ช่วงนี้น่าจะเคยได้ยินคำว่า Big Data กันบ่อย แต่ก็อาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพ หรือเจอการนำมาใช้แบบเป็นรูปธรรมนัก แต่ล่าสุดหลังความร่วมมือกว่า 2 ปี ระหว่างดีแทค จุฬาฯ สดช. และบุญมีแล็บ ก็ได้คลอดข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยการเอาข้อมูลการเคลื่อนที่ของประชากรที่ดีแทคมีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปลผลเป็นข้อมูลเชิงลึก บอกเทรนด์การท่องเที่ยวของผู้คนในเรื่องการท่องเที่ยวได้

ก่อนจะไปถึงเรื่องว่ามีจังหวัดไหนน่าไป คนเที่ยวแบบไหนกัน ขอเล่าถึงเรื่อง Big Data สักนิดนึงก่อน เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่เราได้เห็นการนำเอามาใช้จริงในประเทศไทยสักที โดย Big Data ถ้าสรุปแบบง่ายๆ คือ การเอาข้อมูลดิบจำนวนมาก (database ใหญ่กว่า 1TB) ในที่นี้ทางดีแทคแจ้งว่ามีมากกว่าหมื่นล้านรายการ มาจัดเรียง ตีความ แปลผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายเชิงลึก ซึ่งในที่นี้ก็คือการนำเอา Mobility Data จากเครือข่าย มาแปลผลบอกถึงลักษณะการท่องเที่ยวของคนไทย ให้ภาครัฐสามารถสร้างนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม ภาคเอกชนก็สามารถจัดแคมเปญหรือโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับความต้องการของคนได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ยังงงอยู่มะ? ขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักหน่อย

Mobility Data คืออะไร?

Mobility Data คือข้อมูลการเคลื่อนไหวของประชากร ที่สร้างขึ้นมาจากข้อมูลการเคลื่อนที่ของแต่ละผู้ใช้ ที่ปกติในทุกๆวันเครือข่ายจะทราบตำแหน่งของมือถือหรืออุปกรณ์แต่ละเครื่องอยู่แล้ว จากการเชื่อมต่อเข้ากับเสาสัญญาณ มาจัดเรียงจนทราบว่ามือถือแต่ละเครื่อง มีการเคลื่อนที่ เดินทาง ไปที่ไหนเวลาใด อย่างไรบ้าง แต่จะไม่ได้มองเฉพาะเจาะจงเพียงแค่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการดูภาพรวมของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะทำให้มีข้อมูลว่า

  • คนมีการกระจุกตัวที่ใด
  • ช่วงวันเวลาหนึ่งมีการเดินทางไปสถานที่ไหนกัน
  • ออกจากตำแหน่งที่อยู่ปกติ ไปที่อื่นนานแค่ไหน
  • ช่วงเวลาการเดินทางตั้งแต่กี่โมง เช้า เย็น หรือกลางคืน
  • เดินทางด้วยความเร็วขนาดไหน

เมื่อนำข้อมูลมา Visualize ให้แต่ละเส้นเป็นลักษณะการเดินทางของนักท่องเที่ยว ก็จะทำให้เห็นภาพการเดินทางรูปแบบต่างๆของคนในประเทศ ที่จะสามารถศึกษาพฤติกรรมของประชากร, ตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม, ภาพรวมการเดินทาง, และวิเคราะห์เชิงธุรกิจได้

ความเจ๋งของข้อมูลชุดนี้คือ ความแม่นยำถูกต้องของข้อมูลจะสูงมาก ไม่ต้องพึ่งพาการทำแบบสอบถาม เพราะทุกเบอร์จะต้องมีการลงทะเบียน ระบุได้ถึงอายุ เพศ ถิ่นที่อยู่อาศัย และมือถือก็ติดตัวทุกคนอยู่ตลอดเวลา ไปไหนมาไหน ก็จะทราบทั้งหมด ถ้าเคยดูหนังไซไฟที่มีการติดตามตำแหน่งคนได้ โดยมากก็จะใช้เป็นตำแหน่งมือถือกันเป็นหลักเนี่ยแหละ

และข้อมูลเหล่านี้ เมื่อนำมาตีความและแปลผลแล้ว จะทำให้เข้าใจลักษณะการท่องเที่ยวของคนไทยมากยิ่งขึ้น เช่น

  • คนกระจุกตัวที่ใด = ชอบเที่ยวจังหวัดไหนกัน
  • ย้ายตำแหน่งไปที่ไหน = คนจังหวัด A ชอบไปเที่ยวจังหวัด B
  • ช่วงเวลาการเดินทาง = คนเริ่มเดินทางช่วงไหน
  • ความเร็วการเดินทาง = เดินทางด้วย รถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน

พอได้ข้อมูลชุดนี้มา หน่วยงานรัฐ และเอกชน ก็สามารถนำไปใช้วางแผนในการโปรโมตการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในครั้งนี้ก็จะโฟกัสไปที่การช่วยโปรโมทเมืองรองที่ก็น่าเที่ยวไม่ได้แพ้เมืองท่องเที่ยวหลักที่คนนิยมเลยนั่นเอง ส่วนข้อมูลที่แปลผลออกมาได้จะมีอะไรบ้างนั้น ผมขอคัดส่วนที่น่าสนใจมาให้ดูกันตามนี้ครับ

เมื่อมีกิจกรรมใหญ่ ก็เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและอัตราการเข้าพักในจังหวัดนั้นๆได้เป็นอย่างดี 

จังหวัดที่ถูกขับผ่านเป็นประจำ แต่ไม่ค่อยมีคนแวะเที่ยวสักเท่าไหร่

แต่ก็มีเหมือนกันที่บางจังหวัดถูกเที่ยวคู่กันเป็นประจำนะ

เผยวิธีการจำแนกและจับกลุ่มข้อมูลต่างๆ

Remark: ข้อมูล Mobility Data ไม่สามารถระบุการเดินทางเป็นรายบุคคลได้ เครือข่ายจะมีการส่งข้อมูลดิบแบบตัดส่วนที่ระบุตัวตนได้ทิ้งก่อนจะนำไปทำการวิจัยและแปลผล โดยข้อมูลรายบุคคลทางเครือข่ายจะถือเป็นความลับและต้องป้องกันรักษาเป็นอย่างดี ไม่ให้หลุดออกไปได้ เพราะหากมีปัญหารั่วไหลอาจโดนฟ้องร้องจากผู้ใช้บริการได้นั่นเอง

อ่านเบื้องหลังกว่าจะสามารถนำเอาข้อมูลชุดนี้มาใช้ทำงานวิจัยชิ้นนี้ได้ที่ https://dtacblog.co/co-lab-model/ 

โดยข้อมูล Mobility Data นี้ ทีมวิจัยพัฒนาเตรียมเปิดสาธารณะในรูปแบบ Interactive Dashboard ให้ทุกคนเข้าไปใช้งานได้ ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ NGO หรือใครก็ตาม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำเอาไปตีความใช้งานในด้านอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น

  • ติดตามการย้ายถิ่นของประชากร
  • วิเคราะห์ปัญหาจราจร วางแผนการจำกัดการใช้รถใช้ถนน
  • หาพื้นที่สาธารณะ สำหรับเหล่านักเดินทาง
  • ตรวจสอบพื้นที่ความเสี่ยงของโรคระบาด
  • หาคำตอบทำไมเด็กต้องไปเรียนไกลบ้าน
  • วางแผนพัฒนาโรงเรียนและโรงพยาบาล
  • ศึกษาและปรับปรุงขนส่งสาธารณะ
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับใครที่สนใจข้อมูล Mobility Data ที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งหน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ ภาครัฐ​ และทีมวิจัย สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://dtac.co.th/mobility-data/ มีเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองผ่าน Mobility Data ให้ดาวน์โหลดได้ที่ https://dtacblog.co/tapping-the-untapped/