วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในเรื่องการหาข้อมูลตอนนี้ได้อัปเดทหน้าอินเทอร์เฟซครั้งแรก ในรอบ 10 กว่าปี โดยร่วมมือกับอาสาสมัครของวิกิพีเดียทั่วโลก ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดูราบรื่นขึ้น สะอาดตา อ่านง่ายที่สำคัญตัวเนื้อหาบทความยังมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพื่อให้การเข้าถึงดูทันสมัยตอบโจทย์ยุคปัจจุบัน เพราะเทคโนโลนีต่างพัฒนาไปอย่างรวดเร็ด จึงต้องมีการปรับปรุงตามไปด้วย
นี่คือหน้าตาของ วิกิพีเดียแบบเก่า จะเห็นได้ว่าโลโก้ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ และตัวหนังสืออัดแน่น และการแยกหมวดหมู่ที่ด้านซ้ายมีความลายตา เลือกดูได้ยาก
วิกิพีเดียเวอร์ชันเก่าปี 2003 จนถึง ปี 2022
จะเห็นได้ว่าการปรับปรุงครั้งใหม่ดูเรียบง่าย ทันสมัย และเป็นมิตร มีสีขาวที่สะอาดตา ให้เนื้อหาบทความไม่อัดแน่นจนเกินไป ทำให้ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ
เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง สำรวจ และแบ่งปันความรู้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเปิดอัปเดทเวอร์ชันภาษาอังกฤษ เผยแพร่แล้วในเวอร์ชันภาษาที่ใช้งานอยู่ 94% ของวิกิพีเดียใน 318 ภาษาสำหรับเดสก์ท็อปทั้งหมด เพื่อให้ได้ใช้งานกันอย่างคลอบคลุม
เนื่องจากข้อมูลในปี 2565 จำนวนผู้ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตลดลงต่ำกว่า 3 พันล้านคนเป็นครั้งแรก ทางวิกิพิเดียจึงตั้งใจปรับลุคใหม่ให้หน้าระบบตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าเดิม ทั้งนี้ยังสามารถค้นหาความรู้ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
features ใหม่ ๆ มีอะไรบ้าง ?
- ประสบการณ์การค้นหาที่ได้รับการปรับปรุง สามารถใช้ประโยชน์จากรูปภาพและคำอธิบายที่ทำให้ค้นหาบทความในวิกิพีเดียได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การค้นหาของผู้ใช้เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์จากการทดสอบ
- เครื่องมือสลับภาษาที่โดดเด่นยิ่งขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้อ่านและบรรณาธิการหลายภาษาสามารถค้นหาภาษาที่ต้องการได้เร็วขึ้นและสลับไปมาระหว่างภาษาต่างๆ กว่า 300 ภาษาได้สะดวก รวดเร็ว
- อัปเดตพร้อมลิงก์ที่ใช้กันทั่วไป เช่น การค้นหา ชื่อเพจ และส่วนที่ย้ายไปพร้อมกับผู้ใช้ที่เข้าสู่ระบบเมื่อเลื่อนดู ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถมุ่งเน้นไปที่การอ่านและแก้ไข และลดความเมื่อยล้าในการเลื่อน ด้วยการทดสอบโดยผู้ใช้ซึ่งแสดงอัตราการเลื่อนที่ลดลงมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
- สารบัญที่ให้บริบทของบทความ สามารถนำประสบการณ์ที่ดีมาต่อผู้ใช้งานได้มากขึ้น
เป็นไงกันบ้างสำหรับหน้าการค้นห้าข้อมูลวิกิ ทางเราคิดว่าดูอ่านง่าย สบายตาลดอาการตาล้าหรือความเมื่อยในการเลื่อนดูข้อมูลได้ดีเลยนะ ใครลองใช้แล้วอย่าลืมมาบอกด้วยว่าเป็นยังไงบ้าง
ที่มา : Wikipedia
Comment