ใกล้ถึงวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Pixel 6 และ Pixel 6 Pro มือถือเรือธง Android พันธุ์แท้ของ Google แบบเต็มแก่แล้ว หลังจากออกมาเปิดเผยข้อมูลเรียกน้ำย่อยบางส่วนเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้มีผลคะแนน Geekbench เปิดเผยออกมา ระบุว่า ชิป Tensor ของ Pixel 6 Series มีโครงสร้างที่ต่างจากชิปเรือธงตัวอื่น ๆ แต่ยังคงใช้ ARMv8 เหมือนเดิม ทั้งที่ค่ายอื่นน่าจะขยับไปใช้ v9 กันหมดแล้ว
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าชิป Tensor เป็นชิปที่ทาง Google ได้ไปจับมือร่วมกับ Samsung ช่วยกันพัฒนาและผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 5 นาโนเมตรของฝ่ายหลัง เทียบเท่ากับขิปเรือธงตัวอื่น ๆ ในตลาดอย่าง A15 Bionic, Snapdragon 888+ หรือแม้กระทั่ง Exynos 2100 ของ Samsung เอง ทว่าในส่วนของ Configuration หรือการโครงสร้างของตัวชิป Tensor กลับแตกต่างจากชิปเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง ตรงที่ชิปตัวนี้มาแบบ 2+2+4 กล่าวง่าย ๆ คือ ใช้ CPU Prime Core 2x + Middle Core 2x + Power-Saving Core 4x
โดยโครงสร้าง 2+2+4 ของ Tensor ชิปที่เตรียมใช้ขับเคลื่อน Pixel 6 และ Pixel 6 Pro จะประกอบไปด้วย Cortex-X1 สองแกน ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 2.8GHz, CPU กลางไม่ระบุรุ่นอีกสองแกน 2.25GHz และ CPU ตัวประหยัดพลังงาน 4 แกน 1.8GHz ทดสอบกับแอป Geekbench ได้คะแนนมาดังนี้ Single-Core: 1,034 แต้ม และ Multi-Core: 2,756 แต้ม
ซึ่งคะแนนดังกล่าวถือว่าน้อง ๆ ชิปเรือธงของ OnePlus 9 Pro อย่าง Snapdragon 888 เลย ที่ได้คะแนนแบบ Single-Core ไป 1,097 แต้ม และ 3,566 แต้ม ตามลำดับ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีข้อมูลเผยว่าชิป Tensor จะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Snapdragon ซีรีส์ 700 เท่านั้น
และหากเทียบกับ Pixel 5 ที่ใช้ Snapdragon 765G เป็นตัวขับเคลื่อนล่ะก็ จะเห็นว่า Tensor ใน Pixel 6 และ Pixel 6 Pro ทำผลงานออกมาได้ดีกว่ามาก เพราะตอนนั้น Pixel 5 ได้คะแนนเพียง 588 และ 1,587 แต้มเท่านั้น (แต่ในแง่การใช้งานถือว่าปกตินะ ไม่ได้แย่หรือกระตุกอะไรแต่อย่างใด) คาดว่าที่ Tensor ทำคะแนนได้สูงขนาดนี้ น่าจะเป็นเพราะ Google ไปตีบวกซอฟต์แวร์อะไรสักอย่างเป็นแน่
สเปคชิปเซ็ต Tensor (Whitechapel) ของ Google ที่ใช้ขับเคลื่อน Pixel 6 และ Pixel 6 Pro
โดยลือกันว่า Google น่าจะนำเอา Pixel 6 และ Pixel 6 Pro มาเปิดตัวในช่วงวันที่ 19 เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ไม่แน่เราอาจจะเห็นรายละเอียดของชิป Tensor ในงานวันดังกล่าวด้วย แถมช่วงก่อนหน้านี้มีราคาหลุดออกมาด้วย เริ่มต้น 649 ยูโร (ประมาณ 25,900 บาท) สำหรับรุ่นธรรมดา และ 899 ยูโร (ประมาณ 35,500 บาท) สำหรับรุ่น Pro
ที่มา: phonearena
เดียวสิ Snap 888 มี Cortex-X1 แค่ Core เดียวยัง ร้อนเป็นไฟเลยแล้วนี้ 2 Core แต่ทำไมกลับแรงน้อยกว่า Snap 888 ละ
งง ใน งง หรือว่า Clock ต่ำกว่า
ในขณะที่ A13 13xx multi 32xx 2019 นะนั่น Google เปิด 2021 สู้ A13 ไม่ได้นี่แปลกๆ
มันข้าม OS กัน มันไม่ควรเอามาเปรียบกันตั้งแต่แรกแล้ว
พวก Benchmark ก็สร้างมาเพื่อคนละ OS กัน
Geekbench ได้คะแนนสูงมา แต่ Antutu ก็ไม่เท่าไหร่
คนเชียร์ iPhone ก็เอา Geekbench มาอ้าง
คนเชียร์ Android ก็เอา Antutu มาอ้าง
แต่ถ้าพูดถึงภาพรวมๆ ในแง่ของ CPU มันแทบไม่ต่างกันเลย ต่อให้คะแนนเป็นแสนเป็นล้าน แต่ไม่มีแอปหรือการใช้งานอะไรที่ใช้งานพลังของ CPU ได้เต็มที่มันก็เท่านั้น
การสู้ได้ไม่ได้มันควรดูที่การใช้งานจริงมากกว่าถ้าไม่มีปัญหาอะไรเหมือนกันมันก็พอกันอ่ะ
antutu มันมีคะแนนหลายอย่างแล้วมันไม่ได้ cross platfrom แต่ geekbench มันวัดกันที่ CPU เพียวๆ วัดกันที่การคำนวน physics จึงน่าเชื่อถือกว่า
รู้ครับว่าวัดเพียวๆ แต่มันทำขึ้นมาใช้คนละ platform
มันไมได้สร้างบนพื้นฐานระบบปฏิบัติการเดียวกัน
ยกตัวอย่างง่ายๆเลยครับ
AMD กับ INTEL ใช้ tools ตัวเดียวกันยังวัดกันจริงๆไม่ได้เลยครับ ต้องเทียบหลายๆตัว และสุดท้ายคือต้องเทียบจากการใช้งานจริงถึงจะชัวสุด
ทั้งที่เป็น Windows เหมือนกัน x86 เหมือนกัน ทำไมถึง benchmark แล้วยังเชื่อถือไม่ได้ 100%
เพราะว่า CPU แต่ละค่ายมีชุดคำสั่งไม่เหมือนกัน ของใครของมัน
แล้วคนที่ทำ benchmark ออกมาก็เป็นคนของค่าย CPU นั้นๆละที่ทำออกมา แล้วก็เขียนให้รองรับชุดคำสั่งของตัวเอง ถ้ามีคะแนนก็จะพุ่งเลย เพราะชุดคำสั่งช่วยประมวลผลให้ไวขึ้น ถ้าไม่มีคะแนนก็จะหายไป
พอมาเป็นฝั่ง mobile ยิ่งเกิดความแตกต่างทางด้าน platform, CPU, และอื่นๆอีกมากมาย จะหยิบตัวเลขมาชนตรงๆมันไม่ได้อยู่ละ
Config แบบนี้ ใช้ cluster แบบนี้ นึกถึงยุค Mongoose ของ Exynos เลย
ใช้ทำงานแบบ Single core แรงกระจาย พอทำงานแบบ Multicore จะไม่ค่อยโดดเด่น