งานประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ใกล้เข้ามาถึงเข้าไปทุกที ทางดีแทคเองก็ได้เข้าไปรับเอกสาร และ เข้าร่วมรับฟังการชี้
เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16, 17 และ 18 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลคลื่
น 900 MHz จะต้องมีหน้าที่รับผิ ดชอบในการป้องกันและแก้ไขปั ญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่ และการรบกวนระบบอาณัติสั ญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้ งหมดแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงรับผิดชอบแก้ไขให้แก่ผู้ รับใบอนุญาตคลื่นความถี่850 MHz และ 900 MHz รายอื่นด้วย – dtac
ด้วยเงื่อนไขเรื่องนี้ทำให้ดีแทค ชี้แจงเพิ่มว่ามี 2 ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้ดีแทคมีความกังวลสำหรับการประมูลคลื่น
ดีแทคชี้แจงประเด็นหลัก 2 ข้อที่กำหนดเพิ่มให้ผู้ชนะที่ ได้รับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz คือ
- ค่าใช้จ่าย – จำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ครอบคลุมงบประมาณในการดำเนินการสร้างระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ให้กับผู้ที่ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่น และระบบคมนาคมขนส่งทางราง แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้มีผลวิเคราะห์งบประมาณอย่างแน่นอน ดีแทคประเมินว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการลดราคาขั้นต่ำของการประมูลมาก
- ความเสี่ยงในการดำเนินงาน – นอกจากค่าใช้จ่ายแล้ว ผู้ชนะการประมูลจะต้องรับความเสี่ยงจากการเข้าไปดำเนินการติดตั้งระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ กสทช. ยังได้สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลยังจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHzเพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงคลื่นความถี่เดิม ดังนั้นจึงทำให้มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายและการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกมาก
นอกจากนั้น ตามที่ดีแทคได้ส่งหนังสือถึง กสทช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การเปลี่ยนเป็นคลื่น 900 MHz เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศด้วยสถานีฐานประมาณ 13,000 สถานี จะต้องใช้เวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ประมาณ 24 เดือน ดังนั้น ดีแทคจึงขอความชัดเจนในการใช้งานคลื่น 850 MHz เพื่อให้บริการลูกค้าระหว่างการดำเนินการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ดีแทคได้ย้ำถึงความตั้งใจในการพิจารณาเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ก่อนจะสรุปแนวทางการเข้าร่วม โดยยังคงเดินหน้าปรึกษาหารือกับ กสทช. ในการแก้ไขประเด็นดังกล่าว และให้แน่ใจว่าคลื่นความถี่ 900 MHz สามารถนำมาประมูลด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานนี้ต้องมาดูกันว่าเงื่อนไขที่ทางดีแทคกำลังกังวลนั้น จะทำให้ผู้ร่วมประมูลรายอื่นไม่เห็นด้วยอีกหรือไม่ และ จะทำให้ทาง กสทช. ยอมถอยให้อีกหรือเปล่า หรือ ว่าจะเดินหน้าไปโดยไม่มีดีแทค อันนี้ก็ต้องรอดูกันค่ะ
ที่มา จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ดีแทค
"มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงรับผิดชอบแก้ไขให้แก่ผู้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่850 MHz และ 900 MHz รายอื่นด้วย"
ใครเข้าประมูลก็บ้าแล้ว
มองการไกลจริง ๆ ยาวไปถึงปัญหาคลื่นกวนกันของรถไฟความเร็วสูงเลย
คือใครชนะประมูลต้องไปวางระบบป้องกันให้เคลือข่ายอื่นด้วย เงื่อนไขโคตรเอาเปรียบ คนมีความรู้เข้าคิดกันอย่างงี้นี้เอง
บ้าไปแล้ว….ออกคนละครึ่งในการวางระบบป้องกันกับเครือข่ายอื่นยังจะพอฟังขึ้นหน่อย
จะไถเงินอย่างเดียวเลย ไม่คิดจะพัฒนาอะไร แถมได้เงินแล้วก็ผลักภาระความรับผิดชอบอีก สบายจริงๆนะพวกเอ็ง ไอ้พวกเช้าชามเย็นชาม
โห นโยบายแต่ละข้อ เอาเปรียบไปไม๊คุณพี่
555 พูดไปออก
เค้าเข้าไปหลับ………….zZzZzZ ไม่ได้เข้าไปทำงาน 555++
รถไฟความเร็วสูงไล่ไปใช้คลื่น 700MHz นู๊นน..เลย อะไรที่ยังไม่เกิดและอาจจะไม่เกิดด้วยซ้ำ การใช้งานคลื่นคำนวนได้ถึง 1% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศไหม? ตกลงผลประโยชน์ตกอยู่ที่ใคร?
ตอนแรกเห็นหัวข้อข่าวกะจะว่าให้ดีแทคแล้วนะ แต่พอได้อ่านเนื้อหาคิดว่าสัญญาเอาเปรียบขนาดนี้ ดีแทคทำถูกแล้วล่ะ
เป็นเงื่อนไขที่ออกมาเพื่อกำจัด dtac ออกจากระบบชัด ๆ เลยครับ
ผลักความรับผิดชอบ และหน้าที่ของตัวเองไปให้คนอื่น เฉียบ!!!
เพิ่มเติมครับ ผลักความรับผิดชอบที่ในอดีตตนเองทำงานไม่รัดกุมไปให้ผู้อื่น
เป็นองค์กรที่สมควรยุบไปเลย เปลืองงบประมาณ
ไม่ได้คิดแก้ปัญหาให้ใครเลย เหมือซื้อโทรศัพท์รนาคาแพง แต่ไม่รับประกัน ่าอะไรเลย
คิดได้สุดยอด ได้ผลประโยชน์ทุกอย่าง ทั้ง Corrective and Preventive Actions ระยะยาว แบบนั่งดู ได้หน้า ได้งาน โดยไม่ต้องลงแรง ทำงานสบายๆไปอีกนานเท่านาน อยู่ยากมากประเทศไทย ก็ ขาย Dtac ไปเถอะ …. ??
คำถาม (คิดแบบเป็นกลาง) จากที่อ่านเหมือนผู้ที่ประมูลได้จะถูกเอาเปรียบเยอะนะ
แต่ถ้าเกิดปัญหานั้นจริง และสาเหตุมาจากการใช้คลื่นเพิ่มจริง แล้วไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขแบบนี้ไว้ ใครควรจะเป็นคนแก้ กสทช เหรอ หรือใครดี
เกิดรถไฟใช้งานไม่ได้ ลูกค้าของค่ายอื่นใช้งานไม่ได้ ผลกระทบมันเกิดกับประชาชน
ถ้าไม่ระบุเงื่อนไขแบบนี้จะหาคนรับผิดชอบได้ยังไง