DTAC จับมือสถาปัตน์ – จุฬาฯ – บุญมีแล็ป เปิดตัว “Mobility Data Dashboard” ครั้งแรกในไทย เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ด้านการท่องเที่ยวในไทยให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญข้อมูลเชิกลึกยังส่งผลดีต่อประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังเมืองรอง รวมถึงด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าอยากรู้ว่าความพิเศษคืออะไร ตามมาอ่านกันเลยค่ะ

ความเป็นมาสั้น ๆ

เนื่องจากทาง DTAC เองมีชุดข้อมูล Big Data มากถึง 4,000 ล้านชุดต่อวัน ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่ได้ตั้งแต่ปี 2020 – ปลายปี 2021 จากเหตุการ์ณวิกฤต COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการกระจุกตัวของผู้คนในแต่ละพื้นที่ หรือแสดงถึงลักษณะการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายเชิงลึก คือการนำเอา Mobility Data ที่ทำให้การท่องเที่ยวในบ้านเรานั้นขาดสมดุลมาจัดเรียง ตีความให้เป็นข้อมูงเชิงลึกมากขึ้นพร้อมปิ๊งไอเดียว่าจะทำยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีที่มาเป็น Mobility Data Dashboard

MOBILITY DATA คืออะไร?

Mobility Data เป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากโครงการศึกษางานวิจัย Mobility Data เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นการเพิ่มโอกาสให้สำหรับ ผู้สนใจข้อมูล, ผู้ประกอบการ, นักลงทุน และประชาชนทั่วไปโคยคลอบคลุม 77 จังหวัด พร้อมวิเคราะห์ศักยภาพเมืองรองอีก 55 จังหวัดผ่านข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวกว่า 5.39 ล้านทริป

แต่ต้องบอกไว้อย่างหนึ่งนะคะ ข้อมูลนี้จะไม่ใช่ข้อมูลแบบเรียลไทม์แต่เป็นการวัดค่า วัดผลมาก่อนหน้านี้ทำให้เราเข้าใจพฤติการท่องเที่ยวซึ่งไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าไหร่ในแต่ละปี ที่สำคัญข้อมูลการเคลื่อนไหวของประชากรสร้างขึ้นมาจากข้อมูลการเคลื่อนที่ของแต่ละผู้ใช้ ที่ปกติในทุกๆวันเครือข่ายจะทราบตำแหน่งของมือถือหรืออุปกรณ์แต่ละเครื่องอยู่แล้วโดยเป็นผู้ใช้งาน Dtac เท่านั้นค่ะ ในตอนนี้จากการเชื่อมต่อเข้ากับเสาสัญญาณ มาจัดเรียงจนทราบว่ามือถือแต่ละเครื่อง มีการเคลื่อนที่ เดินทาง ไปที่ไหนเวลาใด อย่างไรบ้าง แต่จะไม่ได้มองเฉพาะเจาะจงเพียงแค่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการดูภาพรวมของประชากรทั้งหมดจะมีข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ตาม Micro-tourism

กระตุ้นการท่องเที่ยวด้วย Micro-tourism

ผลสรุปออกมาเป็น 3 แนวทางเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันออกไปตามเมืองรองนั้น ๆ ผ่านโมเดล MICRO-TOURISM ในประเทศญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศคิดเป็น 60% และได้ส่งเสริมให้ประชาชนท่องเที่ยวไปในจังหวัดที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อชมธรรมชาติ เมืองเก่า และสวนเกษตรกรรม โดยใช้เวลาเดินทางแค่ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น เพื่อเป็นการกระจายรายเข้าสู่ท้องถิ่น และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างสร้างสรรค์ เช่นเน้นการใช้สถานที่และอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อลดต้นทุน หรือกีฬา Sumo ส่งเสริมวัฒนธรรมให้เกิดการรู้ รวมไปถึงทัศนียภาพที่สวยงาม หรือการทำขนมปังโดยใช้แป้งข้าวสังข์หยด เป็นต้น

1.ดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้ (Micro-tourism)
Micro tourism เป็นการท่องเที่ยวระยะใกล้ 150 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมง แบบไปเช้า-เย็นกลับ เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ เช่นการปลูกข้าว สอนทำอาหารท้องถิ่น รวมถึงเข้ามาชิม ช้อป ใช้สินค้า และบริการท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองรองนั้น ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ดี ๆ และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเที่ยวซ้ำ

2.พัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ (Experience-based overnight tourism)
Experience-based overnight tourism เป็นแนวทางการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์ค้างคืนแบบแปลกใหม่สู่เมืองรอง เช่น การแคมป์ปิ้ง การจัดโปรโมชัน เพื่อเพิ่มอัตราการใช้จ่าย เพิ่มเวลาค้างคืน เพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้จับจ่ายซื้อสินค้า และบริการเพื่อสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ และชุมชน รวมถึงสร้างฐานแฟนคลับเมืองรอง หรือที่เราเรียกกันว่า Fanbase ให้เหล่านักท่องเที่ยวประทับใจจนอยากกลับมาเที่ยวอีกครั้ง

3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด (Tourism Cluster)
Tourism Cluster เป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเพิ่มจุดหมายเที่ยวเมืองรองใกล้เคียงหลาย ๆ จังหวัดใน 1 ทริป เพื่อเพิ่มแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง และเมืองรองอื่น ๆ ใกล้เคียง ต้องเรียกว่าจับมือไปด้วยกันจะไปได้ไกลกว่านั่นเองค่ะ เราไม่จำเป็นต้องขายแค่ตัวเองแต่เผยแพร่วัฒนธรรมในจังหวัดอื่นไปในตัว เพื่อเพิ่มโอกาสที่มากขึ้น

ส่งเสริมการท่องเที่ยวในไทยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

เราจะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีความเติบโตขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่าน ๆ มานี่จึงเป็นโอกาศที่ดีในการทำ Mobility data ให้พวกเรานำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ซึ่งในแต่ละจังหวัดสามารถนำไปอ่านค่าเพื่อใช้กับธุรกิจของตัวเองได้อย่างดี เช่น โรงแรม ทางเดินและทางจักรยาน ระบบขนส่งมวลชน ห้องน้ำสาธารณะ และพัฒนาคุณภาพการบริการในร้านค้าต่าง ๆ

หรือข้อมูลการไปท่องเที่ยวตามจังหวัดในภูมิภาคนั้นทั้งช่วงเวลากลางวัน กลางคืน เรายังนำไปต่อยอดเป็นสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างดี รวมไปถึงการเรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมทางอาหาร หรือด้านอืน ๆ ให้ได้คุณค่ามากที่สุดนั่งเองค่ะ ถ้าเรานำมาปรับใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้ แน่นอนว่าในทุกจังหวัดมีโอกาสต่อยอดเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างมั่นคงในอนาคตแน่นอน

ทุกคนสามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ตามนี้เลยค่ะ Mobility Data Dashboard