผัสสั่งงานโดยเฉพาะ มีคีย์แพดเอาไว้ให้กดตัวเลขเป็นหลักครับ
จัดว่ามีพัฒนาการที่ไวขึ้นเรื่อยๆครับ ในปีนี้น่าจะได้เห็นอะไรสนุกๆกันอีกเพียงในแวดวงธนาคาครับ
พวกค่าธรรมเนียมข้ามเขตต่างๆ ยังไม่เข้าใจ ทำไมต้องมี ก็ในเมื่อปัจจุบัน ทุกอย่างมันก็อยู่ใน database ใน server อยู่แล้ว
ขนาดผมฝากเงินเข้าของกรุงไทยจากกรุงเทพไปต่างจังหวัดยังต้องเสียเงิน ผมว่ามันงี่เง่ามาก
ถ้าอ่านบทความอื่นตอน promtpay มาใหม่ๆ เค้าจะบอกครับว่า ธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายตอนนำเงินฝากต่างๆ แล้วนำไปใส่ตามตู้ ATM ต่างๆ เช่น รถขนเงิน(ต้องกันกระสุน) การจ้างคนไปกับรถขนเงิน ค่าน้ำมันที่รถต้องใช้ ยิ่งเป็นบนดอยหรือภูเขาค่าใช้จ่ายจะเยอะ
จึงเป็นที่มาของค่าธรรมเนียม
ระบบ promptpay ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้แทนเงินสด จะได้ไม่ต้องใช้แบงค์ ลดค่าใช้จ่าย ในการพิมพ์ ธนบัตร ในการขนส่งเงิน ระหว่างสาขา หรือตู้ต่างๆ ป้องกันเรื่องการจี้ปล้น (เพราะไม่มีเงินสดติดตัว ถึงจี้ไปได้ก็ตามตัวได้ว่าไปให้ใคร) ถ้าจำไม่ผิด ธนาคารกลางต่อรองกับธนาคารพานิชย์ต่างๆ เรื่องสนับสนุน promtpay โดยในอนาคต การเบิกเงินจากตู้ไม่ว่ามากหรือน้อย จังหวัดเดียวกันต้องเสียเงินในการดำเนินการทุกครั้ง และ อาจแบ่งตามพื้นที่เช่น พื้นที่ราบสูงหรือภูเขาจะแพงกว่า พื้นที่ราบต่ำ
ปล.ไม่ได้ติ่ง promtpay ไม่ได้เข้าข้างธนาคาร แต่อ่านมาว่าอย่างนี้ ลองหาให้ กูเกิล เรื่อง promptpay กับ ธนาคารแห่งประเทศไทยดู ก็จะเห็นบทความนี้เองนะครับ
เพราะเงินที่กดออกมามันไม่ใช่ตัวเลขในคอมไงครับ ถามว่าถ้าคนเอาเงินไปฝากไว้ที่กรุงเทพเยอะๆ แล้วไปเบิกที่ถอนที่สาขาบ้านเกิดตัวเอง เงินมันไม่ได้ลอยไปได้ใน database นะครับ มันก็ต้องเอารถขนเงินไปส่ง แต่ถ้าใช้จ่ายด้วย cashless ไม่ต้องมีธนบัตร อันนี้ก็อีกเรื่อง เพราะทุกอย่างในคอมล้วนๆ
เอาแค่ข้อมูลบน Server ก่อนละกันนะ
ถ้าเราจะเอา Transaction แต่ละสาขาทั่วประเทศมาเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์ตัวเดียว ด้วยเน็ตเวิร์คและความเร็ว Server ตอนนี้ คงจะแลคเอามาก ๆ เค้าเลยต้องแบ่ง Zone เก็บข้อมูลเป็น Server แยกกันทำธุรกรรมของแต่ละ Zone ทีนี้พอต้องโอนข้าม Zone มันเลยต้องคำนวณข้อมูลส่งต่อกันข้าม Server กันครับ และต้องใช้เวลาในการทำ Transaction นั้นอีก ในบางธนาคารมันรับไฟล์มาแล้วต้องมาประมวลผลเข้าตอนช่วงตี 3 – ตี 4 ซึ่งสมัยก่อนเน็ตช้า ต้องเอาลงเทปแล้วขับรถมาส่งครับ แต่สมัยนี้เน็ตเร็วแล้วนะ ผมว่าธนาคารบางที่ก็คงจัดการลดต้นทุนในวิธีการส่งไฟล์ข้าม Server กันได้แล้วเค้าก็ยกเลิกค่าธรรมเนียมไป
จะเข้ามาบอกว่า ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมค่าข้ามเขต
เพราะมันโดนเหมาะเป็นค่าใช้จ่ายใน ค่าธรรมเนียมรายปีของบัตร atm ไปเรียบร้อยแล้วครับ ไม่ว่าจะกรุงศรี หรือ tmb ก็ตามครับ
จะสังเกตได้ว่า ค่าธรรมเนียมบัตรที่กดข้ามเขตได้จะแพงกว่าแบบปกติอยู่พอสมควรเลยครับ
แต่ถ้าใครกดเงินข้ามเขตบ่อยๆ มันก็คุ้มในระดับนึงเลยครับ
เปิดฟรีมาจะ 3-4 เดือนแล้วมั่งตั้งแต่ปีที่แล้ว จริงต้องหมดโปรสิ้นปี
แล้วขยายฟรีต่อไปอีกถึงก่อนสงกรานต์
แต่โดยรวมๆ แล้ว ผมยกเลิกบัตร atm ไปแล้ว
แล้วอาศัย เปิดบัญชีไว้ 2 จังหวัด คือกทม กับฉะเชิงเทรา
แล้วเวลาจะถอน ก็โอนออนไลน์ฟรี แล้วค่อยกด cardless อีกที
(มันจะฟรีต่อไปอีก เฉพาะ 2 จังหวัดหลักที่ผมเปิดบัญชีไว้)
ไม่ได้ว่างั้นว่างี้นะครับ แชร์ๆกัน ^^
TMB All Free กดฟรีทุกตู้ทุกที่ ต่างธนาคารต่างจังหวัด ฟรีหมด โอนใน App ก็ฟรี ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อวัน
ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่าเกือบจะใช้ TMB เป็นหลักไปละครับเพราะมันง่ายไม่ต้องวิงหาตู้ TMB เลย
ค่าสมัครก็ค่าบัตร 500 บาท เท่านั้นพอๆกับธนาคารอื่น
ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ก็เท่ากับธนาคารอื่น
ส่วนเรื่องจ่ายบิลใน App ส่วนตัวผมยังใช้กสิกรอยู่ก็สลับๆกันใช้ ดี-ด้อย ต่างกันครับ
ดอกเบี้ยออมทรัพย์ all free ก็ free นะครับ
เราใช้บัตร Debit Plus(มีประกันอุบัติเหตุ ครั้งละ 5,000.- บ.) ของธ.ไทยพาณิชย์ จ่ายแค่ค่าบัตรปีละ 550.- บ. ไม่เห็นต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีอะไรเลย
เรื่องที่ TMB โฆษณาว่ากดฟรีหนะ เพราะมันเก็บเงินเราไปก่อนแล้วไง ไม่ได้ฟรีจริงอะไรหรอก อย่าซื่อกันนัก ตั้งแต่โฆษณานี้ออกมาแรกๆ เราก็ไปเช็คดูแล้วถึงรู้ว่ามันตอแหล, ถ้าคนที่ต้องโอนเงินบ่อยๆ ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อปีเยอะๆอาจจะคุ้ม แต่คนที่นานๆโอนทีไม่คุ้มหรอก
ทุกธนาคารมันหากินกับค่าธรรมเนียมทั้งนั้น เพราะเป็นของตาย ได้ง่ายๆ ปีๆกำไรเป็นหมื่นล้าน
มีข่าวเรื่องธ.ไทยพาณิชย์มาฝาก http://www.langetai.khaosaan.com/3450, ลองกดเข้าไปดูกัน
ค่าบัตร 350 พอๆ กันดับแบงค์อื่นครับ แต่ผมทำเพราะผมเคยทำบัตรหายแล้วออกใหม่พรี โอนไปไหนก็ฟรี จ่ายบิลก็ฟรี รีบเงินเข้าก็ฟรี ในขณะที่บัตรอื่นมันไม่ฟรีแบบนี้ครับ
เรื่องที่ว่า "ธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายตอนนำเงินฝากต่างๆ แล้วนำไปใส่ตามตู้ ATM ต่างๆ เช่น รถขนเงิน(ต้องกันกระสุน) การจ้างคนไปกับรถขนเงิน ค่าน้ำมันที่รถต้องใช้ ยิ่งเป็นบนดอยหรือภูเขาค่าใช้จ่ายจะเยอะ จึงเป็นที่มาของค่าธรรมเนียม" ฟังดูน่าเชื่อถือสำหรับพวกซื่อๆๆๆ ซื่อจน… จะได้ก้มหัวจ่ายให้โดยดี
เพราะจริงๆแล้วแต่ละวัน ทุกสาขาของธนาคารจะมีเงินหมุนเวียนเข้า-ออกมากกว่าเงินที่เอามาใส่ในตู้ ATM หลายเท่าตัว ไม่จำเป็นที่สนง.ใหญ่ต้องขนเงินไปให้ ถ้าใครเคยดูตอนที่พนักงานเอาเงินมาใส่ ATM ก็จะเห็นว่าเป็นพนักงานของสาขานั้นๆที่เอามาใส่ แล้วหน้าธนาคารก็ไม่มีรถขนเงินมาเลย
แต่ละสาขาเค้าจะบริหารจัดการกันเอง โดยสนง.ใหญ่จะให้อำนาจแต่ละสาขาที่จะเก็บเงินสดไว้ที่สาขาได้จำนวนหนึ่ง(ไม่รู้ว่ากี่แสน หรือกี่ล้าน เพราะไม่ได้เป็นผจก.) เพราะแต่ละสาขาจะรู้ว่าแต่ละวันมีเงินหมุนเวียนเข้า-ออกจำนวนเท่าไร ต้องสำรองไว้เท่าไร ส่วนเงินที่เหลือก็อาจส่งเข้าสนง.ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับคนกดเงินเลย เป็นค่าใช้จ่ายของธนาคารทั้งนั้น
ส่วนช่วงเทศกาลต่างๆที่จะมีการถอนเงินมากกว่าปกติ(มากกว่าเงินสำรองของสาขา) สนง.ใหญ่ก็อาจต้องเอาเงินไปให้สาขา ซึ่งปีๆก็มีไม่กี่ครั้ง
ตามตจว. สาขาหลัก(อำเภอเมือง)ก็จะเป็นคนดูแลสาขาย่อยอื่นๆ
ธนคารแต่ละแห่งมีเอาท์ซอสหรือบ.ลูกเป็นคนขนเงินครับ อย่างกสิกรที่ผมเคยทำงาน ใช้บ. โปรเกรส กันภัยเป็นคนขนเงิน ทางอบงค์ต้องจ่ายคชจ.ให้บ.นี้นะครับ ไม่ได้ขนเงินให้ฟรี ถึงจะเป็นบ.ในเครือก็ตาม
เบื่อคนฉลาดจังเลยครับ
อยากรู้จังว่าคนฉลาดมีเงินในบัญชีเท่าไหร่ ฉลาดแบบนี้ต้องหลักสิบล้านแน่ๆ
ถ้าลดสาขาเยอะอย่างที่บอกมาจริง สุดท้ายต้องให้กดข้ามเขตไม่เสียตังเพราะสาขาลดลงต้นทุนลดลง (เหมือน Citibank ที่มีแค่สามสาขาแล้วกดเงินฟรีทุกตู้ทุกเขตไม่มีข้อจำกัด)