Moto X อดีตลูกคนรองของ Google ที่ตอนนี้โดนพ่อบุญธรรมอย่าง Lenovo รับไปเลี้ยงดูต่อแทนแล้ว สาเหตุที่มานั่งทำรีวิวตัวนี้ก็เพราะว่ายังไม่มีรีวิวในบ้านเราซักเท่าไร ที่มีก็มีแต่พรีวิว ก็เลยจัดรีวิวแบบเน้นๆไว้ให้คนที่สนใจได้อ่านก่อนจะตัดสินใจซื้อได้มาดูข้อมูลคร่าวๆกันก่อน

Moto X เป็นมือถือตัวแรกที่ออกมาหลังจากที่ Motorola ถูก Google ซื้อ โดยมีจุดเด่นคือเป็น Android Phone ที่สามารถออกแบบตัวเครื่องได้เอง โดยทำผ่าน Moto Maker ที่อยู่บนเว็ป ซึ่งการสั่งซื้อทั้งหมดจะทำบนเว็ป Motorola นั่นเอง

สามารถเลือกสีทั้งข้างหน้าและข้างหลังหรือสีของปุ่ม กำหนดชื่อที่จะสลักหลังตัวเครื่องได้ และข้อความที่จะแสดงเมื่อเปิดเครื่อง รวมไปถึงพื้นหลังและ Google Account ที่ใช้ในเครื่องนี้ โดยที่ตัวเครื่องจะถูกผลิตขึ้นในอเมริกา

ตอนแรกจะสั่งเครื่องมาจากอเมริกา ให้น้องของแฟนที่อยู่ที่อเมริกาหิ้วกลับมาให้ ว่าแล้วก็เลยเข้าเว็ป Motorola แล้วทำการสั่งเครื่องซะเลย แต่ทว่าเมื่อสั่งเสร็จแล้ว เงินถูกตัดไปเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีปัญหาเพราะดันไปใส่ข้อมูลการสั่งซื้อผิด ทำให้การสั่งซื้อชวดไปซะงั้น (รอตังคืนเป็นเดือนแน่ะ)

ที่ต้องสั่งจากอเมริกาก็เพราะว่า Moto X มีไม่กี่ร้านที่หิ้วมา และราคาสูงพอตัว (ซึ่งไปซื้อเครื่องอื่นจะคุ้มกว่า) ในขณะที่สั่งจากอเมริกาจะถูกกว่า แต่พอมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อก็ถูกยกเลิกไปอย่างน่าเศร้า และในระหว่างนั้นก็เห็นร้านค้าออนไลน์แห่งหนึ่ง (น่าจะรู้จักกันดี เพราะ Moto X มีไม่กี่ร้านหิ้วมาขาย) ประกาศลดราคาเครื่อง Moto X ที่หิ้วมาขาย ก็เลยหน้ามืดตามัวกดสั่งซื้อจากร้านนี้เสียเลย (สั่งซื้อตอนเช้า ไปรับของตอนหัวค่ำ…) แต่ก็ต้องเลือกเครื่องเท่าที่มี (สีที่อยากได้มีคนซื้อตัดหน้าไปแล้ว) ก็เลยเลือกเครื่องสีขาวล้วนมาแทน

แกะกล่อง [/size]

กล่องจะทำจากวัสดุรีไซเคิล ตัวกล่องเป็นสีขาวมีโลโก้อยู่ข้างหน้า เท่าที่เห็นมากล่องจะมีสองลายขึ้นอยู่กับสีเครื่อง ผมเลือกสีขาวล้วนกล่องก็เลยเป็นขาวล้วน

ด้านข้างกล่องมีสติ๊กเกอร์ตัวสินค้าติดอยู่ จะเห็นว่ามีการแจ้งไว้ว่าตัวเครื่องผลิตจากอเมริกา แต่ว่าอุปกรณ์ต่างๆที่มากับเครื่องจะผลิตขึ้นในจีน

เมื่อเปิดกล่องก็จะพบกับตัวเครื่องที่นอนรออยู่ โดยมีตัวเครื่อง, คู่มือ, สาย Micro USB, Adapter 5V 1.15A แบบสองช่อง และเข็มดันซิมในแบบฉบับของ Moto X

คุณสมบัติของตัวเครื่อง [/size]

ด้านหน้าตัวเครื่องข้างบน (เรียงจากซ้ายไปขวา) จะมี Light Sensor และ Proximity Sensor อยู่ในช่องเดียวกัน โดย Proximity Sensor จะทำงานในระยะ 3 เซนติเมตร ตรงกลางแถบยาวๆคือ LED สีเขียวเอาไว้แสดงสถานะตอนชาร์จ (ไว้จะพูดถึงทีหลัง) และกล้องหน้า 2.1 ล้านพิกเซล [1920×1080]

ด้านหน้าข้างล่างของเครื่องจะมีช่องไมค์อยู่

ด้านล่างตัวเครื่องจะเป็นช่องเสียบสาย Micro USB

ด้านบนจะเป็นช่องเสียบหูฟังและมีรูที่ผมไม่แน่ใจว่าเป็นรูอะไร

มาต่อกันที่ต้านหลังตัวเครื่องกันบ้าง เริ่มจากกล้อง 10.5 ล้านพิกเซล [4320 x 2432] ที่ใช้เทคโนโลยี Clear Pixel ที่เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้เซ็นเซอร์รับแสงสว่างได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของกล้องจะพูดถึงในทีหลัง ส่วนลำโพงดังใช้ได้ แต่รู้สึกว่าเบากว่า Nexus 4 นิดนึง

ด้านหลังตรงกลางเป็นโลโก้ Motorola วงกลมบุ๋มลึกลงไปเล็กน้อย

หน้าจอความละเอียด 1280×720 พิกเซล หรือความละเอียด HD กว้าง 4.7 นิ้ว โดยไม่แยแสว่าต้องเป็น Full HD หรือ 1920×1080 พิกเซลตาม Flagship ตัวอื่นๆแต่อย่างใด เพราะในความเป็นจริงเวลาใช้งานก็ไม่สามารถแยกแยะได้อยู่แล้ว เว้นแต่ว่านั่งเพ่งใกล้ๆถึงจะเห็น ก็หวังว่าไม่มีใครมานั่งเพ่งหน้าจอใกล้ๆหรอกเนอะ และยังใช้กระจกเป็น Gorilla Glass 3 อีกด้วย

หน้าจอเป็นแบบ AMOLED จึงทำให้สีที่ได้มีความสดใส (จะมีอาการจอ Burn ง่ายแบบ Galaxy Nexus หรือป่าวก็ไม่รู้) จากการทดสอบใช้งานพบว่าแม้จะหรี่หน้าจอลงจนสุดก็ยังคงสว่าง เวลาเล่นในที่มืดก็จะทำให้รู้สึกสว่างเกินไปอยู่ และในการสู้แสงแบบแดดจ้าตอนเที่ยงๆก็พอเห็นภาพหน้าจอและใช้งานปกติได้ แต่ไม่ได้ถึงกับสู้แสงจนเห็นหน้าจอชัดเป๊ะ (เน้นว่าแดดจ้าสุดๆ)

ส่วนมุมในการมองก็ไม่ต้องกังวลเพราะเห็นได้ชัดปกติแม้จะเอียงสุดๆก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใครจะมองหน้าจอเอียงขนาดนั้นล่ะ? มุมกว้างเกินไปก็มีไว้ให้คนแอบมองจอเวลาเราใช้งานเท่านั้นแหละ…

ขอบจอเพียงแค่ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้เครื่องขนาดเล็กกว่า Galaxy Nexus ได้ ถึงแม้จะมีขนาดหน้าจอที่เท่ากันก็ตาม

ด้านข้างฝั่งซ้ายจะมีแค่ช่องเสียบ Nano Sim เท่านั้น

ดังนั้นด้านข้างฝั่งขวามือจะเป็นปุ่ม Volume และปุ่ม Power ทั้งหมด ข้อเสียของการวางปุ่มแบบนี้คือ กดเซฟภาพหน้าจอลำบาก เพราะต้องกดปุ่ม Power และ Volume Down ค้างพร้อมๆกัน ถ้าเป็นแบบปุ่ม Volume กับ Power อยู่คนละฝั่งจะกดได้ง่ายกว่า

ภาพหน้าจอตอนเปิดเครื่องสวยดี เป็นอย่างหนึ่งที่ผมชอบบน Moto X เลยล่ะ 😀

Play video

สำหรับหน้าจอคำว่า Motorola a Google company ถ้าทำการ Unlock Bootloader เครื่องแล้วจะเปลี่ยนเป้นข้อความเตือนแบบภาพข้างล่างนี้แทน

คุณสมบัติทางฮาร์ดแวร์ภายใน [/size]

  • CPU จะใช้เป็น MSM8960DT ซึ่งเป็น Snapdragon S4 Pro [Krait 300] ความเร็ว 1.7 GHz เป็นแบบ Dual-core ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแค่ Dual-core แต่ความแรงนั้นไม่ใช่เล่นๆ (เดี๋ยวพูดถึงทีหลัง)
  • GPU เป็น Adreno 320 ความเร็ว 400 MHz เป็นแบบ Quad-core เพื่อเรนเดอร์กราฟฟิคเต็มที่
  • มี CPU อีก 2 Core ที่เป็นแบบกินพลังงานต่ำ โดยทำหน้าที่จัดการกับระบบสั่งงานด้วยเสียงและการทำงานของเซ็นเซอร์อย่างละตัว
  • จากการที่มี CPU 2 Core, GPU 4 Core และ CPU พลังงานต่ำอีก 2 Core จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยี Motorola X8 Mobile Computing System นั่นเอง
  • กล้องหน้า 2.1 ล้านพิกเซล [1920×1080] ส่วนกล้องหลัง 10.5 ล้านพิกเซล [4320 x 2432] ใช้เทคโนโลยี Clear Pixel มี HDR และถ่ายวีดีโอ Full HD ได้ทั้งกล้องหน้าและหลัง โดยที่กล้องหลังจะสามารถถ่ายแบบ Slow Motion ได้ด้วย กล้องหลังใช้เซ็นเซอร์ประมวลผลภาพ OmniVision เบอร์ OV10820
  • Ram 2 GB เหลือให้ใช้งานจริง 1.8 GB
  • Rom หรือ Storage มีให้เลือกระหว่าง 16 หรือ 32 GB ผมเลือก 16 GB เพราะว่ามี Nexus 10 ที่เป็น 32 GB แล้ว บนมือถือจึงไม่ค่อยได้ลงอะไรหนักๆมากนัก สำหรับ 16GB มีพื้นที่เหลือให้ใช้งานจริง 11.88 GB ไม่รองรับ SD Card
  • หน้าจอ AMOLED 16 ล้านสี ความละเอียด 1280×720 พิกเซล กว้าง 4.7 นิ้ว กระจกเป็น Gorilla Glass 3 รองรับ Multitouch 10 จุด
  • ขนาดตัวเครื่อง 65.3 x 129.3 มิลลิเมตร ส่วนด้านหลังเครื่องจะมีลักษณะโค้ง โดยที่ส่วนที่หนาที่สุดจะหนา 10.4 มิลลิเมตร และส่วนที่บางที่สุดจะหนา 5.6 มิลลิเมตร มีขนาดเล็กกว่า Nexus 4 และ Galaxy Nexus แต่หนากว่า ซึ่งความหนาไม่ใช่ปัญหา ขอแค่จับกระชับมือก็เป็นพอ
  • น้ำหนักตัวเครื่องเพียง 130 กรัมเท่านั้น ตอนถือรู้สึกเบาดี อย่างน้อยเวลาตกก็กระแทกเบากว่าเครื่องที่หนักกว่า
  • ลำโพงขับเสียงด้วยชิป NXP TFA9890
  • แบตเตอรีขนาด 2,200 mAh กับความสามารถ Mixed Usage บนตัวเครื่องที่จะทำให้สามารถใช้งานเครื่องได้นานเต็มวันสำหรับการใช้งานแบบปกติ
  • มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการณ์ Android 4.2.2 และอัพเป็น 4.4.2 ได้เลย
  • สำหรับเครือข่ายจะอิงจากรุ่น T-Mobile ซึ่งเป็นรหัส XT1053
  • 2G : 820 / 900 / 1800 / 1900 MHz
  • 3G : 850 / 900 / 1700 / 1900 / 2100 MHz
  • 4G / 700 / 1700 / 1900 / 2100 MHz
  • GPS + GLONASS
  • Bluetooth 4.0 + A2DP + EDR + LE
  • WiFi 802.11 a/b/g/n/ac, Dual band, DLNA และ WiFi Hotspot
  • มี NFC
  • รองรับ USB OTG หรือ USB Host
  • เซ็นเซอร์ที่รองรับ Accelerometer, Gyroscope, Pressure, Magnetic Field, Temperature, Light Sensor, Proximity

Active Display [/size]

สำหรับลูกเล่นนี้ถือว่าเป็นฟีเจอร์หลักของ Moto X เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เอาหน้าจอ AMOLED ที่จะกินพลังงานต่ำเมื่อแสดงสีดำ ต่างจากหน้าจอแบบอื่นๆ ทาง Motorola จึงจับเอาหน้าจอมาทำเป็น Notification Display ซะเลย โดย Active Display จะทำงานก็ต่อเมื่อปิดหน้าจอเท่านั้น โดยจะแสดง Notification ง่ายๆบนหน้าจอในแบบขาว-ดำ

ทำไมถึงต้องมี Active Display?

ในวันหนึ่งผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะต้องเปิดหน้าจอเพื่อดูการแจ้งเตือนบ่อยมากถึงวันละ 60 ครั้งโดยประมาณ นั่นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรีหมดไว ดังนั้น Active Display จึงเข้ามาแทนที่เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น แต่สามารถเช็คการแจ้งเตือนได้สะดวกมากขึ้น

โดยจะแสดงเมื่อมี Notification แสดงเข้ามา สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ Notification ของแอปพลิเคชันตัวไหนบ้างแสดงบน Active Display และ Active Display จะแสดงขึ้นมาด้วยเงื่อนไขดังนี้

• คว่ำเครื่องไว้อยู่แล้วยกหงายขึ้นมา

• หยิบเครื่องออกจากกระเป๋า

• หยิบเครื่องจากบนโต๊ะขึ้นมา

• เมื่อมีการแจ้งเตือนใหม่เพิ่มเข้ามา

ซึ่งเหล่านี้ใช้หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและเซ็นเซอร์แสง นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไม Moto X ถึงต้องมี CPU อีกหนึ่งตัวเพื่อทำหน้าที่จัดการกับเซ็นเซอร์ เพื่อให้ Active Display สามารถทำงานได้โดยที่กินพลังงานต่ำนั่นเอง และลดการใช้งาน CPU หลักด้วย

Play video

เมื่อมีการแจ้งเตือนใดๆโผล่เข้ามา ก็เพียงยกเครื่องขึ้นมาแล้วเอานิ้วแต่ที่ปุ่มกลางจอ ก็จะมีการแสดงข้อความที่เข้ามาใหม่ที่ข้างบนถ้าจะเปิดแอปพลิเคชันนั้นๆเพื่อใช้งานก็เลื่อนนิ้วขึ้นไปที่ไอคอนของแอปพลิเคชันนั้นๆ และถ้าอยากปลดล็อคหน้าจอก็เพียงแค่เลื่อนลงมาที่รูปแม่กุญแจข้างล่าง

สามารถปาดนิ้วไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อลบการแจ้งเตือนนั้นๆออกก็ได้ เวลาที่มีข้อความเข้ามาใหม่ Active Display ก็จะแสดงวาบๆให้เห็นแทน LED Notification ดังนั้นจึงเลิกพูดถึง LED Notification ได้เลย เพราะ Moto X ไม่จำเป็นต้องมี LED Notification แล้ว LED Notification ทำได้แค่แสดงไฟสีต่างๆ ผู้ใช้ก็ต้องเปิดหน้าจอเพื่อเข้าไปดูการแจ้งเตือนอยู่ดี แต่สำหรับ Active Display ผู้ใช้ก็แค่กดดูข้อความ ถ้าอยากทำอะไรต่อก็ค่อยกดเข้า แต่ถ้าแค่เช็คดูเฉยๆแล้วจบ ก็ยกนิ้วออกได้เลย เครื่องก็จะปิดหน้าจอให้ทันที

จากการใช้งาน ผมรู้สึกได้เลยว่า เอ้ย! มันแจ่มมาก มันได้ใช้จริงๆ แถมสะดวกมากๆด้วย มีข้อความอะไรเข้ามาก็แค่ยกเครื่องขึ่้นหน้าจอก็ติด พอดูเสร็จก็วางไว้ที่เดิม อยู่บน BTS ก็หยิบจากกระเป๋าเสื้อขึ้นมาดู แล้วก็ใส่กลับเข้าไปในกระเป๋าดังเดิม

แถมสามารถทำให้เครื่องเป็น Touchless Lock/Unlock Screen ได้เลย เพราะผมลง Power Toggle ไว้ซึ่งสามารถเพิ่ม Shortcut สำหรับปุ่มล็อคหน้าจอไว้ใน Notification ได้ เวลาผมจะล็อคหน้าจอก็เลื่อน Notification Bar ลงมาแล้วกดปุ่มล็อคหน้าจอ เวลาจะปลดล็อคหน้าจอก็แค่ยกเครื่องขึ้นมาหน้าจอก็ติดให้กดปลดล็อค หรือคว่ำเครื่องแล้วจับหงายก้ได้ กลายเป็นว่าปุ่ม Power ไม่ได้กดเลยจึงทำให้ปุ่มพังได้ยากมากขึ้น

Play video

Touchless Control [/size]

อีกฟีเจอร์หลักหนึ่งของ Moto X นั่นก็คือสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะปิดหน้าจอไว้ก็ตาม โดยใช้ CPU ที่กินพลังงานต่ำอีกหนึ่งตัวนั่นเอง เวลาใช้งานเพียงแค่พูดว่า “OK Google Now” ก็จะพร้อมรับคำสั่งได้ทันที โดยคำสั่งทั้งหมดที่สั่งงานได้ก็จะอิงจาก Google Now นั่นเอง

สำหรับระบบสั่งงานด้วยเสียงจะมีลูกเล่นอยู่อย่างนึงคือ เวลาที่วางมือถือไว้แล้วไม่รู้ว่าวางไว้ที่ไหน ให้ตะโกนไปว่า “OK Google Now” แล้วสั่งงานด้วย “Find My Phone” ตัวเครื่องก็จะส่งเสียงร้องดังๆให้ผู้ใช้ได้ยินแล้วเดินหาต้นเสียง

Play video

ข้อดีคือจับเสียงได้ค่อนข้างดี แต่ปัญหาก็คือมันดีจนเกินไป ถ้ารอบๆมีเสียงคนอื่นคุยกันมันก็จะรับเสียงนั้นด้วยเช่นกัน สำหรับ Touchless Control ในบ้านเราอาจจะไม่ได้ใช้ซักเท่าไร ผมก็ไม่ค่อยได้ใช้เช่นกัน ก็เลยปิดการใช้งานไป

ส่วนเสียงคนพูดจะอิงแค่คำว่า OK Google Now เป็นหลัก ถ้าโทนใกล้เคียงกันก็พูดแทนกันได้ ดังนั้นผมนั่งเล่นเกมอยู่ แล้วมีคนพูดใส่ว่า “OK Google Now” ระบบสั่งงานด้วยเสียงก็จะเด้งขึ้นมาทันทีถ้าโทนเสียงใกล้เคียงกัน พอเข้าสู่คำสั่งเสียงของ Google Now แล้ว ใครจะพูดก็ได้หมด

และถ้าเครื่องของผู้ใช้กำหนดรหัสผ่านเป็นตัวเลข สามารถกำหนดให้ปลดล็อคด้วยการพูดตัวเลขรหัสผ่านได้ด้วย

Motorola Migrate ใช้เครื่องไหนมาก่อนไม่ใช่ปัญหา [/size]

ถ้าผู้ใช้เคยใช้ Smartphone ที่เป็น Android หรือ iOS มาก่อน ทาง Motorola ก็จะมีแอปพลิเคชันที่จะช่วยโอนข้อมูลจากเครื่องเก่าไปสู่เครื่องใหม่ให้ได้ง่ายๆ อย่างเช่นผมใช้ Nexus 4 มาก่อน แล้วจะเปลี่ยนเป็น Moto X เจ้าแอปพลิเคชันตัวนี้ก็จะดึงข้อมูลที่เก็บไว้ในเครื่องของ Nexus 4 มาไว้ใน Moto X ให้ โดย Nexus 4 จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Motorola Migrate เสียก่อน

โดยมีเงื่อนไขว่าทั้งสองเครื่องจะต้องอยู่ในวงแลน WiFi เดียวกัน เพราะจะโอนข้อมูลผ่าน WiFi แล้วให้ใช้เครื่องเก่าเปิดแอปพลิเคชันขึ้นมาก็จะมี QR Code เพื่อให้ใช้เครื่อง Moto X ทำการสแกนจากนั้นก็กำหนดว่าจะให้โอนอะไรมาบ้าง แล้วก็นอนรอได้เลย

Motorola Sportlight เป็นได้มากกว่าเรื่องราวธรรมดาๆ [/size]

Sportlight เป็นเรื่องราวสนุกๆน่ารักๆที่ให้ผู้ใช้ได้ชมกันในรูปของกราฟฟิค 3 มิติ แต่ทว่ามันคงน่าเบื่อถ้าต้องนั่งดูหนังบนมือถือเหมือนทั่วๆไป แต่ Sportlight จะให้ผู้ใช้สามารถ Pan มุมกล้องไปมารอบตัวได้ โดยเนื้อเรื่องจะดำเนินไปเรื่อยๆให้ผู้ใช้ดู และผู้ใช้ต้องขยับเครื่องไปมาเพื่อตามดูเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆ

ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็ลองกดดูวีดีโอข้างล่างนี้ได้เลย

Play video

สำหรับเนื้อเรื่องที่มีในตอนนี้จะมีอยู่สองเรื่องคือ Buggy Night กับ Windy Day ซึ่งทั้งสองเรื่องดูแล้วอมยิ้มไปหมุนกล้องไปเลยล่ะ โดยทาง Motorola จะเพิ่มเนื้อเรื่องเข้ามาเรื่อยๆให้ผู้ใช้ได้ดูกัน

Benchmark เป็นแค่ Dual-core จะแรงได้ซักแค่ไหนเชียว [/size]

Antutu Benchmark

มีหลายๆคนเชื่อว่าจำนวน Core ของ CPU เป็นตัวบอกความแรงของ CPU ยิ่งเยอะเท่าไรยิ่งดี ดังนั้น Moto X ที่เป็น Dual-core ก็แรงไม่มากหรอก ว่าแล้วผมก็จับลง Antutu แล้วเทสดูซะเลย

คะแนนไม่ได้ผิดเพี้ยนหรอกครับ ไม่ได้เปิดมาแล้วจับเทสด้วย ใช้งานไปซักพักลงแอปพลิเคชันอื่นๆเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยเทส และไม่มีการ Overclock แต่อย่างใด แต่กลับได้คะแนนมากกว่า Galaxy Note 2 ที่เป็น Exynos Quad-core เสียอีก

นั่นก็เพราะว่า Dual-core ที่ว่าเป็น Snapdragon S4 Pro [Krait 300] ที่แรงกว่า Quad-core หลายๆตัวเสียอีก ดังนั้น Dual-core ก็เหลือเฟือกับการใช้งานพื้นฐานแล้ว ไม่ต้องทำงานเป็น Quad-core ให้เปลืองแบตเล่นๆ แต่เวลาที่เล่นเกมหรือเรนเดอร์กราฟฟิค 3D ขั้นสูง ก็ยังมี Adreno 320 ที่เป็น Quad-core เพื่อเรนเดอร์กราฟฟิคโดยเฉพาะนั่นเอง

ดังนั้น CPU ของ Moto X จะแรงกว่า Quad-core หลายๆเจ้าก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด (โดยเฉพาะเครื่องผลิตจากจีนที่ใช้ CPU เป็น Quad-core ของ Mediatek)

3D Mark

ยังไม่หนำใจ จะไปเทสกับ Bechmark ตัวอื่นๆอย่าง Passmark ก็ดูธรรมดาไป ลอง 3D Mark ซะเลย เป็นแอปพลิเคชันทดสอบเรนเดอร์กราฟฟิคโดยตรงเลย เป็นแอปพลิเคชันจากทีมผู้พัฒนา 3D Mark บน PC ซึ่งคอเกมคงจะรู้จักกันดี

เริ่มทดสอบด้วย Ice Storm ที่ความละเอียด 720p ซึ่งเท่ากับความละเอียดของหน้าจอพอดี ปรากฏว่าได้ Maxed out! หรือก็คือเกินเกณฑ์ของการทดสอบระดับนี้นั่นเอง

ถ้างั้นเพิ่มระดับเป็น Ice Storm Unlimited ดูบ้าง

จากนั้นก็จัดด้วย Ice Storm Extreme ต่อเลย

Epic Citadel

สำหรับคอเกมบนแอนดรอยด์ก็คงจะรู้จักกับแอปพลิเคชันตัวนี้อยู่แล้ว เป็นการทดสอบเครื่องด้วย Unreal Engine จากทีมผู้พัฒนาชื่อดังจาก Infinity Blade บน iOS นั่นเอง ว่าแล้วก็ลองซะหน่อย

จากนั้นก็ลองกับเกมอื่นๆ ก็ลื่นปกติสุขทุกเกม ยกเว้นเกม The Amazing Spider-Man ที่มีกระตุกตอนโหลดแผนที่เท่านั้น และ The Dark Knight Rises ที่สโลวเล็กน้อยไม่ถึงกับกระตุก

ลื่นแค่ไหนก็ลองดูวีดีโอตอนเล่นเลยดีกว่า

Play video

Play video

กล้อง 10.5 ล้านพิกเซลกับเทคโนโลยี Clear Pixel [/size]

Moto X ใช้เซ็นเซอร์กล้องหลัง 10.5 ล้านพิกเซลของ OmniVision เบอร์ OV10820 ที่เป็นเซ็นเซอร์ขนาด 1/2.6 นิ้ว ภาพที่ได้จากเซ็นเซอร์จะมีอัตราส่วนภาพ 16 : 9 ซึ่งต่างจากเซ็นเซอร์กล้องตัวอื่นๆที่อัตราส่วนภาพที่ได้จะเป็น 4 : 3 ดังนั้นที่ความละเอียดสูงสุด 10.5 ล้านพิกเซลจะเป็นภาพอัตราส่วน 16 : 9 ทำให้เวลาถ่ายภาพภาพที่ได้จะเท่ากับที่เห็นในหน้าจอพอดี ระบบรับแสงถูกสร้างขึ้นด้วยด้วยสถาปัตยกรรม OmniBSI-2 ขนาดพิกเซล 1.4 ไมครอน ด้วยระบบสี RGBC (Red, Green, Blue และ Clear) ที่สามารถไวต่อแสงในถึงแม้จะแสงน้อย

โดยเจ้าเซ็นเซอร์เบอร์ OV10820 เป็นเซ็นเซอร์ที่สามารถบันทึกภาพวีดีโอแบบ 4K [3840×2160]ได้ด้วยนะเออ! แต่ว่า Moto X ไม่รองรับ ได้สูงสุดแค่ 1080p เท่านั้น (น่าเสียดายจัง)

จากการทดสอบภาพถ่าย จะใช้แอปพลิเคชันที่มากับเครื่องเพียงอย่างเดียวนะ ถ้างั้นก็ขอพูดถึงการใช้งานแอปพลิเคชันกล้องที่มากับเครื่องก่อนดีกว่า

ในการถ่ายภาพจะใช้วิธีกดที่ตำแหน่งใดบนหน้าจอก็ได้ ส่วนการซูมคือลากนิ้วขึ้นลง ถ้าลากนิ้วจากขวาไปซ้ายจะเป็นการเปิดอัลบั้มภาพ แต่ถ้าลากนิ้วจากซ้ายไปขวาจะเป็นการเปิดหน้าต่างตั้งค่าการถ่ายภาพ

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Quick Capture ด้วย โดยให้ผู้ใช้สะบัดมือเพื่อเปิดกล้องได้ ถึงแม้ว่าจะปิดหน้าจออยู่ก็ตาม ไม่ใช่การเขย่านะ เน้นว่าเป็นการสะบัดข้อมือจริงๆ โดยสะบัด 2-3 ครั้ง

เนื่องจากใช้การแตะหน้าจอเพื่อถ่ายภาพ ดังนั้นจะแตะที่หน้าจอเพื่อโฟกัสภาพไม่ได้แล้ว แต่ว่าจะมีให้ตั้งค่าใช้งาน Control focus & exposure โดยให้ผู้ใช้ลากวงโฟกัสไปที่ตำแหน่งต่างๆเพื่อโฟกัสภาพและปรับแสงได้

หมายเหตุ – ภาพทั้งหมดต่อจากนี้เป็นภาพที่ยังไม่ได้ทำการแต่ง และสามารถกดที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดเต็มๆได้ เพราะภาพที่อัพบนบล็อกจะไม่ถูกบีบอัดคุณภาพ

สำหรับภาพถ่ายถ้าเป็นภาพระยะใกล้แล้วมีแสงมากพอ ด้วยพลังของ Clear Pixel จะทำให้ได้ภาพออกมาสวยใช้ได้เลยล่ะ แต่ถ้าแสงน้อยหน่อยอาจจะต้องมีปรับแสงสว่างขึ้นอีกนิดหน่อยก็โอเคเหมือนกัน จากตัวอย่างภาพก๋วยเตี๋ยวนี่สวยสุดละ ถ่ายตอนแรกก็ตกใจเหมือนกัน

สำหรับระยะมาโครจะอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร

ต่อกันด้วยภาพถ่ายข้างนอกบ้าง

เปรียบเทียบภาพถ่ายแบบปกติและแบบ HDR โดยภาพแรกเป็นแบบธรรมดาและภาพถัดไปเป็นแบบ HDR สำหรับ HDR ส่วนใหญ่จะเหมาะไว้ถ่ายภาพที่มี Contrast แสงเยอะๆ โดยสังเกตได้ว่าท้องฟ้ามีสีสว่างกว่าพื้นถนน HDR ก็จะปรับความสว่างให้เหมาะสม ซึ่งกล้อง Moto X ก็ทำ HDR ได้โอเค แต่ว่าสีของภาพขาดความสดไปหน่อย

ต่อด้วยภาพถ่ายตอนกลางคืนเทียบกับกลางวัน

สำหรับภาพตอนกลางคืนถึงแม้จะไม่ได้ถึงกับดีที่สุด แต่ผมก็ถือว่าดีไม่ใช่เล่น เพราะ Moto X เวลาถ่ายแสงในตอนกลางคืนจะไม่เห็นแฉกแฟลร์เลย (ถ้าเห็นแฉกแฟลร์ให้เช็ดเลนส์กล้องซะ)

แถมภาพกล้องหน้า

ส่วนเรื่องแฟลชผมไม่ได้ทดสอบอะไรมาก ผมไม่เคยคิดจะใช้แฟลชมือถือในการถ่ายรูปอยู่แล้ว อย่างดีก็มีไว้ส่องไฟเวลามืดๆเท่านั้นเอง

และสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ แต่อาจจะถ่ายไม่เร็วเท่าเจ้าอื่น จากที่ลองดูได้ 1 – 2 ภาพต่อวินาทีเท่านั้น แต่สามารถกดค้างได้เรื่อยๆยันร้อยกว่าภาพ

สำหรับ Gallery จะมีหน้าตาแบบนี้ ดูเรียบๆดี

สำหรับการถ่ายวีดีโอรู้สึกว่าโอเคมากถึงมากที่สุด แต่ถ้าแสงเยอะๆภาพที่ได้จะมี Contrast สูง ลองถ่ายวีดีโอช่วงเย็นๆพบว่าภาพที่ได้ออกมาคมชัดและไม่มีการกระตุก แต่ถ้าถ่ายตอนกลางคืนจะจับแสงได้ค่อนข้างช้าอยู่ จนรู้สึกว่าเหมือนภาพหน่วงๆยังไงยังงั้น จากตัวอย่างถ่ายสองเวลาคือ เช้า เย็น และกลางคืน

Play video

Play video
ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ http://goo.gl/DiOy6p

Play video
ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ http://goo.gl/Qp5HXr

Play video
ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ http://goo.gl/Ix1D0r

สำหรับ Slow Motion จะถ่ายได้ Speed ช้าลง 50% ซึ่งคุณภาพที่ได้ออกมาก็โอเคใช้ได้ (ถ่ายในที่มีแสงด้วยแหละ) โดยภาพมีขนาด 720p

Play video
ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ http://goo.gl/rUuAiN

Mixed Use Battery อยู่รอดปลอดภัยตลอดวัน [/size]

สำหรับแบตเตอรี่อันนี้หลายคนถามถึงมากนัก เพราะทาง Motorola ได้บอกว่ารองรับการใช้งาน Mixed Use หรือก็คือใช้งานปกติก็สามารถอยู่ถึงวันได้ โดยที่ Moto X มีแบตเตอรีเพียงแค่ 2,200 mAh เท่านั้น ซึ่งถึงว่าน้อยกว่าเครื่องในระดับเดียวกัน และมี Power Saving ในกรณีที่แบตเตอรีเหลือ 10% โดยระบบจะทำการปิด Background App ทุกๆตัวทิ้งเพื่อประหยัดแบตเตอรี

เริ่มจากวันแรกใช้งานตามปกติ เปิดบลูทูธเพื่อเชื่อมต่อกับ Pebble ที่ใส่อยู่ทั้งวัน แล้วก็เข้า Facebook กับ Google สลับกันบ่อยพอสมควรตามปกติที่ใช้งาน แล้วมีการทดสอบกล้องนู่นนั่นนี่ไปในตัวด้วย เปิดแชร์เน็ตเล็กน้อย และใช้ Team Viewer คุมคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานนานพอสมควร จากนั้นก็นั่งรถไฟฟ้า BTS ไปรับ Moto X อีกเครื่อง จากนั้นเปิดใช้งานเป็นระยะๆ ระหว่างรับเครื่องก็ต้องแชร์เน็ตเพื่อทดสอบเครื่องอีกเครื่อง แล้วก็นั่งกลับบ้านอีกที รวมแล้ว 13 ชั่วโมง แบตเหลือราวๆ 10% ซึ่งถือว่าใช้ได้ เพราะถ้าเป็นเครื่องที่เคยใช้ก่อนหน้าก็คงลาจากกันไปก่อนหลายชั่วโมงเลยทีเดียว

วันต่อมาลองเน้นนั่งเล่นเกมบ้าง พอดีไปเที่ยวข้างนอกก็เปิดจอนั่งเล่นเกมรอคนอื่น ก็ดูจากกราฟก็จะเห็นว่าเล่นเป็นระยะๆและนานพอสมควรจึงทำให้แบตหมดไวกว่าปกติ แล้วแวะหาที่ชาร์จจากนั้นก็เล่นต่อยาวเลย

อันนี้อีกกรณีหนึ่ง เผลอหลับโดยไม่ได้เสียบชาร์จทิ้งไว้ แถมตอนเช้านาฬิกาปลุกตลอดชั่วโมงกว่าๆ (ตั้งปลุกไว้หลายๆรอบ) จากนั้นก็ออกมาทันทีโดยไม่ได้เสียบชาร์จ

อีกเครื่องหนึ่งที่ใช้งานยาวนานเหมือนกัน (มีการชาร์จในบางช่วงด้วย)

การใช้งานในวันถัดมาแบบปิด 3G อยู่ได้ทั้งวัน

และนอกจากนี้เวลาปิดเครื่องชาร์จ สามารถกดปุ่ม Power เพื่อดูได้ว่าชาร์จกี่ % แล้ว ซึ่งต่างจากหลายๆเจ้าที่เป็นภาพแบตเตอรีที่แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่านั้น

โดยส่วนตัวผมก็ถือว่ามันทำออกมาให้แบตเตอรีใช้ได้นานดี แต่ก็ไม่ได้นานจนเวอร์ จะให้นั่งเล่นเกมซัก 4 ชั่วโมงแล้วแบตลดนิดเดียวมันก็กระไรอยู่ ซึ่งมันก็อยู่ในนานเท่าที่มันสมควรจะเป็น เพราะมันมีไว้เพื่อใช้งานเป็นระยะๆเท่านั้น ไม่ใช่เอาแต่นั่งจิ้มหน้าจอมือถือตลอดเวลา ซึ่งแบบนั้นมีเท่าไรก็ไม่พอ สำหรับผมขอแค่ใช้เป็นระยะๆ แล้วกลับบ้านได้สบายใจไม่ต้องกลัวแบตหมดก็พอแล้ว

Motorola Skip รหัสปลดล็อคหน้าจอมีไว้สำหรับใครกันแน่? [/size]

การใส่รหัสผ่านไม่ว่าจะแบบใดก็ตาม “มีไว้เพื่อป้องคนอื่นแอบหยิบเครื่องเราไปใช้งาน” อาจจะซ่อนความลับอยู่ในเครื่องแล้วไม่อยากให้คนอื่นมาเปิดเจอ แต่ทว่าในวันหนึ่งผู้ใช้ต้องมาใส่รหัสผ่านเองบ่อยแค่ไหน? ในความเป็นจริงคนอื่นที่จะแอบมาใช้เครื่องเราอย่างมากก็วันละครั้งสองครั้งได้ แต่เรากลับต้องมานั่งใส่รหัสเพื่อปลดล็อคหน้าจอหลายสิบครั้งแทน

เพื่อลดความตูดหมึกนี้ Moto X จึงได้ใส่ลูกเล่นให้ผู้ใช้สามารถใส่รหัสปลดล็อคหน้าจอแบบใช้ NFC เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ NFC Tag มาปลดล็อคหน้าจอได้ โดยทาง Motorola ทำเป็นอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Moto Skip ออกมาขาย ซึ่งประกอบไปด้วย NFC แบบคลิปผ้า และ NFC แบบสติ๊กเกอร์อีกสามอัน

สำหรับ NFC แบบคลิปผ้ามีไว้เหน็บตามเสื้อผ้าเวลาออกไปไหนมาไหน เวลาจะปลดล็อคหน้าจอก็เพียงแค่หยิบเครื่องขึ้นมา กดปุ่ม Power แล้วเอาเครื่องแตะกับคลิปผ้าตัวนี้ ก็จะปลดล็อคหน้าจอในทันทีโดยไม่ต้องมานั่งใส่รหัสผ่านเลย

ส่วนแบบสติ๊กเกอร์มีไว้สำหรับติดตามสถานที่ประจำของเรา เช่นโต๊ะทำงานที่บ้านหรือบริษัท โดยแปะไว้บนโต๊ะ แล้วก็วางเครื่องไว้บนสติ๊กเกอร์ได้เลย เวลากดปุ่ม Power ก็จะปลดล็อคหน้าจอให้ทันที

ทีนี้มาทายกันเล่นๆว่า Moto Skip ขายเท่าไร?
.
.
.
$14.99 หรือ 480 บาทโดยประมาณ แถมต้องสั่งซื้อจากอเมริกาอีก รวมภาษีและค่าส่งก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน (ถึงแม้มันจะสวยก็เถอะ)

แต่ก็อย่างที่บอกไว้ว่ามันคือการปลดล็อคด้วย NFC Tag ดังนั้นก็ไปหาซื้อ NFC Tag จากไหนก็ได้มาลองซะ ผมก็เลยสั่งจากในเน็ตมาลองเล่นๆ ตกแผ่นละ 55 บาทเอง เป็น NFC แบบสติ๊กเกอร์ ไว้ค่อยทำภาพสติ๊กเกอร์มาแปะทับอีกทีละกัน

สำหรับ NFC Tag ใดๆถ้าขึ้นเออเรอร์แจ้งว่า Write Protected จะต้องใช้แอปพลิเคชันตัวอื่นเพื่อเขียนข้อมูลทับลงไปก่อน แล้วลบข้อมูลใน NFC นั้นๆทิ้ง ถึงจะใช้กับ Motorola Skip ได้

นอกจากนี้ยังเอา NFC Unlock มาประยุกต์ใช้แบบนี้ได้อีกนะเออ

Play video

Water-Repellent แผงวงจรเคลือบสารกันน้ำ [/size]

การเคลือบสารกันน้ำไม่ได้มีแค่ Moto X อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเครื่องรุ่นก่อนๆก็ทำแบบนี้แล้วเช่นกัน เพื่อป้องกันวงจรภายในเสียหายเวลาโดนน้ำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะโยนเครื่องลงน้ำแล้วไปถ่ายวีดีโอใต้น้ำแบบ Sony Xperia ได้เลยนะ เพราะทาง Motorola ไม่ได้รับประกันว่าเครื่องจะไม่เป็นไร เพียงแค่เคลือบเพื่อช่วยป้องกันระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็มีผู้ใจกล้าทดสอบกับ Moto G เรียบร้อยแล้ว โดยจุ่มน้ำเป็นเวลา 30 นาที แล้วเครื่องก็ยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ

Play video

อื่นๆ [/size]

Ram เหลือให้ใช้งานจริง 1.8 GB โดยที่การทำงานปกติแม้ว่าจะเล่นเกม เครื่องก็จะกิน Ram อยู่แค่ 600 – 800 MB เท่านั้นเอง เพราะงั้นเหลือเฟือมีเท่าไรใช้เข้าไปได้เลย!

Rom มีให้ใช้งานจริง 11.88 GB ไม่มีการแบ่ง Partition ย่อย ตามแบบฉบับของเครื่อง Pure Android

Multitouch 10 จุด

ผมซื้อเคสใสมาใส่ เวลาเปิดแฟลชแล้วเท่ดี เหมือนมีออร่ารอบๆเครื่อง

ถ้าใช้ Moto X จะได้ Google Drive เพิ่มอีก 50 GB เป็นเวลา 2 ปี โดยเปิดให้ลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 4 เดือนเมษายนนี้

ใน Settings > Sound มี Equalizer ให้ปรับได้

ลูกเล่นต่างๆของ Moto X จะสามารถตั้งค่าได้ใน Settings

WiFi Hotspot สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้ความถี่ 2.4 Ghz หรือ 5 Ghz การเชื่อมต่อ WiFi หรือการทำ Hotspot สามารถใช้งานได้ปกติไม่มีว่ารับสัญญาณได้น้อยกว่าตัวอื่นๆ

สำหรับ GPS ก็สามารถใช้งานได้ปกติเหมือนเครื่องอื่นๆ กลางแจ้งจับตำแหน่งได้ไม่มีปัญหา ถ้าเครื่องที่จับตำแหน่งได้ไวที่สุดที่เคยใช้มาก็คงเป็น Nexus 10 แหละ (อยู่ในตึกมันยังจับได้เลย)

สาย USB OTG สามารถใช้งานได้ปกติไม่ว่าจะ Mouse, Keyboard, Gamepad หรือว่าจะ Flashdrive

โดยเฟิร์มแวร์จะรองรับ Storage ที่เป็นรูปแบบ FAT32 ถ้าใช้ NTFS ให้ใช้แอปพลิเคชันอย่าง Nexus Media Importer อีกทีหนึ่ง แต่ถ้า FAT32 เสียบปุปขึ้นปั๊ปเลย เปิด ES File Explorer ขึ้นมาก็จะเห็น Storage ทันที ถ้าเปิด Gallery ก็จะเห็นโฟลเดอร์รูปภาพและวีดีโอในนั้น

นอกจากนี้ยังมี LED ซ่อนอยู่ด้วย ซึ่งต้องรูทเครื่องแล้วใช้ ADB Shell Command เพื่อเข้าไปเปิดใช้งาน โดยจะเป็น LED สีเขียวที่แสดงสถานะการชาร์จแบตเตอรีของเครื่อง สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ LED ติดตลอดที่ชาร์จ หรือกระพริบ หรือว่าดับเมื่อชาร์จเต็มแล้ว (ทำไมต้องรูทไปสั่งงาน = =)

Play video

Motorola Connect ที่ไม่ค่อยได้ใช้ซักเท่าไร ต้องไปโหลด Extension บน Chrome แล้วเครื่องจะส่งข้อมูลไปแสดงบนโปรแกรมใน Chrome ซึ่งแสดงแค่ข้อความ SMS กับการโทรเข้าออกเท่านั้น

มีคนถามเรื่องหน้าจอเวลาเทียบกับเครื่องตัวอื่นๆ ก็เลยเอาของ iPhone 5S มาเทียบให้ดูเลย โดยปรับแสงสูงสุดทั้งคู่ ส่วนมุมมองในการถ่ายผมไม่สนใจว่าถ่ายเอียงมากน้อยต่างกันแค่ไหนนะครับ เพราะแต่ละเจ้าโฆษณาไว้แล้วว่ามุมมองกว้าง สีเพี้ยนน้อย เพราะงั้นถ้ามุมเอียงนิดหน่อยสีก็ควรเท่ากับถ่ายหน้าตรง ใช่กล้องดิจิตอลถ่ายแบบไม่มีการแต่งแสงเพื่อให้เห็นความต่างได้ชัดเจน

แถมท้ายเป็นภาพจากกล้อง Moto X ถ่าย Moto X อีกเครื่องที่เป็นสีแดง-ฟ้า-ดำ ภาพไม่ได้แต่งแต่อย่างใด โดยจะเห็นว่าที่ด้าหลังเครื่องจะมีตัวหนังสือระบุไว้ด้วยว่าผลิตที่ USA

ข้อมูลสำหรับนักพัฒนา [/size]

  • Resolution : 1280 x 720 px (640 x 360 dp)
  • Screen Dimension : 2.28 x 4.08 inches (4.7 inches)
  • DPI : 315.31 dpi
  • Screen Size : Normal
  • Screen Density : Extra High (xhdpi)
  • ตอนแรกใช้ Screen Record ของ Android 4.4 ไม่ได้ แต่พอแฟลชรอมใหม่แล้วใช้ได้ซะงั้น
  • รองรับ ART Runtime บน Android 4.4
  • Uses Features : App Widget / Audi Low Latency
    / Bluetooth
    Bluetooth Low Energy / Camera / Camera Any / Camera Autofocus
    Camera Flash / Camera Front / Device Admin / /Faketouch
    Home Screen / Input Methods / Live Wallpaper / Location
    Location GPS / Location Network / Microphone / NFC
    NFC Host Card Emulation / Screen Landscape / Screen Portrait
    Sensor Accelerometer / Sensor Barometer / Sensor Compass
    Sensor Gyroscope / Sensor Light / Sensor Proximity
    Sensor Step Counter / Sensor Step Detector / SIP
    Telephony / Telephony CDMA /Telephony GSM
    Touchscreen / Touchscreen Multitouch Distinct
    Touchscreen Multitouch Jazzhand / USB Accessory
    USB Host / WiFi / WiFi Direct
  • Sensors
    • LIS3DH 3-axis
      Accelerometer
      Vendor : ST Micro
      Type : Accelerometer
      Version : 1
      Power : 0.25 mA
      Max Range : 156.96
      Resolution : 0.0047900393
      Minimum Delay : 10 ms
    • L3G4200G Gyroscope
      sensor
      Vendor : ST Micro
      Type : Gyroscope
      Version : 1
      Power : 6.1 mA
      Max Range : 2000.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 20 ms
    • BMP180 Pressure
      sensor
      Vendor : Bosch
      Type : Pressure
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 125000.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 20 ms
    • AK8975 3-axis Magnetic field
      sensor
      Vendor : Asahi Kasei
      Type : Magnetic Field
      Version : 1
      Power : 6.8 mA
      Max Range : 2000.0
      Resolution : 0.1
      Minimum Delay : 10 ms
    • Orientation
      Sensor
      Vendor : AOSP
      Type : Orientation
      Version : 1
      Power : 13.15 mA
      Max Range : 360.0
      Resolution : 0.00390625
      Minimum Delay : 10 ms
    • MSP430 Temperature
      sensor
      Vendor : TI
      Type : Temperature
      Version : 1
      Power : 3.0 mA
      Max Range : 115.0
      Resolution : 1.6
      Minimum Delay : 0 ms
    • CT406 Light
      sensor
      Vendor : TAOS
      Type : Light
      Version : 1
      Power : 0.175 mA
      Max Range : 27000.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Linear
      Acceleration
      Vendor : Motorola
      Type : Linear Acceleration
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 0.0
      Resolution : 0.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Gravity
      .
      Vendor : Motorola
      Type : Gravity
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 0.0
      Resolution : 0.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Display Rotation
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 4.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Display Brightness
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 255.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Dock
      .
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.01 mA
      Max Range : 3.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • CT406 Proximity
      sensor
      Vendor : TAOS
      Type : Proximity
      Version : 1
      Power : 3.0 mA
      Max Range : 100.0
      Resolution : 100.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Flat
      Up
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Flat
      Down
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Stowed
      .
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Camera Activation
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 20 ms
    • NFC Detect
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Unknown
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Significant Motion
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Signigicant Motion
      Version : 1
      Power : 3.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 1.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Step Detector
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Step Detector
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 0.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Step Counter
      sensor
      Vendor : Motorola
      Type : Step Counter
      Version : 1
      Power : 0.0 mA
      Max Range : 3.4028235 x 10^38
      Resolution : 0.0
      Minimum Delay : 0 ms
    • Rotation Vector
      Sensor
      Vendor : AOSP
      Type : Rotation Vector
      Version : 3
      Power : 13.15 mA
      Max Range : 1.0
      Resolution : 5.9604645 x 10^-8
      Minimum Delay : 10 ms
  • Camera Parameters
    • Antibanding
      .
      Off / 50Hz / 60Hz / Auto
    • Color
      Effect

      None / Mono / Negative / Solarize / Sepia
      Posterize / Whiteboard / Blackboard / Aqua
    • Flash
      Mode

      Auto / On / Off / Torch
    • Focus
      Mode

      Auto / Continuous-Picture
      Infinity / Continuous-Video
    • Jpeg Thumbnail
      Size(px)

      512×288 / 480×288 / 432×288
      512×384 / 352×288/ 320×240 / 0x0
    • Picture
      Format

      JPEG
    • Preview
      Format

      NV21 / YV12
    • Preview Frame
      Rate(fps)

      15-30
    • Picture
      Size(px)

      4320×2432 / 3232×2424 / 3264×1836
      2592×1944 / 1920×1080 / 1600×1200
      1280×960 / 1280×720 / 640×480 / 640×360
    • Preview Fps
      Range(fps)

      15 / 14.949-30
    • Preview
      Size(px)

      1920×1080 / 1280×720 / 800×480
      720×480 / 640×480 / 640×360
      352×288 / 320×240 / 176×144
    • Scene
      Mode

      Auto / Action / Portrait / Landscape
      Night / Night-Portrait / Theatre
      Beach / Snow / Sunset / Steady Photo
      Fireworks / Sports / Party
      Candle Light / Backlight / AR
    • Video
      Size(px)

      1920×1080 / 1280×720 / 800×480
      720×480 / 640×480 / 640×360
      352×288 / 320×240 / 176×144
    • White
      Balance

      Auto / Incadescent / Fluorescent
      Daylight / Cloudy-Daylight

ข้อดี [/size]

  • สีด้านหลังเครื่องสวยดี
  • หน้าจอเป็น AMOLED ทำให้จอสีสด
  • Rom ใกล้เคียง Pure Android
  • กล้องถ่ายใกล้ๆแบบมีแสงเหมาะสมจะได้ภาพที่สวยในระดับนึง
  • สามารถถ่ายแบบ Slow Motion ได้
  • กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซลใช้วีดีโอแล้วภาพดีในระดับนึง
  • Ram 2 GB ใช้ยังไงก็เหลือเยอะ เพราะ Rom คล้าย Pure Android
  • CPU เป็น Dual-core แต่ความแรงเหลือล้น
  • แบตเตอรีถึงจะไม่เยอะ แต่ก็อยู่ได้นานพอที่จะออกไปทำงานแล้วกลับบ้าน
  • Touchless Control สั่งงานเมื่อไรก็พูดได้เลย
  • Active Display ลืม LED Notification ไปได้เลย
  • เซ็นเซอร์ครบครัน มีเซ็นเซอร์ Temperature เหมือน Galaxy S3 / S4 ด้วย
  • หน้าจอ 4.7 นิ้วแต่ขนาดเล็กกว่าตัวอื่นๆบางตัวที่หน้าจอเท่ากัน
  • ใช้ได้ยัน 4G เข้ามาในประเทศไทย (ถ้าไม่ทำพังก่อน)
  • วงจรภายในเครื่องเคลือบสารกันน้ำ
  • ได้ Dropbox 50 GB นาน 2 ปี

ข้อเสีย [/size]

  • ไม่มี Wireless Charging
  • สเปคอาจจะไม่แรงเท่ากับรุ่นอื่นในราคาที่เท่าๆกัน
  • ปุ่ม Power กับ Volume ที่อยู่ฝั่งเดียวกันทำให้กดบันทึกภาพหน้าจอลำบาก
  • เคสกับฟิล์มหายาก เพราะเครื่องจากอเมริกา
  • ไม่มีประกัน ถ้ามีปัญหาส่งเคลมกลับประเทศลูกเดียว (ร้านที่ผมซื้อซื้อรับประกัน 15 วัน)

สรุปด้วยความเห็นส่วนตัว [/size]

ถ้าถามว่าคุ้มมั้ยถ้าจะซื้อ? ให้ถามตัวเองก่อนว่าอยากได้สเปคสูงๆหรือป่าว เพราะในราคาระดับนี้ไปเล่นตัวอื่นจะได้สเปคที่คุ้มค่ากว่า เพียงแต่ว่าผมต้องการเครื่องที่ตอบโจทย์ในการใช้งานในประจำวันมากกว่า เพราะสเปคเพียงเท่านั้นก็ใช้งานทุกอย่างได้เหมือนกันอยู่ดี

ดังนั้นหลายคนจะชอบมาถามว่า Moto X กับ Nexus 5 อันไหนแรงกว่ากัน ก็ขอตอบว่า Nexus 5 ครับ สเปคมันต่างชั้นกันอยู่แล้ว

แต่ถ้าถามว่าตัวไหนตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่ากัน ผมเลือก Moto X ครับ หน้าจอไม่ต้องใหญ่ถึง 5 นิ้วหรือคมชัดสุดขีด ขอแค่จับพอดีมือมองหน้าจอไม่เห็นรอยหยัก ลำโพงได้ยินชัดเจน สเปคแรงพอสมควร และแบตเตอรีอยู่ในครบวันก็พอแล้ว 😀