FTC หรือ Federal Trade Commission (คณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ) ทำการยื่นฟ้อง Qualcomm บริษัทผู้ผลิตชิปสื่อสารรายใหญ่ เนื่องจาก FTC ชี้แจงว่า Qualcomm ใช้ความได้เปรียบทางการค้าในการผูกขาดสินค้า และกีดกันผู้ผลิตชิปสื่อสารคู่แข่งรายอื่นๆ
Qualcomm ถือเป็นผู้นำในตลาดด้านชิปสื่อสาร หรือ baseband processor และถือสิทธิบัตรในมือมากมายมหาศาล และ Qualcomm ก็ใช้ข้อได้เปรียบทางการตลาดนี้ในการขายชิปสื่อสาร ซึ่ง FTC เห็นว่า Qualcomm มีพฤติกรรมผูกขาดและกีดกันคู่แข่งทางการค้า โดย FTC จะยื่นฟ้อง Qualcomm ที่ใช้กลยุทธทางการค้าแบบ “No license, No chips” หมายความว่า Qualcomm จะไม่ยอมขายชิป baseband ถ้าหากไม่มีการตกลงจ่ายค่าสิทธบัตรไปด้วย ซึ่งกลยุทธนี้เหมือนกับเป็นการบังคับกลายๆ ให้แบรนด์มือถือนั้นๆ ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรราคาแพงให้กับ Qualcomm ซึ่งกลายเป็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้มีราคาสูงกว่าการใช้ชิปจาก Qualcomm แบบครบชุดซะอีก
อีกข้อที่ FTC จะยื่นฟ้องก็คือ Qualcomm ปฏิเสธที่จะทำการขายสิทธิบัตรให้กับบริษัทคู่แข่ง ตามหลักการแล้วสิทธิบัตรบางชิ้นที่ถูกรวมเข้ากับมาตรฐานทางอุตสาหกรรมแล้ว จะต้องมีการขายหรือให้เช่าสิทธิบัตรตามระเบียบ FRAND หรือ Fair, Reasonable, and Non-Discriminatory (ยุติธรรม, ราคาสมเหตุสมผล และไม่แบ่งแยก) ซึ่ง Qualcomm ไม่ทำตามกฎในข้อนี้ ทำให้
และข้อสุดท้ายที่ FTC คือ Qualcomm กีดกันไม่ให้ Apple ใช้ชิปของคู่แข่ง โดยก่อนหน้านี้มีการเซ็นสัญญาให้ Apple ใช้ชิปจาก Qualcomm เท่านั้น โดยสัญญามีผลตั้งแต่ปี 2011 – 2016 เพราะ Qualcomm เห็นว่าถ้า Apple ไปใช้ชิปของคู่แข่งในการผลิต iPhone อาจจะทำให้คู่แข่งรายนั้นๆ เติบโตและแข็งแกร่งในตลาดได้อย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ FTC ก็กำลังพยายามขอคำสั่งศาลเพื่อให้ Qualcomm หยุดพฤติกรรมผูกขาดและกีดกันคู่แข่งทางการค้าตามที่กล่าวมา เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น
อ่านมาแล้วหลายคนอาจจะงงๆ ว่าอะไรคือชิป อะไรคือ baseband ก็ขอสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าในมือถือที่เราใช้กันอยู่มันมีชิปเยอะแยะมากมาย หลักๆ ก็คือชิป CPU ที่ทำหน้าที่ประมวลผล และอีกอย่างคือชิป baseband ที่ใช้ต่อ 3G/4G ซึ่งส่วนนี้่แหละที่ Qualcomm ถือสิทธิบัตรเอาไว้มากที่สุด และพอไม่ยอมขายหรือแบ่งสิทธิบัตรทำให้ค่ายต่างๆ ก็ต้องมาใช้สิทธิบัตรของ Qualcomm โดยถูกบังคับซื้อชิปไปด้วยในราคาแพงนั่นเอง แถมถ้าหากไม่ใช่ชิป baseband ของ Qualcomm แล้วละก็ Qualcomm ก็จะไปไล่ฟ้องเอาค่าสิทธิบัตร เนื่องจากสิทธิบัตรหลายๆ ชิ้นของ Qualcomm นั้นกลายเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อ 3G/4G ไปแล้วนั่นเอง
ที่มา : Androidpolice, FTC
ของของใคร ของใครก็ห่วง
ของใคร ใครก็หวง
ห่วงใยรักใคร่ ถนอม
FTC ฟ้องนี่หวัง จะยกเลิกสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ทั้งหมดเลยเหรอ ก้อดีนะ
อีกหน่อยใครจะคิดนวัตกรรมออกมา ถ้าไม่มีการคุ้มครอง
จากที่ผมจับใจความได้นะครับ
ปัญหาคือ Qualcomm ไม่ยอมขายหรือแบ่งสิทธิบัตรบัตรที่เป็นเหมือนมาตรฐานอุตสาหกรรมไปแล้ว
อย่างเช่นมาตรฐาน 3G/4G (ในย่อหน้าสุดท้าย)
ประกอบกับเรื่องชิป ถ้าค่ายไหนจะเอาชิป Qualcomm ไปใช้ ก็ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรราคาแพงไปด้วย(ซึ่งแพงกว่าค่าชิปเยอะมาก)
*ปกติสิทธิบัตรที่แทบเป็นมาตรฐานพวกนี้จะมีการแชร์หรือจ่ายเงินเพื่อขอใช้กันอยู่แล้ว แต่ Qualcomm ไม่ยอมทำแบบนั้น เพื่อต้องการผลประโยชน์แบบผูกขาดในการขายสินค้าด้วย อย่างสิทธิบัตรเก่าๆ ของ Nokia , Moto ที่ยุคนั้นมีเยอะมากก็ไม่ได้โดนฟ้องเรื่องผูกขาดทางการค้า เพราะมีการแชร์สิทธิ(ด้วยการจ่ายเงิน)ให้ผู้ผลิตอื่นเอาไปใช้ได้นั่นเอง
ผิดพลาดตรงไหนช่วยแก้ด้วยนะครับ
รอดูว่าจะไปถึงไหน
เรื่องแบบนี้ทำให้อเมริกาเป็นอเมริกาได้อย่างทุกวันนี้ เพราะถึงจะใช้ระบบทุนนิยม แต่รัฐก็เป็นผู้รักษาสมดุลย์ของการแข่งขันให้มีความยุติธรรมมากพอ โดยที่เทคโนโลยีไม่มีการผูกขาดจนทำไม่เกิดการแตกแขนงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ แต่ก็ไม่ถึงกลับทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะถูกละเมิดสิทธิบัตรในการพัฒนาสิ่งใหม่ได้โดยง่าย
ผมชอบชิป Snapdragon มานานมาก
พนักงาน 70% ของ Qualcomm เป็น programmer ไม่มีโรงงานผลิตชิพเป็นของตัวเอง เพิ่งปลายปีที่แล้วที่ไปซื้อกิจจการของผู้ผลิตชิพ
รอดูว่าท้ายสุดฟ้องแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหรือไม่?
ทางที่ผู้รับซื้อชิพต้องการคือ ขายแต่ไอซีแต่อย่าพ่วงจ่ายค่าสิทธิบัตร ^^
Qualcomm จ่าย Apple ไม่ให้ผลิต wimax iPhone
http://www.theverge.com/2017/1/17/14303910/qualcomm-allegedly-bribed-apple-wimax-iphone-ft-complaint
ชิพมีหลายแบบ
แบบเป็นชุดก้อมี แบบเดี่ยวๆ ก้อมี
ไอ่เบสแบนด์ นี่มาเป็นชุด
ไม่ใช่ตัวเดียว จะใช้ชุดนี้ได้
ก้อต้องมีโปรแกรม
ใครอยากใช้ก้อต้องเสียเงิน เป็นเรื่องปกติ
เหมือนโปรแกรมของ ms sap oracle
technology 4Gไม่ใช่ของ qualcomm นะคับ
เหมือนกับ 2g 3g ไม่ใช่ของ moto และ nokia มันเป็นขององค์กรกลาง ที่คอยดูแลมาตรฐาน
ใครจะทำชิพก้อได้ถ้ามีความสามารถ เพราะมาตรฐานที่องค์กรกลางดูแลนั้น เปิดเผยอยู่แล้ว
เหมือนที่ข้างล่างบอกมาว่า qualcomm ไม่มี รง. เป็นของตัวเอง มีแต่engineer programmer เพื่อดีไซน์ชิพ เท่านั้น แล้วจ้างคนอื่นผลิต
เขียนโปรแกรมมาหรือดีไซน์ชิพมาแต่ไม่มีการคุ้มครอง ก้อคงลำบากแน่ๆ
FTC อาจมองว่า baseband ของqualcommขายดีมาก ครองตลาดมากเกินหน้าตาเจ้าอื่น เหมือนสมัยก่อนที่มีat&t แล้วไปบังคับแตก เป็น บ.ย่อยๆ ป้องกันการผูกขาด
แต่จะมาบังคับให้ขายราคาถูก คงไม่ได้เพราะ ประเทศเป็นเจ้าแห่งการค้าเสรี จะมาจำกัดราคากันคงดูแปลกๆ ย้อนแย้ง…กันไป
ที่จะซื้อ รง. อื่นนั้นคงอาจไม่ได้เอามาทำ ชิพชุดนี้หรือ snapdragonหรอก เพราะ รง. ที่จะซื้อยังทำไม่ได้ รง.เหล่านั้น ทำชิพ เฉพาะทางด้านอื่นอยู่
ยาวนิดนึง…โทดที เขียนไปเรื่อย
พฤติกรรมของ qm เองอาจไม่ดี ที่ไปกีดกันไม่ให้เจ้าอื่นเข้าตลาด น่าจะเป็นปัญหา
อย่างเรื่อง wimaxที่มาก่อน LTEก้อจริงแต่ไม่สามารถเกิดได้ ส่วนนึงอาจมาจาก qm ไปกีดกันได้ … ไปเจรจากับแอบเปิ้ล ไม่ให้ใช้wimaxใน iphone
ผมมองว่ามันคือการแข่งขันทางธุรกิจอย่างนึง
แต่จะเป็นธรรมหรือไม่ต้องให้ มีการตัดสิน จากFTC
แถมอีกนิด
คล้ายๆ กรณีขายเหล้าบังคับพ่วงเบียร์แบบนี้รึเปล่าครับ
ส่วนนึงก็ดีนะที่มีกฎหมายนี้ ไม่รู้จะไปแย้งทำไมเพราะสุดท้ายตลาดแข่งขันเสรี
จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคเองมากกว่าตลาดผูกขาด
แต่อีกส่วนนึงก็ต้องยอมรับว่าของ Qualcom เขาดีจริง และมักเหนือกว่าคู่แข่ง
เมื่อเทียบกันยุคต่อยุค เอาง่ายๆซัมซุงเวลาใช้ชิปสองยี่ห้อทีไร มีดราม่าทุกที
โดนทียาวเลยทีเดียว ยังไงก็ต้องสู้