ปี 2562 ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องฟอกอากาศในบ้านเราดูจะคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากหลายๆ คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละอองกันมากขึ้น แถมยังมีข้อมูลว่าฝุ่นระดับ PM 2.5 นั้นอันตรายต่อร่างกายแค่ไหน ทำให้เหล่าเครื่องฟอกอากาศขายดีไปตามๆ กัน แต่น่าจะต้องสะดุ้งรีบไปเช็คเครื่องฟอกที่ซื้อไว้กัน เมื่อมีการเปิดเผยว่ามีการสุ่มทดสอบเครื่องฟอกอากาศในตลาด 10 รุ่น  กลับพบว่ามีถึง 5 รุ่น ที่ไม่มีประสิทธิภาพตรงตามสเปคที่ระบุเอาไว้

โดยการทดสอบและเผยแพร่ข้อมูลในครั้งนี้ทำโดย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (กดเข้าไปติดตามเพจกันได้) ที่ได้ทำการสุ่มทดลองเครื่องฟอกอากาศ ในท้องตลาด และจากออนไลน์รวม 10 ยี่ห้อ (10 รุ่น) โดยมีราคาถูกสุดตั้งแต่ 1,990 บาท จนถึงแพงสุดที่ 9,900 บาท การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศ

ขั้นตอนและกรรมวิธีการทดสอบ

ทางนิตยสารฉลาดซื้อได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศโดยมีการปรับปรุงจากมาตรฐาน JEM* ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศครัวเรือนประเทศญี่ปุ่น มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และสถานที่ในการทดสอบดังนี้

  • เครื่องสร้างฝุ่น TOPAS Aerosol Generator ATM 226 ที่จะสร้างฝุ่นละอองขนาด 0.1 – 0.9 ไมครอน ออกมา โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดอยู่ที่ 0.2 ไมครอน
  • Dusttrack DRX Aerosol Monitor 8533 เป็นเครื่องที่ใช้ในการวัดความเข้มข้น PM 2.5 โดยสามารถวัดค่าได้แบบ Real-Time
  • ห้องที่ใช้ทดสอบขนาด 26.46 ลูกบาศก์เมตร (กว้าง 3.6 x ยาว 3 x สูง 2.45 เมตร) ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ทดสอบเอาไว้บริเวณริมห้อง สูงจากพื้น 70 ซม. และติดตั้งเครื่องวัดความเข้มข้นฝุ่นสูงจากพื้น 70 ซม. ตรงกลางห้อง

*Standards of The Japan Electrical Manufacturers’ Association (JEM Standards)

วิธีทดสอบ

ก่อนอื่นทีมงานของนิตยสารฉลาดซื้อจะทำการตรวจสอบห้องเพื่อทดสอบความพร้อม ว่าห้องได้มาตรฐานหรือไม่โดย

  1. เปิดเครื่องสร้างฝุ่นละอองจนได้ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ในช่วง 1.0 – 5.0 mg/m3
  2. ทิ้งห้องไว้ 30 นาที
  3. ตรวจสอบการลดลงของฝุ่นละอองตามธรรมชาติ (Natural Decay) จะต้องไม่น้อยกว่า 80% ของค่าเริ่มต้น

การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศแต่ละเครื่องจะทำโดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดเครื่องสร้างฝุ่นละอองจนได้ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ในช่วง 1.0 – 5.0 mg/m3
  2. เปิดเครื่องฟอกอากาศตรวจสอบหาการลดลงของฝุ่นละออกขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศ (Decay of dust concentration) เป็นเวลา 90 นาที หรือจนกว่าค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 จะเหลือน้อยกว่า 0.20 mg/m3 หรือ 20 µg/m3
  3. แต่ละเครื่อง ทดสอบเป็นจำนวนเครื่องละ 2 ครั้ง เพื่อความแม่นยำ
  4. คำนวนหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ โดยจะได้มาเป็นค่า CADR หรือ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์

ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศ

จากผลการทดสอบสามารถแบ่งประเภทของเครื่องฟอกอากาศออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ไม่สามารถทำได้ตามสเปคที่ระบุเอาไว้ และกลุ่มที่สามารถทำได้จริง รวมถึงสามารถดูขนาดพื้นที่ห้องที่เหมาะสมได้

อธิบายกลุ่มและสีต่างๆ

  • ไม่สามารถลดฝุ่นได้จริง
  • ลดฝุ่นได้พื้นที่ 13-16 m2 และเป็นไปตามโฆษณา*
  • ลดฝุ่นได้พื้นที่ 20-30 m2 และไม่เป็นไปตามโฆษณา
  • ลดฝุ่นได้พื้นที่ 20-30 m2 และเป็นไปตามโฆษณา
  • ลดฝุ่นได้พื้นที่มากกว่า 30 m2 และเป็นไปตามโฆษณา
  • ทำได้เทียบเท่าหรือดีกว่า
ยี่ห้อรุ่นราคาขนาดห้องที่รองรับตามระบุในโฆษณา
พื้นที่ห้องที่เหมาะสม3
ClaireC2BU-19336,99020 m22.32 m2
Blueair*Joy S9,99016 m213.82 m2
MitsutaMAP4503,99030 – 40 m222.28 m2
HatariHT-AP124,88832 m224.14 m2
BwellCF-84009,99010 – 30 m221.42 m2
HitachiEP-A30004,99022 – 33 m222.28 m2
PhilipsAC1215/207,99021 – 63 m233.66 m2
MiAir Purifier 2S4,09821 – 37 m235.92 m2
Fanslink Air DCube1,99020 m222.01 m2
SharpFP-J30TA-B3,99023 m224.13 m2

1ขนาดพื้นที่ตามที่สินค้าระบุว่าสามารถใช้งานได้ในโฆษณา
2ขนาดพื้นที่ตามที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อทดสอบและแนะนำว่าเหมาะสมกับการใช้งานพื้นที่ขนาดเท่าใด
3ขนาดพื้นที่ห้องสามารถคำนวนได้จากความกว้าง x ยาวของห้อง เช่น ห้องขนาด 5×4 เมตร ก็จะมีพื้นที่ 20 m2 หรือ ห้องขนาด 6×5 เมตร ก็จะมีพื้นที่ 30 m2 เป็นต้น
*ทางนิตยสารฉลาดซื้อได้มีการปรับผลการทดสอบของ Blueair Joy S ทางเราจึงขอปรับตามครับ

จากผลการทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อ ก็พอจะบอกได้ว่าแบรนด์ดังทั้งหลายสอบผ่านกันหมด ไม่ว่าจะ Sharp Philips Hitachi Mi โดยจะมีแบรนด์ที่ไม่คุ้นหูอย่าง Bwell หรือ Fanslink ที่ก็ทำได้ดีเช่นกัน ซึ่งตัวที่ดูจะคุ้มค่าคุ้มราคาเป็นพิเศษจะเป็น 3 ตัวที่ทำได้เกินที่โฆษณาและรองรับพื้นที่ห้องขนาดใหญ่ในราคาประหยัดนะครับ ส่วนแบรนด์อื่นใครซื้อไปก็ลองพิจารณาการใช้งานให้ดี พยายามเผื่อขนาดพื้นที่ใช้งานเอาไว้หน่อย ถ้าห้องมีขนาดใหญ่หรือพอดีกับสเปคก็อาจจะต้องซื้อเครื่องฟอกอากาศเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ

ส่วนใครที่อยากจะดูข้อมูลแบบละเอียดของการทดสอบดังกล่าวว่ามีการทดสอบอย่างไร มีการคำนวณหาประสิทธิภาพเครื่องอากาศยังไง และผลการทดสอบมีรายละเอียดว่ายังไงบ้าง ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ในหน้าเว็บของนิตยสารฉลาดซื้อ ได้เลยครับ

Play video

 

รายละเอียดของเครื่องฟอกอากาศแต่ละรุ่นที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อนำมาทดสอบ

1. Fanslink Air D รุ่น Cube⭐️

ราคา 1,990 บาท

  • ขนาด 21 x 21.3 x 31.7 ซม.
  • น้ำหนัก 2.89 กก.
  • ฟอกอากาศด้วยไส้กรอง HEPA Filter กำจัดฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอน สิ่งปนเปื้อนในอากาศและสารก่อภูมิแพ้

2. Mitsuta รุ่น MAP450

ราคา 3,990 บาท

  • ขนาด 19 x 34 x 55.5
  • น้ำหนัก 5 กก.
  • ระบบกรองอากาศด้วยแผ่นกรอง 6 ขั้นตอน กรองฝุ่นขนาดใหญ่ด้วย Pre-Filter, กรองฝุ่นเล็ก 0.3 ไมครอน ด้วย True HEPA-Filter, ดูดซับสารเคมีและกลิ่นด้วย Activated Carbon Filter, ดูดซับสารเคมีและสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วย Zeo Lite Filter, กรองสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วย Cold Catalyst Filter, ลดฝุ่นขนาดเล็กและแบคทีเรียในอากาศด้วย Ionizer

3. Sharp รุ่น FP-J30TA-B⭐️

ราคา 3,990 บาท

  • ขนาด 41.1 x 43.1 x 21.1
  • น้ำหนัก 4 กก.
  • ฟอกอากาศด้วยเทคโนโลยี Plasma Cluster Ion มีระบบกรอง 2 ขั้นตอน Pre-Filter กรองฝุ่นขนาดใหญ่, HEPA Filter กำจัดฝุ่นอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอน

4. Mi รุ่น Air Purifier 2S⭐️

ราคา 4,098 บาท

  • ขนาด 24 x 24 x 52 ซม.
  • น้ำหนัก 4.5 กก.
  • ระบบกรองอากาศ 3 ขั้น Pre-Filter กรองฝุ่นทั่วไป, HEPA-Filter กรองฝุ่นเล็กอนุภาคระดับ 2.5 ไมครอน, Nano Protect HEPA Filter กรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน กรองได้เล็กสุดถึง 0.2 ไมครอน

5. Hatari รุ่น HT-AP12

ราคา 4,888 บาท

  • ขนาด 39 x 53.5 x 19.3 ซม.
  • น้ำหนัก 5.4 กม.
  • ระบบกรองอากาศแบบพลาสมา ด้วยแผ่นกรอง 4 ขั้นตอน Pre-Filter ช่วยกรองฝุ่นผง, Bio Filter ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคด้วย Germ Guard Technology, HEPA Filter ดักจับฝุ่นละอองได้ถึง 0.3 ไมครอน, Activated Carbon Filter ช่วยขจัดกลิ่น

6. Hitachi รุ่น EP-A3000

ราคา 4,990 บาท

  • ขนาด 42.4 x 13.3 x 40 ซม.
  • น้ำหนัก 4 กก.
  • ระบบกรองอากาศ Proactive Filtration ด้วยแผ่นกรอง 2 ขั้นตอน กรองฝุ่นขนาดใหญ่ด้วย Pre-Filter, กรองสารก่อภูมิแพ้ EP 12 ด้วย EPA Filter

7. Claire รุ่น C2BU-1933

ราคา 6,990 บาท

  • ขนาด 27.4 x 14.7 x 27.4 ซม.
  • น้ำหนัก 2.7 กก.
  • กรองอากาศด้วยไส้กรอง E2F มีคาร์บอนกรองกลิ่น UV ฆ่าเชื้อ กรองฝุ่นขนาดเล็กตั้งแต่ PM 2.5 ถึง PM 0.1

8. Philips รุ่น AC1215/20

ราคา 7,990 บาท

  • ขนาด 21.1 x 32.5 x 54.1 ซม.
  • น้ำหนัก 5.3 กก.
  • เทคโนโลยีฟอกอากาศ VitaShiled IPS ที่ไม่ปล่อยประจุไฟฟ้า กรองด้วยแผ่นกรอง 3 ขั้นตอน กรองขั้นแรกด้วย Pre-Filter จับฝุ่นขนาดใหญ่, Nano Protect Active Carbon Filter ดูดกลิ่น และสารประกอบอินทรีย์ระเหย, Nano Protect HEPA Filter กรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน และกรองอนุภาคละเอียดได้สูงสุดถึง 0.02 ไมครอน

9. Bwell รุ่น CF-8400

ราคา 9,900 บาท

  • ขนาด 32.4 x 16.2 x 40.9 ซม.
  • น้ำหนัก 4.2 กก.
  • ระบบกรองอากาศ 6 ขั้นตอน การกรองอนุภาคฝุ่นละออง Particle Filtration, ดักจับฝุ่นขนาดใหญ่ด้วย Activated Carbon Filter, ดักจับฝุ่นละออง ขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน ด้วย HEPA Filter, ดักจับแบคทีเรีย กรองก๊าซพิษและกลิ่นด้วย Antibacterial Filter, ดูดซับก๊าซพิษในอากาศ, Charcoal Filter ดูดซับก๊าซพิษในอากาศ, Zeolite Filter ดูดซับก๊าซพิษ, Ultraviolet Germicidal Irradiation ทำลายชีวมลพิษ

10. Blueair รุ่น Joy S

ราคา 9,900 บาท

  • ขนาด 43.3 x 20 x 20 ซม.
  • น้ำหนัก 2.4 กก.
  • ระบบกรองอากาศเทคโนโลยี HEPA Silent ด้วยแผ่นกรอง 2 ขั้น แผ่นกรอง Particle และ Carbon ประกอบด้วยเส้ยใยไฟเบอร์พิเศษต่างกัน 3 ขนาด, ดักฝุ่นอนุภาคเล็ก 0.1 ไมครอนด้วย HEPA Filter

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ฉลาดซื้อ