กสทช. และ AIS ร่วมแถลงเรื่องการพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service หรือระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือเจาะจงเฉพาะพื้นที่ที่เกิดเหตุด่วนเหตุร้ายได้ทันที พร้อมกับเชื่อมต่อศูนย์บัญชาการกลางของรัฐ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน หลังเกิดเหตุรุนแรงในประเทศไทยหลายครั้ง พร้อมสาธิตการใช้งาน
ช่วงปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงต่าง ๆ ทั้งเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้า หรือภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก ทำให้ กสทช. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยจากภาครัฐแบบเจาะจงพื้นที่ (Cell Broadcast Service) ขึ้นมาเพื่อสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชน
Cell Broadcast Service คืออะไร ทำงานยังไง?
Cell Broadcast Service หรือ ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือเจาะจงเฉพาะพื้นที่ที่เกิดเหตุด่วนเหตุร้าย เป็นระบบที่จะส่งข้อความแจ้งเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินรุนแรงไปยังมือถือของทุกคนอยู่ใกล้กับบริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว
การทำงานของ Cell Broadcast Service นั้น จะส่งข้อความเตือนภัยแบบส่งตรงจากเสาส่งสัญญาณสื่อสารในพื้นที่ไปยังโทรศัพท์ทุกเครื่องในบริเวณนั้น ซึ่งระบบนี้จะมีความแตกต่างจากระบบ SMS ทั่วไป เพราะไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ไม่ต้องโหลดแอปให้ยุ่งยาก ทำให้การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยทำได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งพื้นที่เกิดเหตุ
รูปแบบข้อความฉุกเฉินนั้นจะแสดงข้อความที่หน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Pop UP Notification) แบบ Near Real Time Triggerig เพื่อให้สามารถรับรู้สถานการณ์ได้ทันทีแบบภาพด้านล่างนี้เลย
AIS พร้อมรองรับระบบเตือนภัยฉุกเฉิน Cell Broadcast Service
กสทช.ได้เริ่มทดสอบระบบเตือนภัยกับ AIS ในวันนี้ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบนั้น เรียกได้ว่าพร้อมแล้วที่จะรองรับการใช้งานและพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ (Command Center) เพื่อเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะขยายผลเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยของประเทศ
โครงสร้างของการนำเทคโนโลยี Cell Broadcast Service มาใช้ มีขั้นตอนยังไง?
โดยโครงสร้างของการนำเทคโนโลยี Cell Broadcast Service มาใช้งานนั้น แบ่งเป็น 2 ฝั่ง
- ฝั่งที่ 1 : ดำเนินการและดูแลโดยศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ ผ่านระบบ Cell Broadcast Entities (CBE) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาและพื้นที่ในการจัดส่งข้อความ ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ อาทิ
- การบริหารจัดการระบบ (Administrator)
- การจัดการข้อความที่จะสื่อสาร (Message Creator)
- การอนุมัติยืนยันความถูกต้อง (Approver)
- ฝั่งที่ 2 : ดำเนินการและดูแลโดยผู้ให้บริการโครงข่ายผ่านระบบ Cell Broadcast Center (BC) ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่นำเนื้อหาข้อความ ไปจัดส่งตามพื้นที่ที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง โดยจะประกอบไปด้วย
- การบริหารระบบและการตั้งค่า (System & Configuration)
- การส่งต่อข้อความสื่อสารที่ได้รับมาผ่านโครงข่าย (Message Deployment Function)
- การบริหารโครงข่ายสื่อสาร (Network Management)
ดีเลยครับ อยากให้รองรับทุกเครือข่ายเลยยิ่งดี