(ประสบการณ์) ที่ได้รับจากการทำการคู่มือการใช้งาน App ‘JuiceDefender‘
JuiceDefender มีการทำงานและคุณสมบัติที่สุดยอดมากครับ นอกจากภาพรวมที่หลายๆ คนเข้าใจว่า มันช่วยประหยัดแบตฯ มันทำให้เครื่องของเราหายหน่วง หรือหายอืดได้ (ใครไม่เคยลองอาจไม่รู้ แต่ถ้าเครื่องเริ่มอึดๆ หน่วงๆ การหันมาหา JuiceDefender ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้)
นอกจากสิ่งที่หลายๆ คนได้รับรู้จากการติดตั้งและใช้งาน JuiceDefender แล้วนั้น ยังคงมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผมได้เรียนรู้จาก JuiceDefender อีก เช่น
– การเปิด-ปิดการเชื่อมต่อ (connectivity) ต่างๆ ได้
– กำหนดเวลา ทั้งที่เป็นช่วงเวลาในการ sync (เปิด-ปิดการเชื่อมต่อ) และช่วงเวลาที่ปิดการเชื่อมต่อในระหว่างกลางคืน
– กำหนด apps ใดที่สามารถใช้กับการเชื่อมต่อได้ หรือไม่ได้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถกำหนด apps ดังกล่าวได้ให้อยู่ในส่วนของ Whitelist
– (ที่เด่นมาก แต่ไม่รู้ว่ามันทำได้จริงไหม!?) การเรียนรู้ Location ของการเปิด-ปิดการใช้งานการเชื่อมต่อ WiFi ก่อนการเชื่อมต่อด้วย Mobile data (EDGE / GPRS)
และที่สำคัญเลย ทำให้ผมเรียนรู้ว่า การเปิดใช้งานการเชื่อมต่อนั้น กินพลังงานมาก ดังนั้น JuiceDefender หรือบาง apps (ที่อาจมีมาเทียบเคียง) มาเพื่อช่วยจัดการในส่วนนี้ได้อย่างดี
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การอธิบายการใช้งาน app JuiceDefender นี้ จะช่วยให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้เข้าใจ app ที่มีประโยชน์ตัวนี้ และเลือกใช้งานตามรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการ และหากมีข้อคิดเห็น / คำแนะนำเพิ่มเติมใดๆ ก็ยินดีครับ
ผมต้องขออภัยด้วยสำหรับภาพที่เล็ก เพราะผมเอาไปไว้ที่ mediafire.com และมันกำหนดภาพได้ขนาดเท่านี้เองครับ (แต่คิดว่า คำอธิบายที่เป็นตัวอักษรพอที่จะทำความเข้าใจได้อย่างดีในระดับที่พึงพอใจแน่นอนครับ) … ขอบคุณครับ
===
การติดตั้ง และการเรียกใช้งาน
การติดตั้ง
1. ให้คลิกที่ ‘Market‘
2. กดที่รูปแว่นขยาย เพื่อค้นหา
3. พิมพ์ ‘JuiceDefender‘ ลงไป แล้วกด ‘enter’ หรือ ‘Go’
4. จะพบตัวโปรแกรมที่ค้นมามาให้ (จากภาพผมพิมพ์แค่ Juice มันเลยออกมาให้เห็น 4 – 5 apps) แล้วเลือก app ‘JuiceDefender – Battery Saver‘
หมายเหตุ : เมื่อ 15/04/2011 ผมลองทำการถอน app เดิมออกจากเครื่อง และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง โดยโหลดจาก Market (เดิมๆ ที่รู้กัน) พบว่ามันเป็น version ใหม่
ข้อมูลภาพเต็มๆ โหลดได้ที่ : http://www.mediafire.com/imgbnc.php/c62a2f2953d4690d8056b030b4f68cd75e980262d263bf1ba01bc5a968d8d75e6g.jpg
การใช้งาน
1. กดเข้าไปที่ ‘Application’ เพื่อค้นหา ‘JuiceDefender
2. (เมื่อเปิดขึ้นมา) จะพบว่ามีแถบ 2 แถบ คือ ‘About‘ และ ‘Status‘ ให้ทำการกด ‘enable‘ ในแถบ ‘Status‘ หากต้องการใช้งานเลย ทั้งนี้จะพบว่ามี icon รูปโล่ อยู่ด้านบนซ้ายของเครื่อง (สัญลักษณ์ของโล่ และสีของจุดนั้น อธิบายใน comment #8 แล้วครับ)
หมายเหตุ : หากต้องการศึกษารูปแบบก่อนการ enable ก็สามารถทำได้ครับ
เมื่อเรียกใช้งาน App : JuiceDefender จะพบ Tap ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ About และ Status ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงเรื่องของ ‘About‘ ก่อน ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
1. Backup/Restore settings
Settings และ Locations ต่างๆ ถูกทำสำรองข้อมูลหลังจากการใช้งาน 1 สัปดาห์ (จากการสำรองข้อมูลครั้งล่าสุด)
ซึ่งสามารถทำการเรียกคืนค่าแบบ manul ได้ในครั้งต่อไปที่ทำการติดตั้ง JuiceDefender
บนอุปกรณ์ใหม่ (หรืออีกเครื่อง) หากคุณต้องการทดลอง settings ใหม่ๆ สามารถทำการสำรองข้อมูล ณ ปัจจุบันได้ แล้วค่อยเรียกคืนค่าในภายหลัง (หากพบว่า มีบางสิ่งเกิดขึ้นแบบไม่คาดหวัง)
– backup
– restore
– restore (settings only)
ตัวเสริมอื่นๆ (มี links ให้ไปลองดูและโหลดมาใช้งานครับ ด้านล่าง)
get juiceplotter
ติดตามการใช้งานแบตฯ โดยจะแสดงผลเป็นกราฟ (สวยงาม) ทั้งการประเมินอายุแบตฯ และการวิเคราะห์แบบวันต่อวัน และอื่นๆ อีก
get seepu
คำถามทื่ว่า “มีอะไรกำลังทำงานในอุปกรณ์ของคุณ?” การติดตามการใช้งาน CPU, RAM และ network อยู่ในการควบคุม
get autokiller
AutoKiller และ Autorun Manager เป็น app เสริมสำหรับ JuiceDefender ซึ่งหากคุณคำนึงถึงการอายุของแบตฯ
2. Troubleshooting
ควรเช็คกับ support forums ก่อนการเปลี่ยนแปลงค่าใดๆ ในส่วนนี้
Screen
การเปิดหลังจาก unlock (Enable after unlock) ที่หน้าจอ ไม่ทำการเปิดการเชื่อมต่อใดๆ จนกว่าอุปกรณ์นั้นถูกปลดล๊อค ซึ่งคุณเองสามารถตรวจสอบเวลาโดยไม่เสียพลังงาน
คุณสมบัตินี้ถูกปรับให้ใช้งานได้ (ตามค่าดั้งเดิม – ค่ามาตราฐาน) ซึ่งบาง app ทดแทนที่ใช้ในการล๊อคหน้าจออาจจะทำงานได้ดีกว่า ถ้าคุณสมบัตินี้ถูกปรับไม่ให้ใช้งานได้
Disable on WiFi
ระบุสัญญาณ / interfaces ใดที่จะถูกปิดการใช้งานเมื่อมีการเชื่อมต่อผ่าน WiFi
ตามค่าดั้งเดิมนั้น mobile data ถูกปิดในตอนนี้ เพราะ Android มีการจัดการด้วยตัวมันเอง ซึ่งในบางอุปกรณ์ (จากปัญหา firmware bugs) mobile data นั้นทำงานได้ไม่ดี หรือก่อปัญหาได้ ดังนั้น การให้ JuiceDefender เข้ามาจัดการถือเป็นทางออกที่ดีมาก และสามารแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่ในทางกลับกัน อาจส่งผลกับการรับ-ส่ง SMS/MMS ได้
ส่วน 3G และ 4G นั้น เราสามารถให้ JuiceDefender ปิดการใช้งานเพื่อประหยัดแบตฯ (แต่ในกรณีนี้ ยังไม่มีเหตุผลรองรับที่แน่นอนที่จะต้านคุณสมบัตินี้)
Mobile data AutoFix
หากการใช้งาน mobile data นั้นไม่มีการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ (ตามระยะเวลาที่เหมาะสม) คุณสมบัตินี้จะช่วยแก้ไขเอง แต่คุณสมบัตินี้มองว่าไม่จำเป็นครับ ให้ตรวจสอบข้อมูลจาก forum ก่อนการใช้งาน และให้ feedback หลังจากการใช้งานด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ : การให้สีที่หัวข้อนั้นมีความหมายดังนี้
– หัวข้อที่เป็นสีน้ำเงิน แสดงถึง หัวข้อหลักที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
– หัวข้อที่เป็นสีเขียว แสดงถึง หัวข้อรองที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
==
Apps + Links
App หลัก
JuiceDefender [Main Site] : http://latedroid.com/juicedefender
JuiceDefender – Battery Saver [FREE] : https://market.android.com/details?id=com.latedroid.juicedefender
App เสริม
JuicePlotter [FREE] : https://market.android.com/details?id=com.latedroid.juiceplotter
SeePU [FREE] : https://market.android.com/details?id=com.latedroid.seepu
Autorun Manager [FREE] : https://market.android.com/details?id=com.rs.autorun
App ทดแทน
Green Power FREE battery saver [FREE] : https://market.android.com/details?id=org.gpo.greenpower
==
ขอให้สนุกกับการติดตั้งและใช้งาน JuiceDefender เบื้องต้น จนไปถึงขั้นเมพฯ นะครับ
==
5 รูปแบบในการใช้งานของ JuiceDefender
ถ้าใครเคยเข้าไปลองดู หรือดูผ่านๆ หลังจากการติดตั้งแล้ว จะเห็นได้ว่า JuiceDefender – Battery Saver นี้ มีรูปแบบในการที่เราสามารถปรับเลือกได้ รวมถึงการปรับแต่งคุณสมบัติในการทำงานให้ตรงตามความต้องการได้ แล้วเราจะเข้าถึงรูปแบบต่างๆ ได้อย่างไร?
– แค่เปิด app ขึ้นมา หรือใครที่ใช้งาน app นี้อยู่แล้ว ก็แค่ดึงแถบด้านบนลงมา (หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า ‘drawer’ จะเห็น app นี้อยู่ ก็แค่สัมผัสลงไป
– (เมื่อ app ทำงาน) ให้แตะที่ีแทป ‘Status‘ ครับ ก็จะพบรูปแบบต่างๆ ที่อธิบายด้านล่าง
รูปแบบที่เราสามารถเลือกใช้เลือกปรับได้นั้น มีถึง 5 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
Profile #1 ‘balanced‘
รูปแบบ ‘balanced’ นี้ ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานเครื่อง โดย app ได้ทำการเลือกจุดสำคัญๆ (จากหลายๆ functions ที่มีในตัว JuiceDefender)
– เพื่อยึดระยะเวลาของแบตเตอรี่ ในขณะใช้งานเครื่อง
– ส่งผลกระทบน้อยมาก ต่อการใช้งานเครื่อง
รูปแบบนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป (หากต้องการปรับแต่งอื่นๆ สามารถทำได้ในรูปแบบอื่นๆ
หมายเหตุ : รูปแบบ ‘balanced’ จะเป็นรูปแบบเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้งานทำการติดตั้ง app ‘JuiceDefender’
Profile #2 ‘aggressive‘
รูปแบบ ‘aggressive’ นี้ ช่วยทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่า สามารถยึดเวลาการใช้งานออกไปได้อีกนาน / มากเท่าที่มันเป็นไปได้ แม้ว่าแบตฯ ใกล้จะหมดลงก็ตาม ซึ่งอาจทำงานเหมือนกับรูปแบบ ‘balanced’ บ้าง แต่เมื่อแบตเตอรี่เริ่มต่ำ JuiceDefender ก็จะตัดการเชื่อมต่อใดๆ (ในขณะที่แบตฯ ต่ำ หรือใกล้จะหมด) ผู้ใชงานสามารถกำหนด apps (จาก whitelist คือ กลุ่ม apps ที่เราสามารถเรียกใช้งานได้) ที่ต้องการใช้งานจริงๆ เพื่อเข้าสู่ internet ได้
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ จะทำให้แบตฯ ที่ใกล้หมด ยังคงมีเหลือพอที่จะทำงานต่อไปได้ (แม้ว่าระบบการเชื่อมต่อ connectivity จะถูก disabled ไปแล้วก็ตาม)
Profile #3 ‘extreme‘
รูปแบบ ‘extreme’ นี้ จะทำการปิด connectivity เช่น WiFi, EDGE, … etc. อย่างสมบูรณ์ (คือ ปิดสนิท ไม่รั่ว) การปิดที่ว่านี้ เป็นคุณสมบัติของรูปแบบ ‘extreme’ ในตัวมันเอง เพื่อประหยัดแบตฯ ผู้ใช้งานสามารถยังคงสามารถเปิดใช้งาน connectivity ได้อยู่ (โดยการเลื่อนม่าน ‘drawer’ แล้วเข้ามาที่ JuiceDefender’) เพื่อการเรียกใช้งาน apps ใน whitelist ที่จำเป็นต้องเข้า internet
ทันทีที่ screen (หน้าจอ) ปิด JuiceDefender ยังคงคอยให้การรับ-ส่งข้อมูลสมบูรณ์ก่อนการปิด connectivity อีกครั้ง
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ต้องเตือน!!!
1. widgets ที่หน้า home screen (ที่ไว้ใช้เปิด-ปิด internet) อาจทำงานไม่สมบูรณ์ได้
2. อาจกินเวลาหลายวินาที ในการเปิด connectivity เมื่อมีการเรียกใช้งาน apps จาก whitelist
Profile #4 ‘customize‘
รูปแบบ ‘customize’ นี้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบางคุณสมบัติที่เพิ่มเติมขึ้นมา (เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน) และปรับแต่งให้ตรงตามที่ต้องการ เพื่อการประหยัดแบตฯ ได้ดีอีกขึ้น
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ผู้ใช้งานจะเจอแท๊ปใหม่ 1 แท๊ป เพื่อการปรับแต่งอย่างรวดเร็ว
Profile #5 ‘advanced‘
รูปแบบ ‘advanced’ นี้ สำหรับผู้ใช้งานที่มีความต้องการในการปรับแต่งสูงมาก (หรือพวกเมพๆ เทพๆ ก็ว่าได้) ซึ่งจะสามารถเข้าไปถึง features ทั้งหมดของ JuiceDefender เพื่อการประบแต่งให้ตรงตามความต้องการ (ในรูปแบบนี้ มีการทำงานระดับเมพๆ เพื่อการประหยัดแบตฯ แบบเมพๆ เช่นกัน
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ผู้ใช้งานจะเจอแท๊ปใหม่ๆ มากมาย เพื่อการปรับแต่งอย่างเมพๆ ครับ
===
การปรับแต่งแบบ ‘Default‘ หรือ ‘Balanced‘
รูปแบบ ‘Balanced‘ เป็น 1 ใน 3 รูปแบบต้นๆ ที่ JuiceDefender มีการกำหนดค่าไว้แต่ต้นแล้ว ทำให้สามารถเลือก ‘enable‘ และใช้งานได้ในทันที โดยไม่ต้องการการปรับแต่งใดๆ เพิ่มเติม แต่การเลือกใช้รูปแบบ 1 ใน 3 รูปแบบนี้ ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดของแต่ละรูปแบบให้ดี เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการที่แท้จริง
ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกอธิบายด้านล่างนี้แล้วครับ (เหมือนกับที่อธิบายใน comment #2)
==
รูปแบบ ‘balanced’ นี้ ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานเครื่อง โดย app ได้ทำการเลือกจุดสำคัญๆ (จากหลายๆ functions ที่มีในตัว JuiceDefender)
– เพื่อยึดระยะเวลาของแบตเตอรี่ ในขณะใช้งานเครื่อง
– ส่งผลกระทบน้อยมาก ต่อการใช้งานเครื่อง
รูปแบบนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป (หากต้องการปรับแต่งอื่นๆ สามารถทำได้ในรูปแบบอื่นๆ
หมายเหตุ : รูปแบบ ‘balanced’ จะเป็นรูปแบบเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้งานทำการติดตั้ง app ‘JuiceDefender’
==
เมื่อเลือก profile ที่ต้องการได้แล้ว ให้กด ‘confirm‘ ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถใช้งานรูปแบบที่ต้องการได้ครับ
ขอให้สนุกและใช้งาน JuiceDefender ในรูปแบบ ‘Balanced‘ นะครับ
===
การปรับแต่งแบบ ‘Aggressive‘
รูปแบบ ‘Aggressive‘ เป็น 1 ใน 3 รูปแบบต้นๆ ที่ JuiceDefender มีการกำหนดค่าไว้แต่ต้นแล้ว ทำให้สามารถเลือก ‘enable‘ และใช้งานได้ในทันที โดยไม่ต้องการการปรับแต่งใดๆ เพิ่มเติม แต่การเลือกใช้รูปแบบ 1 ใน 3 รูปแบบนี้ ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดของแต่ละรูปแบบให้ดี เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการที่แท้จริง
ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกอธิบายด้านล่างนี้แล้วครับ (เหมือนกับที่อธิบายใน comment #2)
==
รูปแบบ ‘aggressive’ นี้ ช่วยทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่า สามารถยึดเวลาการใช้งานออกไปได้อีกนาน / มากเท่าที่มันเป็นไปได้ แม้ว่าแบตฯ ใกล้จะหมดลงก็ตาม ซึ่งอาจทำงานเหมือนกับรูปแบบ ‘balanced’ บ้าง แต่เมื่อแบตเตอรี่เริ่มต่ำ JuiceDefender ก็จะตัดการเชื่อมต่อใดๆ (ในขณะที่แบตฯ ต่ำ หรือใกล้จะหมด) ผู้ใชงานสามารถกำหนด apps (จาก whitelist คือ กลุ่ม apps ที่เราสามารถเรียกใช้งานได้) ที่ต้องการใช้งานจริงๆ เพื่อเข้าสู่ internet ได้
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ จะทำให้แบตฯ ที่ใกล้หมด ยังคงมีเหลือพอที่จะทำงานต่อไปได้ (แม้ว่าระบบการเชื่อมต่อ connectivity จะถูก disabled ไปแล้วก็ตาม)
==
เมื่อเลือก profile ที่ต้องการได้แล้ว ให้กด ‘confirm‘ ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถใช้งานรูปแบบที่ต้องการได้ครับ
ขอให้สนุกและใช้งาน JuiceDefender ในรูปแบบ ‘Aggressive‘ นะครับ
===
การปรับแต่งแบบ ‘Extreme‘
รูปแบบ ‘Entreme‘ เป็น 1 ใน 3 รูปแบบต้นๆ ที่ JuiceDefender มีการกำหนดค่าไว้แต่ต้นแล้ว ทำให้สามารถเลือก ‘enable‘ และใช้งานได้ในทันที โดยไม่ต้องการการปรับแต่งใดๆ เพิ่มเติม แต่การเลือกใช้รูปแบบ 1 ใน 3 รูปแบบนี้ ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดของแต่ละรูปแบบให้ดี เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการที่แท้จริง
ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกอธิบายด้านล่างนี้แล้วครับ (เหมือนกับที่อธิบายใน comment #2)
==
รูปแบบ ‘extreme’ นี้ จะทำการปิด connectivity เช่น WiFi, EDGE, … etc. อย่างสมบูรณ์ (คือ ปิดสนิท ไม่รั่ว) การปิดที่ว่านี้ เป็นคุณสมบัติของรูปแบบ ‘extreme’ ในตัวมันเอง เพื่อประหยัดแบตฯ ผู้ใช้งานสามารถยังคงสามารถเปิดใช้งาน connectivity ได้อยู่ (โดยการเลื่อนม่าน ‘drawer’ แล้วเข้ามาที่ JuiceDefender’) เพื่อการเรียกใช้งาน apps ใน whitelist ที่จำเป็นต้องเข้า internet
ทันทีที่ screen (หน้าจอ) ปิด JuiceDefender ยังคงคอยให้การรับ-ส่งข้อมูลสมบูรณ์ก่อนการปิด connectivity อีกครั้ง
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ต้องเตือน!!!
1. widgets ที่หน้า home screen (ที่ไว้ใช้เปิด-ปิด internet) อาจทำงานไม่สมบูรณ์ได้
2. อาจกินเวลาหลายวินาที ในการเปิด connectivity เมื่อมีการเรียกใช้งาน apps จาก whitelist
==
เมื่อเลือก profile ที่ต้องการได้แล้ว ให้กด ‘confirm‘ ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถใช้งานรูปแบบที่ต้องการได้ครับ
ขอให้สนุกและใช้งาน JuiceDefender ในรูปแบบ ‘Extreme‘ นะครับ
===
การปรับแต่งแบบ ‘Customize‘
รูปแบบ ‘Customize‘ นี้เป็น 1 ใน 2 รูปแบบที่ต้องการการปรับแต่งในเชิงลึก แต่เมื่อเทียบกับรูปแบบ ‘Advanced‘ แล้วจะง่ายกว่าครับ แต่ทั้งนี้ การจัดการต่างๆ ในส่วนนี้มีความน่าสนใจอยู่มาก ซึ่งอยากให้ผู้ที่ต้องการปรับเลือก 1 ใน 2 รูปแบบนี้ ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน และดูว่าเหมาะกับการใช้งานของตัวเองหรือไม่!?
==
รูปแบบ ‘customize’ นี้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบางคุณสมบัติที่เพิ่มเติมขึ้นมา (เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน) และปรับแต่งให้ตรงตามที่ต้องการ เพื่อการประหยัดแบตฯ ได้ดีอีกขึ้น
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ผู้ใช้งานจะเจอแท๊ปใหม่ 1 แท๊ป เพื่อการปรับแต่งอย่างรวดเร็ว
เมื่อเลือก profile ที่ต้องการได้แล้ว ให้กด ‘confirm‘ ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถใช้งานรูปแบบที่ต้องการได้ครับ
==
เมื่อรูปแบบ ‘Customize ถูกเลือกมาเพื่อใช้งานบนเครื่องของคุณ Tap ที่ชื่อ ‘Settings‘ จะเพิ่มขึ้นมา (สังเกตด้านบนของเครื่อง ถัดจาก Taps เดิมๆ คือ About และ Status) ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกอธิบายด้านล่างนี้แล้วครับ
1. Mobile data
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด mobile data (EDGE/GPRS) ได้อัตโนมัติ
ทั้งนี้ setting ของผู้ใช้งานเครื่องเองยังมี priority ในการกำหนดได้ เช่น
หากคุณต้องการปิด Mobile data ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับเปิด-ปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
2. WiFi
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด WiFi ได้อัตโนมัติ
เช่นเดียวกับ mobile data ครับ หากคุณต้องการปิด WiFi ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับเปิด-ปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
Options
– Auto disable : จะปิด WiFi โดยอัตโนมัติหลังจาก 1 นาที หากไม่มีการเชื่อมต่อใดๆ กับ network ซึ่งจะกลับมาเปิด WiFi ซ้ำอีกครั้งในอีก 15 นาทีข้างหน้า
– WiFi prefered : คอยการเชื่อมต่อผ่าน WiFi ก่อนการเปิดใช้งาน mobile data / 3G / 4G เพื่อให้
ดังนั้น JuiceDefender จะคำนวณค่า delay ของ WiFi network เอง
3. Location
ให้ JuiceDefender จัดการ WiFi ทั้งหมดให้
วิธีการประหยัดแบตฯ นี้ JuiceDefender จะเรียนรู้ WiFi networks ที่คุณใช้งาน และจะเปิด WiFi ให้เมื่อเครื่องคุณอยู่ในระยะสัญญาณ
เมื่อมีการใช้งานในที่ใหม่ๆ (ไม่ใช่ในตำแหน่งเดิมที่ใช้งานอยู่เดิมๆ) JuiceDefender จะไม่เปิด WiFi ให้แม้ว่าคุณจะอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณก็ตาม ซึ่งจะต้องทำการเชื่อมต่อแบบ manual แต่หลังจากการใช้งานในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 2 – 3 ครั้ง JuiceDefender จะเรียนรู้ และสามารถเปิด WiFi ให้ได้เมื่้ออยู่ในพื้นที่แห่งนั้นอีกครั้ง
ข้อสังเกต : ในส่วนของการจดจำและเรียนรู้การเปิด WiFi ตามพื้นที่ (location) นั้น ไม่มีการใช้พลังงานแบตฯ ไปกับ GPS
4. Schedule
เปิดการเชื่อมต่อตามช่วงเวลา เพื่อให้มีการ sync ข้อมูล (อยู่เบื้องหลังได้ เช่น email, Twitter และอื่นๆ) สามารถเลือกช่วงเวลา (ข้อมูลในส่วน #Frequency)
Frequency
ช่วงเวลาในการเปิดการเชื่อมต่อ เมื่อมีการเปิดใช้งานแบบ ‘Schedule‘
5m (นาที) 15m (นาที) 30m (นาที) 1h (ชั่วโมง) 2h (ชั่วโมง)
5. Night
การปิดการเชื่อมต่อระหว่างช่วงกลางคืน #Schedule นั้นจะไม่ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งสามารถกำหนดช่วงเวลาได้ในส่วน #Start/End แต่การเชื่อมต่อจะสามารถกลับมาทำงานได้ดังเดิม (หาก screen นั้นถูกเปิด) เมื่อคุณเริ่มใช้งานเครื่อง
Start/End
เป็นแถบเลื่อน เพื่อกำหนดช่วงเวลา สำหรับช่วงกลางคืน
6. Apps (Whitelist)
การเปิด–ปิดการเชื่อมต่อ เมื่อ apps เฉพาะ (ที่เรียกว่า apps ใน Whitelist) นั้นถูกเรียกมาใช้งาน
Configure
คลิกที่ ‘Configure apps‘ เพื่อปิดรายชื่อของ apps ที่ติดตั้งไว้ และเลือก apps ที่ต้องการ ดังนี้
– Enable : เปิดการเชื่อมต่อขณะที่ app นั้นทำงาน (อาจทำงานบน windows ตัวเอง หรือมีสถานะอยู่ใน status bar ก็ได้เช่นกัน)
– Enable/screen off : เปิดการเชื่อมต่อให้คงอยู่ต่อไป แม้หน้าจอจะดับก็ตาม ซึ่งใช้สำหรับ apps ฟังวิทยุ online หรือแบบ streaming
– Disable : ปิดการเชื่อมต่อ ขณะที่ app นี้ทำงาน มีประโยชน์มากับการเล่นเกม การอ่านหนังสือแบ offline หรือ app ใดๆ ที่ไม่ได้ต้องการ data ผ่านการเชื่อมต่อ
– Interactive configuration : เมื่อเลือกคุณสมบัตินี้ JuiceDefender จะตรวจสอบและถามคุณก่อนว่าต้องการให้เปิด–ปิดการเชื่อมต่อ หลังจากที่คุณเรียกใช้งาน apps ใดๆ ที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน
ข้อมูลภาพเต็มๆ โหลดได้ที่ : http://www.mediafire.com/imgbnc.php/779b17159ade9f0fd4d564a64fc2befc246a5f3e9ff401881fab0c4a9e20c6686g.jpg
หมายเหตุ : การให้สีที่หัวข้อนั้นมีความหมายดังนี้
– หัวข้อที่เป็นสีน้ำเงิน แสดงถึง หัวข้อหลักที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
– หัวข้อที่เป็นสีเขียว แสดงถึง หัวข้อรองที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
ขอให้สนุกและใช้งาน JuiceDefender ในรูปแบบ ‘Customize‘ นะครับ
===
การปรับแต่งแบบ ‘Advanced‘
รูปแบบ ‘Advanced‘ นี้เป็น 1 ใน 2 รูปแบบที่ต้องการการปรับแต่งในเชิงลึก แต่เมื่อเทียบกับรูปแบบ ‘Customize‘ แล้วจะยากกว่าครับ (เพราะมีการปรับแต่งมากกว่า) แต่ทั้งนี้ การจัดการต่างๆ ในส่วนนี้มีความน่าสนใจอยู่มาก ซึ่งอยากให้ผู้ที่ต้องการปรับเลือก 1 ใน 2 รูปแบบนี้ ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน และดูว่าเหมาะกับการใช้งานของตัวเองหรือไม่!?
==
รูปแบบ ‘advanced’ นี้ สำหรับผู้ใช้งานที่มีความต้องการในการปรับแต่งสูงมาก (หรือพวกเมพๆ เทพๆ ก็ว่าได้) ซึ่งจะสามารถเข้าไปถึง features ทั้งหมดของ JuiceDefender เพื่อการประบแต่งให้ตรงตามความต้องการ (ในรูปแบบนี้ มีการทำงานระดับเมพๆ เพื่อการประหยัดแบตฯ แบบเมพๆ เช่นกัน
หมายเหตุ : ในรูปแบบนี้ ผู้ใช้งานจะเจอแท๊ปใหม่ๆ มากมาย เพื่อการปรับแต่งอย่างเมพๆ ครับ
==
เมื่อรูปแบบ ‘Advanced ถูกเลือกมาเพื่อใช้งานบนเครื่องของคุณ 3 Taps ที่ชื่อ ‘Controls, Schedules และ Triggers‘ จะเพิ่มขึ้นมา (สังเกตด้านบนของเครื่อง ถัดจาก Taps เดิมๆ คือ About และ Status) ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกอธิบายด้านล่างนี้แล้วครับ
Tap เพิ่ม #1 : Controls คุณสมบัติในการควบคุมการทำงาน
1. Mobile data
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด mobile data (EDGE/GPRS) ได้อัตโนมัติ
ทั้งนี้ setting ของผู้ใช้งานเครื่องเองยังมี priority ในการกำหนดได้ เช่น
หากคุณต้องการปิด Mobile data ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับเปิด-ปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
Tablet mode (disable cell radio)
หากคุณมีแผนการใช้ข้อมูล ‘data’ (ในที่นี้หมายถึง ข้อมูลหรือไฟล์ที่อยู่ในเครื่อง) เท่านั้น JuiceDefender สามารถปิดการทำงานของ cell radio (สัญญาณต่างๆ) ได้เพื่อการใช้งานอย่างประหยัด
แต่จะไม่ช่วยคุณ หากต้องการใช้งานเสียง ‘voice’ หรือการติดต่อ (โทรฯ คุย หรือเปิดสายรอ) ทั้งนี้รวมถึงการรับ-ส่ง SMS/MMS ด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ : เตือน!! คุณสมบัตินี้ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างสมบูรณ์ ให้ใช้งานอย่างระมัดระวัง และแจ้งรายงาน bugs ที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะ
2. WiFi
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด WiFi ได้อัตโนมัติ
เช่นเดียวกับ mobile data ครับ หากคุณต้องการปิด WiFi ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับเปิด-ปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
Options
– Auto disable : จะปิด WiFi โดยอัตโนมัติหลังจาก 1 นาที หากไม่มีการเชื่อมต่อใดๆ กับ network ซึ่งจะกลับมาเปิด WiFi ซ้ำอีกครั้งในอีก 15 นาทีข้างหน้า
– WiFi prefered : คอยการเชื่อมต่อผ่าน WiFi ก่อนการเปิดใช้งาน mobile data / 3G / 4G เพื่อให้
ดังนั้น JuiceDefender จะคำนวณค่า delay ของ WiFi network เอง
3. 3G
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด “2G only” ได้อัตโนมัติ
ทั้งนี้ setting ของผู้ใช้งานเครื่องเองยังมี priority ในการกำหนดได้ เช่น
หากคุณต้องการเปิด “2G only” ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
หมายเหตุ : การปรับเปลี่ยนระหว่าง “2G only” และ “3G” จะทำงานได้บน ROMs ที่สนับสนุนเท่านั้น (เช่น ‘CyanogenMod‘ เป็นต้น)
Disable timeout
การทำให้การเชื่อมต่อแบบ 3G คงไว้จนกระทั่งเวลาที่กำหนดไว้หมดลง (เรียกว่า ‘timeout’ เมื่อหมดเวลาดังกล่าวแล้ว 3G จะถูกปิดโดยปริยาย => Disable นั่นเอง)
การปรับเปลี่ยนระหว่าง “2G only” และ “3G” จะส่งผลต่อสัญญาณโทรศัพท์ (2 – 3 วินาที) ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานบางท่านรู้สึกรำคาญได้ แต่การกำหนด timeout ให้ยาวขึ้น จะทำให้ปัญหาที่เกิดตอนการปรับเปลี่ยนสัญญาณนั้นน้อยลง แต่กินแบตฯ มากขึ้น
4. Autosync
– enable : ให้ JuiceDefender ปรับเปลี่ยน AutoSync
อาจเพิ่มการใช้ data เพราะบาง apps (เช่น Facebook / Twitter) จะใช้ data เมื่อมีการ ‘refresh’ (หรือบังคับให้ refresh)
– ping : เมื่อเลือกแบบนี้ จะเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเลือกแบบ ‘enable’ ได้ แต่ยังคงมีการบังคับการ sync ของ Google apps อยู่ดี
5. Keep enabled
ให้สัญญาณการเชื่อมต่อยังคงเชื่อมต่ออยู่เมื่อเครื่องนั้นเปิดทิ้งไว้ และไม่มีการตั้งเวลาในการทำกิจกรรมใดๆ (จริงๆ แล้ว ในสถานการณ์นี้ การเชื่อมต่อต่างๆ มักถูกปิด) ยกตัวอย่างเช่น
– eanable WiFi : เปิด WiFi หากต้องการให้มีการเชื่อมต่อ WiFi ตลอด เมื่ออยู่บ้าน และให้ JuiceDefender ปิดการเชื่อมต่อ WiFi เมื่อออกจากบ้าน (ผ่านการเรียนรู้ Location) หรือเมื่อแบตฯ ต่ำ
หมายเหตุ : แนะนำให้ตั้งเวลาแบบ ‘Peak schedule แทนจะดีกว่า
6. Timeout
ให้ JuiceDefender จัดการช่วงเวลา timeout ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งต่อไปนี้ : screen off ( s ) จอดับ, device lock ( l ) ล๊อคอุปกรณ์ และ device lock when at your home ( h )
Keyguard
เพื่อเลี่ยงการเผลอ/พลาดไปโดนปุ่มใดๆ ก็ตามในขณะที่พกอยู่นั้น แนะนำให้มีการกำหนด keyguard พื้นฐาน โดยคุณสามารถเลือกช่วงเวลาได้เพื่อให้ keyguard ทำงานหลังจาก screen off (หน้าจอปิดลง) ช่วงเวลาที่มีให้เลือก คือ 0s (วินาที) 5s (วินาที) 15s (วินาที)
เทคนิค : เมื่อเห็น keyguard คุณสามารถกดปุ่ม ‘Home’ เพื่อใช้งานเครื่องได้ โดยไม่ต้อง reset การนับเวลาถอยหลังเพื่อล๊อคเครื่อง
Home WiFi network
การกำหนดช่วงเวลา timeout ให้ยาวนานกว่าปกติ สำหรับการล๊อคอุปกรณ์ (หรือไม่มีการกำหนดเลยก็ตาม) เมื่ออุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับ WiFi เฉพาะ (ในที่นี่ แนะนำเป็นที่บ้าน)
7. Brightness
ให้ JuiceDefender ควบคุมความสว่างของหน้าจอ
คุณสามารถปรับแต่งระดับการตอบสนองของความสว่างหน้าจอได้ และในสถานการณ์ที่แสงต่ำนั้น รองรับระดับความสว่างต่ำมากๆ ได้ (เช่น ในห้องที่มึด)
คุณสมบัตินี้ เหมาะกับหน้าจอพวก AMOLED
หมายเหตุ : คุณสมบัตินี้ยังอยู่ในการทดสอบ ทั้งนี้มีใน JuiceDefender – BETA version
Levels
การกำหนดระดับความสว่างของหน้าจอนั้น
– ระดับต่ำ ( – ) แต่ถ้าต้องการมึดกว่านี้ให้เลยจุดต่ำไป
– ระดับกลาง ( l ) แต่หากพบว่ามันยังคงสว่างเกินไป ให้ลดลง (เลื่อนไปด้านซ้าย ไปทาง ( – ))
– ระดับสูง ( + ) หรือเลย 100% ไป เพื่อบังคับให้ความสว่างหน้าจอแบบสูงสุด (ไม่สนตัว sensor)
Light sensor
เลือกการตอบสนองต่อตัวอ่านเซนเซอร์แสง (เร็ว กลาง ช้า หรือปิดการใช้งาน)
Night tint (color temperature)
ให้ใช้คุณสมบัตินี้หลังจากพระอาทิตย์ตก (ช่วงมึดค่ำ) เพื่อการปรับอุณหภูมแสง (ใช้กับ android ไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดอยู่)
คุณสมบัตินี้ เหมาะกับบางกรณี เช่น เมื่อจ้องมองไปที่หน้าจอเป็นเวลานานในช่วงมึดค่ำ
8. CPU
ให้ JuiceDefender เปลี่ยนค่าความเร็วต่ำสุด-สูงสุดของ CPU เพื่อประหยัดแบตฯ เวลาอุปกรณ์นั้นเปิดทิ้งไว้เฉยๆ หรือเมื่อต้องการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
หมายเหตุ : คุณสมบัตินี้ สำหรับเครื่องที่ rooted แล้วเท่านั้น
Speeds
แถบเลื่อน #1 ( – ) : เกี่ยวกับความเร็ว CPU แบบต่ำสุด => แนะนำให้ตั้งค่าต่ำที่สุด (หากไม่พบว่าอุปกรณ์ของคุณนั้น นิ่ง-ไม่ตอบสนองใดๆ)
แถบเลื่อน #2 ( l ) : เกี่ยวกับความเร็ว CPU แบบสูงสุด => เมื่อุปกรณ์นั้นเปิดทิ้งไว้
แถบเลื่อน #3 ( + ) : เกี่ยวกับความเร็ว CPU แบบสูงสุด => เมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ROM/kernel ที่ได้รับการ overclock มาแล้วเพื่อการทำงานแบบสุดๆ
Governor
เลือกใช้ CPU governor สำหรับการควบคุมระดับของความถี่
– ondemand : default ค่าดั้งเดิม
– conservative : ประหยัดแบตฯ มากขึ้นเล็กน้อย
– interactive : ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ผ่าน User Interface (กินพลังงานจาแแบตฯ มากขึ้นเล็กน้อย)
หมายเหตุ : ขึ้นอยู่กับ ROM/kernel ในเครื่องของคุณเช่นกัน
Tap เพิ่ม #2 : Schedules คุณสมบัติในการกำหนดเวลา ระยะเวลา หรือช่วงเวลา
1. Schedule
เปิดการเชื่อมต่อตามช่วงเวลา เพื่อให้มีการ sync ข้อมูล (อยู่เบื้องหลังได้ เช่น email, Twitter และอื่นๆ) สามารถเลือกช่วงเวลา (ข้อมูลในส่วน #Frequency)
Frequency
ช่วงเวลาในการเปิดการเชื่อมต่อ เมื่อมีการเปิดใช้งานแบบ ‘Schedule‘
5m (นาที) 15m (นาที) 30m (นาที) 1h (ชั่วโมง) 2h (ชั่วโมง)
Duration
ให้การเชื่อมต่อนั้นยังคงอยู่ในช่วงเวลาเฉพาะของแต่ละเหตุการณ์ที่ตั้งเวลาไว้
เลือกช่วงเวลาให้นานขึ้น หากต้องการ sync (มีเวลาในการ sync เพิ่มขึ้น)
ช่วงเวลาที่มีให้เลือกนี้ เป็นช่วงเวลาที่ต่ำสุดที่ JuiceDefender จะทำให้การเชื่อมต่อนั้นคงอยู่นานเท่าที่จำเป็น ขณะที่ data นั้นกำลังอยู่ในช่วงรับ-ส่ง (แนะนำให้ดู Traffic ในแถป ‘Trigger‘)
Controls
การเปิดสัญญาณ/interfaced เฉพาะให้ทำงาน เมื่อเหตุการณ์ที่ตั้งเวลาไว้นั้น มาถึง
2. Night
การปิดการเชื่อมต่อระหว่างช่วงกลางคืน #Schedule นั้นจะไม่ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งสามารถกำหนดช่วงเวลาได้ในส่วน #Start/End แต่การเชื่อมต่อจะสามารถกลับมาทำงานได้ดังเดิม (หาก screen นั้นถูกเปิด) เมื่อคุณเริ่มใช้งานเครื่อง
Start/End
เป็นแถบเลื่อน เพื่อกำหนดช่วงเวลา สำหรับช่วงกลางคืน
Adaptive start/end
เริ่ม (start) กำหนดการช่วงกลางคืน (night) ช้า และจบ (end) เร็ว (ขึ้นอยู่กับค่าสูงสุดที่ระบุไว้) หากอุปกรณ์นั้นกำลังถูกใช้งาน
หมายเหตุ : เตือน!! คุณสมบัตินี้ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างสมบูรณ์ ให้ใช้งานอย่างระมัดระวัง และแจ้งรายงาน bugs ที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะ
Options
…
หมายเหตุ : เตือน!! คุณสมบัตินี้ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างสมบูรณ์ ให้ใช้งานอย่างระมัดระวัง และแจ้งรายงาน bugs ที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะ
3. Peak
ให้การเชื่อมต่อนั้นคงอยู่ หรือใช้งานถี่ในช่วง peak time (ช่วงเวลาที่เราใช้งานเครื่องมาก/สูงสุด) เช่น ช่วงเวลางาน
ในกรณีนี้ การแจ้งเตือน mail หรือ sms ยังคงทำงานได้ปกติเช่นกัน
Start/End
เป็นแถบเลื่อนช่วงเวลาของ peak time
Frequency
on (ตลอด) 2m (นาที) 5m (นาที) และ 15m (นาที)
Duration
15s (วินาที) 30s (วินาที) 1m (นาที) และ 2m (นาที)
Controls
สัญญาณ/interfaced ต่างๆ ที่กำหนดไว้จะเปิดในระหว่าง peak time เท่านั้น
4. Weekend
กำหนดเวลา (ทางเลือก) ในระหว่างวันธรรมดา หรือวันหยุดสุดสัปดาห์
mon tue wed thu fri sat sun
5. Schedule (weekend)
‘enable‘ (เปิด) หรือ ‘disable‘ (ปิด)
Frequency
5[/color]
strongstrongm (นาที) 15m (นาที) 30m (นาที) 1h (ชั่วโมง) และ 2h (ชั่วโมง)
Duration
15s (วินาที) 30s (วินาที) 1m (นาที) 2m (นาที) และ 5m (นาที)
หมายเหตุ : สำหรับกำหนดการแบบ weekend นี้ จะเปิดสัญญาณการเชื่อมต่อ / interfaces ต่างๆ ที่กำหนดไว้สำหรับกำหนดการแบบธรรมดา
6. Night (weekend)
‘enable‘ (เปิด) หรือ ‘disable‘ (ปิด)
Start/End
เป็นแถบเลื่อนช่วงเวลาของ Night (weekend)
หมายเหตุ : สำหรับกำหนดการแบบ weekend night นี้ จะใช้ options ต่างๆ สำหรับกำหนดการแบบธรรมดาของ night
7. Peak (weekend)
‘enable‘ (เปิด) หรือ ‘disable‘ (ปิด)
Start/End
เป็นแถบเลื่อนช่วงเวลาของ peak (weekend)
Frequency
on (ตลอด) 2m (นาที) 5m (นาที) และ 15m (นาที)
Duration
15s (วินาที) 30s (วินาที) 1m (นาที) และ 2m (นาที)
Controls
‘custom‘ (ปรับแต่งค่า) หรือ ‘default‘ (ค่าดั้งเดิม)
Tap เพิ่ม #3 : Triggers คุณสมบัติในการบ่งชี้ หรือบอกให้ระบบทำสิ่งใด เมื่อเกิดเหตุใดขึ้น
1. Battery
การปิดการเชื่อมต่อ และกำหนดการต่างๆ เมื่อแบตฯ ลดต่ำมาก คุณสิมบัตินี้ช่วยให้ใช้งานแบตฯ (ที่เหลือน้อย) ได้นานเท่าที่เป็นไปได้ เพื่ออาจใช้อุปกรณ์ในการโทรฯ ด่วน/ฉุกเฉินได้
Battery threshold
15% 25% 35% และ 50%
Charger
การเปิดการเชื่อมต่อเมื่ออุปกรณ์เสียบเข้ากับตัวจ่ายพลังงาน (USB หรือ AC)
ควรปล่อยให้ ‘USB’ เป็นแบบ ‘disable’ ไว้ เพราะข้อจำกัดของหลังงานที่จ่ายผ่าน USB ports
2. Screen
การเปิดการเชื่อมต่อ ขณะที่หน้าจอนั้นเปิด (คุณกำลังใช้งานอุปกรณ์อยู่)
ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ที่คุณอาจต้องการใช้ app ที่ใช้งาน internet
Options
Ignore on low battery ไม่เปิดการเชื่อมต่อ หากแบตฯ นั้นต่ำ (กว่าที่กำหนดไว้) ดังนั้นการ ‘enable’ คุณสมบัตินี้ อาจส่งผลกับการใช้งานแบตฯ (ในช่วงที่แบตฯ ต่ำสุดๆ หรือเรียกว่า ช่วงวิกฤต)
Controls
การเปิดสัญญาณ / interfaces (เฉพาะ) ขณะที่หน้าขอเปิด
แนะนำให้ทำการ uncheck (ไม่เลือก) ‘AutoSync‘ (จริงๆ แล้ว เป็นค่า ‘default’ ค่าดั้งเดิมนั่นเอง)
หากคุณสมบัตินี้ถูกกำหนด/เลือกให้เปิดใช้งาน (ในแถบ ‘Controls‘ ก็เพื่อเลี่ยงการ full resync ของ Twitter / Facebook ในทุกๆ ครั้งที่เปิดหน้าจอ
3. Traffic
ไม่ปิดการเชื่อมต่อ ขณะที่ data ยังคงมีการรับ-ส่งอยู่
เมื่อถึงเวลาปิดการเชื่อมต่อ (เช่น เมื่อหน้าจอปิดลง หรือเลยช่วงเวลาที่้กำหนดตาม ‘periodic’)
JuiceDefender จะตรวจดู data traffic ก่อน และคอยจนกระทั่งการรับ-ส่ง data นั้นเสร็จสิ้นลง (ก่อนการตัดการเชื่อมต่อ หรือปิดการเชื่อมต่อ)
คุณสมบัตินี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า การ download (ตามกำหนดการที่ตั้งไว้) หรือการโทรฯ ผ่าน VoIP จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์อย่างแน่นอน ก่อนการตัดการเชื่อมต่อ
Traffic threshold
การเลือก traffice threshold (ตามตัวเลือกที่มี) เพื่อขยายระยะเวลาก่อนที่ JuiceDefender ตัดการเชื่อมต่อ
คุณสามารถบังคับขยายช่วงเวลา (ต่ำสุด) ก่อนการตัดการเชื่อมต่อ — เป็นประโยชน์ เมื่อคุณพบว่า การเชื่อมต่อนั้นช้า และไม่ดีมาก (ยังไงก็มั่นใจได้ว่าการรับ-ส่งข้อมูลนั้นเสร็จสิ้นแน่นอน)
4. Apps
การเปิด–ปิดการเชื่อมต่อ เมื่อ apps เฉพาะ (ที่เรียกว่า apps ใน Whitelist) นั้นถูกเรียกมาใช้งาน
Configue
คลิกที่ ‘Configure apps‘ เพื่อปิดรายชื่อของ apps ที่ติดตั้งไว้ และเลือก apps ที่ต้องการ ดังนี้
– Enable : เปิดการเชื่อมต่อขณะที่ app นั้นทำงาน (อาจทำงานบน windows ตัวเอง หรือมีสถานะอยู่ใน status bar ก็ได้เช่นกัน)
– Enable/screen off : เปิดการเชื่อมต่อให้คงอยู่ต่อไป แม้หน้าจอจะดับก็ตาม ซึ่งใช้สำหรับ apps ฟังวิทยุ online หรือแบบ streaming
– Disable : ปิดการเชื่อมต่อ ขณะที่ app นี้ทำงาน มีประโยชน์มากับการเล่นเกม การอ่านหนังสือแบ offline หรือ app ใดๆ ที่ไม่ได้ต้องการ data ผ่านการเชื่อมต่อ
– Interactive configuration : เมื่อเลือกคุณสมบัตินี้ JuiceDefender จะตรวจสอบและถามคุณก่อนว่าต้องการให้เปิด–ปิดการเชื่อมต่อ หลังจากที่คุณเรียกใช้งาน apps ใดๆ ที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน
Controls
การเปิดสัญญาณ / interfaces ต่างๆ (เฉพาะ) ขณะที่ “enabling” apps (พวก apps ที่มีการเรียกใช้งาน ทั้งแบบที่เป็น service หรือมองเห็นว่ากำลังทำงานอยู่) เท่านั้น
5. Location
ให้ JuiceDefender จัดการ WiFi ทั้งหมดให้
วิธีการประหยัดแบตฯ นี้ JuiceDefender จะเรียนรู้ WiFi networks ที่คุณใช้งาน และจะเปิด WiFi ให้เมื่อเครื่องคุณอยู่ในระยะสัญญาณ
เมื่อมีการใช้งานในที่ใหม่ๆ (ไม่ใช่ในตำแหน่งเดิมที่ใช้งานอยู่เดิมๆ) JuiceDefender จะไม่เปิด WiFi ให้แม้ว่าคุณจะอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณก็ตาม ซึ่งจะต้องทำการเชื่อมต่อแบบ manual แต่หลังจากการใช้งานในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 2 – 3 ครั้ง JuiceDefender จะเรียนรู้ และสามารถเปิด WiFi ให้ได้เมื่้ออยู่ในพื้นที่แห่งนั้นอีกครั้ง
ข้อสังเกต : ในส่วนของการจดจำและเรียนรู้การเปิด WiFi ตามพื้นที่ (location) นั้น ไม่มีการใช้พลังงานแบตฯ ไปกับ GPS
ข้อมูลภาพเต็มๆ โหลดได้ที่ :
Controls : คุณสมบัติในการควบคุมการทำงาน
Schedules : คุณสมบัติในการกำหนดเวลา ระยะเวลา หรือช่วงเวลา
Triggers : คุณสมบัติในการบ่งชี้ หรือบอกให้ระบบทำสิ่งใด เมื่อเกิดเหตุใดขึ้น
หมายเหตุ : การให้สีที่หัวข้อนั้นมีความหมายดังนี้
– หัวข้อที่เป็นสีน้ำเงิน แสดงถึง หัวข้อหลักที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
– หัวข้อที่เป็นสีเขียว แสดงถึง หัวข้อรองที่แสดงบนหน้าจอของ app (ถูกเรียงตามลำดับที่พบเจอบน app แน่นอน)
ขอให้สนุกและใช้งาน JuiceDefender ในรูปแบบ ‘Advanced‘ นะครับ
===
สัญลักษณ์ต่างๆ
Icons legend
สัญลักษณ์ #1 : (ไม่มีไฟสีใดๆ บนของโล่) หมายถึง ‘เปิดการทำงานของสัญญาณต่างๆ / interfaces ทั้งหมด (ที่แสดงอยู่ด้านล่าง)’
สัญลักษณ์ #2 : (ไฟสีน้ำเงินที่มุมขวาบนของโล่) หมายถึง ‘ปิดการทำงานของสัญญาณต่างๆ / interfaces บางส่วน (ที่แสดงอยู่ด้านล่าง)’
สัญลักษณ์ #3 : (ไฟสีแดงที่มุมขวาบนของโล่) หมายถึง ‘ปิดการทำงานของสัญญาณต่างๆ / interfaces ทั้งหมด (ที่แสดงอยู่ด้านล่าง)’
สัญลักษณ์ #4 : (ไฟสีเขียวที่มุมขวาบนของโล่) หมายถึง ‘มีการบังคับ/กำหนดให้ app นั้นทำงานอยู่’
หมายเหตุ : ‘สัญญาณ’ ในที่นี้หมายถึง พวกการเชื่อมต่อ WiFi, Data ‘EDGE/GPRS/, Bluetooth… ครับ
Interfaces
– Data : คิดว่าเราหลายๆ คนเห็นสัญลักษณ์แบบนี้แล้วบนแถบด้านบน คือ การโอนถ่ายข้อมูลแบบ Data ผ่าน EDGE/GPRS นั่นเอง
– WiFi : การเปิดใช้งาน WiFi นั่นเอง
– 3G (หลายๆ คนเห็นกัน…ยกเว้นผม)
– 4G (จะมีโอกาสเห็นไหม)
Active triggers
– Schedule
– Night
– Peak
– Battery
– Charger
– Traffic
– Apps (มีไฟสีแดงมุมขวาบน)
– Apps (มีไฟสีเขียวมุมขวาบน)
– Screen
– Location
หมายเหตุ : icons ด้านบนนี้ จะแสดงต่อเมื่อมีการกำหนดคุณสมบัติในการใช้งานแบบ ‘customize‘ (อธิบายใน comment #6) หรือ ‘advanced‘ (อธิบายใน comment #7)
===
‘Notification‘ หรือ การแจ้งเตือน
Notification ทำให้ผู้ใช้งานเช็คสถานะของ JuiceDefender ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการ ‘enable‘ (ปรับให้ใช้งานได้) หรือไม่!? ผู้ใช้งานจะได้รับทราบถึงสถานะของการควบคุม (คุณสมบัติต่างๆ ใน JuiceDefender ที่มีการปรับให้ทำงานได้)
การแจ้งเตือน ‘Notification‘ นี้จะมี 2 รูปแบบเท่านั้น คือ
1. Text
การแจ้งเตือนของ JuiceDefender ที่แสดงสถานะการควบคุม (คุณสมบัติต่างๆ ใน JuiceDefender ที่มีการปรับให้ทำงานได้) การแจ้งเตือนแบบ ‘text’ (ข้อความ) จะประหยัด memory และ cpu มากกว่าแบบ #2
2. Graphical
การแจ้งเตือนในรูปแบบนี้ จะแสดงสถานะของ JuiceDefender ที่ผู้ใช้งานสามารถ enable (ปรับให้ทำงานได้) / disable (ปรับไม่ให้ทำงานได้) ปรับเปิด/ปิดในส่วนของการเชื่อมต่อต่างๆ ที่ต้องการผ่านการแตะสัมผัส
การแจ้งเตือนแบบ ‘graphical’ นี้ จะแสดงผ่านรูป icon ต่างๆ (อธิบายใน comment #8 แล้ว) ซึ่งจะใช้พลังงาน ทั้งส่วนของ memory และ cpu มากกว่าการแสดงด้วย text (ข้อความ)
หากไม่มีการปรับให้มีการแจ้งเตือน ‘Notification’ (หรือมีการเลือกรูปแบบ ‘disable‘) มีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจาก Android จะพยายามที่จะปิด service (การทำงาน) ของ JuiceDefender หาก memory ต่ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้
อ้างอิง : กระทู้ ‘ https://droidsans.com/node/15738 ‘
=====
Pics Ref Thanks : https://market.android.com/details?id=com.latedroid.juicedefender
Device ที่ใช้ในการ review : Samsung Galaxy Tab 7″
=====
1. การใช้งาน JuiceDefender : https://droidsans.com/node/16053
2. การใช้งาน Green Power FREE battery saver : https://droidsans.com/node/16451
3. การใช้งาน Autorun Manager : https://droidsans.com/node/16446
4. การใช้งาน Battery by Dr to save Battery : https://droidsans.com/node/21059
5. การใช้งาน Samba Filesharing : https://droidsans.com/node/21455Peak
ว้าว ละเอียดมากครับ
ขอบคุณมากเลยครับ เขียนได้ละเอรียดสุดยอดไปเลย (@_@) b
ละเอียดสุดๆ เลยครับ ขอบคุณมากก สำหรับความพยายามและความมีน้ำใจ ^^
มาแล้ว เอาขึ้นบล็อค เลยหรือ พี่ป่อง
@Surachit : … blog มันดีงี้เอง … ไม่ต้องจอง comment น่ะครับ!!! … ในกระทู้นั้น ผมจองไปเกินด้วย ถ้าดูดีๆ นะ… เพราะ profile แบบ balanced / aggressive และ extreme นั้น แทบไม่ต้องมี comment ที่ต้องจองเลย… มันปรับ auto ตาม app แล้ว… 555+
ขอบคุณมากคับสำหรับ บทความดีๆๆๆ
ขอบคุณครับ ละเอียดสุดๆ
กำลังงง ๆ กับ app นี้พอดีเลยครับ
ลองใช้แล้ว ยังงงๆ อยู่เหมือนกันครับ แต่ ขอบพระคุณอย่างสูง ช่วยได้ มากๆ เลยครับ
สวดยอด เลยลวกเพ่
ละเอียดยิบ 😉
ขอบคุณสำหรับการอธิบายได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ
ละเอียดมาก
ละเอียดยิบๆๆๆ
555+ แต่อย่างที่ผมแนะนำครับ คือ แค่ติดตั้งไว้… ปรับให้มันทำงาน enable เท่านั้น… จากนั้น เครื่องจะไม่หน่วง อาจแก้ปัญหาได้ … อ้อ อย่าลืมไปหาซื้อ microSD Card มาโดยไวนะครับ
ขอบคุณ สำหรับความรู้ใหม่คร๊าบบบบบบบบบบ
app นี้ต้อง root ด้วยอ่า T T
ไม่ต้องครับ … ไม่ต้อง root … JuiceDefender – Battery Saver!
ผมใช้มาตั้งแต่เครื่องยังไม่ root! นะครับ ลองดู
โอ้ว ไม่ต้อง root เครื่องด้วยสินะครับ มือใหม่ยังไม่กล้า root ฮ่าๆๆ
กำลังสงสัยว่ามันใช้งานยังไง ขอบคุณครับ เจอlink นี้พอดี
คือ แบบว่า ไม่เก่งเทคโนโลยี ปรับแต่งไม่เป็น แค่เลือก Balance ก็โอเคแล้วใช่ไหมคะ
แค่ balanced / default ก็ถือว่าดีที่สุดแล้วครับ ไม่วุ่นวาย
*ตามมาถามถึงในนี้
ปรับยังไงให้มันใช้ wifi ได้ตลอดครับ ตอน screen off ก็ให้เปิดตลอด
ผมลองปรับมาทุกตัว แถมยังมึนๆกับคำอธิบายอีก ก็ยังปรับไม่ได้คับ
คือผมต้องใช้ whatapp ตลอดอะคับ พอมีวิธีมั้ย
ลองอ่านส่วนการปรับแบบ customized ครับ
>>>
2. WiFi
ให้ JuiceDefender เปิด-ปิด WiFi ได้อัตโนมัติ
เช่นเดียวกับ mobile data ครับ หากคุณต้องการปิด WiFi ในส่วนของ setting บน Android … JuiceDefender จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดในส่วนนี้ จนกว่าคุณจะไปปรับเปิด-ปิดในส่วนของ setting บน Android แล้ว
ได้แล้วคับ ขอบคุณมากคับ