Xiaomi ขึ้นชื่อในเรื่องของการประกาศความสำเร็จ ขายของหมดได้เร็วสายฟ้าแลบ ไม่ว่าจะไปขายที่ไหนก็ของหมดอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ไม่ว่าจะสิงคโปร์ ไต้หวัน หรือแม้แต่อินเดียที่เพิ่งประกาศความสำเร็จไป ก็ทำให้หลายๆคนเกิดความสงสัยว่าเจ้า Xiaomi แบรนด์จากจีนเจ้านี้มันขี้โม้รึเปล่า และแล้วทาง FTC (Fair Trade Commission) ของไต้หวัน ก็ไปตรวจเจอว่าโกงจริง ยอดขาย Xiaomi Hongmi ที่ทำได้ในไต้หวันไม่สูงเท่าที่ประกาศทั้งสามครั้งที่เปิดขาย Flash Sale และเมื่อหักลบกลบหนี้ สืบหาที่มาที่ไปทั้งหมดแล้ว พบว่ายอดที่ประกาศของ Xiaomi เกินไป 30 เครื่อง….แน่ะ
ในตอนแรกที่ Xiaomi โดนข้อหานี้เข้าไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก เพราะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงไม่ใช่น้อย เดือดร้อนต้องออกมาชี้แจงถึงตัวเลขที่มาที่ไปในการขายนี้ โดยได้ทำเป็นโปสเตอร์แบบน่ารักกวนๆขอโทษในความผิดพลาดและชี้แจงตัวเลขที่มาที่ไป สรุปออกมาได้ว่า
Xiaomi เปิดขายของ Flash Sale ทั้งหมด 3 รอบ รวมจำนวนเครื่องที่เคลมว่าขายได้ 28,000 เครื่อง
ที่เปิดขาย Flash Sale ไม่เคยขายได้ถึงจำนวนที่ประกาศได้เลยสักครั้ง
ครั้งที่ 1 (9 ธ.ค. 2013) ขายได้ 9,339 เครื่อง ประกาศไว้ 10,000 เครื่อง หมดใน 9.50 นาที
ครั้งที่ 2 (16 ธ.ค. 2013) ขายได้ 9,492 เครื่อง ประกาศไว้ 10,000 เครื่อง หมดใน 1.08 นาที
ครั้งที่ 3 (23 ธ.ค. 2013) ขายได้ 7,389 เครื่อง ประกาศไว้ 8,000 เครื่อง หมดใน 25วินาที
เครื่องที่หายไปส่วนนึงเกิดจากมีการแจกโค้ดลับ (F-Codes) เฉพาะให้ลูกค้าบางราย ให้เข้าไปซื้อโดยไม่ต้องแย่งกันผ่านหน้าเว็บ เป็นจำนวนทั้งหมด 1,750 เครื่อง ตั้งแต่การขายครั้งแรก
F-Codes นี้สามารถถือยาวใช้ได้จนถึงการขายครั้งที่ 3 และเป็นตัวที่ทำให้สินค้าขายได้ไม่ตรงกับยอดขายผ่านหน้าเว็บจริง
ไม่มีการระบุมาว่า F-Codes ถูกใช้ในการขายแต่ละครั้งไปเท่าไหร่ (เหมือนว่าใช้เพื่ออุดรูตัวเลขที่หายไปเยอะๆ ยังไงอย่างงั้นเลย)
รวมจำนวนที่ขายได้จากการแย่งกันซื้อหน้าเว็บ 26,220 เครื่อง คิดเป็น 94.6%
รวมจำนวนทั้งหมดที่ขายได้ 27,970 เครื่อง คิดเป็น 99.9%
จำนวนยอดขายไม่เท่ายอดจำหน่ายจริง Xiaomi ชี้แจงว่าเกิดจากปัญหาทางเทคนิค (Technical Issues) ทำให้ไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน ณ เวลาที่ปิดการขาย แต่ไม่ได้ระบุว่าเรื่องอะไร
จบการตรวจสอบนี้แล้ว ทางฉาวหมี่ก็โดนปรับไปตามระเบียบ 600,000 ดอลล่าห์ไต้หวัน เพราะจำนวนไม่ตรงตามที่ประกาศจริง (คิดเป็นเงินไทยราวๆ 650,000 บาท) แต่ก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วจะเสียชื่อหรือว่าได้หน้ากันแน่กับข่าวนี้ เพราะคนเห็นตัวเลข 30 เครื่องแล้วก็อาจจะขำๆ และเชียร์ฉาวหมี่เพิ่มขึ้นไปอีกก็เป็นได้ ซึ่งจำนวนเงินแค่นี้ก็ไม่กระทบอะไรกับบริษัทที่ทำรายได้ไปในครึ่งปีแรกกว่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาทแน่นอน ($5.3 billions revenue)
ก็เป็นที่คลายสงสัยกันไปสำหรับหลายๆคนว่า Xiaomi สามารถขายเครื่องได้ไว้สมดั่งคำอวดได้จริงรึเปล่า แต่น่าสนใจว่าระบบหลังบ้านที่ทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อมันสุดยอดจริงๆ เจอคนจำนวนมากๆแย่งกันเข้าพร้อมกันก็ไม่มีล่ม ไม่เหมือนบางประเทศที่มีเรื่องแบบนี้ทีไร ล่มมันเละตุ้มเป๊ะทุกครั้งไปให้เกิดข้อกังขาตลอดเวลา
เพื่อนๆคนยังไงกับข่าวนี้ครับ? คิดว่าฉาวหมี่เค้าขายได้จริงมั้ย? ตัวเลขและเหตุผลที่ให้ฟังขึ้นรึเปล่า? มาคุยกันได้ใน comment เลย
source: the next web
สนใจวิธีการทำ Load balance ของฉาวหมี่เหมือนกันครับ
ผมก้อเคยได้ f-code จากการเล่นเกมใน en.miui.com
แต่มันใช้ในไทยไม่ได้ เซ็งมากมาย จนตอนนี้มันหมดอายุไปแล้ว Y__Y
ขนาดจองหอมหาลัย พอเปิดระบบปุ๊บยังล่มปั๊บเลย…
มหาลัย top3 ของประเทศ ที่มีคณะ ICT ของตัวเองนะ
กว่าจะเข้าระบบได้ 2-3 ชม แล้วมีเอ๋อด้วย จองซ้อนจองทับกัน
หวังว่าจะเข้าไทยเร็วๆ
ประเด็นคือ ไม่ปล่อยผ่าน แม้จะแค่ 30 เครื่องก็ถือว่าทุจริตครับ
+10
การตรวจสอบเข้มข้นมาก พี่ไทยดูไว้
ตั้งสามสิบเครื่องแหนะ
ถึงแม้อาจจะน้อย แต่ผมก็เห็นด้วย การค้าขายในประเทศจะได้สุจริตที่สุด
แตกต่ากับบ้านเราที่เวลาทำอะไรผิด แล้วก็พูดว่า "ไม่เป็นไร แค่นี้เอง"
+10
ทำไมของไทยขายได้ 30 เครื่อง แต่โพสว่าขายครบหมื่นเครื่องได้เลย
ผมว่าข่าวนี้ทำให้ภาพลักษณ์ดูดีทั้งฉาวหมี่และไต้หวัน
ฉาวหมี่ได้โฆษณา viral (แบบดูดี) ไปทั่วโลก ในราคาถูกแค่ 6.5แสนบาท
ขณะที่ไต้หวันได้ภาพลักษณ์ในเรื่องของความเข้มงวดด้านกฏหมายและความใส่ใจผู้บริโภค
วิน-วิน กันไป
ความคิดนี้ดีครับ
+1 ครับ
เห็นด้วยจ้า +100
อื้อหือ ขนาดนั้นเลยหรอ ><
จะยัดเงินให้ข่าวเงียบก็ได้30เครื่อง แต่โปรโมตข่าวนี้เพื่อทำให้รู้ว่าชั่นไม่โกงนะ ดูสิยังโดนจับได้เลย 1เป็นแผนที่คิดไว้แล้ว
2มันพลาดเรื่องตัวเลยแบบไม่ตั้งใจแต่เิาจ้อพลาดมาเป็นข้อดีในการโปรโมท
การตลาดชัดชัด เราดูออกว่าบริษัทนี้เิอาดีทางโชว์ยอดขาย โชวผ์ว่าขายำวกี่วินาที เล่นทางนี้อยู่ละ
จึงมีคนบางกลุ่มสงสัยว่าจริงหรือกับยอดขาย. เขาก็เลยโชว์ว่าเออโดนจับทุจริตได้ โดยทำเป็นว่าเป็นคนทุตจริตจำนวนขายเครื่อง งานนี้ทำให้คนรู้ว่า บริษัทไม่ได้มีอำนาจในการโคสนาโกงจำนวนเครื่อง
และอีกอย่าง30เครื่องแทนที่คนจะเกลียดที่ทุจริตกลับเห็นใจว่าแค่นี้ก็โดนประจาน
นอกจากนั้นบริษัทนี้ยังเอาจุดอ่อนของตัวเองในจำนวนการผลิตมาเป็นจุดขาย แต่ละครั้งที่ขายหมดจำนวนเครื่องน้อยมากเมื่อเทียบกับคนอื่นที่เขาโปรโมตกันเช่นiphone samsung.
เราเดานะ. มันจะเป็นไปได้ไหม ตามที่เราวิเคราะห์
แนะนำให้เอาระบบการจอง/ซื้อผ่านเวปขึ้น cloud SaaS ครับ
รับรองว่าช่วยแก้ไขได้ 99% เลย
พอช่วงที่คนเข้าใช้น้อยก็ปิดให้วิ่งเข้า server ตัวเอง ไม่ก็เช่าต่อ แต่ซื้อ bandwidth ต่ำๆ
แมวดำหรือแมวขาว ถ้าจับหนูได้คือแมวดี
รอบแรกได้โฆษณาว่ามือถือขายหมดได้รวดเร็ว
รอบสองถึงพอตรวจสอบแล้วยอดไม่ตรงจริง แต่ต่างกันแค่หลัก 100
(ไม่ว่าข่าว + หรือ – ก็ได้โฆษณาอีกรอบ)
แถมหน่วยงาน FTC ของไตหวันและไตหวันเอง ก็ได้เครดิตจากธุรกิจที่ต้องอาศัยโฆษณาด้วย
เข้าใจอะไรกันผิดไปหรือเปล่านี่
ข่าวแจ้งว่าจับทุจริตเรื่องตัวเลขไม่ตรงกับโฆษณาไว้นี่
ระดับนี้เค้ามีการยัดเงินกันด้วยเหรอ การตลาดก็ไม่ใช่ปกติอะไรก็ตามที่มันอิงการตลาด มักจะมีการตรวจสอบกันอยู่แล้วนี่มันเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง ว่าสรุปตัวเลขได้ไม่ตรง ก็โดนคำสั่งศาลปรับ แต่บังเอิญมันพลาดแค่ 30 เครื่อง ไม่ใช่ 3 ล้านเครื่อง มองในมุมการตลาด ศาลก็ให้ความยุติธรรมกับผู้ฟ้องร้อง ผู้ถูกร้องก็ชดใช้ค่าปรับตามกฏหมาย
แต่ทำให้เห็นว่า การที่เค้าทำกิมมิก แต่ละครั้งว่ายอดขายถล่มทลาย มันคือเรื่องจริง ล่าสุดก็ขึ้นแท่นเบอร์ 1ในเมืองจีนไปแล้วทีเดียวเชียว มันคือเรื่องจริงงัย แต่เห็นมีเรือธงบางรุ่นสารพัดจะโฆษณา ยอดขายยังไม่ถึง 2% ในเมืองจีนเลย มันทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้บริโภคล่ะ ถ้าไม่เก่งไม่แน่จริง ไม่มีทางได้เงินจากผู้บริโภค
การที่ขายเครื่องถูก คนยอมซื้อและยอดโตขึ้นเรื่องๆ มันบ่งบอกถึงการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าได้อย่างฉลาดโดยไม่ลดประสิทธิภาพของเครื่องเลย จริงๆ ยี่ห้ออื่นต้องกลับไปพิจารณาตนเองได้แล้ว ว่าเสียค่าโฆษณา ใบปลิวไป คุ้มค่าผลกำไรต่อหัวของบริษัทได้จริงหรือ
หลอกลวงคือหลอกลวง ไม่มีว่ามันดี เพราะมันไม่ดี ทำถูกที่ปรับ คนไทยส่วนนึง ไม่เป็นไร หลอกลวงนิดหน่อย โกงหน่อย ต่างฝ่ายต่างได้ คิดแบบตัวถ่วงสุดๆ ผมสนับสนุนหลอกลวงก็ต้องโดน ทุจริตนิดนึงก็เอาให้หนัก อย่าปล่อยจากนิดไปหามาก ผู้บริโภคไม่อยากโดนหลอกโดนโกง