เราได้มีโอกาสเดินทางมาร่วมทริป TRUE ON THE GO ไปกับทรู…ดูกับตา ตอนชวนดูช้าง @อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปดูว่าเทคโนโลยีเครือข่าย เกี่ยวกับช้างได้ยังไง? แล้วยังได้อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงข่ายของ true หลังจากควบรวมกับ dtac ว่ามีความก้าวหน้าไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว
หลังการควบรวมเครือข่าย true – dtac ดีขึ้นยังไง
หลังการควบรวมของทรูกับดีแทคเสร็จสิ้นไป 1 มีนาคม 2566 ในช่วงแรกๆ ทางทรูได้ออกมาอธิบายการจะทำเสาสัญญาณหลังการควบรวม เป็นระบบ Single Grid เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเสาสัญญาณที่มีอยู่ แล้วยังปรับปรุงเครือข่ายให้ทันสมัยขึ้น จากตอนนั้นมาถึงตอนนี้ (นับถึงไตรมาส 3 ปี 2567) ทางทรูได้ทำไปแล้ว 10,800 เสา หรือกว่า 64% แล้วยังนำเทคโนโลยีใหม่ อย่าง AI เข้ามาใช้ในงานเครือข่ายด้วย
โดยขณะนี้ทรู-ดีแทค มีลูกค้ารวม 49.3 ล้านเลขหมาย นับถึงไตรมาส 3 ปี 2567
หลังอัปเกรดเสาสัญญาณ ทางค่ายก็ได้เข้าทดสอบ โดยมีตัวเลขออกมา ดังนี้
- 5G เร็วขึ้น (download speed) 48%
- 4G เร็วขึ้น (download speed) 13%
- แบนด์วิธเพื่อการใช้งานเพิ่มขึ้น 35%
พัฒนาเครือขายอัจฉริยะด้วย AI
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาใน 3 ปี
- Zero Touch ดูและปัญหาลูกค้าแม่นยำกว่าเดิม
- AI powered close loop automation ช่วยตรวจจับ วิเคราะห์ปัญหาลูกค้าโดยไม่ต้องใช้คน
- ปรับแต่งและตั้งค่าเครือข่ายอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอย่างเหมาะสม
- AI powered Energy management ปรับใช้พลังงานอย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพ
- Zero wait ปรับระบบเรียลไทม์ แก้ไขปัญหาลูกค้าเร็วขึ้น 3-4 เท่า
- AI เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายทันที
- AI วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด
- Zero trouble ลูกค้าใช้งานต่อเนื่องดีขึ้น
- AI วิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายนับล้านๆ ตัวแปรแบบเรียลไทม์
- AI วิเคราะก์ดาต้าวางแผลบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาใน 3 ปี คาดหวังผลลัพธ์ ดังนี้
- ลดเวลาเครือข่ายขัดข้อง 40%
- ลดข้อร้องเรียนจากลูกค้าลง 40%
- เพิ่มควมพึงพอใจลูกค้า 30%
- แก้ไขปัญหาลูกค้า รัวเร็วในการปรับแต่งเครือข่ายแบบเรียลไทม์ 50%
- เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารโครงข่าย 80%
มะลิ ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างการนำ AI มาแก้ไขปัญหาของลูกค้า เพื่อบริการที่เร็วขึ้น ลดเวลาระยะการรอบริการแก้ปัญหาจากคอลเซนเตอร์ที่เป็นคนจริงๆ
True Tech For Good นำเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือสังคม
เทคโนโลยีเครือข่าย นอกจากเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารจากคนถึงคน แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก เช่น อย่างที่เราไปในครั้งนี้ ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ทางทรูได้นำโครงข่ายไปติดตั้งเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการแก้ปัญหาคนกับช้าง ที่มีมาอย่างยาวนานหลายสิบปี
นวัตกรรมระบบเตือนภัยช้างป่าล่วงหน้า
นวัตกรรมที่ว่านี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 2560 ที่ทางทรูได้นำเสาสัญญาณเข้าไปในพื้นที่อุทยาน แล้วร่วมมือกับทางอุทยานฯ คิดค้นระบบเตือนภัยล่วงหน้าขึ้นมา แล้วร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อช่วยกันปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านจากช้างป่า แล้วยังช่วยป้องกันช้างจากการถูกทำร้าย เหมือนกรณีที่เคยเกิดขึ้นในปี 2542 ที่ช้างเข้าไปกินอาหารและทำลายพื้นที่ทำกินของชาวบ้านจนได้รับความเสียหายมากมาย จนชาวบ้านต้องวางยาเบื่อ จนช้างตายไปหลายตัว เป็นปีที่มีข่าวใหญ่มาก เนื่องจากการไม่มีแผนการจัดการที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องราวสะเทือนใจทั้งสองฝั่งที่สูญเสีย
ระบบเตือนภัยช้างป่าล่วงหน้า มีระบบการทำงานยังไง?
- เจ้าหน้าที่จะนำกล้อง (Camera Trap) ไปติดบริเวณด่านช้าง หรือทางเดินช้าง ที่ช้างมักจะออกประจำ
- โดยในกล่องรับสัญญาณจะมีกล้อง ตัวส่งสัญญาณ ที่ใส่ซิมไว้
- เมื่อกล้องจับภาพช้างได้ จะส่งสัญญาณไปที่ศูนย์ควบคุม
- จากนั้น เจ้าหน้าที่ในศูนย์ จะแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่
- เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ผลักดันช้างเข้าป่า ก่อนจะเข้าไปในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน
- เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จะใช้โดรนบินเพื่อจับภาพช้าง แล้วประสานไปยังเจ้าหน้าที่อีกทีม
- เจ้าหน้าที่อีกส่วน จะคอยต้อนช้างกลับเส้นทาง เพื่อเข้าป่า
โดยกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นส่วนมากจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องเข้าเวรกันทั้งคืน แต่ว่าก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ที่ไม่มีกล้องส่งสัญญาณ การทำงานค่อนข้างยาก ที่กว่าจะเข้าถึงช้างนั้น ก็ช้ามาก เพราะพื้นที่ป่าค่อนข้างกว้าง ซึ่งกุยบุรี มีพื้นที่ใหญ่กว่าภูเก็ตถึง 2 เท่า แล้วพื้นที่เป้าหมายเฝ้าระวังก็กว้างถึง 969 ตร.ม. มีด่านช้างที่ต้องดูถึง 40 จุด ซึ่งมีช้างกระจายอยู่กว่า 400 ตัว
พอมีเทคโนโลยีนี้เข้ามา จึงทำให้การเข้าถึงช้างเร็ว ป้องกันก่อนที่จะเกิดการสูญเสีย ซึ่งผลก็เป็นรูปธรรมมาก ความเสียหายลดลงมาก หลังจากมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเข้าไปใช้ในพื้นที่ ตามตารางกราฟด้านล่าง
จากข้อมูลข้างต้นที่เรานำมาให้ดู ก็เป็นการนำเทคโนโลยีเครือข่ายมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์นอกเหนือจากการสื่อสาร ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กับระบบเตือนภัยช้างป่าล่วงหน้า จนทำให้คนกับช้างอยู่ร่วมกันได้ ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
Comment