อย่างที่รู้กันดีว่าในการป้องกันมิจฉาชีพนั้นเราจะต้องระมัดระวังในการติดตั้งแอปพลิเคชันให้มาก ๆ โดยการดาวน์โหลดผ่านช่องทาง Official อย่าง Google Play Store จะดีที่สุด แต่ล่าสุดนี้มิจฉาชีพก็ได้พัฒนากลลวงรูปแบบใหม่ด้วยการสร้างหน้าเว็บไซต์ที่หน้าตาคล้าย ๆ Google Play Store หลอกให้เราโหลดแอปเพื่อควบคุมเครื่องและหลอกดูดเงินจากบัญชี
คนร้ายได้เขียนเลียนแบบแอป Google Play ขึ้นในเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงเหยื่อ และได้แอบอ้างว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่ง SMS เข้ามาแจ้งเตือนเหยื่อ โดยระบุข้อความว่า “เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่คำนวณค่า FT ไฟฟ้าผิด ทำให้เก็บค่า FT ไฟฟ้ามาเกินให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ http://mea.bwz-th.cc”
เมื่อเหยื่อหลงชื่อ คิดว่าต้องการติดต่อเพื่อเอาเงินที่เกินคืนมาก็ได้กดลิงก์เพิ่มเพื่อนผ่านไลน์ จากนั้นคนร้ายก็ได้โทรมาให้โหลดแอปพลิเคชันการไฟฟ้านครหลวงปลอมจากลิงก์ที่แนบมา เมื่อกดเข้าไปก็จะเห็นว่ามีหน้าตาให้ดาวน์โหลดแอปแบบ Google Play Store เลย
จากนั้นก็ให้เหยื่อกรอกรายละเอียดชื่อ, เบอร์มือถือ, ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัว 2 ชุดแบบไม่ซ้ำกันและยืนยันข้อมูล 3 จุดให้เป็นสีน้ำเงิน เพื่อยืนยันตัวตน เมื่อเหยื่อกดติดตั้งและทำตามขั้นตอนทุกอย่างแบบครบถ้วน หน้าจอก็จะขึ้นแจ้งเตือนว่า “อยู่ระหว่างโหลดข้อมูล” ซึ่งนั่นก็แปลว่าโดนดีเข้าแล้วล่ะ
ซึ่งคนร้ายจะหลอกว่าให้โหลดข้อมูลไม่ต่ำกว่า 15% แล้วเงินจะเข้าบัญชี แต่ในความเป็นจริงในขณะที่ดำเนินการ คนร้ายได้นำข้อมูลหรือรหัสผ่านที่เราตั้งไว้มาสุ่มเข้าแอปธนาคารเพื่อถอนเงินจากบัญชีของเหยื่อนั่นเองค่ะ
ตัวอย่างแอป MEA จริง บน Google Play Syore
แอปจริง แอปปลอม ดูยังไง?
- ไลน์เป็นชื่อบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ แต่ไลน์เป็นชื่อบัญชี MEA Connect ซึ่งเป็นบัญชีทางการ (Official) ไม่สามารถโทรหากันได้
- เว็บไซต์ปลอม นามสกุลของโดเมน มักลงท้ายด้วย .cc ส่วนเว็บไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุล ของโดเมนคือ .or.th
- บนหน้าจอระบุหน้าเว็บไซต์ Google Play แต่ลิงก์ที่แสดงเป็น http://mea.tw-th.cc เมื่อต้องการ Download App บน Google Play ลิงก์ที่แสดงจะระบุ https://play.google.com
- แอปพลิเคชันของปลอม MEA Smart Life ไม่มีข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปฯ ในเครือ โดยแอปพลิเคชันของจริง MEA Smart Life มีข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และมีแอปฯ ในเครือ
การป้องกันการหลอกดูดเงิน
- ไม่เปิดอ่าน หรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง
- กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA call center โทร. 1130 โดยตรง
- หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิงค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้
จากสถิติตั้งแต่วันที่ 9-15 ก.ค.2566 คดีที่ได้รับแจ้งความสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
- คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ
- คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ
- คดีหลอกลวงให้กู้เงิน
- คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ
- คดีข่มขู่ทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center)
ซึ่งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนคดีแอปดูดเงินมในอันดับที่ 4 นี้ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีมากถึงจำนวน 595 เคส มูลค่าความเสียหายรวม 90.5 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ภัยดังกล่าวกำลังระบาด ขอย้ำเตือนประชาชนให้ระวังตัวมากกว่าเดิมอย่ากดลิงก์แปลก ๆ และหากเกิดข้อสงสัยให้ติดต่อผ่าน MEA Call Center 1130 หรือ ไปที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)สาขาใกล้บ้านจะปลอดภัยที่สุด
ที่มา : js100
Comment