ในวันนี้ที่งานสัมมนา Project Ara (Project Ara Module Developer Conference) ถือเป็นงานแรกที่เปิดไส้เปิดพุงถึงรายละเอียดยิบย่อยและมาตรฐานกลางในระดับพิมพ์เขียวของ Project Ara เพื่อเปิดให้ผู้ผลิตที่สนใจจะทำโมดูล (module) เข้ามาเชื่อมต่อ (plug) กับ Project Ara ได้เข้าใจในพิมพ์เขียว จนสามารถนำไปต่อยอดสร้างโมดูลและ driver เพื่อเข้ามาเชื่อมต่อกับ Project Ara ได้ ซึ่งรวมไปถึงการเปิด API ให้นักพัฒนาได้เข้าถึงและสามารถพัฒนาแอพพลิเคชันได้
เหตุผลที่ Google ต้องมาทำการเปิดมาตรฐานภายในของ Project Ara อย่างกับสาวไส้ออกมานั้น เป็นเพราะ Google ต้องการที่จะเริ่มทำตลาดนำร่องสำหรับ Project Ara เพื่อที่จะได้รับรู้ความรู้สึกของผู้บริโภคว่าอันไหนที่ดีแล้ว อันไหนที่ยังไม่ดี จะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขต่อยอดต่อไปเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคได้มากที่สุด ซึ่ง Paul Eremenko หัวหน้าโครงการ Project Ara ได้กล่าวว่า “เราต้องระมัดระวังในการนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคโดยที่ดูไม่เป็นการชี้นำหรือครอบงำผู้บริโภค” เพื่อให้การทำตลาดนำร่องในครั้งนี้ได้ผลยิ่งขึ้น โดยไม่ดูเหมือนเป็นการชี้นำหรือครอบงำโดย Google
โดย Google ได้ทำการเลือก เปอร์โตริโก ซึ่งเป็นเกาะๆ หนึ่งที่อยู่ในเครือรัฐของอเมริกาเป็นตลาดนำร่อง โดย Google บอกว่ามีหลากหลายเหตุผลที่ทำให้เลือกเปอร์โตริโก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พื้นที่บนเกาะกว่า 75% สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์มือถือได้
ซึ่งเมื่อ Google ได้เริ่มขาย Project Ara จริงๆ ผู้บริโภคจะสามารถเลือกชิ้นส่วนต่างๆ เข้ามาประกอบเข้ากันเป็นมือถือได้ผ่านทาง Ara Marketplace and Ara Configurator apps ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนรถขายอาหาร (Food Truck) ดังรูปด้านบน
ซึ่งหมายความว่า Project Ara จะไม่มีขายผ่านทางออนไลน์ (ในช่วงแรก) หากต้องการที่จะหาซื้อ จะต้องไปซื้อถึงที่เปอร์โตริโกจริงๆ เลือกและสั่งประกอบตรงนั้นเลย โดยจะมีทีมงานประกอบและติดตั้ง driver ให้ ซึ่งในเริ่มแรก Google กล่าวว่าจะมีโมดูลให้เลือกประกอบประมาณ 20-30 โมดูล และจะสามารถประกอบออกมาเป็นมือถือที่ไม่ซ้ำแบบกันได้ถึง 10 แบบ
โดยโครงการนี้เพิ่งดำเนินการมาถึงวงรอบที่ 2 (Spiral 2) เท่านั้น ซึ่งตอนนี้โมดูลที่ Google ทำออกมานั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น แบตเตอรี่ที่ยังอยู่ได้ไม่ทั้งวัน ยังไม่รองรับ 4G LTE กล้องที่ยังมีความละเอียดสูงสุดแค่ 5 ล้านพิกเซลเท่านั้น นอกจากนี้เรื่องรูปลักษณ์และดีไซด์ที่ Google พยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยในวงรอบที่ 3 (Spiral 3) นี้ ทาง Google จะพยายามพัฒนาให้ Project Ara นั้นมีความสามารถเหมือนสมาร์ทโฟนตามท้องตลาดทั่วไป เช่น แบตเตอรี่อยู่ได้ทั้งวัน กล้องที่ดีขึ้น โดยการพัฒนาในวงรอบที่ 3 มีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ Google ทำตลาดนำร่องในเปอร์โตริโกพอดี
ปิดท้ายกันด้วยวิดีโอ hand-on ของ Project Ara Spiral 2 (ช่วงท้ายๆ ของวีดิโอ)
ที่มา TheVerge
แล้วบ.มือถืออื่นๆจะขายของยังไงอั้นนี้น่าคิด เพราะมันแยกเป็นชิ้นๆแล้ว
ไม่ต้องคิดมากครับ มันก็ยังขายได้เหมือนเดิม
ดูอย่าง PC ละกัน แต่ก่อนมีแต่ PC ประกอบ ตอนนี้มี PC สำเร็จรูปออกมา คนก็ยังซื้อทั้ง 2 แบบ
ผมมองว่าตรงนี้แล้วแต่ชอบครับ เพราะมือถือสำเร็จรูป กับมือถือประกอบ ข้อดีมันไม่เหมือนกัน
ตามนี้เลย ตลาดน่าจะแยกเป็นสองแบบคือ มือถือ Brand กับมือถือประกอบเอง เหมือนกับของ PC
มือถือทั่วไป ข้อดีของมันคือมีกรอบสวยงาม ไม่ดูก้อปแก๊ป มีข้อตายตัวของฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์
ชอบประหยัดๆ ก้คงต้องซื้อมือถือแบบแยกชิ้น
แต่ข้อเสียคือมันไม่สวยเอาซะเลย และด้วยที่ว่ามันประกอบเองได้ แต่ด้วยขนาดและความต้องการหลายๆ อย่าง นอกจากไซต์ของตัวที่จะประกอบ ทั้งความสูงความกว้าง มันก้ยังต้องมีความบาง ความหนาอีก และความเข้ากันได้ระหว่างฮาร์แวร์ กับซอร์ฟแวร์ ยุ่งยากไปมั้ง ง่ายๆคือความต้องการของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันครับ เหมือนจะยุ่งยากกว่าคอมประกอบด้วยซ้ำไป ^0^ หรือจะให้ง่ายทำให้ตัวประกอบมันเท่ากันหมด ยังไงก้คงไม่เวิร์คนะผมว่า ประกอบเองได้ทั้งที
จะยากอะไร ก็ซื้อเคสมาสวมสิครับ ทุกวันนี้ก็แทบจะไม่เห็นคนใช้โทรศัพท์แบบไม่ใส่เคสอยู่ละ พอประกอบเสร็จ สวมเคส สวยงามอีกต่างหาก เผลอๆลูกเล่นเคสมากกว่ากันเยอะ
PC ประกอบเอง สวยกว่า และตรงใจกว่า แบบสำเร็จรูปครับ
*อยากได้ "ก้อปแก๊ป" ก็มองหายี่ห้อหิดโสนั..s นะครับ
ผมว่าเผลอๆนะ
ค่ายแนวหน้าอาจจะทำชิ้นส่วนเองก็ได้
เช่น sony ทำ ชิ้นส่วนกล้องออกมาให้คนเลือกใช้
SS ทำจอ บางๆ กินไฟน้อยออก มาอะไรแบบนั้น
ถ้าเป็นไปได้ผมคนนึ่งล่ะที่ซื้อประกอบ
ที่ผมมองเห็นข้อแตกต่างชัดๆเลย
Brand
– แข็งแรงกว่า เพราะเชื่อมมาเป็นชิ้นเดียวกัน
– ขนาดเล็กกว่า เนื่องจากการออกแบบที่พอดีตัวและอยู่บนบอร์ดเดียวกันมาจากโรงงาน
– งานประกอบเนียนกว่า แน่นอนประกอบเสร็จมาจากโรงงานก็ต้องปิดหมด
ประกอบ
– ตรงใจสาย DIY กำหนด spec, performance, price ได้เอง
– ราคาถูกกว่ามากใน spec เท่าๆกัน
– ใช้งานในระยะยาวได้ เนื่องจากผู้ผลิตจะปล่อยต้อง driver ออกมาเรื่อยๆ และชิ้นส่วนไหนไปต่อไม่ไหวก็เปลี่ยนเฉพาะส่วน
หลายคนบอกว่าอย่าง PC มี case สวยๆออกมา แต่ลืมคิดกันไปว่า PC นั้นมันมีช่องเหลือๆให้ใส่อีกมากมาย
แต่กับ mobile ที่ต้องการความกะทัดรัด ก็ต้องเน้นบางเข้าไว้ แต่ถ้าใช้เครื่องประกอบ ก็ต้องซื้อ case มาให้หนาขึ้นไปอีกชั้นนึง
แต่ก็อย่างว่า คนส่วนใหญ่ซื้อเครื่องมา ต้องใส่ case ต้องติดฟิล์มกันเป็นเรื่องปกติ แต่พอดีผมไม่เคยใช้ทั้ง case ทั้งฟิล์ม ก็เลยมองเห็นว่ามันเป็นจุดที่แตกต่างมากๆ
ผมเป็นสาย DIY อยู่ละ รอมันมานานมาก
ต่อไปจะเปลี่ยนแค่บางส่วน หรือทยอยซื้อแต่ละส่วนที่เทพๆมาใส่
แถมสามารถเลือกติดตั้ง OS และ driver เองได้โดยที่ไม่ต้องผู้กับเครื่องและรุ่น
+1 ครับ แจกแจงชัดเจน
แต่สำหรับ DIY ผมกลัวหน่อยก็เรื่องขนาดเครื่องที่มันน่าจะใหญ่พอตัว
ยิ่งถ้าใส่เคส มันก็จะหนาขึ้นอีก เอาเป็นว่ารอดูตัวจริงดีกว่า
+1
น่าจะเกิดกรณี OS เปลี่ยน แต่ไม่มี Driver Support ก็ตึ้บได้เหมือนกัน
จะไม่ติอะไรทั้งนั้น. นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของนวัฒกรรม ในอนาตคจิงๆ
ถ้าผลตอบรับออกมาดี อนาคตปัญหาที่ทุกคนกังวนมันต้องหมดไปแน่นอน
อีก3ถึง5ปี คงเครื่องบางลง เล็กลง กันน้ำ ได้แหละ
แตกกระจาย
พวกติ่งแบรนด์ต่างๆจะได้เลิกทะเลาะกันเรื่องหน้าตาลอกเลียนแบบ บลาๆๆ
ลง android เสร็จ ต้องลง apk driver แต่ละชิ้นด้วย แค่คิดก็สนุกแล้ว หนับหนุนมากๆ
ทำหล่นทีกระจาย