การเข้ามาของ social media ต่างๆ นั้นเปลี่ยนวิธีการรับข่าวสารของเราไปจากเกิมมาก จากแต่ก่อนที่เรารับข่าวสารแบบ one-to-many จากสำนักข่าวผ่านทางวิทยุ ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ แต่พอมาถึงยุคนี้การสื่อสารกลายเป็นแบบ many-to-many คือไม่ว่าใครๆ ก็ทำตัวเป็นสื่อได้ทั้งนั้น ซึ่งแม้จะดีในแง่ของความรวดเร็วและหลากหลายของข้อมูลแต่ก็ยังขาดการควบคุมคัดกรอง
และเมื่อพูดถึงหนึ่งในสื่อโซเชียลที่ทรงอิทธิพลในโลกยุคปัจจุบันนี้ก็คงหนีไม่พ้น Facebook ที่เปรียบเสมือนพื้นที่ในการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ของเรา ซึ่งนอกจากการสร้างตัวตน ใช้เพื่อการติดต่อและติดตามแล้วผู้คนกว่า 1.44 พันล้านคนยังใช้ Facebook เป็นแหล่งเสพข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ข่าว’ เพราะสะดวกและง่ายกว่าการต้องออกไปเข้าเว็ปข่าวอื่นๆ แถมดูเหมือนไม่ว่าเรื่องไหนหน้า feed ก็มีบริการให้ ‘ครบครัน’ ทำให้คน Gen Y เลือกเสพข่าวสารการเมืองผ่านทาง Facebook กว่า 60% เลยทีเดียว
เหมือนจะครบแต่ไม่ครบ … เพราะ Facebook เองนั้นไม่ได้นำเสนอทุกอย่างที่เกิดขึ้นผ่านทางหน้า feed ให้เรา แต่กลับใช้อัลกอริทึ่มในการกรองข้อมูลที่ตรงกับความสนใจของเรามาแสดงเท่านั้น จากผลสำรวจพบว่ามีข้อความของเพื่อนๆ และเพจที่เราสนใจกว่า 70% ที่ไม่ได้ถูกเอาขึ้นมาสแสดงให้เห็น ซึ่งเรื่องนี้ก็มีเหตุผล เพราะเพื่อนๆ ของเรามีเรื่องราวมากมายที่อยากจะแชร์ หากไม่มีอัลกอริทึ่มในการคัดกรองข้อมูลนี้เราอาจจะเจอภาวะข้อมูลทะลักก็เป็นได้ อีกทั้งหน้า feed ที่รกและไม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจต่อเราก็ไม่ดึงดูดให้เราใช้เวลาเลื่อนอ่านได้นานอีกด้วย
ภาพจาก : theguardian
ข้อเสียของระบบคัดกรองแบบนี้คือมันทำให้การเสพสื่อของเราไม่ได้ข้อมูลครบถ้วนและรอบด้านเพราะการเลือกแสดงข้อมูลที่เราสนใจหรือคิดเห็นตรงกับเราในอีกแง่ก็คือการบิดเบือนมุมมองของผู้เสพไป ทำให้คิดว่าการที่เห็นแต่ feed ที่มีความคิดความเห็นตรงกันนั้นหมายถึง ‘ทุกคน’ คิดเหมือนตนเองหรือความคิดนั้นๆ ถูกต้องแล้ว ซึ่งเรื่องที่น่ากลัวที่สุดคือผู้ใช้งานส่วนมากถึง 62.5% ไม่เคยรู้เรื่องระบบคัดกรองข้อมูลนี้เลย พวกเขาเชื่อจริงๆ ว่าสิ่งที่เห็นบนหน้า feed นั้นสะท้อนความเป็นจริง!
ซึ่งการคัดเลือกเนื้อหานอกจากจะส่งผลต่อการเสพสื่อแล้วยังส่งผลต่อการตัดสินใจในชีวิตจริงด้วย ตัวอย่างเช่น ที่ในหน้า feed ของกลุ่มคนที่สนับสนุนพรรค Republican ระบบจะทำการคัดข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพรรค Democrat ออกไปราว 5-8% และที่หน้า feed ของกลุ่มคนที่สนับสนุนพรรค Democrat ระบบก็จะทำการคัดข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพรรค Republican ออกเช่นกัน นั่นหมายถึงการได้รับข้อมูลที่ในการการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองที่ไม่ครบถ้วนตามไปด้วย จะว่าไปในแง่นี้เราอาจจะมองระบบอัลกอริทึ่มว่าคือหนึ่งในเครื่องมือที่จะการขับเคลื่อนทิศทางของการเมืองเลยก็ว่าได้
ทั้งนี้นักสังคมวิทยาอย่าง Zeynap Tufekci เคยติดต่อไปยัง Facebook เพื่อแนะนำให้ปรับปรุงระบบการคัดกรองโดยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกปรับอัลกิริทึ่มได้เองเพื่อให้เห็นข้อมูล feed ที่รอบด้านมากขึ้นแล้วแต่กระนั้นการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องใช้เวลา ระหว่างนี้ถ้าหากว่าอยากลองเสพข่าวสารให้ครอบคลุมก็อาจลองไปเลือกปรับที่ News Feed ใต้หมวด Favorites ให้แสดงผลเป็น Most recent แทน Top stories หรือหากจะให้ดีเสพข่าวจากช่องทางอื่ควบคู่ไปด้วยก็จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลากหลายมากขึ้นค่ะ
Source: washingtonpost
ปกติจะดูแบบ Most Recent เหมือนกัน แต่ดูเหมือนจะไม่มีตัวเลือกนี้บน Mobile App (Android)
ส่วน Desktop Web เข้าผ่าน Bookmark Link นี้ก็ได้ https://www.facebook.com/?sk=h_chr จะเป็น Most Recent เองเลย ไม่ต้องคอยกดใหม่ทุกครั้ง
Most Recent ในแอพ Facebook อยู่เมนู สามขีด แล้วเลื่อนลงไปล่างๆหน่อยจะเจอครับ เอาไปซ่อนไว้ซะไกลเลยครับ
เจอละครับ ขอบคุณมากครับ
เกลียด Top stories มากๆ บังคับเราใช้อยู่ได้
ส่วนตัวเปลี่ยนเป็น Most recent ตลอด แต่สักพัก FB มันก็แอบเปลี่ยนกลับเป็น Top stories เหมือนเดิม แสด..
ไม่รู้จะบังคับทำไมไม่เข้าใจ…Top นี้ข่าวโครตเก่า ไม่อัพเดตเลย
เข้าแอพก็เมนู Most Recent ตลอด พอดีตั้งทันมันเลยอยู่บนสุด
เคยเขียนเตือนเพื่อนๆเรื่องนี้บนหน้า Wall สมัย ม๊อบนกหวีด
เพราะเห็นการโพสเพื่อนแต่ละคน ชัดเลยว่า
คนที่เชียร์เสื้อแดง จะได้ข้อมูลแต่ด้านแดง
คนที่เชียร์หลากสี จะได้ข้อมูลแต่ของหลากสี
บางเรื่องเท็จ
บางเรื่องฝ่ายตรงข้ามแกล้งทำเป็นอีกฝ่ายแล้วทำเรื่องห่วยๆ
ถ้าไม่ได้ข้อมูลจากอีกฝั่ง จะจำฝังใจกับเรื่องที่คิดว่าจริงหนักมาก
—–
แถมกะลา facebook อันนี้ จะรุนแรงขึ้น ถ้าลบเพื่อนเพียงเพราะเห็นต่าง
ซึ่งจะตัดโอกาสจะได้ข่าวอีกด้านผ่านเพื่อนคนนี้ไปเลย