ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก สตรี หรือแรงงานเถื่อนยังคงมีเกิดขึ้นใกล้ตัวเราโดยไม่รู้ตัว สถิติจาก UNICEF เปิดเผยว่ามีเด็กกว่า 40,000 คน ถูกใช้แรงงานในการทำเหมืองแร่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งเป็นแหล่งแร่โคบอลต์ที่ใช้ในการผลิตส่วนประกอบของแบตเตอรี่ลิเที่ยมไอออน ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างสมาร์ทโฟน หรือ Gadget ที่เราใช้งานกันอย่างมีความสุขอยู่ทุกวี่วัน (; w ; )
Amnesty International องค์กรอิสระที่รณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนและ African Resources Watch (Afrewatch)ได้เปิดเผยรายงานร่วมกันว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไอที อาทิ Apple, Samsung, Sony, Microsoft, Lenovo, Huawei และอีกหลายเจ้า เข้าข่ายอาศัยประโยชน์จากแรงงานเด็กในแอฟริกา เพื่อหาแร่โคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำแบตเตอรี่ ลิเที่ยมไออน (Li-on)
แม้ว่าทางบริษัทไอทีทั้งหลายที่มีรายชื่อจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการโดยตรง แต่ถือว่าเป็นการสนับสนุนโดยรับวัตถุดิบอย่าง โคบอลต์ มาจากบริษัททำเหมืองแร่ Congo Dongfang Mining ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนอย่าง Zhejiang Huayou Cobalt Ltd. โดยบริษัทดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีการใช้แรงงานเด็กในการทำเหมืองแร่อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
คองโกเป็นประเทศที่มีการทำเหมืองแร่ Cobalt มากถึง 50% ในโลก แต่คนงานที่ทำงานก็ต้องประสบปัญหาด้านสุขภาพ และความเสี่ยงอุบัติเหตุต่างๆ จากการทำเหมือง นอกจากนี้ทาง Amnesty ก็พบปัญหาการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ซึ่งจากการสัมภาษณ์เด็กที่ทำงานในเหมืองโคบอลต์ พบว่าเด็กๆ แต่ละคนต้องทำหลายหน้าที่ทั้งขุดเจาะหาแร่บนพื้นผิว และอาจต้องลงไปขุดในเหมืองลึกที่มีความเสี่ยงและอันตราย รวมถึงทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง แทบไม่มีเวลาพัก
ทาง Amnesty Internatonal ได้ทำการติดต่อ 16 บริษัทไอทีที่อยู่ในรายชื่อลูกค้าของบริษัท Zhejiang Huayou Cobalt Ltd. โดยมีเพียงบริษัทเดียวที่ยอมรับว่ามีการติดต่อ ในขณะที่อีก 4 บริษัทไม่สามารถจะบอกได้ว่ารับโคบอลต์มาจากไหน อีก 7 บริษัทปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง และ 6 บริษัทที่เหลือกำลังทำการสอบสวนแหล่งที่มาของแร่โคบอลต์ตามที่มีการเรียกร้อง ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งทาง Apple, Samsung และ Sony วางตัวอยู่ในจุดที่ไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการไม่ร่วมงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้ รวมถึงถ้ามีการตรวจสอบพบก็จะยุติการร่วมงานทันที แต่สำหรับประเด็นการใช้แรงงานเด็กนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนจนสามารถเอาผิดได้
Mark Dummett หนึ่งในนักวิจัยของ Amnesty International ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า การทำเหมืองแร่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของความรุนแรงในประเด็นเรื่องการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งน่าแปลกใจที่บริษัทที่มีผลกำไรทั่วรวมกว่า 125 ล้านดอลลาร์ จะไม่มีความสามารถในการตรวจสอบแหล่งที่มาของโคบอลต์ที่นำมาใช้ได้
อย่างไรก็ตามการจุดประเด็นเรื่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาทำสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ที่เล็คทรอนิกส์ที่เราใช้กันนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการใช้แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฎหมาย หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ หวังว่าจะมีส่วนช่วยให้องค์กร หรือบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการตื่นตัวในการตรวจสอบและตื่นตัวเรื่องประเด็นการใช้แรงงานมากขึ้นค่ะ 😀
คองโกเป็นประเทศที่. ใหญ่ที่สุดป่ะ เท่าที่จำได้
ใช่ ยาวมากๆ
น่าสงสารแรงงานเด็ก
จาก BBC
1. One company admitted the connection while four others were unable to say for certain the source of the cobalt they used. Five denied sourcing the mineral from the firm, despite being listed as customers in company documents and two others said that they did not source cobalt from DRC.
1 บริษัทรับ, 4 บอกไม่ได้ว่ารับจากที่ไหน, 5 ปฎิเสธแม้ว่าจะมีชื่อปรากฎว่าอยู่ในรายชื่อลูกค้าบนเอกสารบริษัท, และอีก 2 บอกว่าไม่ได้ซื้อจาก DRC
2. Companies whose global profits total $125bn (£86.7bn) คือ 125 พันล้าน
เดี๋ยวๆๆๆๆนะครับ
ความเห็น1กับ2นี่อะไรหรอครับ ใหญ่และยาว
น้องชายยาวสุดในโลกครับ (ค่าเฉลี่ยแต่ละประเทศ)
ควรสร้างมาตรฐานรองรับเรื่องนี้ในระดับโลกไปเลย เพราะไม่ได้มีแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว และมีคนต้องตกเป็นเหยื่อจากบริษัทข้ามชาติเยอะมาก