Huawei P30 Pro ดังเป็นกระแสกันอีกรอบ เมื่อล่าสุดมีการเปิดเผยจากทาง Admin ของกลุ่ม 2600 Thailand ซึ่งเป็นกลุ่มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ว่าตัวสมาร์ทโฟนยอดฮิตมีการส่งข้อมูลกลับจีนไปโดยตัวผู้ใช้ไม่รู้เห็น และที่สำคัญคือปลายทางเป็นเซิร์ฟเวอร์ของทางการจีน ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าสิ่งที่ถูกดึงออกมาจากเครื่องและส่งไปนั้นคืออะไรบ้าง แต่ก็สร้างความกังวลกันไม่น้อยเลยทีเดียว
**อัพเดท** สรุปว่าเป็นความผิดพลาดของทางผู้ทดสอบเองนะครับ ตัวเครื่อง Huawei P30 Pro ไม่ได้มีปัญหา หรือส่งข้อมูลกลับไปให้รบ.จีนแต่อย่างใด
โดยการส่งกลับข้อมูลไปยังรัฐบาลจีนครั้งนี้เปิดเผยโดยคุณ Pansaen Boonyakarn ซึ่งเป็น Admin ของ Group ได้ลองทำการตรวจจับข้อมูลที่ส่งไปยังโดเมนของจีน รวบรวมรายการชื่อทั้งหมดเอาไว้และเปิดเผยออกมา เพื่อให้ผู้ใช้รายอื่นสามารถสร้าง Policy ในตัวเครื่องบล็อคไม่ให้ทำการติดต่อออกไปยังโดเมนดังกล่าวได้ในอนาคต
ถ้าใครเห็นข่าวนี้แล้วเริ่มไม่สบายใจกับการใช้งานโทรศัพท์ สามารถโหลดแอป Firewall ใน PlayStore และทำการ Block โดเมนตามไฟล์ master.txt ที่ทางคุณ Pansaen ได้รวบรวมและสร้างเอาไว้ให้ใน Github ตาม address นี้ครับ : https://github.com/pe3zx/huawei-block-list
User Experience Program การเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาตัวสินค้า ผู้ต้องสงสัยรายแรก
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเรื่องการส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ออกมา โดยหลายค่ายได้มีการเก็บข้อมูลเอาไว้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะ Apple iPhone, Google Pixel, หรือ Samsung Galaxy ก็ตาม แต่ความแตกต่างของแต่ละค่ายคือ การร้องขอ การจัดเก็บ และการนำเอาข้อมูลไปใช้ต่อ ที่ไม่เหมือนกัน โดยค่ายที่ชูเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือ Apple ซึ่งบอกมาตลอดว่าข้อมูลของเราจะเป็นของเรา ไม่มีการนำเอาไปใช้งานหรือแชร์กับใครเป็นอันขาด ส่วนของ Samsung Galaxy – Google Pixel จนถึงปัจจุบันยังไม่มีเคยมีปัญหาใดๆหลุดออกมาให้ได้เห็นกัน มีการร้องขอให้ตอบตกลงเข้าร่วมโปรแกรม User Experience ตามกระบวนการมาตลอด
ในทางกลับกัน เราได้เห็นมือถือจีนมีปัญหาแบบนี้กันมาอยู่เนืองๆ ทั้งการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และส่งข้อมูลกลับไปจีนโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้มาก่อน โดยในกรณีของ Huawei P30 Pro นี้ก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าบางคนอาจจะบอกว่านี่เป็นการส่งข้อมูลกลับไปเพื่อพัฒนาตามโปรแกรม User Experience รึเปล่านั้น ทางคุณ Pansaen ก็ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าไม่ได้ตกลงยอมรับเรื่อง Privacy Policy ของบริการ Hi ที่มากับเครื่องหรือ sign-in บริการ Huawei ID แต่อย่างใด และที่สำคัญคือต่อให้เป็นการเข้าร่วมโปรแกรมนี้จริง ข้อมูลก็ไม่ควรส่งไปยังโดเมนของหน่วยงานรัฐบาลอยู่ดี
ก็เก็บเอามาฝากกันเผื่อใครที่เป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัว และข้อมูลของตัวเอง แต่ถ้าคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อยากดูดข้อมูลอะไรก็ดูดไป เพราะไม่มีความลับใดๆ ก็ใช้กันต่อไปอย่างสบายใจได้เหมือนเดิมครับ อย่างไรก็ดีเราได้ทำการติดต่อทาง Huawei ประเทศไทยเพื่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมแล้ว ไว้มีความคืบหน้าจะมาทำการอัพเดทให้ทราบต่อไปนะครับ
รอบที่เท่าไรแล้วหว่าข่าวทำนองนี้
ทำไม ไม่ตกใจกับแบรนด์นี้
รอฟังความอีกข้างก่อน หัวเว่ยจะออกมาแถลงว่าอย่างไรบ้าง
คนมีแฟนแล้ว ไม่ว่าหญิง หรือชาย คงต้องระวังหน่อยเวลาจะมีกิ๊ก เดี๋ยวข้อมูลหลุด
สมควร โดน usa แบนละ
เริ่ม เหนด้วยกะทรัมป
เป็นเรื่องเข้าใจผิดนะครับ Droidsans ปากไวก็ขอโทษเขา หรือใครแชร์ไปก็ช่วยแชร์แก้ข่าวด้วยนะ
เกิดการตลาด Huawei เขาตก ฟ้องหมิ่น หรือนำเข้าเท็จ งานงอกนะเออ
ตั้งใจจะดิสเครดิต Huawei หรือเปล่า หลักการขั้นตอนการทดสอบระดับ Test Tester ก็ไม่มี ผลการทดสอบยังไม่แน่นอน ยังไม่สิ้นสุด ก็มาสรุปแล้ว แบบนี้ Huawei เสียหาย คุณรับผิดชอบอะไรได้บ้าง กับการที่คนแชร์ข่าวเสีย ๆ หาย ๆ
เว็บนี้ก็น่าจะโดนฟ้องด้วยน้า รีบแชร์เหลือเกินไม่ตรวจสอบก่อน