จนถึงตอนนี้การประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz ก็ยังไม่จบลง ราคารวมของทั้งสองใบอนุญาตเกินแสนล้านไปเรียบร้อยแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อไหร่ ซึ่งหลายๆคนก็สงสัยกันว่า ราคานี้เป็นราคาที่เหมาะสมรึเปล่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปสูงขนาดนี้ได้ จากที่ลองๆไปรวบรวมมา จึงขอเอามาเล่าให้ฟังกันเอาไปคิดต่อกันแบบพอสังเขปดังนี้

ปล. ภาพประกอบจากเพจ Mao-Investor นะครับ ไปติดตามกันได้

มาดูสถานะทางการเงินของแต่ละบริษัทกันสักหน่อย ว่าอดีต-ปัจจุบันมีรายได้และกำไรกันขนาดไหน

  • เงินทองมีล้นเหลือ รายได้และกำไรมีจ่ายแบบสบายๆ สำหรับทั้งคลื่น 1800MHz และ 2100MHz

  • จากข้อมูลที่ได้มา AIS เคยจ่ายค่าสัมปทานให้ TOT ช่วงก่อนที่จะมีการประมูลใบอนุญาต ปีนึงหลัก 1-2 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว (ลองดูช่วงก่อนปี 2013) เงินค่าประมูลไม่น่าจะสะทกสะท้านเท่าไหร่ แต่กำไรก็น่าจะหดหายไปนิดหน่อย

  • สัมปทานคลื่น 1800MHz ของ AIS ได้มาราคา 40986 ล้านบาท มีอายุ 18 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 2,277 ล้านบาท
  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ AIS ได้มาราคา 14,625 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 975 ล้านบาท
  • รวมกันยังไม่ถึงครึ่งของค่าสัมปทานที่จ่ายออกไปในอดีตเลย

 

  • เงินทองเจ้านี้ก็ไม่น้อยเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่ได้เยอะเหมือนทาง AIS ก็ตามที

  • ค่าใบอนุญาตที่จะโดนแม้ว่าไม่น้อย แต่ก็ไม่น่าห่วงมาก แค่กำไรน่าจะหดลงไปเหลือใกล้ๆ เมื่อคราวที่ยังโดนค่าสัมปทานอยู่

  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ Dtac ได้มาราคา 13,500 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 900 ล้านบาท

 

  • มาถึงค่ายนี้ ทำเอาหลายๆ คนงงว่าเอาจริงดิ ไหวเหรอ แถมคลื่นในมือก็ไม่ได้ขาดด้วยนะ

  • โดนรวม 2 ใบอนุญาตเข้าไปนี่ ต้นทุนเฉลี่ยต่อปีน่าจะทะลุ 5 พันล้านบาทอยู่นะ

  • แต่เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาสำหรับค่ายนี้มาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ความสามารถในการหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยสูงมาก

  • สัมปทานคลื่น 1800MHz ของ true ได้มาราคา 39,792 ล้านบาท มีอายุ 18 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 2210.67 ล้านบาท
  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ true ได้มาราคา 13,500 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 900 ล้านบาท

 

  • ส่วนเจ้าน้องใหม่นี่ แม้ว่าสถานะการเงินจะดูดี แต่ว่าค่าใบอนุญาตนี่ลอยเหนือ MarketCap ของตัวเองไปเรียบร้อยแล้วนะ

  • มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า JAS มีแบคหนุนหลังอยู่หรือไม่ เพราะถ้าเป็นตัวเค้าเองไม่น่าจะพร้อมขนาดนั้น

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Jitta.com เว็บที่ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายยยยขึ้นมากๆ มีข้อมูลย้อนหลังของแต่ละบริษัทให้ดูกันเพียบ และมีแนะนำหุ้นที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว แนะนำมากสำหรับเหล่า VI เลยครับ แม้แต่คุณป้าแมรี่ อดีตลูกสะใภ้ของ Warren Buffett ยังออกมาชื่นชม และที่สำคัญคืองานนี้เป็นของคนไทยที่ไปดังไกลถึงอเมริกาเลย อยากใช้บอกได้นะ เดี๋ยวส่ง invite ไปให้ครับ จะได้ลองแบบ Pro กันเลย ^^ (ต้องใช้ email นะ จะแปะใน comment หรือส่งเมวมาก็ได้ครับ)

ปิดการแจก invite ไว้ก่อนนะครับ หมดไปเรียบร้อย ใครที่ได้ไปฝากกดใช้ด้วยครับ ไม่งั้นผมจะไม่ได้กลับมาแจกคนอื่นต่อไม่ได้ครับ ขอบคุณครับ

Play video

ทำไมราคาคลื่น 900MHz ถึงแพง?

จากที่ได้รวบรวมมา

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคลื่น 900MHz

  • คลื่น 900MHz คุ้มค่าการลงทุน มีค่าใช้จ่ายในการลงเสาน้อยกว่า คลื่น 1800MHz หรือ 2100MHz มาก เหมาะกับการขยายเครือข่ายในต่างจังหวัด

  • ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยทั่วโลก คลื่น 900MHz แพงกว่า 1800MHz ถึง 2 เท่า

  • สถิติโลกของของคลื่น 900MHz อยู่ที่ 68,000 ล้านบาท

  • กสทช.มีแผนเรียกคืนคลื่น 850MHz ไปใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง และใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทำให้คลื่น 900MHz อาจกลายเป็นคลื่นความถี่ต่ำเดียวที่หลงเหลืออยู่
  • การประมูลครั้งนี้มีกำหนดการชำระเงินที่ค่อนข้างสะดวกกว่าเมื่อคราวประมูลคลื่น 1800MHz ที่ต้องให้จ่ายเงิน 50% ทันที โดยเงื่อนไขการชำระเงินประมูลใน 3 ปีแรกต้องจ่ายเพียง 16,080 ล้านบาทเท่านั้น แล้วจึงชำระส่วนที่เหลือในปีที่ 4 ทำให้มีเวลาหาเงินมาชำระเยอะกว่า

อันนี้ทาง ไทยรัฐ เคยมีทำเอาไว้
Play video

 

เหตุผลของแต่ละเจ้าที่สู้แบบไม่ถอย

  • เป็นเจ้าเดียวที่ยังไม่มีคลื่นความถี่ต่ำ (มี 1800MHz และ 2100MHz ในมือแล้ว)

  • เค้าว่าไง เราก็ว่าตาม เงินเท่าไหร่เรามี

 

  • คลื่น 1800MHz และ 850MHz ในมือกำลังจะหมดในอีก 3 ปีข้างหน้า

  • คลื่น 2100MHz ที่ประมูลได้มาก่อนหน้าเพียงใบเดียวไม่เพียงพอกับการให้บริการ หรือต้องลงทุนสูงมากเพื่อให้รองรับได้

  • ขออนุมัติเงินจากยานแม่มาเรียบร้อย

  • เรียกขวัญและกำลังใจของพนักงานและผู้ใช้บริการกลับมา

  • การันตีให้นักลงทุน ว่าสามารถแข่งขันในตลาดต่อไปได้

  • ราคาหุ้นตกต่ำสุดจนแทบจะลงไปแตะราคา IPO แล้ว

ฝากบทความเก่าเอาไว้หน่อย สำหรับอ่านประกอบ

 

 

  • กีดกันคู่แข่ง (JAS) ไม่ให้เข้ามาได้

  • กีดกันคู่แข่ง (dtac) ไม่ให้ดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้

  • การไม่มีคู่แข่งเป็นลาภอันประเสริฐ

  • มีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนได้มากมายมหาศาล

 

  • หากพลาดครั้งนี้ ต้องรออีกอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะมีโอกาสเข้าธุรกิจได้อีกครั้ง

  • อีก 3 ปีข้างหน้า ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะมีการประมูลเกิดขึ้นหรือเปล่า เลยต้องสู้สุดใจ

ส่วนใครกำลังอยากรู้ว่า 4G จะได้ใช้เมื่อไหร่ มีจำนวนสัญญานที่ครอบคลุมขนาดไหน ลองกลับไปดูบทความเก่าที่เคยเขียนเอาไว้ได้ที่นี่เลยครับ

 

ขอเชิญเพื่อนๆ มาร่วมอภิปราย หรือแชร์ข้อมูลกันเพิ่มเติมได้นะครับ เห็นต่างส่วนไหนก็แย้งเพิ่มมาได้เลย และมาโหวตกันเล่นๆว่า ใครจะได้คลื่นไปครองกัน 😀