คงมีหลายคนสงสัยว่าทำมั้ยทำไม โปรแกรมบนแอนดรอยด์ถึงออกมาช้ากว่า iOS ทุกครั้ง แถมฟีเจอร์รวมถึงหน้าตาก็ด้อยกว่า iOS ไปซะทุกตัว คิดว่าคงรู้กันบ้างแล้วหละว่ามันเกิดจากปัญหา Fragmentation ของแอนดรอยด์นั่นเอง แต่แค่พูดต่อกันไปก็คงไม่เข้าใจความหมาย สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ดังนั้นมาดูรูปนี้กันแล้วจะเข้าใจ !

Animoca บริษัทพัฒนาโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือสัญชาติฮ่องกงผู้มียอดโหลดรวมแล้วกว่า 70 ล้านโหลด เผยภาพโทรศัพท์มือถือและ Tablet เฉพาะแอนดรอยด์ที่บริษัทต้อง QA แอพฯก่อนจะปล่อยออกสู่ตลาด โดยบริษัทต้องเทสต์ถึง 400 รุ่นทุกแอพฯทุกเวอร์ชั่นที่ปล่อยออกมา ! ซึ่งจะบอกว่ายังไม่ถึงครึ่งของรุ่นทั้งหมดที่มีในโลกเลยด้วยซ้ำ

ถามว่า 400 เครื่องด้านบนหมายถึงอะไร? มันไม่ใช่แค่บอกว่ามีมือถือต้องเทสต์เยอะ แต่หมายถึงต้นทุนมหาศาลที่ต้องลงไปกับการซื้อมือถือและ Tablet ที่ออกใหม่ไม่เว้นแต่ละวัน ลองประเมินว่าเครื่องนึงเฉลี่ย 10,000 บาทดูสิ จะรู้ว่าบนโต๊ะนั้นล่อไปแล้ว 4 ล้านบาท แล้วถามว่ามันจำเป็นมั้ย? ถ้าแอพฯพื้นฐานที่ไม่ได้ใช้ฟีเจอร์ของโทรศัพท์มากมาย ใช้แค่ Emulator กับเครื่องจริง 7-8 รุ่นก็พอแล้วหละ แต่ถ้าแอพฯมีฟีเจอร์หวือหวาหรือมีการดึงพลังของเครื่องออกมาใช้ หลายครั้งหลายคราโปรแกรมมีปัญหากับฮาร์ดแวร์เฉพาะรุ่น A B C D หรือมีปัญหากับซอฟต์แวร์เฉพาะเวอร์ชั่นนี้ๆนั้นๆ นั่นแปล่วาถ้าคุณจะแก้ปัญหา คุณก็ต้องดิ้นรนหาซื้อเครื่องเพื่อมาเทสต์ และทุกรุ่นที่ต้องซื้อมานั่นคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่่ใชเรื่องดีเลยสำหรับการลงทุน

ลองมาดูของฝั่ง iOS บ้าง นี่คือเครื่องทั้งหมดที่เค้าใช้เทสต์

เรียกว่าเทียบกันไม่ได้เลยกับแอนดรอยด์ เพราะ iOS มือถือออกมาแค่ 5 รุ่น iPad สามรุ่น และ iPod Touch อีกนิดหน่อย ที่เหลือก็แค่เทสต์กับเวอร์ชั่นของ OS ที่ต่างกันไปเท่านั้น

คราวนี้คงพอได้คำตอบกันแล้วว่าทำไมแอพฯแอนดรอยด์ถึงต้องตาม iOS อยู่ร่ำไป และคงเข้าใจหัวอกนักพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกนิดว่า ทำไมคนถึงชอบพัฒนาบน iOS มากกว่าแอนดรอยด์ แม้กระทั่งตอนนี้ก็ตาม

ไหน ใครยังจะใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์อยู่มั้ย เห็นแบบนี้แล้วเนี่ย

Source: TechCrunch