เอาจริง ๆ การเขียนบทความ เรียงความ ทำการบ้าน ฯลฯ ขึ้นมาหนึ่งอันก็ว่ายากแล้ว แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าก็คือการตรวจทานหาคำผิด (Proofread) นี่แหละ ที่เอาจริง ๆ ต่อให้เรากวาดสายตามองแบบละเอียด ๆ มันก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงที่เราจะมองข้ามไม่เห็นสิ่งที่เราเขียนผิดไปได้ ต้องวานไปให้เพื่อน ๆ ช่วยกันตรวจอีกแรง แต่วันนี้ไม่ต้องแล้ว เพราะเราจะมาแนะนำฟีเจอร์ตรวจทานของเว็บ ReadAWrite พร้อมกับรีวิวการใช้งานสั้น ๆ ว่าใช้งานได้จริงไหม มีข้อสังเกตอะไรหรือเปล่า

โดยแรกเริ่มให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของ ReadAWrite (กดไปที่ลิงก์สีแดงได้เลย) จากนั้นคลิ๊กไปที่ฟีเจอร์ “ตรวจ” เพื่อเข้าไปใช้งานตรวจทานคำผิด (Proofread)

พอเข้ามาแล้ว ให้กดไปที่หัวข้อ “ก็อปปี้ วาง แล้วตรวจ” เพื่อที่จะให้ตัวระบบตรวจเช็คหาคำผิดของบทความ หรือสิ่งที่เราเขียนไปนั่นเอง

โดยถ้าฟีเจอร์ตรวจทานเจอคำผิดหรือคำที่เราสะกดผิดเมื่อไหร่ล่ะก็ มันก็จะมาร์กคำนั้นเป็นสีแดงทันที พร้อมกับบอกว่าเราควรจะแก้เป็นคำไหน ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถกดไปที่ “แทนที่” เพื่อให้ระบบแก้ไขให้เราแบบอัตโนมัติเลย

นอกจากนี้ ยังมี ตารางชื่อเฉพาะ ให้เราใส่ไป เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบมองว่าคำเหล่านั้นเป็นคำผิดอีกด้วย

ตรวจทานเป็นประโยคยังมีข้อจำกัด

ทั้งนี้ ฟีเจอร์ตรวจทาน (Proofread) ของเว็บไซต์ ReadAWrite ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง นั่นก็คือฟีเจอร์นี้ยังตรวจได้แค่กลุ่มคำที่ผิดเท่านั้น ถ้าเป็นรูปประโยคอันนี้ยังไม่สามารถทำได้ ยกตัวอย่าง ระบบไม่สามารถตรวจจับได้ว่าผมพิมพ์คำว่า “ต่อทีอีกไป” ผิด ทั้งที่จริง ๆ ควรจะเขียนว่า “ต่อไปอีกที”

ยังตรวจทานภาษาอังกฤษไม่ได้

อีกหนึ่งข้อสังเกตของฟีเจอร์ตรวจทานของ ReadAWrite ก็คือ ตัวระบบยังไม่สามารถตรวจคำผิดในภาษาอื่น ๆ อย่างภาษาอังกฤษได้ รวมไปถึงการตรวจทานไวยากรณ์ก็ยังทำไม่ได้เช่นเดียวกัน

ประโยคที่ถูก: The last couple of months have been taxing and I can’t actually remember the last time I was genuinely happy anymore 

สรุปฟีเจอร์ตรวจทานของ ReadAWrite ใช้งานเป็นไงบ้าง เชื่อถือได้ไหม?

หลังจากลองใช้งานฟีเจอร์ตรวจทานของเว็บ ReadAWrite ก็พบว่า ระบบสามารถตรวจเช็กคำผิดได้ค่อนข้างโอเคเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำทับศัพท์ อันนี้ทางระบบจะแม่นเป็นพิเศษ แต่ถ้าให้ตรวจความถูกต้องของทั้งประโยค ในส่วนนี้ตัวระบบดูเหมือนจะไม่ค่อยสันทัดเท่าไหร่ คือถ้าเพื่อน ๆ จะเอาฟีเจอร์นี้ไปใช้หาคำผิดแบบเป็นคำ ๆ ตรงนี้ตอบโจทย์มาก ๆ มากกว่านี้ ยังไงตรวจทานด้วยสายตาเรา (และสายตาคนอื่น) ก็ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดอยู่