Frances Huagen ออกมาแฉกับรายการ 60 Minutes ของ CBS News ว่า Facebook หนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก อดีตบริษัทฯ ที่เคยเป็นเจ้านายของเธอ ได้ปรับแต่งอัลกอริทึ่มเอื้ออำนวยให้ Hate Speech หรือข้อความเกลียดชังอยู่บนเว็บไซต์ให้นานที่สุด ไม่ปิดการเข้าถึงเท่าที่ควร เพื่อผลประโยชน์กับตัวบริษัทฯ มากที่สุด

อ้างอิงจากโปรไฟล์ LinkedIn ของ Huagen (ที่ปัจจุบันถูกลบไปแล้ว) เธอเคยทำงานกับ Facebook ในฐานะ Product Manager หรือผู้จัดการผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Civic Integrity ก่อนจะตัดสินใจลาออกจากบริษัทฯ ในปี 2021 หลังจากกลุ่มดังกล่าวถูกยุบตัวลงไป โดยเธอไม่เชื่อมั่นในตัวบริษัทฯ ว่าจะทำในสิ่งที่บอกว่าจะทำให้ Facebook เป็นพื้นที่สีเขียว ปลอดจากภัยอันตราย (จากพวก Hate Speech ต่างหรือ Online Bullying)

ต้องทำอย่างไรเมื่อโดนคอมเมนต์แย่ๆ หรือโดนบูลลี่ในโซเชียล?

Huagen อ้างว่า Facebook มีสองตัวเลือก ระหว่างผลดีกับส่วนรวม กับผลดีต่อตัวบริษัทฯ เอง ซึ่งแน่นอนว่าทาง Facebook (จากคำเล่าของ Huage) ได้เลือกแบบหลังอยู่แล้ว จึงเป็นที่มาของการปรับแต่งอัลกอริทึ่มให้เข้ากับจุดประสงค์ของบริษัทฯ ที่สุด นั่นก็คือการทำเงินให้ได้มากที่สุดนั่นเอง 

Frances Huagen

แม้ว่าในส่วนนี้ทาง Facebook จะเคลมตลอดว่า ตนเองมีส่วนช่วยในการลดละการเกิดขึ้นของข้อความเกลียดชัง (Hate Speech) ทั้งบนแพลตฟอร์มหรือนอกก็ดี แต่จากเอกสารที่ทาง Haugen ออกมาแฉ กลับพบว่า Facebook เทคแอคชั่นเพียงแค่ 3 – 5% ของ Hate Speech ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ และประมาณ 0.6% ของ Violoence and Incitement หรือแปลง่าย ๆ คือ ความรุนแรงและการยั่วยุ

โดย Haugen เผยว่า ต้นตอของปัญหาทั้งหมด มาจากอัลกอริทึ่มที่ Facebook เปิดตัวมาเมื่อปี 2018 หรือราว ๆ 5 ปีที่แล้ว เพราะเหมือนว่าอัลกอริทึ่มตัวนี้จะมีแนวโน้มจ่ายยอด Reach และ Engagement (การเข้าถึงและการมีส่วนร่วม) ให้กับโพสต์ที่เข้าข่ายเป็น Hate Speech หรือการทะเลาะกันเองในขั้วการเมืองอะไรแบบนี้ มากกว่าโพสต์แนวอื่น ๆ แต่ ณ ตอนนั้น Mark Zuckerberg ซีอีโอคนดังของบริษัทฯ กลับบอกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึ่มจะทำให้เกิดผลดีในแง่บวกกับผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ The Wall Street Journal ยังเคยเปิดเผยเอกสารลับภายใต้ชื่อ The Facebook Files เมื่อเดือนที่แล้ว บอกว่า Facebook มีทำการวิจัยว่า Instagram มีผลเสียต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นหญิง ซึ่งกรณีนี้ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องขึ้นศาล แต่พอใกล้ถึงเวลาขึ้นศาลจริง ๆ Facebook กลับออกมาบิดเบือนให้ตัวเองดูไม่ใช่ผู้ร้ายในกรณีนี้

Play video

อ่านเพิ่มเติม: The Verge via Blognone