จากโปรโมชั่นของรัฐบาล ที่เราสามารถซื้อสินค้าและบริการภายในวันที่ 25-31 ธันวาคมนี้ แล้วนำไปลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ 15,000 บาท ซึ่งก็มีความเข้าใจผิดที่คลาดเคลื่อนกันมากมาย ทั้งมูลค่าที่หักลดหย่อนได้ ประเภทของสินค้าและบริการ ล่าสุดผมมีเจออีกกรณีนึงที่ซื้อของมาสุดท้ายไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ นั่นคือ ไปซื้อโทรศัพท์ได้รับใบเสร็จมาแต่ไม่มีใบกำกับภาษี…งงมั้ยล่ะ
สำหรับคนที่มีกิจการร้านค้า หรือว่าเข้าใจในเรื่องภาษีดีแล้ว คงจะไม่มีปัญหาเท่าไหร่นัก แต่กับคนที่ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน เจอคำศัพท์พวกนี้เข้าไปอาจมีมึนได้ ซึ่งตามรายละเอียดข้างต้นที่มีปัญหานี้ เกิดจากการที่ว่า เจ้าตัวไปซื้อโทรศัพท์จากร้านตู้ร้านหนึ่ง ซึ่งตัวร้านตู้นั้นหลังจากทำการตกลงซื้อขายเรียบร้อย ก็มีการออกใบเสร็จมาให้ทางคนซื้อตามปกติ ซึ่งตัวคนซื้อก็เข้าใจว่าสามารถนำเอาใบเสร็จนี้มาเป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษีได้เลยทันที ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด!!
สินค้าที่สามารถนำเอามาหักลดหย่อนภาษีในแคมเปญ 15,000 บาทได้นั้น ต้องเป็นสินค้าหรือบริการของ —ห้างร้านที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น— หรือดูง่ายๆ จากการที่ร้านจะต้องสามารถออกใบกำกับภาษี ที่มีการบวก VAT 7% เข้าไปในราคาสุดท้ายเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และจะเป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ไม่ได้ด้วย ซึ่งถ้าใครได้เป็นเพียงแค่ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอย่างย่อมาก็เตรียมเอาไปเปลี่ยนได้เลย เพราะน่าจะมีปัญหาแน่นอนหากโดนทางสรรพากรเรียกตรวจ ขอเอกสารเพิ่มมา
และนี่เป็นตัวอย่างของการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ถูกต้อง
ภาพจากเว็บไซต์ topformscomputer.blogspot
รายละเอียดสำคัญที่ต้องมีในใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ1
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
กล่าวคือ หลักๆเลยต้องมีคำว่าใบกำกับภาษี และจำนวน VAT 7% ที่คิดแยกออกมาให้ดูนั่นเอง ถ้าขาดอย่างใดอย่างนึงไป ก็เตรียมมีปัญหาได้เลยครับ
**ของแถม** สำหรับคนที่ไปเที่ยวในประเทศ ก็อย่าลืมขอใบเสร็จของที่พักหรือแพคเกจทัวร์ต่างๆมาด้วยนะ เพราะนั่นก็เอามาหักได้อีก 15,000 บาทด้วยครับ (แค่ “ใบเสร็จ” ก็พอแล้วนะ ในกรณีนี้)
เกือบ เงิบ
จริงๆ คำว่า ใบกำกับภาษี ถ้าเป็นคนที่ เข้าใจ ก็จบแล้ว
เหมือนที่ผมมักบอกหลายๆคนเสมอๆ ว่า เมื่อเราซื้อ สินค้าจาก store เราควรที่จะ เดินไปขอ ออกใบกำกับภาษีด้วย มิใช่ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (สลิป ซื้อจากเครื่อง) และในใบกำกับภาษีนั้นๆ ต้องระบุ ชื่อ รุ่น ยี่ห้อ รวมถึง serial no. ของอุปกรณ์ที่เราซื้อให้ถูกต้องและตรงกัน (เคยเจอเคส ห้างดอกบัว ออกใบกำกับภาษี ไม่ระบุรุ่น Serial no. มาแล้ว) เพื่อ เป็นการระบุประกัน และ ในกรณีที่เราเคลมสินค้ากับผู้ผลิตโดยตรง เอง เขาจะได้ ไม่เลี่ยงความรับผิดชอบ ในกรณี นี่ จะเจอเยอะ ถ้าซื้อจาก store เพราะบางที่ซื้อขาดมาขาย หรือ ซื้อของ ตกรุ่นมาขาย พอเสีย เคลมไม่ได้บ้าง โยนกันไปมา สุดท้าย ทำเรื่องขอคืนเงิน ได้เท่าไหร่ก็ต้องเอา
ดูในสรยุทธ ไม่ใช่ว่าปกติเสียภาษีอยู่ 15,000 บาท แล้วซื้อของ 15,000 บาท
แล้วจะเอาไปหักได้หมดนะครับ มันขึ้นกับฐานภาษีที่จ่ายจริง คือถ้าจะหักได้เต็ม
15,000 บาท รายได้ต่อปีก็จะประมาณ 3-4 ล้านนั่นแหละครับ
ทุกคนไม่ว่าจะฐานภาษีเท่าไหร่ ใช้ 15,000฿ ลดหย่อนได้เท่ากัน แต่มีผลต่างกัน เพราะอัตราภาษีมี 7 ขั้น ทำให้ผู้ที่รายได้สุทธิหลังหักรายการลดหย่อน น้อย จะได้รับสิทธิทางภาษีที่น้อยลงตามสัดส่วน
ใครจะซื้อของ Online ก็ระวังด้วยนะครับ บางเวปออกใบกำกับภาษีได้ บางร้านไม่ได้ บางเวปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ขึ้นกับว่าซื้อจากร้านใดที่ขายผ่านทางเวป
และวันนี้วันที่ 31 ธ.ค. แล้ว บางร้านออกใบกำกับภาษีให้ไม่ได้แล้วนะครับ แต่บางเวปยังได้อยู่ และปกติวันที่ในใบกำกับภาษีจะเป็นวันที่เราสั่งซื้อ ดังนั้นการรับของในปีใหม่แล้วก็ไม่มีปัญหา แต่การสั่งเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืน อาจจะมีปัญหาได้ เพราะระบบอาจจะออกใบกำกับภาษีข้ามปีไปแล้ว ทำให้เอาไปลดหย่อนภาษีไม่ได้
ขาดไป 1 ข้อ 8. ข้อความอื่นที่ อธิบดีฯกำหนด (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ)
ตอนหักไปนี่ง่ายดี
พอจะเอาคืนนี่มันลำบากซับซ้อนจริงๆ