ในยุคนี้ smartphone ทั้งแรงทั้งสูบแบตเรียกว่าต้องชาร์จกันแบบวันต่อวัน หรือบางทีไม่ถึงวันก็ต้องชาร์จแล้วก็มี ขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นทำให้กินแบตมากขึ้น และตัวเครื่องที่ออกแบบมาบางจนอาจจะต้องลดความจุแบตลง เราอาจจะพอเห็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้อย่าง แบตเตอรี่ Li-ion Kevlar กันไปแล้ว วันนี้เรามาดูอีกเทคโนโลยีหนึ่งนั้นก็คือ แบตเตอรี่จาก SolidEnergy ที่อ้างว่า สามารถเพิ่มความจุได้เป็น 2 เท่าในก้อนแบตขนาดเท่าเดิม
SolidEnergy นั้นได้ใช้เทคนิคในการลดขนาดส่วนที่ใช้เก็บประจุบวกในแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันว่าขั้ว Anode โดยการแทนที่ขั้วชนิด Graphite Silicon ที่ใช้กันทั่วไปด้วยขั้วโลหะบาง ทำให้เราสามารถลดขนาดของแบตเตอรี่ทางฝั่งของขั่วบวกได้เกือบหมด หรือพูดง่ายๆ เล็กลงครึ่งหนึ่งเลยหล่ะ *o*
ถ้าใครยังจำ Project Ara มือถือถอดประกอบได้ของ Google ได้ จะเห็นว่า Project Ara กำลังประสบกับปัญหาเรื่องแบตเตอรี่เล็กเกินไป เพราะ 1 ช่อง Module ที่ออกแบบมาให้ถอดประกอบได้นั้นมีขนาดเล็กมาก SolidEnergy เอ่ยปากว่าจะทำ Battery Module สำหรับ Project Ara เพื่อที่จะแก้ปัญหาแบตไม่พอใช้นี้
SolidEnergy นั้นจะเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้กับมือถือก่อน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มนำออกสู่ตลาดได้ในช่วงปี 2016 และยีงมีแผนที่จะขยายตลาดไปถึงแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2017 อีกด้วย
ลองคิดเล่นๆ ถ้า SolidEnergy เอาเทคโนโลยี Li-ion Kevlar มาใช้ด้วยนี้จะเป็นยังไงนะ? มือถือแบตเตอรี่ 5000 mAh ที่บาง 5 มิลลิเมตร นั้นอาจจะไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เทคโนโลยีสมัยนี้ก้าวไปไวจริงๆ
Source: PhoneArena
รออยู่ว่าจะมีของที่ใช้ได้จริงเมื่อไหร่
มีข่าวออกมาเยอะมาก ว่านักวิจัยกลุ่มโน้นทำได้ อย่างที่เคยได้ยินว่าเอาข้าวมาทำแบต ขนาดเล็ก 10 ปีไม่เสื่อม แล้วก็เงียบไป
+10
ของพวกนี้ต้องใช้เวลาในการทดสอบครับ เวลาสั้นมันคงยาก
อีกอย่างที่เขาเปิดเผยออกมาก็เพื่อให้บริษัทใหญ่ๆมาดูแล้วก็ซื้อไปทำต่อ
ปัญหาแบตเตอรี่ มันอันตรายที่สุดในเครื่องแล้วนะครับ
ถ้า CPU ออกมามีปัญหา อย่างมากก็เปลี่ยนชิ้นส่วน เสร็จแล้วก็ใช้เครื่องเดิมได้
จอมีปัญหา เปลี่ยนปุ๊บก็จบ ปัญหาหมดแล้ว
แต่ถ้าแบตมีปัญหา เริ่มเสียวตั้งแต่ตอนบวมแล้วฝาหลังมีปัญหา
สารเคมีรั่วทำแผงวงจรใกล้เคียงเสื่อม หนักสุดก็ตูม !! ระเบิดลง
ถ้าไม่ทดสอบนานๆ ก่อนปล่อย เกรงว่าผู้ใช้จะมีขาขาดกันบ้าง
อย่าให้เป็นแค่ราคาคุยก็พอครับ
อย่างเราไม่ได้สนใจเรื่องเทคนิค ขอใช้จริงเล่นหนักๆให้แบตอึดพ้นวันก็พอแล้ว
แบตเตอรรี่ สำหรับ apple watch หรือเปล่า
ของบางอย่างวิจัยได้ แต่พอจะผลิตในระดับล้านชิ้น มันก็ต้องออกแบบอะไรอีกสารพัด
การที่สามารถออกแบบ แล้วสามารถใช้งานได้จริง แต่ยังห่างไกลกับการทำให้ใช้งานได้เป็นปริมาณมากๆอีกเยอะครับ เพราะต้องทดสอบอีกหลายเรื่อง ความปลอดภัยก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ เล็กมากๆ แล้วระเบิดง่าย ก็คงไม่มีใครยอมเสี่ยงแน่ หากวิจัยออกมาแล้วสำเร็จ แต่แก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยไม่ได้ ก็คงขายไม่ได้แน่
และการผลิตจำนวนมาก ขบวนการผลิตก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเล็กๆ ต้องออกแบบการผลิตให้ดี ทำออกมาไม่ใช่ว่าเสียเยอะ และราคาก็เป็นอีกปัจจัย ต้องทำให้ราคาไม่สูงมาก เป็นต้น
ผมคิดว่าถ้ามีบริษัทใหญ่ๆ เช่น Apple หรือ Samsung สนใจ แล้วไปร่วมมือด้วย จึงจะทำสำเร็จได้เร็ว เพราะมีเงินทุนเยอะ สามารถระดมทุน กำลังคนได้มาก
เห็นด้วย ว่าใน lab กับทำจริง มันมีอะไรต่างกันอีกเยอะ ประเด็นคือ น่าจะให้มันถึงขั้นที่ใช้ได้ในระดับนึง แล้วค่อยออกข่าว จะดูใกล้ความจริงมากกว่า ออกข่าวประหนึ่งจุดพลุ ทำเสร็จแล้วเงียบไป
ถ้าทำออกมาได้จริงๆ รวยแน่ เพราะมือถือตัวท้อป ปีนึงขายได้กี่ล้าน ถ้าเอาเทคโนโลยีตัวนี้ไปใช้ ขายสิทธิ์การนำเทคโนโลยีนี้ไปผลิตก็รวยไม่รู้เรื่องละ
ดีเนาะ แต่อยากให้พัฒนาเรื่องความต้านทานอุณหภูมิสูงด้วย ไม่ระเบิดง่ายๆ เหมือนกับ ที่พัฒนาใส่เคฟล่า ป้องกันแรงระเบิด ตอไปเห็นแนวโน้มว่าสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตจะบางได้อีก
แบตเตอร์รี่มาถึงทุกวันนี้ ก็ถือว่าพัฒนามาจากยุค 7-8 ปีที่แล้วไปพอสมควรแล้วครับ สมัยใช้ Nokia N82 แบตก้อนเล็กกว่า Note3
ไปหน่อยเดียว Nokia จุแค่ 830 mAh ในขณะที่ Note3 จุดตั้ง 3100 mAh ห่างกันเกือบ 4 เท่าในขณะที่ขนาดแบตต่างกันไม่เกิน 1.5 เท่าแค่นั้นเอง ใจเย็นๆ รอกันต่อไปครับ
รีบๆ หน่อยน้าาาาาาา
น้ำตาจิไหล
สถานีต่อไป
ลดขนาด Cathode ไปอีก
แล้วเอาพื้นที่ที่เหลือ มาซ้อนกันจะได้ประมาณ 3 ชั้น (x3)