แท็บเล็ตนักเรียน (OTPC – One Tablet per Child) เป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่มีข้อครหามาโดยตลอด ซึ่งล่าสุดทางคสช.ก็สั่งฟัน ยกเลิกโปรเจคทั้งหมดที่เหลืออยู่มูลค่ากว่า 7 พันล้านบาท ให้เหตุผลในการยกเลิกว่าไม่คุ้มค่า และไม่เหมาะสม ในการนำมาสอนตลอดเวลา พร้อมสั่งสอบย้อนหลังถึงความโปร่งใสของโครงการแล้ว
เหตุลผลแบบละเอียดที่ทาง พล.ร.อ.ณรงค์ รองหัวหน้าคสช.ได้ให้เอาไว้
– แท็บเล็ตใช้เพียง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่คุ้มที่จะซื้อให้นักเรียนทุกคน
– แท็บเล็ตไม่เหมาะนำมาใช้ตลอดเวลา
– จอมีขนาดเล็กและอาจะทำให้เสียสายตาได้
– อายุการใช้งานเพียง 3 ปี ไม่คุ้มค่าเมื่อซ่อมแซม
– ครุภัณฑ์ไม่ควรให้นักเรียนนำไปใช้เป็นของส่วนตัว
โปรเจคแท็บเล็ตนักเรียน OTPC ที่เหลืออยู่มูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วยเงินงบประมาณของปี 2556 จำนวน 1,170 ล้านบาท และงบปี 2557 อีก 5,800 ล้านบาท
ข่าวจาก : PostToday
คุณ akexorcist ได้ทำการีวิวแท็บเล็ตนักเรียนเอาไว้ ไปลองติดตามอ่านคุณภาพของมันได้ที่ https://droidsans.com/node/164518 เลยครับ
Tablet มันน่าจะมี ใช้เป็น Kindle Fire ใช้ในระดับมัธยมแทนหนังสือเรียน
ซื้อเป็น Ebook จะเยี่ยมมากเลย นึกภาพตอนอยู่ม. 1 แบกกระเป๋าใบเท่ายักษ์
ชึ้นรถเมล์ มันช่างทรมานสุด ๆ
ปัญหาคือ หนังสือหลักสูตรที่ใช้เรียน ตามกฏกระทรวง นี่มันไม่มีทำเป็นEbookซักเล่มเลย แถมหนังสือเสริมความรู้หรือAppที่สนุกๆน่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษายังน้อยมาก เรียกว่า ideaนี้นำมาปฏิบัติใช้จริงไม่ได้ สุดท้ายเราก็ยังต้องเรียนผ่านหนังสือทำการบ้าน ทำรายงานเหมือนเดิม
แต่ผมก็ว่าดีแล้วนะที่ยกเลิกไปก่อน ปกติเด็กก็ติดโทรศัพท์ติดหน้าจอกันระนาวอยู่ละ
ถ้าต้องมานั่งเพ่งแทปเลตในเวลาเรียนทั้งวันอีก
ได้กลายเป็นมนุษย์ก้มหน้าแน่ๆ ไม่ต้องทำอะไรกันพอดี
idea ดี แต่นโยบายและคนนำไปปฏิบัติไม่ดีพอ
เวปบริษัทตลกอะ เข้าไปดูในรีวิวมา… เงิบจริง ๆ
เห็นด้วยครับ ว่าไอเดียดี แต่คนนำไปปฏิบัติไม่ค่อยดี
ตอนแรกผมว่าโครงการนี้ดีทีเดียว
เพราะปกติผมก็จะชอบใช้เทคโนโลยีควบคู่การเรียนอยู่แล้ว
มันทำให้หลาย ๆ อย่างสะดวกขึ้นมากเลยทีเดียว (ถ้าคนใช้เป็น ใช้ถูกน่ะนะ)
รอดูผลสอบ….
จดลงในหนังสือยังไงก็ดีกว่า อายุการใช้งานยาวนานกว่า
ส่วน e-learning ใช้บน PC ที่มีอยู่เดิมแหละดีแล้ว
ดีจังง หลังจากเป็นที่ถกเถียง(?)กันอยู่นาน พับโครงการไปซะเถอะ แถมสืบสวนด้วยเย้~
ดีจังง หลังจากเป็นที่ถกเถียง(?)กันอยู่นาน พับโครงการไปซะเถอะ แถมสืบสวนด้วยเย้~
จริงๆ โครงการนี้คอนเซปต์ดีนะครับ แต่ทำจริงไม่ได้เรื่องเลย เพราะมันไม่มีอะไรรองรับเลย
ตั้งแต่สื่อการสอนที่ดูแปลกๆ การอบรมนักเรียน-ผู้ปกครอบ-อาจารย์ ทำไม่ดีนัก
แล้วก็เหตุผลต่างๆ ที่คสช. ยกมา ผมเห็นด้วยทั้งหมดครับ
ถ้าจะให้มีการเรียนด้วยแท็บเล็ตนะ ผมอยากให้
– มีสื่อการสอนให้ครบเหมือนในหนังสือก่อน รวมถึงอัพเดตให้ทันใช้ด้วย
– ไม่ต้องซื้อเครื่องให้ แจกคูปอง ประมาณ 1 พันบาท ให้ซื้อเอง บ้านไหนเงินน้อยก็ซื้อถูกๆ บ้านใครเงินเยอะก็ซื้อแพงๆ ไป แถมโปร่งใสกว่ากันเยอะ หมดปัญหาเรื่องการดูแล ซ่อมแซม เพราะมันเป็นสมบัติของเด็กคนนั้นๆ เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง
แค่ 2 ข้อ ความวุ่นวายก็คงน้อยลงเยอะแล้ว
ตามข้อ2 จะเกิดการขโมยกันขึ้นอย่างแน่นอนเลยทีเดียวครับเพราะมันทำได้มากกว่าการเอามาเรียนหนังสือ(ความเห็นส่วนตัวจากผู้เคยตกเป็นเหยื่อมาแล้ว)
แล้วเสิ่นเจิ้นสโคปหละ เหอะๆๆ
ไอเดียดีครับ แต่คนนำไปใช้ไม่โอเคเห็นด้วยมากจริงๆ
2-3ปีจะเอาอะไร 80กว่าปีประชาธิปไตย ยังไม่เจริญเลย
เด้ก ป.1 ยังต้องการทักษะทางร่างกาย ผ่านกิจกรรมการเล่นต่างๆนะครับ การวิ่งเล่นกับเพื่อน เล่น กีฬาเล่นดนตรี ลองนึกภาพเด็กป.1 นอกเวลาเรียนสิครับ …. ก้มหน้าเล่นเกม ดูคลิปอะไรก้อไม่รู้ (ผมเชื่อว่า ไม่สามารถบล๊อคสิ่งเหล่านี้ได้จริง) อนาคตของชาติคงแคระเกร็นกันหมด ถ้าแจก ม.1 หรือ ม.3 ขึ้นไปนี่ อาจจะเห้นด้วย
ผมว่าแทปเล็ตสำหรับเด็กเป็นความคิดที่ไม่ได้เรื่องครับ ด้วยเหตุผลคือ
– เด็กไม่มีทางจะมีปัญญาเก็บรักษาแทปเล็ตได้อยู่แล้ว(การให้พ่อแม่ช่วยดูเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และยังสร้างภาระแทน) กว่าของจะเลิกหายเนี้ย จนแก่ก็ยังทำได้ยากเลย ความรับผิดชอบยังไม่พอ ต้องรอให้โตก่อน
– หากเป้าหมายอยู่ที่การเรีียนรู้ของเด็ก ก็ควรมอบเครื่องมือที่เหมาะกับวัยและควรมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ เพื่อให้เด็กมีความกล้าและเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง แต่แทปเล็ทมันดันตอบสนองงานเอนเตอร์เทนเม้นเป็นหลัก ซึ่งมันเป็นเครื่องมือของผู้ที่มีความรับผิดชอบแล้ว ไม่งั้นมันจะเป็นดาบสองคม ดั้งนั้น เราควรให้มันกับครูดีกว่าให้เด็ก โดยให้ครูประยุกใช้กับการสอน และมีรัฐคอยดูแลเรื่องหลักการใช้งานเพื่อสร้างความรู้ให้เด็ก **********
– การให้เด็กอ่านเขียนด้วยตัวเองในกระดาษ และเก็บมันไว้เป็นชิ้นๆ จะดีกับเด็กมากกว่าทำลงบนแทบเล็ต เพราะพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ในชีวิตจริง โตมาจะได้ไม่จิ้มเป็นอย่างเดียว สกิลอื่นเป็น 0
– แทปเล็ทมันยังพัฒนาไม่ถึงขีดที่จะเอามาให้เด็กใช้เลยด้วยซ้ำ เพราะขนาดรุ่นใหญ่แอนดอร์ย ยังแก้ไม่ได้ทุกปัญหาเลย นับภาษาอะไรกับประชาชนธรรมดา การซ่อมบำรุงจึงแทบจะเป็นปัญหาหลักเลย ทั้งบัคและตกแหก เราไม่ได้เป็นชาติที่ผลิตมันได้ด้วยซ้ำ ทุกอย่างแทบจะต้องซื้อมาหมด แบบนี้แม่ไม่ปลื่มแน่ๆ อีกทั้งคนไทยยังไม่มีการสนับสนุนและทำความเข้าใจกับ Open Source เลย ซึ่งมันเป็นแกนพัฒนาหลักของ Android ใช้กันเป็นแต่วินด๊อง แล้วมันจะรอดได้ไง ดับ….
ปล. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นรัฐบาลที่คิดและทำอะไรได้ปัญญาอ่อนที่สุดเท่าที่มีรัฐบาลมาในประเทศไทยเลยผมว่า ใครไม่ว่าผมไม่ได้ว่า
+ ล้าน …
ผมเห็นด้วยนะ แม้ว่าจะใช้คำพูดแีงไปบ้าง
อ่านคอมเมนท์คุณมาเยอะนะ เห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง
แต่คอมเมนท์นี้อะ กราบตีนเลย เอาไป 10 คะแนนเต็ม
สุดยอดเห็นด้วยมากๆ ไอเดียนี้ค่อยมาใช้ ทีหลังดีกว่าน่ะ ไปแก้ เด็กส่วนมากที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่เป็น พื้นฐานก่อนน่ะครับ ยิ่งได้ tablet มาแบบนี้เด็กเป็นง่อยเลยจิ้มๆอ่านก็ไม่ออกเขียนก็ไม่ได้ ชอบจิ้มชอบแอนนิเมชั่นแบบเด็กๆมากกว่า ไฟฟ้าบางที่เข้าไม่ถึงเลย อินเตอร์เนตยังไม่มี เห้อ ประชานิยม คนทำก็น่ะความสามารถไม่มีเลยจริงๆบริหารงาน ทุกนโยบายไม่ใช่แค่อันนี้
ในความเป็นจริง ตอนนี้ แม้เด็กอนุบาลถ้าบ้านที่มีฐานะ พ่อแม่ก็ซื้อ iPad ให้ลูกเล่นเรียบร้อยแล้วครับ (ยกตัวอย่างใกล้ตัวสุด คือ หมู่บ้านจัดสรรที่ผมอยู่ทุกบ้าน รวมทั้งบ้านผม)
โครงการนี้มีข้อเสียคือ ทำให้เด็กต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสเรียนรู้ในการใช้เทตโนโลยีเท่าเด็กๆ ในเมืองครับ ความคุ้นเคยกับการเรียนแบบ interactive ในบางวิชา อาจทำให้เด็กเคยชินกับการใช้ Android OS ทำให้ต่อยอดในการ learning OS อื่นๆ ต่อไปได้
ถ้าเด็กเหล่านี้โตขึ้น จะเป็นคู่แข่งกับลูกของผมได้ครับ ซึ่งผมไม่ต้องการ
สรุปคือ ผมเห็นด้วยกับ คสช ในการยกเลิกโครงการนี้ทั้งหมดครับ
โครงการนี้ทำให้ผมนึกถึงตอนเรียนแลปวิชาเคมี กับฟิสิกส์ ด้วยโปรแกรมครอกโคไดล์(crocodile) เลยอะ คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนรู้ เพราะมันสามารถทดลองเรื่องอันตรายได้ โดยเราไม่เป็นอันตราย แต่สิ่งที่ขาดไปคือ "ประสบการณ์จริง" โดยโปรแกรมนี้จะใช้สารเคมีเท่าไหร่ก็แค่คีย์ข้อมูลลงไป แค่คลิ๊กๆๆๆๆ ผลก็ออกมา สุดท้ายความรู้ที่ได้ก็แค่ทฤษฏี การตัก ตวง วัด ต่อวงจร น่ะหรอ ทำไม่เป็นหรอก แต่คลิ๊กเป็น แค่นั้นแหละ 5555
มันมีข้อดีแล้วข้อเสียในตัวของมันเอง คุยกันทั้งปีไม่จบหรอก เอาจริงๆมันก็เป็นกับทุกเรื่อง
แต่ต้องมองกันที่ระยะยาว เพราะมันเป็นเรื่องระดับประเทศ ลำพังครูเอยช่างเอยเอาไม่อยู่หรอก
การศึกษาเป็นเรื่องที่ดี ต้องตั้งคำถามคุ้มกับการลงทุนไหม ผมได้คุยกับครูหลายท่านเขาก็บ่นกันหาชิบไม่เจอ
อย่างว่าครับ เอาคนใหญ่โตจบสูง มาบริหารเรื่องเงิน ทั้งที่เมพๆทั้งหลายไม่รู้เรื่องเงิน ผลลัพธ์ก็ออกมาดังที่เห็น
มองแง่ดีเป็นบทเรียนคนไทย เรียนรู้จากความผิดพลาด
แท๊บเล็ตเครื่องนึง ใช้งานจริงได้แค่ 2-3 ช.ม.
จะเอาไว้แทนหนังสือ โรงเรียนไม่ต้องต่อลางปลั๊กไว้ทุกโต๊ะเรียนหรือไง ไหนจะค่าไฟ
หิ้วไปหิ้วมา หล่นแตก เสียขึ้นมา ก็ต้องซ่อม แล้วซ่อมนานแค่ไหน ระหว่างซ่อม เอาอะไรเรียน
แค่คิดก็ลำบากแล้ว
ลืมอีกเรื่อง ไอโครงการแจก ipad ให้ ส.ส. ยกเลิกไปยัง
ถ้ายัง ควรยกเลิกด้วยนะ
ส.ส.แต่ละคน รวยๆทั้งนั้น ยังหน้าด้านแจกกันเองอีก เอาไปก็ดูหนังโป๊ในสภา
สุดท้ายก็ต่อยอดไปกินอีกต่อ เข้าใจตรงกันนะ 555
คนที่สนับสนุนโครงการแท็บเล็ต "แบบเพื่อไทย" นี่ตรรกะเพี้ยนมาก โดยเฉพาะสาวกเว็บนั้นที่แถเข้าข้างโครงการ เพียงเพราะด้วยเหตุผลที่ว่ามันถูกยกเลิกโดย คสช. #เพลีย
มีการศึกษาความเป็นไปได้แค่ไหน ขั้นตอนการดำเนินการโครงการทั้งการเตรียม content เอย อะไรเอย แทนที่จะทำเป็นโครงการนำร่องในกลุ่มเล็กๆ ก่อน (ซึ่งห้องที่เป็นหนูทดลองจริงๆ เด็กก็อาจจะซวยไป)
มันชักจะเป็นการเมืองละ! ระวังโดยสอย อิอิ
กิจกรรมสร้างสรร มีเยอะแยะ สร้างสนามกีฬา อุปกรณ์ หนังสืออ่านเล่น มากมาย เด่วนี้เด็ก เล่นแต่เกมส์ ก้มหน้า อยู่หน้าคอม ใส่แว่น ตัวอ้วนฉุ ไม่เคารพพ่อแม่ อารมณ์ร้อน ดีตรงไหน? พับโครงการไปดีแล้ว
ผมว่าโครงการนี้ดีนะ มาเสียตรงที่นักการเมืองเล่นเอามาทำแบบไม่จริงใจ เหมือนกะทำเป็นแค่นโยบายประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนเสียงเท่านั้น ถ้าหากตัดเรื่องนักการเมืองออกไป แล้วหันมาทำอย่างเป็นระบบและจริงจังโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ผมคิดว่าน่าจะทำให้โครงการนี้ดีขึ้นมาได้แน่
แต่ตอนนี้ผมว่ายังไม่ค่อยเหมาะที่จะเอามาใช้สักเท่าไหร่นัก เด็กมัธยมไม่เท่าไหร่ เพราะมีวุฒิภาวะระดับหนึ่งแล้ว แต่เด็กประถมนี่สิ เด็กในชั้นนี้ยังต้องการพัฒนาการในการเรียนรู้อีกมาก ซึ่งจะต้องฝึกพัฒนาการทั้งทางร่างกายจากการวิ่งเล่นต่างๆ เล่นกีฬา การเล่นกับเพื่อนในห้อง รวมถึงการให้เล่นของเล่นที่เป็นวัตถุจริงที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ไม่ใช่การเล่นผ่านหน้าจอ Tablet ที่เป็นวัตถุนามธรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ วันดีคืนดีแฮงก์ต่อหน้าจนเด็กไปต่อไม่เป็นอีก แถมโครงการนี้ก็ยังมีจุดอ่อนอีกมากมายหากจะเอามาใช้งานจริงๆ ด้วย เช่น
– เทคโนโลยี Touch Screen ยังไปไม่ถึงขั้น > ณ ตอนนี้ ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นที่จะทำให้เวลาเราลากเขียนแล้วตัวเส้นไปพร้อมกับปลายจุดที่เราเขียนเหมือนกับเราลากปากกาจริงๆ ได้ และยังมีเรื่องระยะห่างระหว่าง Panel กับตัวที่จะมาสัมผัสจออีก (ไม่ว่าจะนิ้วหรือปากกา) ซึ่งอาจจะมีระยะอยู่ที่ 0.05 – 0.1 เซนติเมตร แถมยังมีเรื่องจุดที่สัมผัสไม่ตรงกับการแสดงผลอีกด้วย (เช่น กดปากกาตรงจุดนี้ แต่เบี้ยงไปทางใดทางหนึ่งไปประมาณ 0.1 เซนติเมตร)
– เทคโนโลยีหน้าจอที่ไม่เหมาะสมที่จะเอามาเรียน > หากจะเอามาให้เด็กได้เรียนได้ใช้ ควรจะเป็นเทคโนโลยีหน้าจอถนอมสายตาแบบอย่างเครื่อง Kindle มิฉะนั้นก็จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องสายตาตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ เอาได้ การเรียนกับหน้าจอแบบ LCD, LED, AMOLED, OLED ทั้งหลายทั้งปวงนั้น มันมีแสงสว่างที่จะส่งผลต่อสายตาของผู้ใช้งานไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ทั้งสิ้น หากเรามุ่งอยู่แต่กับหน้าจอตลอดเวลาโดยไม่ละจากหน้าจอ ก็จะทำให้ตาล้ารวมถึงการถูกรังสีที่มาจากจอกภาพเล่นงานแบบผ่อนส่งเอาได้
– เรื่องความเหมาะสมกับอายุของเด็กและพัฒนาการของเด็ก > หากผู้ปกครองหรือคุณครูผู้สอน ปล่อยให้เด็กอยู่กับแต่ Tablet เพียงลำพัง ก็จะกลายเป็นว่าเด็กไม่เข้าสังคมกับใครเลย นอกจากการยุ่งอยู่กับหน้าจอ Tablet อยู่อย่างเดียว และจะส่งผลทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีเรื่องพัฒนาการในการใช้สิ่งรอบตัวที่ไม่ใช่บนหน้าจอ Tablet มาใช้งานในชีวิตการเรียนด้วย เช่น วาดภาพระบายสีจากสีเทียน สีน้ำ สีไม้ การวาดภาพที่มีขนาดใหญ่ (Tablet มีขนาดแค่ 7 นิ้วจะไปวาดภาพใหญ่กว่านั้นได้ไง ยังมีเรื่อง Pixel ต่อตารางนิ้วที่มีต่ำอีก ทำให้ภาพที่ได้หยาบ) การเลือกใช้ดินสอ ปากกา ยางลบต่างๆ ฯลฯ จะทำให้เด็กไม่คุ้นเคยกับการใช้สิ่งเหล่านี้ในการสรรสร้างศิลปะได้อีกด้วย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก
– เสป็คเครื่องและปัญหากวนใจผู้ใช้ > เสป็คเครื่องที่นำมาใช้ ก็ไม่ได้โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ 7 กับความละเอียดหน้าจอที่ 1024×600 ซึ่งทำให้ภาพและอักษรที่ได้ดูหยาบ ความเร็วของเครื่องที่ตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควร และอาจมีเครื่องแฮงก์ในระหว่างการเรียนการสอนด้วย ซึ่งหากนักเรียนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ครูผู้สอนก็จะต้องเป็นผู้มาเป็นผู้แก้ไข หรืออาจจะก็ต้องมีครูผู้ช่วยคอยช่วยเหลืออีกคนในห้องด้วย ไม่ฉะนั้นก็จะทำให้การเรียนสะดุด ตรงนี้ได้เตรียมบุคลากรที่จะแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้งานไว้หรือไม่?
– เรื่องการบำรุงรักษา > นี่เป็นอีกเรื่องที่น่าคิด ถ้าให้เทียบกับสื่อเดิมที่ใช้กันมาอย่างหนังสือ หนังสือหลุดมือตกพื้นกับ Tablet หลุดมือตกพื้นมันต่างกันนะ หากหนังสือตกพื้นก็แค่เก็บขึ้นมาวางและอ่าน/เรียนต่อได้ แต่หากเครื่อง Tablet ตกพื้นก็ลุ้นเอาว่าเครื่องจะเสียหายขนาดไหน หากใช้งานต่อไม่ได้ไม่ก็จบกันเลย ซึ่งหากมีการจดโน้ตเล็กๆ เอาไว้ หรือไม่ไฟล์การบ้านบันทึกเอาไว้ก็จบกันเลยครับ
– เรื่องแบตเตอรี่กับปลั๊กไฟ > ต้องถามก่อนว่าระหว่างเรียนนั้นต่อสายชาร์จตลอดหรือไม่? ถ้าไม่ใช้ปลั๊กไฟ ถามว่าถ้าหากแบตเตอรี่หมด นักเรียนคนนั้นจะทำอย่างไร? หากไม่มีปลั๊กไฟเตรียมไว้ให้ นั่นเท่ากับว่านักเรียนคนนั้นต้องใช้เครื่องพื้นที่นั่งข้างๆ เรียนด้วยเลยนะครับ และในกรณีที่ต้องใช้เครื่องตัวเองในการเรียนเพื่อทำการบ้านหรือโน้ตลงไปมันก็ติดขัดแน่ๆ นี่ยังไม่นับว่าถ้าหากแบตฯ ของนักเรียนในห้องหลายๆ คนหมดไปตามๆ กันอีกนะครับ คิดดูว่ามันจะเป็นอย่างไร? …และในกรณีที่จะต้องต่อปลั๊กไฟตลอดเวลา ถามว่าจะหาปลั๊กไฟมาจากไหน? ถ้านักเรียนมี 50 คน ต้องเตรียมปลั๊กไว้ 50 ช่องเลยนะ ซึ่งถ้าห้องเรียนนั้น ไม่ได้มีปลั๊กไฟที่ทำแบบสำเร็จไว้ประจำโต๊ะเรียน นั่นเท่ากับว่าคุณจะต้องลากสายไฟจากปลั๊กที่ผนังมาที่โต๊ะเรียนเลยนะ สายไฟมันจะไม่พันกันและเกะกะพื้นจนทำให้นักเรียนเดินสะดุดล้มกันหรือ? ยังมีเรื่องถ้าเด็กไม่ระวังโดนไฟช็อตอีก
– เรื่อง Tablet หายหรือโจรกรรม > ถ้าเครื่องหายหรือถูกโจรกรรมไปนี่กลายเป็นว่าเรียนกันไม่ได้เลยนะครับ เพราะเด็ก ป.1 นั้น สกิลเรื่องการเก็บรักษายังถือว่าน้อยมาก หากเด็กมืออ่อนล้าแล้วเผลอทำเครื่องตกก็ใจหายแว้บบบบเลย ลุ้นอย่างเดียวว่าเครื่องจะพังหรือไม่ด้วย หากใช้งานได้ต่ออก็แล้วไป แต่หากพังก็จบ หากเครื่องใหม่… แต่ก็มีปัญหาต่อมาอีกว่า เครื่องที่มีเตรียมให้เด็กก็ดันมีพอดีคน ไม่ได้เผื่อสำรองไว้ให้ด้วย เนื่องจากมีการสั่งซื้อจำนวนที่แทบจะพอดีกับนักเรียนที่จะแจก ไม่ได้ผลิตเองได้ในประเทศไทย (ลองนึกถึงกรณีที่เครื่องมีปัญหาประมาณ 30% ของจำนวนซื้อทั้งหมดดูสิว่าจะเป็นยังไง) ซึ่งในระหว่างที่เครื่องพัง จะไปหาเครื่องอื่นมาใช้งานได้จากไหน? ต่อให้ถ้าเราต้องซื้อมาใหม่ เครื่องหนึ่งก็ไม่ใช่ถูกๆ (2,000-3,000) ซึ่งต่างจากหนังสือที่ถ้าหากหายก็ยังซื้อมาในราคาไม่กี่บาทเพื่อเรียนต่อได้ หรือรับต่อจากรุ่นพี่ได้ ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกปัญหาที่จะทำให้เครื่อง Tablet ขาดแคลนได้ครับ
– เรื่องเนื้อหาที่จะนำมาป้อนให้เด็กนักเรียนได้เรียน > ตรงนี้เป็นอีกปัญหา เพราะระบบจะต้องใหญ่มาก แล้วจะต้องมีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญทั้งทางด้าน IT และทางด้านการศึกษามาร่วมงานกันชนิดที่ว่าตัวติดกันเลย และจะต้องมีหนังสือเรียนที่ครอบคลุมแต่ละชั้นเรียน และวิชาที่จะเรียนด้วย หากไม่มีการอัพเดตเนื้อหาตรงนี้แล้วไซ้ มันจะต่างอะไรกับขยะอิเล็กทรอนิกส์กองโตกันล่ะ?
– เรื่องแผนกบำรุงรักษาเครื่องที่มีปัญหา > ตรงนี้คิดว่ามีเตรียมพร้อมไว้หมดหรือยัง? เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างมันก็ต้องมีการสึกหรอและเสียหายกันจะได้ไว่าจะมาจากสาเหตุใดก็ตาม ซึ่งหากขาดแผนกซ่อมบำรุงรักษาเครื่องอย่างเชี่ยวชาญ ก็เป็นปัญหาทำให้การเรียนการสอนสะดุดได้เช่นกัน
– เรื่องเด็กนำเครื่องมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ > อย่างลืมว่าเครื่อง Tablet มันเ็นเครื่องที่ส่วนใหญ่ผู้คนมักเอาไว้ใช้ทำอะไร? แน่นอนว่าเด็กก็เช่นกันครับ คุณต้องเข้าใจด้วยว่าเด็กมักมาควบคู่กับการเล่น เด็กก็ต้องพยายามหาอะไรที่อยู่ใน Tablet มาเล่นจนได้ล่ะครับ ถึงไม้จะเปิด Play Store โหลดอะไรมาลงไม่ได้ แต่หากบน Tablet มีแค่แอพฯ วาดรูป เด็กก็เปลี่ยนไปเล่นวาดรูปได้แล้วล่ะครับ แล้วยิ่งถ้าเป็นเด็กโข่งดันรู้ว่าถ้าเครื่องมันลง APK จากภายนอกได้ รับรองครับ มีเกมโผล่มาบนเครื่องแน่นนอนครับ
– และอีกหลายๆ เรื่องที่ผมนึกไม่ออก
การใช้ Tablet เรียน จะต้องใช้เรียนควบคู่ไปกับสมุดจดด้วย หากไม่มีการใช้สมุดจดหรือสมุดการบ้าน แล้วทำทุกอย่างบน Tablet ทั้งหมดก็จะทำให้เกิดปัญหาในข้างต้นขึ้นมาได้ด้วย ดังนั้นครูผู้สอนควรจะให้ทุกอย่างไม่อยู่บน Tablet เพียงอย่างเดียวครับ
สุดท้าย เราไม่ควรจับเด็กทั้งประเทศในยุคทดลองเทคโนโลยีมาเป็นตัวประกันเพื่อไว้ทดลองโครงการครับ แต่ควรให้การเรียนการสอนดำเนินการควบคู่ไปกับระบบปกติด้วย เพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนในอนาคต
ถูกต้องครับ