ข่าวนี้เกิดขึ้นมาได้หลายวันแล้ว เมื่อเวบผู้ไล่ตามสิทธิบัตรของ Apple อย่าง Patently Apple ได้ออกมาบอกว่าทาง Apple ได้ทำการจดสิทธิบัตรการปลดล็อคเครื่องโดยใช้ระบบจดจำใบหน้าไปแล้ว ตั้งแต่เดือนมิถุนายนโน่น เลยมีการถกเถียงกันขึ้นมาว่า อ้าว แล้ว Face Unlock บน Android Ice Cream Sandwich จะทำเยี่ยงไรต่อไปนิ

600x320

ดูไปแล้วเรื่องนี้อาจจะมีดราม่ายาวๆ หากมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น และ blog นี้ก็อาจจะดราม่าแน่ๆ เลยขอให้ทุกท่านเปิดใจก่อน แล้วมาลองพิจารณากันไล่เป็นข้อๆ แบบที่ทาง Droid-life และสมาชิกเค้าได้มาถกเถียงกันไปแล้วเรียบร้อย เราก็เลยได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาเขียนเป็นข่าวที่ให้ความรู้ได้ดีทีเดียว

ประเด็นแรกคือเรื่องของวันเวลาที่จดสิทธิบัตร

Apple ยื่นจดสิทธิบัตรไปเมื่อเดือนมิถุนายน ส่วน Google ได้ทำการโชว์ Face Unlock ไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ซึ่งช้ากว่าหลายเดือน แต่ตรงจุดนี้ทาง Engadget มีข้อมูลมาว่าทาง Google ได้ซื้อบริษัท PittPatt ซึ่งทำเรื่องระบบ Face Recognition ไปในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ตรงนี้เราก็ยังไม่ทราบว่า PittPatt ได้ทำการยื่นขอจดสิทธิบัตรในส่วนนี้ไปหรือไม่

ประเด็นที่สองคือ “คนแรกที่คิดค้น” กับ “คนแรกที่จดสิทธิบัตร”

ประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาโดย ทนายความคนหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าเชี่ยวชาญเรื่องสิทธิบัตรในเรื่องของ technology และเป็นสมาชิกของเวบ Droid-life เค้าได้อธิบายว่า

1. “คนแรกที่จดสิทธิบัตร” ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ของสิ่งประดิษฐ์และการคิดค้นใดๆ ได้ ถ้าหากว่าการคิดค้นนั้นมีการใช้งานจริง และเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมาก่อนหน้าการจดสิทธิบัตร และรู้กันโดยทั่วไปว่า “คนแรกที่คิดค้น” คือใคร แต่ถ้ามองไปในเรื่องของเจ้าของสิทธิ์แล้ว ยังไงซะการจดสิทธิบัตรก็เป็นเรื่องจำเป็น “คนแรกที่จดสิทธิบัตร” จะได้สิทธิ์ตรงนี้เสมอ นอกเสียจากว่า “คนแรกที่คิดค้น” จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นคนแรกที่ค้นพบเทคโนโลยีนั้นจริง ซึ่งตรงนี้สิทธิบัตรอาจเปลี่ยนมือได้ หากชนะการฟ้องร้องในชั้นศาล

2. การยื่นจดสิทธิบัตรนั้น ไม่สามารถทำแบบขอไปทีได้ หรือเรียกว่าคิดอะไรออก ก็ไปขอจดสิทธิบัตร โดยที่ไม่มีองค์ประกอบและรายละเอียดต่างๆนั้น ไม่สามารถทำได้แน่นอน ต้องมีรายละเอียดวิธีการ และการทำงานของสิ่งนั้นๆ อย่างเป็นรูปเป็นร่าง ว่ามันจะทำได้อย่างไร และวิธีการเป็นแบบไหน

*ปล การแปลภาษากฎหมายมันลำบากจริงๆ ถ้าใครรู้ว่าแปลผิดแปลถูกยังไงก็ช่วยกันด้วยนะครับ

เรื่องของสิทธิบัตรและการฟ้องร้องนี่ มันมีมาตั้งแต่ก่อนเราจะเกิดแล้วครับ มีตั้งแต่สิทธิบัตรชิ้นแรกของโลกเลย คือ โทรศัพท์ ที่เราเรียนกันมาว่ากันว่า Alexander Graham Bell เป็นผู้คิดค้นและจดสิทธิบัตรนั่นแหละ แต่จะมีใครรู้รึเปล่าว่าในวันเดียวกันกับที่ Bell ไปขอจดสิทธิบัตร และได้บัตรคิวเป็นลำดับที่ 8 นั้น Elisha Gray ก็ได้ไปขอยื่นจดสิทธิบัตรเรื่องโทรศัพท์เช่นกัน แต่ได้บัตรคิวที่ 39 เรียกง่ายๆ ว่าไปช้ากว่า Bell นั่นเอง และ Gray ก็ทำการฟ้องร้องด้วยนะครับ แต่ไม่ชนะ Bell เลยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรตัวนี้ไป

ซึ่งตรงนี้เราๆท่านๆ ก็ต้องมาตามดูกันต่อว่า สุดท้ายแล้วสิทธิบัตรจะตกไปอยู่ในมือใคร ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมาและจะพิสูจน์ได้หรือไม่ว่าเป็นคนคิดค้นก่อน และจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นหรือไม่ หุหุหุ

 

source : Droid-life