Facebook เริ่มทดสอบการบินของโดรนน้ำหนักเบาแบบไร้คนขับเหนือน่านฟ้าประเทศอังกฤษแล้ว ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Internet.org ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ทุกๆ คนบนโลกสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกัน
โดยโดรนหน้าตาเหมือนเครื่องบินนี้จะมาพร้อมปีกขนาดใหญ่กว่าปีกของเครื่อบบิน Boeing 737 ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานกับโดรนทำให้มันสามารถบินได้โดยอย่างต่อเนื่องไม่ต้องหยุดลงจอดเลย
ส่วนใครที่เป็นห่วงว่าโดรนเหล่านี้อาจจะเป็นอันตรายต่อเครื่องบินพาณิชย์หรือไม่ ข้อนี้ทางผู้พัฒนาอย่างบริษัท Ascenta ที่ทาง Facebook เข้าซื้อไปเมื่อมีนาคมปีที่แล้วก็เผยว่าโดรนนี้จะบินที่ระดับ 60,000-90,000ฟุต ซึ่งสูงกว่าเพดานการบินของเครื่องบินทั่วไป แต่กระนั้นการบินที่ระดับนี้ก็ยังมีความเสี่ยงในเชิงเทคนิคอีกทั้งข้อกฏหมายเองก็ยังไม่มีกฏการบังคับว่าด้วยการบินที่เหนือกว่า 60,000 ฟุตด้วย
ด้านหลักการของโดรนนี้คือมันจะบินขึ้นไปเพื่อปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ให้ผู้คนบนภาคพื้นสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้โดยทั่วถึง ข้อดีของมันคือโดรนนี้จะสามารถบินเข้าไปให้บริการได้แม้ในพื้นที่ที่ห่างไกลเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารและการเข้าถึงองค์ความรู้ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมนี้ก็จะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย
ทั้งนี้ Facebook ได้ทำเลือกสถานที่ที่จะเริ่มใช้งานโดรนนี้แล้วใน 21แห่งทั่วโลก ทั้งในแอฟาริกา, อเมริกาใต้ และเอเชีย งานนี้เมื่อมาประกอบเข้ากับปัจจัยเรื่องราคาของ device อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีราคาถูกลงมากก็น่าจะทำให้โครงการนี้สำเร็จได้ไม่ยากหากมีการให้ความรู้ในการใช้งานที่ถูกต้องกับผู้คนค่ะ
Source: independent
18-24 กิโลเมตร คำถามคิอ แล้ว มือถือเครื่องน้อยๆที่เราใช้กัน มันส่งสัญาณ ได้ไกลขนาดนัเนเลยหรอ
" โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ให้ผู้คนบนภาคพื้นสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้โดยทั่วถึง "
อ่อ ใช้เลเซอร์นี่เอง แต่คำถามคือ มือถือเราจะรับเป็นสัญญาณอะไร ? Wifi 3G 4G ?
แล้วส่งที่ระยะ 18 – 27กิโลเมตร เนี่ยมันต้องให้กำลังสูงมากเลย หรือใช้คลื่นต่ำมาก ?
หลักการพวกนี้ไม่ได้ติดต่อกับ device ตรง ๆ ครับ
ต้องมีการวางโหนด สำหรับรับและกระจายสัญญาณต่ออีกรอบ ให้กับ device อยู่ดีครับ
ในตัวอย่างเค้ายกว่าปกติ node หรือ cell site นั้นจะเชื่อมต่อกับด้วย cable / fiber แต่ในพื้นที่ทุรกันดานจริง ๆ การลากสายไปไม่คุ้มค่า เพราะ low density (มองในแง่ธุรกิจไม่คุ้มแน่ๆ ล่ะ)
เค้าจึงมองต่อว่า งั้นถ้าใช้ดาวเทียมล่ะ ก็จะมีปัญหาอะไรบ้าง นอกจากแพงแล้วมันยังหน่วง (delay) สูงไป
มันจึงเป็นที่มาของการใช้เครื่องบิน บินเป็นวงกลมรอบๆ พื้นที่เป้าหมายแทน แล้วให้ node เล็ก ๆ ติดตั้งตามบ้านเรือน ปล่อยเป็น wifi เพื่อให้ครบคลุมแทน คิดว่าลองไปดูรูปอุปกรณ์ของ project loon แทนก็ได้ครับ จุดประสงค์ของสองโครงการนี้เหมือนกัน โดยหลักการใกล้เคียงกัน แต่ google ใช้ balloon แต่ FB เลือกผลิตโดรนแทน
โดรนตัวละกี่ล้านนี่
ฟังแล้วเจ๋งกว่าบอลลูนตรงที่มันไม่ต้องลงมาเติมพลังงานนี่แหล่ะ
เป็นโดรนค้างฟ้าไปเลย
สูงระดับ 60,000 – 90,000 ฟุต คงไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสภาพอากาศแล้วใช่ไหมครับ?
ใครก็ตอบตอบทีเฟสเราขึ้นแบบนี้ตลอดเวลาหลายเดือนละ
ถ้าเกิดมันตกลงมาทีนึง จะเป็นยังไงนะ
HeadShot ! 555 คิดเหมือนกันเลย
ต้องมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุง เสมอแหละนะ
พยายามเข้านะ 🙂