อย่างที่เราทราบกันดีว่า บ้านเรามีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก แต่รู้หรือไม่ว่ารายได้ส่วนใหญ่จากการท่องเที่ยวมักกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองดัง อีกทั้งยังเจอวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้การท่องเที่ยวในบ้านเรานั้นขาดสมดุลมากว่า 2 ปี แต่ตอนนี้ที่สถานการณ์โรคร้านเริ่มดีขึ้น ความต้องการท่องเที่ยวจากทั้งคนในประเทศ และต่างประเทศต่างพุ่งสูง จึงกลายเป็นโอกาสดีที่จะสร้างสมดุลเพื่อกระจายนักท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังเมืองรอง แต่คำถามคือ “เราจะดึงนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองรองยังไงดี ?”
ช่วงนี้น่าจะเคยได้ยินคำว่า Big Data กันบ่อย แต่ก็อาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพ หรือเจอการนำมาใช้แบบเป็นรูปธรรมนัก แต่ล่าสุดหลังความร่วมมือกว่า 2 ปี ระหว่างดีแทค จุฬาฯ สดช. และบุญมีแล็บ ก็ได้คลอดข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยการเอาข้อมูลการเคลื่อนที่ของประชากรที่ดีแทคมีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปลผลเป็นข้อมูลเชิงลึก บอกเทรนด์การท่องเที่ยวของผู้คนในเรื่องการท่องเที่ยวได้
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ชาวไทยเองก็เริ่มจะคุ้นชินกันดีสักพักหนึ่งแล้ว สำหรับ Google ที่จะมีโปรเจคของการเดินทางไปตามท้องถนน และ ซอกมุมต่าง ๆ ของประเทศเพื่อเก็บภาพสำหรับฟีเจอร์ Street View และ Earth ที่เป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Maps แต่วันนี้ทาง Google เองได้ออกมาโชว์ผลงานตลอดทศวรรษที่ผ่านมาว่าต้องเดินทางไปแล้วกว่า 16 ล้านกิโลเมตรเพื่อให้ได้ข้อมูลแผนที่ ๆ สมบูรณ์แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ประเด็นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกออนไลน์ได้กลายมาเป็นเรื่องที่หลายชาติทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ซึ่งล่าสุดทางฝั่งสหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ในเรื่องนี้ที่อาจเรียกได้เป็นมิติใหม่ของการจัดการกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลเลยทีเดียว เมื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกอย่าง Google | Facebook | Apple อาจจะต้องแถลงต่อรัฐบาลสหรัฐว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเราแต่ละคนที่บริษัทพวกนี้ถืออยู่นั้น มีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่
ดูเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐจะเริ่มใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของเราได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด Google Location Services ก็กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยไล่ล่าอาชญากรชั้นยอด ถึงขนาดมีรายงานว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานี้ บางสัปดาห์เจ้าหน้าที่ตำรวจของสหรัฐฯมีการขอข้อมูลจากกูเกิ้ลมากถึง 180 ครั้ง แถมในแต่ละคำขออาจเกี่ยวข้องอุปกรณ์สื่อสารนับร้อยชิ้นเลยทีเดียว
ความพยายามนำเอาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าบุคคลในที่สาธารณะมาใช้กันนั้น เริ่มมีให้เห็นในขั้นทดสอบกันแล้วสำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะ 2 คู่ค้า คู่แค้นอย่าง สหรัฐฯ กับ จีนที่อาจเรียกได้ว่าเบียดแข่งกันมาเลย อย่างไรก็ตามความพยายามแรกในการทดสอบของมหานครนิวยอร์ค โดย Metropolitan Transportation Authority นั้น ออกไปทางล้มเหลวไม่เป็นท่านัก เพราะเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าที่ว่านี้ ไม่สามารถตรวจจับใบหน้าได้เลยแม้แต่คนเดียว
การเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปชนิดที่เทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ทโฟน หรืออินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอยู่ในทุกๆกิจวัตรของเรานั้น กลายเป็นประเด็นหลักที่โลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และสำหรับภาคธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเปลี่ยนผ่านจากการเป็นของเล่นใหม่ สู่การเป็นเครื่องมือกระแสหลักชนิดที่ธุรกิจใดไม่ใช้เทคโนโลยี ธุรกิจนั้นถือว่าล้าหลัง และแน่นอนว่าผู้สร้างผลผลิตทางข้อมูลจำนวนมหาศาลให้กับภาคธุรกิจก็คือผู้บริโภคอย่างเราๆนี่เอง…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า