Google ออกมาเปิดเผยผลสำรวจ พบผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเกือบ 3 ใน 5 ราย เคยประสบปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีคนรู้จักที่เคยประสบปัญหาเดียวกัน แต่ 95% ยังคงใช้รหัสผ่านที่ไม่รัดกุม คาดเดาได้ง่าย การนำรหัสผ่านเก่ามาใช้ซ้ำ แถมบางคนยังถึงขนาดแชร์รหัสผ่านกับผู้อื่นอีกด้วย

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา Google ได้มอบหมายให้ YouGov ที่เป็น Agency ด้านการวิจัยตลาด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 13,000 คน ใน 11 ประเทศทั่วเอเชีย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ไม่รัดกุม และเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่ทำไมถึงต้องตั้งรหัสผ่านยาก ๆ อย่าใช้รหัสเดิม ๆ ซ้ำกันทุกบริการ หรือการไม่แชร์รหัสผ่านร่วมกับผู้อื่น

ความเสี่ยงของการนำรหัสผ่านซ้ำมาใช้

Google และ YouGov เผยว่า ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ระบาด ทำให้ตลาด e-Commerce เติบโตขึ้นอย่างขึ้นรวดเร็ว กิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ก็เติบโตมากยิ่งขึ้น อาทิ สมัครบัญชีแอปและบริการต่าง ๆ เพิ่ม ทำให้ปัจจุบันมีรหัสผ่านมากกว่าก่อนการระบาดใหญ่ถึง 25% ส่งผลให้โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อหนึ่งคนมีรหัสผ่านมากถึง 80 รหัส ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะจดจำได้ทั้งหมด

เมื่อเทียบกับข้อมูลดังกล่าว Google พบว่า จำนวนกว่า 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย ใช้รหัสผ่านเดียวกับสำหรับหลาย ๆ เว็บไซต์และบริการ โดย 2 ใน 3 ยอมรับว่านำรหัสผ่านมาใช้ซ้ำ ๆ กันถึงสิบเว็บ ซึ่ง 41% ในบรรดาผู้ที่ใช้รหัสผ่านซ้ำ ให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ใช้ซ้ำ เพราะกลัวจะลืมรหัสผ่านใหม่ ในขณะที่อีก 30% บอกว่า การใช้รหัสผ่านซ้ำ ๆ กันเป็นวิธีที่สะดวก โดย Google ระบุว่า คนที่ใช้รหัสผ่านซ้ำ มีโอกาสที่จะถูกขโมยข้อมูลทางการเงินออนไลน์กว่าคนที่ใช้รหัสผ่านใหม่ ๆ เกือบถึงสองเท่า

ที่สำคัญ 3 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ยอมรับว่าใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญ คนสำคัญ ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่รหัสไปรษณีย์ (ซึ่งข้อมูลพวกนี้มักจะโดนเจาะได้ง่าย) และแย่ไปกว่านั้น เกือบ 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ยอมรับว่าแอบจดรหัสผ่านไว้ในแอป Note บนมือถือ

แชร์รหัสผ่านกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิดก็มีความเสี่ยง

ในแง่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ พบว่า 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าซื้อสินค้าบนเพจที่ไม่มีสัญลักษณ์ความปลอดภัย และสถิติที่น่าสนใจอีกอย่างคือ 79% ยังแชร์รหัสผ่านกับเพื่อนและคนในครอบครัวอีกด้วย ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะถูกแฮคข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการใช้รหัสผ่านในอุปกรณ์หลายเครื่อง

โดยพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลให้เกือบ 3 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย ยังประสบปัญหาการโดนละเมิดข้อมูลส่วนตัว หรือคนรู้จักที่ประสบปัญหาเดียวกัน

เปิด 2FA อาจช่วยให้บัญชีมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

แต่ก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง เพราะผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกว่า 66% บอกว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น หรือ Two-Factor Authentication (2FA) ถึงแม้จะไม่มีการบังคับใช้ก็ตาม

Tips | วิธีเปิดใช้งาน 2FA (Two-Factor Authentication) บน Facebook, Instagram และ Gmail

โดย 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังบอกอีกว่า พวกเขาพร้อมจะเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทันที เมื่อพบว่าบัญชีตัวเองอาจตกอยู่ในความเสี่ยงของการโดนแฮคหรือโจรกรรมข้อมูลจากการโจมตีทางไซเบอร์ แต่ที่น่าสนใจคือ 30% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าจะไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทันที อ้างว่าอาจเป็นการแจ้งเตือนการละเมิด อาจเป็นกลลวงของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี เรียกง่าย ๆ ไม่เชื่อว่าบัญชีของตัวเองมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮคนั่นเอง

นอกจากนี้ ครึ่งนึงของผู้ตอบแบบสอบถาม มีแนวโน้มที่จะใช้เครื่องจัดการรหัสผ่าน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเพียงแค่ 6% เท่านั้นที่ใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้

Google บอกเคล็ดลับเสริมความปลอดภัยให้กับบัญชีง่าย ๆ

เนื่องจากอัตราการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจากการช้อปปิ้งที่ปลายปีพุ่งสูงขึ้น การหมั่นเข้มงวดกับการใช้หรือตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากจึงเป็นสิ่งสำคัญ ข่าวดีก็คือ Google มีเครื่องมือและแนวทางที่สามารถช่วยให้บัญชีของเรานั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น ดังนี้

 

ที่มา: อีเมลประชาสัมพันธ์