ผ่านกันไป 4 วัน 3 คืน กับการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900MHz ราคาปัจจุบันที่กำลังเขียนบทความนี้จบอยู่ 10.15 น. มีมูลค่า 132,954 ล้านบาท เตรียมพุ่งทะยานขึ้นไปแตะสถิติโลกที่เคยมีการประมูลคลื่น 900MHz กันเอาไว้ที่ 68,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อตอนบ่ายวานนี้ผมมีการเขียนบทความถึงที่มาของเงินที่แต่ละค่ายนำมาประมูล กับเหตุว่าทำไมราคาถึงพุ่งกระฉูดขนาดนี้ไป แต่หลังจากที่ลองคิดดูอีกรอบแล้ว หมากเกมนี้อาจจะเป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่าที่คิดมากนัก จึงขอสรุปสถานการณ์และคาดเดาสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นมาเล่าต่อและชวนคิดกันดูครับ
(update#3 17.52น. 18 ธ.ค. 58)
ฆ่าดีแทค ตรึงเอไอเอส หาเงินเข้ากระเป๋ารัฐบาล
นี่น่าจะเป็นชื่อบทความที่เหมาะสมที่สุด รวบรัดให้เข้ากับบทความได้มากที่สุดแล้ว ส่วนที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เดี๋ยวลองไปอ่านรายละเอียดกันด้านล่างได้เลย
dtac เครือข่ายที่เข้าตาจน ต้องเอาใบอนุญาตคลื่น 900MHz ให้จงได้
อย่างที่หลายๆ คนทราบกันว่าจากความพ่ายแพ้ในการประมูลคลื่น 1800MHz ของ dtac ทำให้เกิดความไม่มั่นใจจากหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้บริการที่ทราบข่าวแล้วถึงกับขอย้ายเครือข่าย นักลงทุนที่เทขายหุ้นทิ้งเพราะความไม่แน่นอน รวมถึงพนักงานของดีแทคเองที่ก็ขวัญเสียไปตามๆ กัน(แต่ยังไม่ถึงกับลาออก) ทำให้การประมูลครั้งนี้ dtac พกเอาเงินพร้อมความมั่นใจเต็มเปี่ยมเข้าไปในห้องเพื่อชิงชัยเอาใบอนุญาตคลื่น 900MHz นี้ให้จงได้ ทั้งเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจของพนักงาน และสร้างความมั่นใจว่าตัวเองจะมีคลื่นเพียงพอให้บริการ ก่อนที่ใบอนุญาตคลื่น 850MHz และ 1800MHz ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะหมดลงใน 3 ปีข้างหน้า (แต่ยังเหลือ 2100MHz) ถ้าครั้งนี้ dtac พลาดการประมูลอีกรอบ น่าจะเกิดความระส่ำระสายมาก เพราะอนาคตดูเลือนลาง คลื่นไม่เพียงพอให้บริการ ร้ายแรงสุดอาจจะถึงกับถอนตัวขายกิจการได้
AIS เงินมีพร้อมจ่ายเพื่อใบอนุญาต แต่ต้นทุนการให้บริการก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
จำนวนลูกค้าของ AIS เยอะกว่าชาวบ้านเกือบเท่าตัว ทำให้ความต้องการคลื่นความถี่ก็จะมีมากกว่าคู่แข่งตามไปด้วย แต่การลงทุนไม่ใช่ปัญหาของค่ายนี้เพราะด้วยความที่จำนวนลูกค้าเยอะ เค้าก็สามารถสร้างรายได้ปีนึงได้ถึง 1.5 แสนล้านบาท ทำสัดส่วนกำไรมากกว่า 30% จากการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เงินค่าใบอนุญาตหลักหมื่นล้านบาทยังไม่ถือว่าเดือดร้อนมาก ยิ่งถ้าเทียบกับที่ก่อนหน้านี้ทาง AIS เคยจ่ายเป็นค่าสัมปทานให้กับรัฐ(TOT) ปีนึงมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว ก็ยิ่งดูไม่น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ดีการประมูลที่มูลค่าสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ทำให้ AIS ยิ่งมีภาระที่ต้องแบกรับ มากขึ้นเท่านั้นด้วย ทำให้แข่งขันกับคู่แข่งได้ลำบากมากขึ้น
True เครือข่ายที่มีพร้อม ยกเว้นตัวเลขบัญชีที่ยังไม่สวยงาม
ปัจจุบัน True เป็นเครือข่ายที่มีคลื่นในมือเยอะมากเมื่อเทียบกับจำนวนลูกค้า และใบอนุญาตแต่ละใบก็มีอายุใช้งานอีกยาวนาน แถมได้มาแบบค่อนข้างถูก เรื่องจำนวนคลื่นและต้นทุนจึงไม่ใช่ปัญหาของค่ายนี้ แต่เมื่อกลับไปลองดูตัวเลขทางบัญชีที่เพิ่งจะโผล่พ้นน้ำเพิ่งเริ่มมีกำไรในปีที่ผ่านมา การเข้าร่วมแจมใบอนุญาตที่มีมูลค่าสูงลิบลิ่วจึงเป็นเรื่องที่ชวนงง หลายสำนักเก็งเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มประมูลว่าใบอนุญาตใบนี้ True น่าจะหมอบ เพราะอาจทำให้บริษัทกลับไปมีสถานะทางการเงินที่ติดลบอีกครั้ง จากการแบกภาระค่าใช้จ่ายต่อปีที่สูงลิบ แต่เรื่องกลับตาลปัตรเพราะ True ยังสู้ยิบตาอยู่ยิ่งดูก็ยิ่งงงว่าจะประมูลไปทำไม
JAS ผู้มาสร้างสีสันให้กับการประมูล แต่ทำเอาแต่ละเครือข่ายปวดหัว
ม้ามืดที่ป่วนการประมูลตั้งแต่เมื่อคราวประมูลคลื่น 1800MHz เคาะราคาสู้ AIS และ true มาตลอด 2 วัน ก่อนยอมแพ้ไปในที่สุด การเข้าร่วมประมูลของ JAS นี้ True เป็นผู้ที่แขยงที่สุดหาก เพราะหากปล่อย JAS เข้าตลาดมาได้ True ต้องปวดหัวทำแคมเปญสู้ศึกคู่แข่งทั้งข้างบนและข้างล่างตลอดเวลา การบีบให้ JAS ไม่ได้ใบอนุญาตเลยน่าจะเป็นการสบายที่สุดและเป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้ตามกฎของปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ก็น่าสนใจว่าการประมูลคลื่น 900MHz ตัว JAS เองก็ยังคงบู๊กดประมูลราคาแข่งกับอีกสองเครือข่ายแบบไม่มีกลัวว่าจะเจ๊ง แถมกล้าให้ราคาใบอนุญาตที่สูงขึ้นกว่าเดิม จนหลายฝ่ายงงว่าไปเอาเงินมาจากไหน เพราะราคาใบอนุญาตอย่างเดียว ก็สูงกว่ามูลค่าของบริษัททั้งหมดแล้ว
>> ข่าวก่อนหน้าบอกว่าเตรียมเงินสำหรับการลงทุนทำ 4G เอาไว้ประมาณ 35,000 ล้านบาท โดยมีเงินจาก”พันธมิตร”มาร่วมด้วยราว 10,000 ล้านบาท…พันธมิตรที่ว่านี่คือใคร? เป็นคนเติมเงินให้ JAS มาลุยคลื่น 900MHz รึเปล่า?1
ช่องโหว่ของเงื่อนไขการชำระเงินการประมูลคลื่น 900MHz ที่อาจทำให้ dtac ต้องใบพัดหัก
การประมูลในครั้งนี้มีเงื่อนไขการชำระเงินที่ต่างกันออกไป จากเมื่อคราวประมูลคลื่น 1800MHz ซึ่งกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงิน 50% ของมูลค่าใบอนุญาต ภายใน 90 วัน จากนั้นค่อยจ่ายส่วนที่เหลือในปีถัดมา ทำให้ค่ายที่ชนะการประมูลต้องแบกภาระในการหาเงินสดก้อนโตมาจ่ายเงินงวดแรกให้ได้
แต่ในคราวของคลื่น 900MHz กลับแตกต่างออกไป เงื่อนไขการชำระเงินไม่ได้อิงกับจำนวนเต็มของเงินประมูล แต่เอื้อให้ทางผู้ชนะการประมูลต้องจ่ายเงินออกมาก่อนเพียงแค่ 16,080 ล้านบาท ในช่วงเวลา 3 ปีแรกเท่านั้น จากนั้นค่อยจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดในปีที่ 4
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของเงื่อนไขการชำระเงินประมูล
1800MHz | 900MHz | |
ปีที่ 1 | 50% ของเงินประมูล | 8040 ล้านบาท |
ปีที่ 2 | 25% ของเงินประมูล | 4010 ล้านบาท |
ปีที่ 3 | 25% ของเงินประมูล | 4010 ล้านบาท |
ปีที่ 4 | – | ส่วนที่เหลือทั้งหมด |
ซึ่งเงื่อนไขการประมูลนี้ดูเผินๆ น่าจะเป็นการเว้นช่องว่างเอาไว้เผื่อให้ผู้ชนะการประมูลเป็นเจ้าเดิมจากเมื่อตอนคลื่น 1800MHz ไม่ต้องมีภาระในการหาเงินมาชำระในทันทีเพราะโดนหนักไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการตั้งเงื่อนไขแบบนี้ก็คือ True และ JAS เต็มๆ
เหตุที่เงื่อนไขนี้อาจทำให้ dtac ต้องเจอปัญหาใหญ่ก็เป็นไปตามที่ข้างต้นได้กล่าวไว้แล้วว่า หากดีแทคพลาดการประมูลครั้งนี้ จะไม่มีเสถียรภาพในการบริหารธุรกิจ เพราะคลื่นในมือจะไม่เพียงพอให้บริการ หรือต้องลงทุนเพิ่มหนักมาก อีก 3 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด การประมูลใบอนุญาตคลื่นใหม่จะมีหรือไม่ก็ยังบอกไม่ได้ แล้วมูลค่าของบริษัทอาจถูกลดทอนลงไป ความน่าเชื่อถือจากทั้งพนักงานและผู้ใช้บริการหาย จนเป็นที่มาของการถอดใจทำธุรกิจ และขายกิจการให้ผู้ที่สนใจไป
True หรือ JAS เมื่อชนะการประมูล จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย?
ในกรณีที่ True หรือ JAS ชนะการประมูล ทั้งสองบริษัทน่าจะหาแหล่งเงินทุนเพื่อมาจ่ายเงินตามที่กำหนดเอาไว้ใน 3 ปีแรก 16,080 ล้านบาทได้ไม่ยาก ส่วนที่เหลือในปีที่ 4 ตัวทรูเองน่าจะพอจัดการเรื่องการเงินการธนาคารหามาชำระได้ เพราะตามประวัติแล้ว เครือข่ายนี้ความสามารถในการจัดหาเงินเป็นเลิศ รวมถึงมีกลุ่มทุนอื่นหนุนหลังอีกมากมาย แต่ของ JAS น่าจะต้องรอติดตามว่ามีใครเป็นแบคหนุนหลังอยู่หรือไม่ เพราะด้วยตัวบริษัทเองสถานการณ์การเงินกับมูลค่าใบประมูลเป็นงานที่หนักเอาการ
แต่เรื่องที่น่าสนใจกว่าคือ ก่อนที่จะเข้าปีที่ 4 ที่ต้องจ่ายเงินก้อนเต็มออกมา dtac จะหมดสัมปทานในการใช้คลื่น 850MHz และ 1800MHz ซึ่งบริษัทน่าจะมีความระส่ำระสาย ผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกไปอยู่ที่ True ในทันที เพราะคู่แข่งรายใหญ่แทบจะหายไปทันที 1 ราย และตัวบริษัทเองก็สามารถเลือกที่จะไม่ชำระเงินก้อนที่เหลือทั้งหมดในปีที่ 4 ได้เลย โทษหนักที่สุดก็คือโดนริบใบอนุญาตคลื่น 900MHz และเงิน 16,080 ล้านบาทไป แต่นั่นก็ไม่น่าจะสะทกสะท้านอะไรเพราะคลื่นที่มีในมือก็เหลือเฟือ และเงินไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทกับการล้มคู่แข่งรายสำคัญได้ ดูจะเป็นการลงทุนที่แสนจะคุ้มค่าเหลือเกิน
**เพิ่มเติม** ทางกสทช. มีแจ้งว่าผู้ชนะการประมูลต้องหาหนังสือค้ำประกันแบบเต็มจำนวนมาวาง ณ วันที่ชำระเงินครั้งแรก แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดชัดๆว่ามีผลกระทบอะไรอย่างไรบ้าง ในกรณีไม่จ่ายเงิน ขอไปสืบหาข้อมูลแป๊บ ซึ่งหนังสือค้ำประกันนี้ทางผู้ชนะการประมูลต้องไปหาสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีมูลค่าเท่ากับใบอนุญาต จะกี่หมื่นล้านก็ว่าไป ไปวางกับทางธนาคาร เพื่อให้ธนาคารออกเอกสารให้ หากบริษัทไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ ธนาคารก็จะยึดทรัพย์ส่วนที่เอาไปค้ำอยู่ดี กล่าวคือ ใครที่ได้ใบอนุญาตไป ยังไงก็ต้องหาอะไรไปค้ำเท่าจำนวนเงินประมูลและอยู่ๆจะยกเลิกหนี้ไปเลย โดยไม่เสียอะไรไม่ได้
AIS จะเป็นเสมือนยักษ์ที่ถูกโซ่ตรวน
หากการประมูลเป็นไปตามข้างต้นแล้ว ไม่ใช่แค่ dtac ที่ได้รับผลกระทบ แต่ว่าเป็น AIS ที่ก็โดนตามไปด้วยจากมูลค่าของใบอนุญาตคลื่น 900MHz ที่สูงทุบสถิติโลก เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละปีสูงกว่าที่ควรจะเป็นหลายพันล้านบาท ต้นทุนการให้บริการจากค่าใบอนุญาตจะสูงกว่าคู่แข่งเป็นเท่าตัว แต่โซ่ตรวนนี้ก็อาจจะยังไม่ได้ใหญ่มากนักเมื่อเทียบค่าสัมปทานที่เคยจ่ายให้กับรัฐช่วงก่อนปี 2012 ที่ต้องแบ่งรายได้ 25% ให้กับ TOT นั่นเอง
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ตามที่คิดข้างต้น
ข้อสันนิษฐานนี้เริ่มมีการคิดกันตั้งแต่ที่การประมูลคลื่น 900MHz ทางคุณศุภชัย เจียรวนนท์ และคุณพิชญ์ โพธารามิก2 นายใหญ่ของทรูและแจสไม่เข้าร่วมการประมูล ในเมื่อไม่ได้สนใจว่าตัวเลขจะเป็นเท่าไหร่ก็ฝากกดก็ได้
- *แก้ไข* คุณศุภชัย ตามข่าวเห็นว่าเข้าร่วมประมูลด้วย แต่มาเป็นคนสุดท้ายก่อนปิดห้อง3
คลื่นความถี่ที่ดีแทคถืออยู่ หลังหมดสัมปทานอาจจะไม่ได้ถูกนำมาประมูล
หลังจากการประมูลคลื่น 900MHz แล้วคลื่น 850MHz ที่ dtac ถืออยู่จะเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำเดียวที่หลงเหลืออยู่ที่ใกล้หมดสัมปทาน แต่ก็มีข่าวแว่วมาว่าทางกสทช.เตรียมจะเรียกคืนเพื่อนำไปใช้ในการควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าแทน4
คลื่น 1800MHz ที่กำลังจะหมดสัมปทานของดีแทค ยังไม่แน่ชัดว่าจะมีการเรียกกลับมาประมูลหลังจาก 3 ปีข้างหน้า อะไรก็เกิดขึ้นได้ในประเทศนี้
หากมีคนเบี้ยวไม่จ่ายเงินค่าคลื่นตามที่กล่าวจริง คลื่น 900MHz จะยังไม่ถูกนำออกมาประมูลในทันที หากอ้างอิงจากกรณีของคลื่นความถี่ทีวีดิจิตอล ที่ได้เห็นการไม่จ่ายหนี้ และคลื่นก็ยังค้างไม่มีการใช้งานต่อไป
มองในแง่ดี นี่อาจเป็นการแข่งขันอย่างขาวสะอาด
การที่มูลค่าเงินประมูลสูงขึ้นไปถึงขนาดนี้ได้ อาจจะเป็นเพราะแต่ละเครือข่ายได้คิดแล้วว่าเมื่อเทียบกับค่าสัมปทานที่เคยจ่ายยังเป็นเงินที่คุ้มค่า ยิ่งมูลค่าประมูลสูงเท่าไหร่ ส่วนต่างที่รัฐต้องเสียไปจากการเปลี่ยนสัมปทานมาเป็นประมูลใบอนุญาต ก็จะต่ำลง
แต่ละเจ้าอาจจะนำเอาเงินจากที่น่าจะต้องเสียในใบอนุญาต 2100MHz ที่ได้กันไปถูกมาก มาร่วมคำนวน ใส่เป็นเงินทุนในการประมูลครั้งนี้ ทำให้มูลค่าสูงขึ้นก็เป็นได้
ประเทศชาติได้ผลประโยชน์เต็มๆ เพราะไม่ว่าจะวงเงินเท่าไหร่ เงินก็เข้ารัฐทั้งสิ้น
true และ JAS อาจจะประมูลเพื่อต้องการนำไปทำธุรกิจจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงทำลายโอกาส หรือต่อสู้อย่างไม่เป็นธรรม เป็นบริษัทที่ธรรมาภิบาลสู้งสูง ไม่มีทางที่จะประมูลเพื่อนำไปทิ้งและต่อสู้กับคู่แข่งอย่างเป็นธรรม(ขอแก้ไข เพราะมีคนอ่านแล้วอาจเข้าใจผิดได้)
- True จำเป็นต้องประมูลให้ได้ใบอนุญาตใบนี้ มิฉะนั้นบริษัทจะอยู่ในสภาวะลำบาก หาจุดแข็งสู้คู่แข่งไม่ได้ เพราะมีจำนวนคลื่นและการให้บริการ 4G ที่ไม่แตกต่างแล้ว เผลอถ้าไม่สู้ ปล่อยให้ JAS เข้ามาได้ แล้วมีคู่แข่งรายที่ 4 เข้ามาเพิ่ม จะกลายเป็นปัญหาอันหนักหน่วงกับทางค่ายในทันที
dtac ยังคงสู้ ให้บริการด้วยคลื่น 2100MHz เพียงอย่างเดียว ลงทุนวางเสาทำ 3G เพิ่มให้บริการได้ดีไม่แพ้ AIS #โลกสวย
สรุป ขอทำนายว่า AIS – True จะชนะการประมูลในครั้งนี้ บีบดีแทคให้ไม่มีคลื่นเพียงพอที่จะดำเนินการในระยะยาว จนเสียอำนาจในการแข่งขัน และอาจต้องออกจากธุรกิจไป อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงการคาดเดาของผมเท่านั้น มีข้อมูลอ้างอิงบางส่วนมาช่วยรองรับความคิดในบางจุด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จริง หรือไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้ ถ้าไม่คิดอะไรมากก็อ่านเป็นนิยายสนุกๆ เรื่องนึงไปแทนละกัน แล้วรอดูผลการประมูล กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของวงการโทรคมนาคมในประเทศไทยกันต่อไปอย่างเมามันส์ครับ
สวัสดี
Advanc (+intuch) เดาว่าอาจจะลดปันผลหน่อย คงไม่ถึงกับงดปันผลไปเลย
True ผู้ถือหุ้นอาจจะมีลุ้นเพิ่มทุนละทีนี้ ถถ
AIS = Temasek
True = China Mobile
DTAC = Telenor
JAS = Unknown
intuch ราคาหุ้นลดลงน้อยกว่าตอนที่ชนะประมูล 1800
ผมละงงจริง ตอนนี้ 900 จ่ายแพงกว่าตั้งเยอะ ราคาหุ้นเหมือนจะนิ่งๆ
แต่ก็ดีครับ ผมมีหุ้น
บางทีก็โมกันใหญ่ไปเอง บางทีดีแทคไม่ได้ อีก 3 ปี อาจจะมีเทคโนโลยีอะไรใหม่เข้ามาแล้วก็ได้ ใครจะไปรู้
ลูกค้าก็คงมีพวกตกจริตหนีตามปากไปเรื่อย ผมก็ยังเห็นว่าไม่ได้คลื่นในช่วง 3 ปี ไม่น่าจะกระทบอะไรมาก มีแบรนวิธตั้ง 50 MHz ก็บริหารไปก่อน
ผมก็คิดว่า trueได้lot1 aisได้lot2 ถ้าtrueได้900 ไป+กับ850 เดิมนี่จะกลายเป็นจุดแข็งสุดๆ
ทุบสถิติโลกไปแล้ว
สำหรับคนใช้ Dtac อย่างผม บอกเลยว่าตอนนี้ไม่ได้คิดจะย้ายค่ายแม้แต่น้อย
ถ้าคลื่นที่จะหมดสัญญาเป็นปัญหาจริงๆ อีก 2 ปีผมค่อยย้ายหนีก็ยังทัน ตอนนี้ยังมีใช้นี่นา
ลุ้นค่ายทางเลือก
ค่ายฟ้าของผมก็คงเรื่อยๆต่อไป แต่ลุ้นให้สู้อย่าถอดใจไปซะก่อน
ดุเดือดเผ็ดมันส์ดีจริงๆครับ 55
.."
true และ JAS เป็นบริษัทที่ธรรมาภิบาลสูง ไม่มีทางที่จะประมูลเพื่อนำไปทิ้งและต่อสู้กับคู่แข่งอย่างเป็นธรรม
…"
คือ งง….องค์กรไหนยกย่อง บอกกล่าวว่า 2 บริษัทนี้ มีธรรมาภิบาลสูง กว่าบริษัทอื่นๆ
คุคุคุ…นั่นสิใครบอก
เดี๋ยวไปติด #มโน ไว้หน่อยดีกว่า เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันหมด
+1
ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บ.ใน เครือ CP อีก บ. เพิ่งมีข่าว ผู้บริหารทำผิดกฏ insider แล้วไม่ลาออกอยุ่ คนก็ประณามกันอยู่ว่าไม่มี ธรรมาพิบาล
เจอ ข่าวนี้บอก ธรรมาภิบาลสูง อ่านแล้วรุ้สึกเหมือนคนเขียน Bias นะ คหสต.
ถ้าธรรมาพิบาลสูงจริงจะได้ 850Mhz จาก CAT ไปใช้แบบฟรีๆ อย่างนี้หรอ?
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน แก้ไขเรียบร้อยครับ
ขอบคุณที่แนะนำมา ผมไม่ทันคิดว่าคนอ่านแล้วจะเข้าใจได้หลายแบบ
อ่านแล้วเข้าใจทันทีว่าประชด
Version แรกครับ ใน Pulse RSS feed ผมยัง มีอยู่
true และ JAS เป็นบริษัทที่ธรรมาภิบาลสูง ไม่มีทางที่จะประมูลเพื่อนำไปทิ้งและต่อสู้กับคู่แข่งอย่างเป็นธรรม
ถ้าอ่าน อันใหม่ที่แก้ไปเป็น สู้งสูง ผมก็เข้าใจครับว่าประชด แต่ถ้าไม่ได้เขียนตรงๆขนาดนั้น ผมคงเข้าใจว่าผู้เขียน bias ครับ
ขออภัย Gimme ด้วยครับที่เข้าใจผิดหากตั้งใจจะประชด แต่มันกำกวมไปหน่อยนะครับ ซ้ำ RSS Feed ก็ไม่ได้ Update ข้อความที่แก้ไขด้วย แล้วก็ขอบคุณที่แก้ไขครับ
เชียร์ dtac สู้ๆ
ชอบมวยรอง
จากการใช้ 3BB จาก JAS ผมว่าเค้าให้บริการดีนะ
ถึงแม้นบริการหน้า counter ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง แต่ผมว่าก็จริงใจดี
ถ้า JAS เข้ามา True น่าจะมีหนาวจริงๆแหละ
เรื่องการไม่จ่ายค่างวดสุดท้าย ไม่รู้จะเทียบเคียงเคสtvpool ได้ไหม เท่าที่ทราบคือ
แบงค์ต้องออกการันตีไว้ให้เอกชน ถ้าเอกชนไม่จ่าย ก็ไปเรียกเก็บที่แบงค์แล้วแบงค์จะต้องไปเรียกเก็บจากเอกชน
ใช่ครับ อัพเดทเพิ่มเติมลงไปละ
เงื่อนไขการชำระเงินที่เปิดโอกาสให้เตรียมการถึง 3 ปีก่อนจ่ายก้อนที่เหลือน่าจะเป็นจุดหลักที่ทำให้สู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย ดู ๆ แล้วอาจเฉียด 2 แสนล้านนะผมว่า
เดาว่า Ais + Dtac,True (Jasพยายามเต็มที่กว่าคราวที่แล้วมากแต่ก็สู้ไม่ได้อยู่ดี)
รบกวน Admin หาข้อมูล CAT กับ TOT ให้หน่อยครับ ว่าเค้าได้คลื่นมาใช้ได้ยัง และหากหมดสัญญาต้องลงไปประมูลเหมือน เจ้าอื่นไหม หรือรัฐจับจองให้ใช้ในส่วนที่ถือครองตลอดไป อยากทราบ แต่หาข้อมูลไม่ได้ครับ
ใช้ดีแทค โปร 749 บาท โทรฟรีทุกเครือข่าย เน็ต 15 GB ไม่หมดทบไปเดือนถัดไป และได้เป็น blue member ตอนนี่ถือว่าคุ้มที่สุดสำหรับผมแล้ว จนกว่ามันจะเน่าๆจริงๆ ถึงค่อยย้ายครับ
ดีแทค ไม่นะ อย่าพลาดพลั้ง
ผมว่าAIS กวาดเรียบทั้ง2ใบ…ขอเดา
ผมว่า AIS ก็งไม่บ้าพลังระดับ 160000 M รวด ในรอบเดียวหรอครับ
กดสองใบพร้อมกันไม่ได้ครับ
สุดท้ายเจ้าของค่ายได้เข้ากระเป๋าเต็มๆ………. แต่คนใช้ก้อไม่น้อยหน้าจ่ายเต็มๆๆเหมือนกัน 555 (คิดแค่ว่าค่ายไหนก็ได้ ใช้ให้คุ้มกะที่จ่ายไปก็พอ ไม่ใช่แบบ……หลอกแดก กะลูกค้าไปวันๆ)
เชียร์Jasครับ แต่ค่ายใหญ่คงไม่ปล่อบให้หลุดมือ
HR-Vin
ผมสนใจว่าเงิน 2 แสนล้านที่รัฐได้ไปจะเอาไปทำไรมากกว่า … ให้มันมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดีๆ เน้นเด็ก และสังคมมากๆ จะกด like รัวๆ เลย
************* จบแล้วครับ *************
กสทชประกาศแล้ว
ผู้ที่ชนะประมูล 4G คลื่น 900 MHz
รอบที่ 199 (รอบสุดท้าย)
ใบอนุญาตที่Lot1 75,654 ลบ. JAS บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด
ใบอนุญาตที่Lot2 76,298 ลบ. True บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ยอดรวม 151,952 ลบ.
อ้างอิง http://pantip.com/topic/34562335/comment5245
หน้าแหกครับ
เงิบAISไป JASม้ามืด ดีแตกลาก่อย
หลัง jas อาจจะเป็น dtac ก็ได้นะ jas ไม่มีเสาแต่มี อินเตอร์เน็ตพื้นฐาน.
คู่แข่ง jas เดิมคือทรู และ ais ก็ โดมาทำอินเตอร์เน็ต ที่อยู่อาศัยแล้ว ตวามเป็นไปได้ที่ 2 ค่ายจะร่วมมือกันน่าจะมี ก่อนหน้านี้ dtac ais ก็จับมือกันไปรอบนึงเมื่อกลางปี. ครั้งนี้ อาจมีโอกาศ ที่ jas และ dtac จะผงาดก็เป็นได้