Frances Haugen อดีตพนักงาน Facebook ที่ออกมาแฉบริษัทฯ เก่าของตัวเองว่าสนใจรายได้ผลประกอบการมากกว่าความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เตรียมปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการรัฐสภาของสหราชอาณาจักร (UK Parliament committee) ในวันที่ 25 ตุลาคมที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ Haugen ก็มีนัดคุยกับคณะกรรมการกำกับการดูแลของ Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน

Haugen จะขึ้นให้การต่อคณะกรรมการร่วมร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Draft Online Stafely Bill joint comittee) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกเลยที่เธอได้ออกมาพูดคุยกับรัฐบาลอื่นในที่สาธารณะ นอกเหนือจากที่สหรัฐอเมริกา

Haugen เผย Facebook ไม่กรองคอนเทนต์ มุ่งเน้นกำไรมากกว่าสุขภาพจิตของผู้ใช้งาน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เธอก็ได้ให้การต่อหน้าคณะอนุกรรมการวุฒิสภาสหรัฐฯ (US Senate subcommitee) ว่า Facebook นั้นเป็นอันตรายต่อเด็ก ทำให้เกิดความขัดแย้ง และมีส่วนทำให้ประชาธิปไตย (ของสหรัฐฯ) อ่อนแอลง โดยเธอได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ออกกฎหมาย เทคแอคชั่นเกี่ยวกับการดูแลเครือข่ายสังคมออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม

“สภา Congress สามารถเปลี่ยนกฎข้อบังคับที่ Facebook ใช้อยู่ขณะนี้ และหยุดการกระทำที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ที่แพลตฟอร์มดังกล่าวได้สร้างอยู่ ณ ปัจจุบัน” – Haugen กล่าวกับวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ

โดย Haugen ตั้งใจปรากฏตัวต่อผู้ออกกฎหมายในสหราชอาณาจักร ก็เพื่อที่จะเป็นเครื่องหมายการต่อสู้ ดึงดูดความสนใจไปให้กับสิ่งที่เธอเรียกว่า “ความล้มละลายทางศีลธรรม” (ต้นทางใช้คำว่า moral bankruptcy) ของ Facebook

ซึ่ง Haugen ยังวิจารณ์เพิ่มเติมอีกว่า Facebook ไม่ได้ลงทุนมากพอกับแผนกที่ตั้งเอาไว้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของข้อมูลผิด ๆ (หรืออีกนัยนึงก็คือ Fake News นั่นแหละ) และพวกโพสต์ Harassment ต่าง ๆ แถมยังวิจารณ์อีกว่าตัว Facebook รู้อยู่เต็มอกว่า Instagram หนึ่งในสื่อในเครือของบริษัทฯ นั้นกำลังทำร้าย Mental Health หรือสุขภาพจิตของผู้ใช้งานอยู่นับล้าน แม้ว่าก่อนหน้านี้ Instagram จะเพิ่งจัดแคมเปญเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม

Facebook โดนอดีตพนักงานแฉ ปรับแต่งอัลกอริทึ่มเอื้อให้ Hate Speech อยู่บนเว็บไซต์ได้นานที่สุด

เหล่าผู้ออกกฎหมายในแวดวงการเมืองส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับกรณีออกมาแฉ Facebook ของ Haugen มาก ๆ จนมีบางคนถึงกับนำมาเทียบกับกรณีบริษัทฯ ยาสูบ Minnesota ที่โดนแฉ หลังอุบไม่บอกคนซื้อเกี่ยวกับโทษของบุหรี่มากว่าหลายสิบปี

Facebook แย้ง คำกล่าวหาของ Haugen เป็นการนำเสนอ “ภาพลักษณ์ที่ผิด”

ซึ่งในส่วนนี้ทางทีม PR และตัว CEO ของ Facebook เองอย่าง Mark Zuckerberg ก็ออกมาปฏิเสธ และวิจารณ์คำให้การของ Haugen ว่าเป็นการนำเสนอ “ภาพลักษณ์ที่ผิด” ชอง Facebook 

UK Parliament เรียกร้องให้มีหน่วยงานตรวจสอบ Tech Gaints (รวมถึง Facebook) โดยเฉพาะ

โดยรัฐสภาของสหราชอาณาจักรก็มีการตอบสนองที่ใกล้เคียงกัน เรียกร้องให้มี “หน่วยงานกำกับดูแลอิสระที่มีอำนาจในการตรวจสอบและตรวจรา Tech Gaints อย่างละเอียด” ซึ่งนั่นก็รวมถึง Facebook แพลตฟอร์มออนไลน์อันดับต้น ๆ ของโลกที่ไม่กี่สัปดาห์ก่อน เพิ่งเจอปัญหาขัดข้อง ใช้งานไม่ได้เกือบ ๆ 7 ชั่วโมง

Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram ล่ม ไม่สามารถใช้งานได้ (ตอนนี้กลับมาเป็นปกติแล้ว)

Haugen เตรียมเข้าพบกับ Oversight Board ของ Facebook

นอกจากนี้ Haugen ยังเตรียมเข้าพบกับคณะกรรมการกำกับดูแล (Oversight Board) ของ Facebook ด้วยเช่นกัน โดยหน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่คัดกรองเนื้อหาที่ปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์บางส่วนของ Mark Zuckerberg

“คณะกรรมการยินดีที่ได้มีโอกาสหารือกับ Haugen เกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอ และพร้อมจะรวบรวมข้อมูลที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบจาก Facebook มากขึ้น ผ่านการตัดสินใจและคำแนะนำของเรา (Oversight Board)”

ขณะที่ทาง Oversight Board กำลังให้ความสนใจกับโปรแกรมลับของ Facebook ชื่อ Cross Check ที่ทาง The Journal ระบุว่า จะอนุญาตบุคคลสาธารณะ อาทิ ดารา นักแสดงดัง ๆ ฯลฯ หลีกเลี่ยงกฎระเบียบข้อบังคับบางอย่างของบริษัท โดยในส่วนนี้ Facebook แก้ต่างว่า โปรแกรมดังกล่าวมีเอาไว้เพื่อให้ยูเซอร์บางคน “ตรวจสอบอีกครั้ง” เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายของ Facebook ถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง

“Facebook โกหกต่อคณะกรรมการมาหลายครั้งติดต่อกัน และครั้งนี้ ฉันตั้งหน้าตั้งตารอที่จะแชร์ความจริงให้กับพวกเขา (คณะกรรมการ) – Haugen ทวีตผ่านบัญชีส่วนตัวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

 

ที่มา: CNET