เริ่มจากหน้าตาของกล่อง ก็เรียกว่าใหญ่พอสมควรเลยนะ
ด้านหลังจะมีบอกฟีเจอร์ทั้งหลายทั้งแหล่
สเปคของ Yoga Book แบบเต็มๆมีรายละเอียดดังนี้ครับ
จอ IPS LED (LED Back-lit LCD) 10.1 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1200, Color Gamut 70%, ความสว่างสูงสุด 400nits
- ระบบสัมผัส บนหน้าจอ : Capacitive Touch with AnyPen Technology, บนแผ่นพิมพ์เขียน: Capacitive Touch and EMR Pen Technology
CPU Intel Atom x5-Z8550 quad-core 2.4GHz 2M Cache
RAM 4GB LPDDR3, ROM 64GB, รองรับ microSD สูงสุด 128GB
กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล รองรับ Auto-focus
กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล fixed-focus
Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac, GPS + AGPS
แบตเตอรี่ Li-Ion Ploymer 8,500 mAh, ระยะเวลาใช้งานต่อเนื่อง 15 ชั่วโมง
ขนาดเครื่อง 10.1 x 0.38 x 6.72 นิ้ว
- วัสดุโลหะ น้ำหนัก 690 กรัม
เซนเซอร์ G-sensor, Light, Hall
ระบบเสียง Dolby Atmos
Android 6.0 (มีรุ่น Windows 10 Home ให้เลือกด้วย แต่จะแพงกว่า)
เปิดกล่องขึ้นมาก็จะเจอเจ้า Yoga Book นอนยั่วรอการสัมผัสจากเรา
ยกขึ้นมาก็จะเห็นชั้นล่างที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมด
รวมอุปกรณ์ทั้งหมดที่มีแถมมาให้ในกล่องของ Lenovo Yoga Book
ตัวเครื่อง
สมุดจอ
คู่มือ
เข็มจิ้มซิม
หัวชาร์จ 9V2A – 12V2A
สายชาร์จ microUSB
ปากกาพร้อมหัวเปลี่ยน
กางเปิดเครื่องมาจะเห็นว่าด้านบนเป็นจอ ด้านล่างเป็นคีย์บอร์ดแบบ Halo เรืองแสง และใช้เขียนวาดรูปได้
ด้านซ้ายของเครื่องจะมีช่อง microUSB ไว้เสียบชาร์จและโอนถ่ายข้อมูล, ช่องใส่ซิมการ์ด+microSD, และช่องต่อเสียบ HDMI ให้ฉายขึ้นจอได้ด้วย และลำโพงซ้าย
ส่วนด้านขวาของเครื่องก็จะมีปุ่ม power และ volume rokr พร้อมลำโพงขวา
ด้านบนซ้ายของแผ่นคีย์บอร์ดจะมีกล้องที่ใช้เป็นกล้องหลัง ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล, ปุ่มปรับโหมดเขียนด้วยปากกา และเส้นมุมฉากที่มาร์คเอาไว้เพื่อบอกตำแหน่งของพื้นที่ที่เขียนได้
ส่วนด้านซ้ายก็มีเพียงสติ๊กเกอร์ intel และมาร์คด้านซ้ายเท่านั้น
หน้าจอก็อย่างที่บอกไปว่าสเปคคือ IPS LED (LED Back-lit LCD) 10.1 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1200 คมชัดดีมาก ส่วนสี Color Gamut 70% ก็จัดจ้านตรงดี
ด้านบนจะมีไมค์อยู่สองตัวซ้ายขวาสำหรับทั้งตัดเสียงรบกวนและบันทึกเสียงแบบสเตอริโอ
ตรงบานพับที่เชื่อมหน้าจอและคีย์บอร์ดเข้าด้วยกันก็ทำมาดูคล้ายข้อต่อนาฬิกา มีความแข็งแรงดี และซ่อนสายแพเอาไว้ภายใน
สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ตามความต้องการเลย จะกางให้กลายเป็นเต้นท์สำหรับดูหนังฟังเพลงก็สะดวกดี แบตอึดดูหนังหรือซีรีย์สได้แบบจบซีซั่น หรือจะพับให้กลายเป็นแท็บเลต น้ำหนักก็ยังถือได้สบายๆ
ในกล่องที่ซื้อมาจะมีแถมสมุดที่มีขนาดพอดีกับ Lenovo Yoga Book มาให้ด้วยเล่มนึง ซึ่งก็มีการดีไซน์มาได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ แบบดูแล้วก็คิดในใจว่าเออ เค้าคิดมาจบดีแฮะ เพราะเมื่อเราวางทาบสมุดนี้ลงไปตรงคีย์บอร์ด มันจะมีแม่เหล็กดูดตรึงเอาไว้ให้เขียนได้มั่นคงและถนัดมากขึ้น และสมุดก็จะอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับหน้าจอ เวลาเขียนแล้วจะอยู่ในพื้นที่ที่เขียนอะไรก็จะขึ้นหน้าจอได้ทันทีเลย
เปิดมาก็พร้อมเขียน พอดีเป๊ะ
และถ้าใช้สมุดหมดก็ไปซื้อเล่มใหม่มาเปลี่ยนได้เลย
ขอสรุปเท่าที่ลองเล่นคร่าวๆมาประมาณนี้ พอดีมาลองไม่นานเท่าไหร่
เครื่องมีความลื่น เครื่องลื่นขนาดไหน เล่นเกมได้รึเปล่า
ตัวที่ลองเทสต์ GPS แม่นยำดี พอนำทางได้อยู่ แต่มีปัญหาเรื่อง compass หมุนไม่ตรงทิศ
เสียบ USB เล่นไฟล์หนังได้เลย เสียงดีใช้ได้
- หัวปากกาที่มีหมึกเขียนได้ ต้องใช้ของมันเองเท่านั้น
ใช้ปากกาอื่นๆเขียนไม่ได้นะ หมึกหมดแล้วต้องซื้อใหม่ของมันเองเท่านั้น
การตอบสนองของปากกายังค่อนข้าง lag หน่วงอยู่
ไม่เหมาะกับการวาดรูป เพราะมันจะได้เส้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว
เหมาะกับการจดบันทึก ขีดเขียนแล้วเก็บเป็นไฟล์ digital มากกว่า
คีย์บอร์ดถ้าใช้ภาษาอังกฤษ ก็สบายอยู่ พิมพ์ได้รวดเร็วดี
คีย์บอร์ดภาษาไทยใช้ยากโคตร ไม่มีสกรีนให้ไม่พอ คนที่พิมพ์สัมผัสได้ก็ลำบากเพราะว่าตำแหน่งเลย์เอาท์ไม่เหมือนกับคีย์บอร์ดจริงเท่าไหร่ พิมพ์ผิดกระจุย
- แนะนำให้ใช้ on-screen keyboard ไปเลยดีกว่าสำหรับการพิมพ์ไทย
เล่น Multitask ได้เวิร์คอยู่ บริหารจัดการแรมได้ดีเลย
มีแอพที่สามาถรเปิด Multitask ได้ไม่เยอะมาก จำกัดพอสมควร
แต่แอพที่เปิดหน้าจอ Multitask จะมีข้อดีที่แสดงผลได้ถูกต้อง เพราะเห็นเหมือนบนมือถือเลย
อยากรู้เรื่องไหนเพิ่มเติมถามเข้ามาละกันครับ เดี๋ยวเอามาเขียนเพิ่มเติมให้และเดโมให้ดูใน Live Review เช่นเดิมครับ 🙂
ไม่รู้ว่า เวอร์ชัน windows มันจะเร็วกว่าไหม เรื่องการใช้ปากกาเขียน แต่ผมว่าน่าจะเร็วกว่าของแอนดรอยนะ เพราะ windows มัน optimize กะCPU ตระกูล x86 ซึ่ง atom ก็เป็น x86 มาแต่เวอร์ชัน 3.1 แล้ว ผมเดาว่า Library ของวินโดส์เขียนด้วย C++ แล้วคอมไฟล์ มันย่อมเร็วกว่า Java ของฝั่งแอนดรอย อยู่ดีนะ ต่อให้ ฝั่งแอนดรอย ใช้ ART ก็ยังช้ากว่านะ
อันนี้ผมว่านะ ผิดถูกประการใดขออภัย
ความเห็นส่วนตัว ชอบฝั่งแอนดรอย แต่เท่าที่ดูใน droidsan weekly เห็นชัดว่าปากกาเขียนแล้วมันหน่วงๆ เส้นมาไม่ทันปากกา ซึ่งถ้าเทียบกะ Note 8(spec เทียบเท่า Note 2) ที่ผมใช้อยู่ภาพมาเกือบทันที ต่างกันอย่างชัดเจน
แต่ OS Windows เองก็ใหญ่กว่า
Android เยอะอยู่นะครับ
ก็ถือว่าเป็นความพยายามที่ดีของเลอโนโว
คงต้องพัฒนาต่อ
รอดูเวอร์ชั่นวินโดวส์ครับ
ขอให้โฟกัสไปในเรื่องของการใช้ปากกาครับ เทียบกับ(ทั้งตัวปากกาและแอพ ใช้ร่วมกับปากกา) ว่าข้อดีข้อด้อยกว่า Spen ของ Samsung และ ทาง Microsoft onenote และ Surface pen ครับ ตอนนี้ใช้ Samsung galaxy note 8.0 ครับ ตอนนี้ไม่ทันการละ ช้ามากด้วยสเปคและอายุการใช้งานครับ ด้วยเป็นครูครับและต้องการนำเปรียบเทียบเพื่อ นำมาใช้ตรวจงาน คอมเม้นท์งานที่ส่งมา บันทึกงานที่ตรวจ และให้คะแนนแล้ว และใช้ร่วมกับแอพ ms excel เพื่อติดตาม ประเมินผล นักเรียน เป็นรายบุคคลในแต่ละเรื่องที่ ประเมินครับ ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ บันทึก จดโน้ตการประชุม เรียกว่างานธุรการชั้นเรียน จะออนไลน์ พร้อมทั้งแจ้งผลแบบ real time เพื่อเด็กๆครับ
เท่าที่ดูรีวิวมาการวาดรูปจะสู้ Spen ของ Samsung ไม่ได้ เหมาะกับการไว้จดบันทึกมากกว่า
นั่นจิ Note8 มันเก่าแล้วล่ะ
แต่ผมก็ยังใช้ขีดๆ เขียนๆ ลื่นอยู่นะ ถ้าไม่เอาไปทำงานอื่นนะ ใช้เชียนใช้จด อย่างเดียวเลย 555
ปากกาเขียนลื่น ถูกใจ จอก็ใหญ่กำลังดี ไม่เล็กไป ผมมือใหญ่เขียนตัวเล็กๆ ไม่ค่อยถนัด เวลาขีดๆเขียนๆ ต้องใช้จอใหญ่หน่อยนึง
อยากรู้ spec และราคาของ OS Windows
RAM ถ้าได้ 8GB คงดี