ในงาน OPPO Future Imaging Technology Launch Event ประจำปี 2021 ที่ผ่านมา OPPO ได้นำหลากหลายนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟนมาเปิดตัว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกถ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวได้อย่างง่ายดาย ไล่ตั้งแต่เซ็นเซอร์ RGBW ตัวใหม่ของบริษัทฯ, ระบบซูม Optical แบบต่อเนื่อง 85 – 200 มม., ระบบกันสั่น OIS แบบ 5 แกน และกล้องใต้หน้าจอ (Under-Screen Camera) เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมชุดอัลกอริธึม AI ที่เป็นแบบเฉพาะของ OPPO
เซ็นเซอร์ RGBW ตัวใหม่ ประสิทธิภาพด้านสีดีขึ้นกว่าเดิม
OPPO เผยว่า เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่นี้ จะมีการปรับปรุงความไวแสงให้ดีขึ้น ด้วยการใช้พิกเซลย่อยสีขาว บวกกับเทคโนโลยี DTI และอัลกอริธึมพิกเซล 4-in-1 ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งทำให้เซ็นเซอร์ตัวใหม่นี้ สามารถจับแสงได้มากกว่ารุ่นก่อนถึง 60% และลดสัญญาณรบกวนลงได้มากถึง 35% ได้ภาพที่คมชัดสว่างและเด่นชัดขึ้นแม้ในสภาพแสงน้อย
นอกจากนี้ เซ็นเซอร์ RGBW ตัวใหม่นี้ ยังเข้ามาช่วยให้การถ่ายภาพบุคคล หรือ Portrait Mode มีความคมชัดมากกว่าเดิม ทั้งในส่วนของภาพนิ่งและวิดีโอ โดย OPPO จะนำเซ็นเซอร์ดังกล่าวมาใช้กับสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของค่ายในช่วงไตรมาส 4 ที่จะถึงนี้
เทคโนโลยีซูม Optical 85 – 200 มม. แบบต่อเนื่อง
OPPO ได้ออกมาโครงสร้างพื้นฐานระดับฮาร์ดแวร์ของโมดูลกล้องทั้งหมด เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพในการซูม Optical แบบต่อเรื่อง ทางยาวโฟกัส 85 – 200 มม. ทั้งการใช้เลนส์แก้ว + พลาสติก Aspheric บางเฉียบความแม่นยำสูง 2 ชิ้น เพื่อช่วยลดแสงเล็ดลอด ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเซ็นเซอร์ TMR ตรวจจับสนามแม่เหล็กในอุโมงค์ ช่วยให้เลนส์ภายในโมดูลกล้องเคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพและแม่นยำยิ้งขึ้น และมอเตอร์ตัวใหม่อัปเกรดสเปคขึ้น ทำงานดีกว่าเดิม
โดยเทคโนโลยีซูม Optical แบบต่อเนื่องที่ OPPO ได้มานำเสนอนี้ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน อาทิ การกระโดด ความคลาดเคลื่อนของ White Balance หรือการแสดงสีบางสีเข้มเกินจริง ซึ่งอาจพบได้ในระบบซูมของกล้องสมาร์ทโฟนในตลาดทั่ว ๆ ไป
ระบบกันสั่น OIS แบบ 5 แกน
OPPO ได้อัปเกรดระบบกันสั่นแบบ OIS ใหม่ รอบนี้จัดเต็มกว่าเดิม ทำงานแบบ 5 แกน ช่วยให้หน่วยประมวลผลของระบบ สามารถรับข้อมูลการเคลื่อนไหวของเซ็นเซอร์ไจโรสโคป วิเคราะห์และแยกย่อยข้อมูลออกมาเป็นส่วน ๆ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังเลนส์และเซ็นเซอร์ของภาพ ขับเคลื่อนด้วย ball-bearing motors และ shape momory alloys โดยระบบกันสั่น OIS แบบ 5 แกนของ OPPO ในครั้งนี้ จะทำให้ภาพมีความเสถียรและนิ่งมากยิ่งขึ้น
OPPO เคลมว่า เทคโนโลยีใหม่นี้ จะเข้ามาช่วยให้เกิดมุมการสั่นไหวสูงสุดที่ ±3° มากกว่าเทคโนโลยี OIS บนมือถือปกติถึง 3 เท่า ขณะที่เซ็นเซอร์ยังสามารถขยับด้วยความแม่นยำระดับ 2μm สำหรับการถ่ายภาพในเวลากลางคืนหรือภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ได้คมชัดกว่าเดิม สีดีขึ้นอย่างชัดเจน ลดการสั่นสะเทือนได้ 65% โดยระบบกันสั่น OIS แบบ 5 แกนนี้จะนำมาใช้กับมือถือ OPPO ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
Under-Screen Camera กล้องใต้หน้าจอรุ่นใหม่
ปิดท้ายกันด้วยเทคโนโลยีกล้องใต้หน้าจอรุ่นใหม่ของ OPPO ที่บริษัทฯ เผยว่ามีการใช้นวัตกรรม Pixel Geometry สามารถแสดงผลด้วยความละเอียดสูงถึง 400-PPI ในพื้นที่กล้องใต้จอ และด้วยการใช้สายไฟแบบโปร่งใสและการออกแบบดีไซน์ใหม่ ทำให้หน้าจอแสดงผลได้ละเอียดยิ่งกว่าเดิม เมื่อเทียบกับเจนแรก ซึ่งในส่วนนี้ OPPO เคลมว่าจะยืดอายุการใช้งานได้นานกว่าเดิม 50% และมีค่าเบี่ยงเบนเพียงแค่ 2% เท่านั้น
OPPO เผยโฉมเทคโนโลยี “กล้องใต้หน้าจอ” รุ่นที่ 2 – แสดงผลเนียนขึ้น ถ่ายรูปดีกว่าเดิม
โดยสถาบันวิจัยของ OPPO ในสหรัฐฯ ยังได้พัฒนาชุด AI ในส่วนของการถ่ายภาพ ประกอบไปด้วย การลดการเลี้ยวเบน, การป้องกันการควบแน่น, HDR และ AWB เพื่อปรับปรุงคุณภาพการถ่ายภาพของกล้องใต้หน้าจอให้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายบริษัทฯ ยังได้ใช้เทคโนโลยีที่จะทำให้ถ่ายภาพออกมาชัดเจนและดูเป็นธรรมชาติ ไม่ขุ่นมัวนั่นเอง
ที่มา: อีเมลประชาสัมพันธ์
ชอบตรงเทเลซูมนี่แหละ กล้องคนอื่นเค้ามีแต่เทเลอย่างเดียวไม่มีซูม ทำให้ต้องแยกเซ็นเซอร์กัน แล้วมันห่วย ทำออกมาดีๆ เดี๋ยวพี่แซมทำตามเอง
เห็นว่า samsung ก็จะเอามาใช้ใน S22 Ultra นี่แหละครับ
ซัมซุงจดสิทธิบัตร variable zoom ก่อนที่ Oppo จะโชว์อีกครับ
แล้วไอ้หลักการขยับชิ้นเลนส์ใน module Periscope มีตั้งแต่ S20U แล้วครับ แค่ระยะมันสั้นเลยไม่ได้มีอิมแพคอะไรมาก
เอาออกมาโชว์ กับเอาออกมาขาย มันต่างกันนะครับ โชว์ของใน Lab ใครก็โชว์ได้
ภาพตัวอย่างของ module periscope ของ S20U ครับ
งั้นก็ดีเลยครับ ผมคงรอเปลี่ยนมือถืออีกที(อย่างเร็ว)ก็ Note 23 เลยมั้ง เพราะนี่เพิ่งได้ S21 Ultra มาเอง ตอนนั้นหน้าจอคงไม่มีรู และกล้องหลังคงพัฒนาไปมากแล้ว แต่เชื่อว่าซอฟต์แวร์กล้องซัมซุงจะยังคง Over sharpen, Over saturate, Over noise reduction หนักมากเหมือนเดิม ภาพห่วยก็เพราะซอฟต์แวร์นี่แหละ
รอเลยครับ ผมชอบซื้อนวัตกรรมใหม่ๆ