จบการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ที่ยังคงรักษาความยาวนานได้เหมือนคราวคลื่น 1800MHz ลากยาวข้ามวันข้ามคืนรวม 4 วัน 3 คืนเคาะไปเกือบ 2 ร้อยรอบ โดยในครั้งนี้ ไม่มีใครยอมใครมาจนสุดทาง กดราคากันรัวๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนราคาพุ่งขึ้นเหนือราคาประมูลคลื่น 1800MHz ไปตั้งแต่หัวค่ำคืนแรก จนมาปิดราคาสุดท้ายที่ได้มูลค่ารวมทั้งหมดถึง 151,952 ล้านบาท ผู้ชนะหักปากกาเซียนเป็น JAS และ TRUE ได้ไป!! กสทช. ย้ำค่าบริการจะไม่แพงขึ้นแน่นอน

ข้อมูลน่าสนใจจากการประมูลคลื่น 900MHz

  • เริ่มการประมูลตั้งแต่ 9 โมงเช้า วันที่ 15 ธันวาคม 2558 จบวันที่ 18 เวลา 00.15.น. รวมเป็นระยะเวลา 65 ชม. 55 นาที (ไม่รวมเวลาหยุดพักการประมูล)
  • เคาะประมูลเป็นจำนวนทั้งหมด 198 รอบ
  • ผู้ชนะคลื่น lot 1 (ความถี่ 895 – 905 MHz / 940 – 950 MHz) ได้แก่ JAS มูลค่า 75,654 ล้านบาท
  • ผู้ชนะคลื่น lot 2 (ความถี่ 905 – 915 MHz / 950 – 960 MHz) ได้แก่ True มูลค่า 76,298 ล้านบาท
  • AIS ที่ถูกเก็งว่าได้แน่นอน กลับยอมถอยไป เสนอราคาสุดท้าย lot 2 ในราคา 75,976 ล้านบาท
  • DTAC ที่ถูกปรามาสเอาไว้ แต่คราวนี้สู้ไม่ถอย เสนอราคาสุดท้าย lot 1 ในราคา 70,180 ล้านบาท
  • รายได้เกินจากที่คาดการเอาไว้ 135,872 ล้านบาท!!
  • มูลค่าของใบอนุญาต 2 คลื่นความถี่ (รวม 40MHz) สร้างรายได้ให้รัฐมากกว่าการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง (280MHz) อีกแล้ว (50,862 ล้านบาท)
  • มูลค่าของใบอนุญาต 900MHz 2 คลื่นความถี่ (รวม 40MHz) สร้างรายได้ให้รัฐมากกว่าเมื่อตอน 1800MHz (60MHz) ถึง 71,174 ล้านบาท
  • เมื่อคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อ 1 MHz จะอยู่ที่ 4,038.9 ล้านบาท
  • ค่าเฉลี่ยสูงกว่าคลื่น 1800MHz (2,692.6 ล้านบาท) อยู่ถึง 1,346.3 ล้านบาท
  • ใบอนุญาตคลื่น 900MHz เพียงใบเดียว (10MHz) มีมูลค่ามากกว่าเมื่อคราวใบอนุญาตคลื่น 2100MHz ทั้งหมด 45MHz (41,625 ล้านบาท)
  • ราคาของคลื่น Low Band (ความถี่ต่ำกว่า 1000MHz) ปกติจะสูงกว่า High Band อยู่แล้ว เพราะคลื่น Low Band สามารถส่งสัญญานได้พื้นที่ไกลกว่า ประหยัดค่าลงทุนเรื่องเสาสัญญานไปได้มาก
  • การนำคลื่น 900MHz ไปใช้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำเอาไปทำ 3G หรือ 4G เพราะเป็นคลื่นมาตรฐานที่โทรศัพท์รองรับ 3G ใช้กัน ส่วน 4G แม้จะไม่ได้รองรับคลื่น 900MHz เป็นหลักแต่ก็มีหลายประเทศใช้งานอยู่
  • คลื่น lot 2 มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมากกว่า lot 1 ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันสัญญานรบกวนจากคลื่น 850MHz ซึ่งติดกับคลื่นของดีแทคในปัจจุบัน และเมื่อหมดสัมปทาน อาจไม่ถูกนำกลับมาประมูลใหม่ เนื่องจากกสทช.มีแผนจะนำเอาไปใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูงแทนhttps://www.scbeic.com/th/detail/product/620

สรุปต้นทุนด้านใบอนุญาตของแต่ละเครือข่าย และสัมปทานใบอนุญาตที่มีในมือ

 

frequency

bandwidth

expire

value

avg.cost / year

AIS

1800

15MHz

2033

40,986 MB

2277 MB

 

2100

15MHz

2027

14,625 MB

975 MB

DTAC

850

10MHz

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

 

1800

25MHz

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

 

2100

15MHz

2027

13500 MB

900MB

TRUE

850

15MHz

2025

4350MB

(ซื้อ Hutch)

310MB

 

900

10MHz

2030

76,298 MB

5065.07 MB

 

1800

15MHz

2033

39,792 MB

2210.67MB

 

2100

15MHz

2027

13,500 MB

900MB

JAS

900

10MHz

2030

75,654 MB

5065.07 MB

ราคาคลื่น 900MHz ของประเทศไทยยังถือว่าเป็นอันดับ 3 ของโลกอยู่นะ